๔. จัมมสาฏกชาดก อย่าไว้ในใจสัตว์หน้าขน
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 545
๔. จัมมสาฏกชาดก
อย่าไว้ในใจสัตว์หน้าขน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 545
๔. จัมมสาฏกชาดก
อย่าไว้ในใจสัตว์หน้าขน
[๕๙๔] แพะตัวนี้เป็นสัตว์ที่มีท่าทางงดงามดีในที่เจริญใจ และมีศีลน่ารักใคร่ ย่อมเคารพนบนอบพราหมณ์ ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติและมนต์ทั้งหลาย นับได้ว่าเป็นแพะประ-เสริฐมียศศักดิ์.
[๕๙๕] ดูก่อนพราหมณ์ ท่านอย่าได้ไว้วางใจแก่สัตว์ ๔ เท้า เพียงได้เห็นมันครู่เดียว มันต้องการจะชนให้ถนัด จึงย่อตัวลงจักชนให้ถนัดถนี่.
[๕๙๖] กระดูกขาของพราหมณ์ก็หัก บริขารที่หาบอยู่ก็พลัดตก สิ่งของของพราหมณ์ก็แตกทําลายหมด พราหมณ์ประคองแขนทั้งสองคร่ําครวญอยู่ว่า ช่วยด้วย แพะชนพรหมจารี.
[๕๙๗] ผู้ใดสรรเสริญคนที่ไม่ควรบูชา ผู้นั้นจะต้องถูกเขาห้ำหั่นนอนอยู่ เหมือนกับเราผู้มีปัญญาทรามถูกแพะชนเอาจนตายในวันนี้.
จบ จัมมสาฏกชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 546
อรรถกถาจัมมสาฏกชาดกที่ ๔
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภปริพาชกชื่อจัมมสาฏก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่ากลฺยาณรูโป วตายํ ดังนี้.
ได้ยินว่า ปริพาชกนั้นมีหนังเท่านั้นเป็นเครื่องนุ่งและเครื่องห่ม. วันหนึ่ง ปริพาชกนั้นออกจากอารามของปริพาชก เที่ยวภิกขาไปในนครสาวัตถีถึงที่พวกแพะชนกัน. แพะเห็นปริพาชกนั้นมีความประสงค์จะชนจึงย่อตัวลง. ปริพาชกไม่หลีกเลี่ยงไปด้วยคิดว่า แพะนี้จักแสดงความเคารพเรา. แพะวิ่งมาโดยรวดเร็ว ชนปริพาชกนั้นที่ขาอ่อนทําให้ล้มลง. เหตุที่เขายกย่องแพะนั้นซึ่งมิใช่สัตบุรุษนั้น ได้ปรากฏไปในหมู่ภิกษุสงฆ์. ภิกษุทั้งหลายนั้นสนทนากันในโรงธรรม.สภาว่าอาวุโสทั้งหลาย จัมมสาฏกปริพาชกกระทําการยกย่องอสัตบุรุษจึงถึงความพินาศ พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายบัดนี้ พวกเธอนึ่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้นแม้ในกาลก่อน ปริพาชกนี้ก็ได้ยกย่องอสัตบุรุษแล้วถึงความพินาศดังนี้แล้ว ทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพ่อค้าตระกูลหนึ่ง กระทํา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 547
การค้าอยู่. ในกาลนั้น มีจัมมสาฏกปริพาชกผู้หนึ่ง เที่ยวภิกขาไปในนครพาราณสีถึงสถานที่พวกแพะชนกัน เห็นแพะตัวหนึ่งย่อตัวก็ไม่หลีกหนีด้วยสําคัญว่า มันทําความเคารพเรา คิดว่า ในระหว่างพวกมนุษย์นี้มีประมาณเท่านี้ แพะตัวหนึ่งยังรู้จักคุณของเรา จึงยืนประนมมือแต้อยู่ กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
แพะตัวนี้เป็นสัตว์มีท่าทางดี เป็นที่เจริญใจ และมีศีลน่ารักใคร่ เคารพยําเกรงพราหมณ์ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติและมนต์ จัดว่าเป็นแพะประเสริฐ มียศศักดิ์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กลฺยาณรูโป ได้แก่ มีชาติกําเนิดงาม. บทว่า สุเปสโล ได้แก่ มีศีลเป็นที่รักด้วยดี บทว่า ชาติมนฺ-ตูปปนฺนํ แปลว่า สมบูรณ์ด้วยชาติและมนต์ทั้งหลาย. บทว่า ยสสฺสีนี้เป็นบทกล่าวถึงคุณ.
ขณะนั้น พ่อค้าผู้เป็นบัณฑิตนั่งอยู่ในตลาด เมื่อจะห้ามปริพาชกนั้น. จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านอย่าได้ไว้วางใจสัตว์ ๔ เท้า เพียงได้เห็นมันครู่เดียว มันต้องการจะชนให้ถนัด จึงย่อตัวลงจักชนให้ถนัดถนี่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 548
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตฺตรทสฺสเนน ความว่า เพียงเห็นมันชั่วขณะ.
ก็เมื่อพ่อค้าผู้เป็นบัณฑิตกําลังพูดอยู่นั่นแหละ แพะวิ่งมาโดยเร็วชนที่ขาอ่อนให้ปริพาชกนั้นล้มลง ณ ที่นั้นเอง ทําให้ได้รับความทุกขเวทนา. ปริพาชกนั้นนอนปริเวทนาการอยู่.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเหตุนั้น จึงตรัสคาถาที่๓ ว่า :-
กระดูกขาของพราหมณ์ก็หัก บริขารที่หาบก็พลัดตก สิ่งของของพราหมณ์ก็แตกทําลายหมด พราหมณ์ประคองแขนทั้งสองคร่ําครวญอยู่ว่า ช่วยด้วย แพะชนพรหมจารี.
เนื้อความแห่งคําที่เป็นคาถานั้นมีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายกระดูกขาของปริพาชกนั้นหัก หาบบริขารก็พลัดตก เมื่อปริพาชกนั้นกลิ้งไป ภัณฑะเครื่องอุปกรณ์ของพราหมณ์นั้นแม้ทั้งหมดแตกไป.พราหมณ์นั้นยกมือทั้งสองขึ้น กล่าวหมายเอาบริษัทที่ยืนล้อมอยู่ว่าช่วยด้วย แพะชนพรหมจารีดังนี้ คร่ําครวญ ร้องไห้ ปริเทวนาการร่ําไรอยู่.
ปริพาชกจึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
ผู้ใดสรรเสริญยกย่องคนที่ไม่ควรบูชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 549
ผู้นั้นจะถูกเขาห้ำหั่นนอนอยู่ เหมือนเราผู้มี
ปัญญาทรามถูกแพะชนเอาจนตายในวันนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าอปูชํ ได้แก่ ผู้ไม่ควรบูชา. บทว่ายถาหมชฺช ความว่า เหมือนเรายืนทําการยกย่องอสัตบุรุษุ ถูกแพะชนอย่างแรงจนตายอยู่ ณ ที่นี้ในวันนี้เอง. บทว่า ทุมฺมติ แปลว่าผู้ไม่มีปัญญา อธิบายว่า บุคคลแม้อื่นใดกระทําการยกย่องอสัตบุรุษบุคคลแม้นั้นย่อมเสวยความทุกข์เหมือนเราฉันนั้น.
ปริพาชกนั้นคร่ําครวญอยู่ด้วยประการฉะนี้ จึงถึงความสิ้นชีวิตไป ณ ที่นั้นเอง.
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ปริพาชกชื่อจัมมสาฏกในครั้งนั้น. ได้เป็นปริพาชกชื่อจัมมสาฏกในบัดนี้ ส่วนพาณิชผู้บัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคตฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาจัมมสาฏกชาดกที่ ๔