พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. โคธชาดก ว่าด้วยเหี้ยกับดาบสทุศีล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35776
อ่าน  577

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 550

๕. โคธชาดก

ว่าด้วยเหี้ยกับดาบสทุศีล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 550

๕. โคธชาดก

ว่าด้วยเหี้ยกับดาบสทุศีล

[๕๙๘] เราสําคัญว่าท่านเป็นสมณะ จึงได้เข้ามาหาท่านผู้ไม่สํารวม ท่านได้ขว้างเราด้วยท่อนไม้ เหมือนไม่ใช่สมณะ.

[๕๙๙] แน่ะท่านผู้โง่เขลา ประโยชน์อะไรด้วยชฎาแก่ท่าน ประโยชน์อะไรด้วยหนัง.เสือแก่ท่าน ภายในของท่านรกรุงรัง เกลี้ยงเวลาแค่ภายนอก.

[๖๐๐] แน่ะเหี้ย ท่านจงกลับมาบริโภคข้าวสุกข้าวสาลีก่อนเถิด น้ำมัน เกลือและดีปลีของเราก็มีมาก.

[๖๐๑] เราจะเข้าไปสู่จอมปลวก อันลึก ชั่ว-ร้อยบุรุษ ยิ่งขึ้นดีกว่า น้ำมันและเกลือของท่านจะเป็นประโยชน์อะไร ดีปลีก็หาเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เราไม่.

จบ โคธชาดกที่ ๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 551

อรรถกถาโคธชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้โกหก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า สมณนฺตํมฺมาโน ดังนี้.

เรื่องได้ให้พิสดารแล้วในหนหลังนั้นแล. แม้ในเรื่องนี้ ภิกษุทั้งหลายก็นําภิกษุนั้นมาแสดงแด่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภิกษุนี้เป็นผู้โกหก. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุนี้ก็ได้เป็นผู้โกหกเหมือนกันแล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกําเนิดเหี้ย พอเจริญวัย มีร่างกายสมบูรณ์อยู่ในป่า. ดาบสทุศีลคนหนึ่งสร้างบรรณศาลาอยู่ในที่ไม่ไกลพระโพธิสัตว์นั้น แล้วสําเร็จการอยู่. พระโพธิสัตว์เที่ยวหาเหยื่อได้เห็นบรรณศาลานั้นแล้วคิดว่า จักเป็นบรรณศาลาของดาบสผู้มีศีลจึงไป ณ ที่นั้นไหว้ดาบสนั้น แล้วจึงไปยังที่อยู่ของตน. อยู่มาวันหนึ่ง ดาบสโกงนั้นได้เนื้ออร่อยที่เขาปรุงเสร็จแล้วในตระกูลอุปัฏฐากทั้งหลาย จึงถามว่า นี้ชื่อเนื้ออะไรได้ฟังว่า เนื้อเหี้ย เป็นผู้ถูกความอยากในรสครองงํา คิดว่า เราจักฆ่าเหี้ยที่มายังอาศรมบทของเราเป็นประจํา แล้วแทงกินตามความชอบใจ จึงถือเอาเนยใส

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 552

เนยข้น และภัณฑะเครื่องเผ็ดร้อนเป็นต้น ไปที่อาศรมบทนั้น เอาผ้ากาสาวะปิดคลุมไม้ค้อนไว้ แล้วนั่งคอยดูการมาของพระโพธิสัตว์ทําที่เป็นสงบเคร่งครัดอยู่ที่ประตูบรรณศาลา พระโพธิสัตว์นั้นมาแล้วเห็นดาบสนั้นมีอินทรีย์อันประทุษร้าย มีท่าทางส่อพิรุธ คิดว่า ดาบสนี้จักได้กินเนื้อสัตว์ผู้มีชาติเสมอกับเรา เราจักคอยกําหนดจับดาบสนั้นจึงยืนอยู่ในที่ใต้ลม ได้กลิ่นตัว รู้ว่าดาบสได้กินเนื้อสัตว์ผู้มีชาติเสมอกันกับตน จึงไม่เข้าไปหาดาบส ได้ถอยออกไปแล้ว. ฝ่ายดาบสนั้นรู้การที่พระโพธิสัตว์นั้นไม่มาจึงขว้างไม้ค้อนไป. ไม้ค้อนไม่ตกต้องที่ตัวแต่ถูกปลายหาง. ดาบสกล่าวว่า ไปเสียเถอะเจ้า เราปาพลาดเสียแล้ว.พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เบื้องต้น ท่านเป็นผู้พลาดเรา แต่จะไม่พลาดอบายทั้ง ๔ แล้วหนีเข้าไปยังจอมปลวกอันตั้งอยู่ท้ายที่จงกรม โผล่หัวออกมาทางช่องอื่น เมื่อจะเจรจากับดาบสนั้น จึงได้กล่าวคาถา๒ คาถาว่า :-

เราสําคัญว่าท่านเป็นสมณะ จึงได้เข้าไปหาท่านผู้ไม่สํารวม ท่านขว้างเราด้วยท่อนไม้ เหมือนไม่ใช่สมณะ.

แนะท่านผู้โง่เขลา ประโยชน์อะไรด้วยชฎาแก่ท่าน ประโยชน์อะไรด้วยหนัง-เสือแก่ท่าน ภายในของท่านรกรุงรัง เกลี้ยงเกลาแต่ภายนอก.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 553

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสสฺตํ ความว่า ข้าพเจ้าสําคัญท่านผู้ไม่สํารวมทางกายเป็นต้น คือผู้ไม่เป็นสมณะเลยว่า ชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะเป็นผู้สงบระงับโดยความเป็นผู้สงบระงับบาป ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นสมณะ จึงเข้าไปหา. บทว่า ปาหาสิ แก้เป็น ปหริแปลว่า ขว้างแล้ว. บทว่า อธินสาฎิยา ความว่า ประโยชน์อะไรแก่ท่านด้วยหนังเสือซึ่งห่มเฉวียงบ่า. บทว่า อพฺภนฺตรนฺเต ความว่าภายในร่างกายของท่านรกรุงรังด้วยกิเลส เหมือนน้ำเต้าเต็มด้วยยาพิษเหมือนหลุมเต็มด้วยคูถ และเหมือนจอมปลวกเต็มด้วยอสรพิษ. บทว่าพาหิรํ ความว่า ภายนอกร่างกายเท่านั้นเกลี้ยงเกลา คือย่อมเป็นเหมือนคูถช้างและคูถม้า เพราะภายในหยาบ ภายนอกเกลี้ยงเกลา.

ดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

มาเถอะเหี้ย ท่านจงกลับมาบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีเถิด น้ำมัน เกลือ และดีปลีของเรามีมาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหุตํ มยุหํ ปิปฺผล ความว่ามิใช่จะมีข้าวสุกแห่งข้าวสาลี น้ำมันและเกลืออย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ แม้เครื่องเทศ เช่น กระวาน ก้านพลู ขิง พริก และดีปลีขอเราก็มีอยู่จํานวนมาก ท่านจงมาบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันปรุงด้วยเครื่องเทศนั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 554

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

เราจะเข้าไปสู่จอมปลวกอันลึกร้อยชั่วบุรุษยิ่งขึ้น น้ำมันและเกลือของท่านจะเป็นประโยชน์อะไร ดีปลีก็หาเป็นประโยชน์แก่เราไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเวกฺขามิ แปลว่า จักเข้าไป.บทว่า อหิตํ ความว่า ดีปลีกกล่าวคือ เครื่องเทศของท่านนั้นไม่เป็นประโยชน์ คือ ไม่เป็นสัปปายะสําหรับเรา.

ก็แหละ พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงคุกคามดาบสโกงนั้นว่า เฮ้ยชฎิลโกง ถ้าเจ้าจักขึ้นอยู่ในที่นี้ ข้าจะให้พวกคนในถิ่นโคจรคามจับเจ้าว่า ผู้นี้เป็นโจร แล้วให้เจ้าถึงความพิการ เจ้าจงรีบหนีไปเสียโดยเร็ว. ชฎิลโกงจึงได้หนีไปจากที่นั้น.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ชฎิลโกงในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุโกหกรูปนี้ ส่วนพระยาเหี้ยในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาโคธชาดกที่ ๕