พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. กาฬพาหุชาดก ว่าด้วยลิงหลอกเจ้า

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35780
อ่าน  725

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 577

๙. กาฬพาหุชาดก

ว่าด้วยลิงหลอกเจ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 577

๙. กาฬพาหุชาดก

ว่าด้วยลิงหลอกเจ้า

[๖๑๔] ในกาลก่อน เราได้ข้าวและน้ำอันใดจากสํานักพระราชา มาบัดนี้ ข้าวและน้ำนั้นมาขึ้นอยู่กับสาขมฤคหมด ข้าแต่พี่ราธะบัดนี้ เราเป็นผู้อันพระเจ้าธนัญชัยไม่สักการะแล้ว พากันกลับไปป่าตามเดิมเถิด.

[๖๑๕] ดูก่อนน้องโปฏฐปาทะ ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือ ลาภ ความเสื่อมลาภ ยศความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุขและทุกข์ เป็นของไม่เที่ยง เจ้าอย่าเศร้าโศกเสียใจไปเลย จะเศร้าโศกเสียใจไปทําไม.

[๖๑๖] ข้าแต่พี่ราธะ คุณพี่เป็นบัณฑิตแท้ ย่อมรู้ถึงผลประโยชน์ทั้งหลายที่ยังไม่มาถึง ทําอย่างไรหนอ เราจะได้เห็นสาขมฤคผู้ลามกถูกเขาขับไล่ออกจากราชสกุล.

[๖๑๗] ลิงกาฬพาหุ กระดิกหูและกลอกหน้ากลอกตาทําให้พระราชกุมารทรงหวาดเสียว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 578

พระทัยอยู่เสมอๆ มันจะทําตัวของมันเองให้จําต้องห่างไกลจากข้าวและน้ำ.

จบ กาฬพาหุชาดกที่ ๙

อรรถกถากาฬพาหุชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงปรารภพระเทวทัตผู้เสื่อมลาภสักการะ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า ยํ อนฺนปานสฺส ดังนี้.

แท้จริง เมื่อพระเทวทัตผูกความโกรธอันไม่บังควรในพระตถาคต แล้วประกอบนายขมังธนู โทษผิดของพระเทวทัตนั้น ได้ปรากฏเพราะปล่อยช้างนาฬาคิรี. ลําดับนั้น คนทั้งหลายจึงพากันเลิกธุวภัตเป็นต้นที่เริ่มตั้งไว้แก่เธอเสีย. แม้พระราชาก็ไม่ทรงเหลียวแลพระเทวทัตนั้น. พระเทวทัตนั้นเสื่อมลาภสักการะจึงเที่ยวขอในสกุลทั้งหลายบริโภคอยู่. ภิกษุทั้งหลายจึงนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่าอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตคิดว่า จักยังลาภสักการะให้เกิดขึ้นแม้แต่ลาภสักการะที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจทําให้มั่นคง. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากัน.ด้วย เรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่ามิใช่บัดนี้เท่านั้นน่ะภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน เทวทัตนี้ก็ได้เป็นผู้เสื่อมลาภสักการะ แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 579

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าธนัญชัยครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นวานรเผือกชื่อราธะ มีบริวารมาก มีร่างกายบริบูรณ์ ส่วนวานรน้องชายของพระโพธิสัตว์นั้น ชื่อโปฏฐปาทะ. พรานผู้หนึ่งจับวานรพี่น้องทั้งสองนั้นได้ จึงนําไปถวายพระเจ้าพาราณสี. พระราชาโปรดให้ใส่วานรทั้งสองนั้นไว้ในกรงทอง ให้บริโภคข้าวตอกคลุกน้ำผึ้ง ให้ดื่มน้ำเจือด้วยน้ำตาลกรวดปรนนิบัติเลี้ยงดูอยู่ สักการะได้มีอย่างมากมาย. วานรทั้งสองนั้นได้เป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศ. ต่อมา พรานป่าคนหนึ่ง ได้นําเอาวานรดําใหญ่ตัวหนึ่ง ชื่อกาฬพาหุมาถวายพระราชา วานรกาฬพาหุนั้นมาทีหลัง จึงได้มีลาภสักการะมากกว่า ลาภสักการะของวานรเผือกทั้งสองก็เสื่อมถอยไป. พระโพธิสัตว์มิได้พูดอะไรเลย เพราะประกอบด้วยลักษณะแห่งผู้คงที่ แต่วานรน้องชายเพราะไม่มีลักษณะแห่งผู้คงที่จึงทนดูสักการะของกาฬพาหุวานรไม่ได้ ได้พูดกะพี่ชายว่า ข้าแต่พี่เมื่อก่อน ในราชสกุลนี้ ย่อมให้ของกินมีรสดีเป็นต้นแก่พวกเรา แต่บัดนี้พวกเราไม่ได้ เขานําไปให้เจ้าลิงกาฬพาหุเท่านั้น พวกเราเมื่อไม่ได้ลาภสักการะจากสํานักของพระเจ้าธนัญชัย จักทําอะไรอยู่ณสถานที่นี้ มาเถิดพี่พวกเราไปอยู่ป่าเถิด เมื่อจะเจรจากับวานรพี่ชายนั้น จึงกล่าวคาถาที่๑ ว่า :-

เมื่อก่อน เราได้ข้าวและน้ำอันใดจากสํานักพระราชา มาบัดนี้ ข้าวและน้ำนั้น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 580

มาขึ้นอยู่กับสาขมฤคหมด ข้าแต่พี่ราธะบัดนี้ เราเป็นผู้อันพระเจ้าธนัญชัยไม่สักการะแล้ว พากันกลับไปป่าตามเดิมเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ อนฺนปานสฺส ความว่า ข้าวและน้ำใด จากสํานักของพระราชานั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อนฺนปานสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถของทุยาวิภัตติ. บทว่า ธนฺ-ชยาย เป็นจตุตถีวิภัตติ ลงในอรรถของตติยาวิภัตติ. อธิบายว่าพวกเราเป็นผู้อันพระเจ้าธนัญชัยไม่สักการะเอื้อเฟื้อแล้ว และไม่ได้ข้าวและน้ำ คือเป็นผู้อันพระเจ้าธนัญชัยนี้แล ไม่ทรงเอื้อเฟื้อแล้ว.

วานรราธะได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนน้องโปฏฐปาทะ ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือลาภ ความเสื่อมลาภ ยศความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุขแลทุกข์ เป็นของไม่เที่ยง เจ้าอย่าเศร้าโศกเลยจะเศร้าโศกไปทําไม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโส ได้แก่ อิสริยยศ และปริ-วารยศ. บทว่า อยโส ได้แก่ ความไม่มีอิสริยยศและปริวารยศนั้น.บทว่า เอเต ความว่า โลกธรรม ๘ ประการเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 581

ในหมู่มนุษย์ แม้เป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศ สมัยต่อมาย่อมเป็นผู้มีลาภน้อย สักการะน้อย ชื่อว่าผู้จะมีลาภเป็นนิจเสมอไปย่อมไม่มี. แม้ในยศเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

วานรโปฏฐปาทะได้ฟังดังนั้น เมื่อไม่อาจทําความริษยาในลิงกาฬพาหุให้หายไปได้ จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ข้าแต่พี่ราธะ พี่เป็นบัณฑิตแท้ ย่อมรู้ถึงผลประโยชน์อันยังมาไม่ถึง ทําอย่างไรหนอเราจะได้เห็นเจ้าสาขมฤคผู้ลามก ถูกเขาขับไล่ออกจากราชสกุล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กถํ นุ โข ได้แก่ ดุ้วยอุบายอะไรหนอ บทว่า ทกฺขาม แปลว่า จักเห็น. บทว่า นิทฺธาปิตํได้แก่ ถูกฉุดออกไป คือถูกลากออกไป. บทว่า ชมฺมํ แปลว่า ผู้ลามก.

วานรราธะได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่๔ ว่า :-

ลิงกาฬพาหุ กระดิกหูและกลอกหน้ากลอกตา ทําให้พระราชกุมารทรงหวาดเสียวพระทัยอยู่บ่อยๆ มันจักทําตัวของมันเองให้จําต้องห่างไกลจากข้าวและน้ำ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 582

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภายเต กุมาเร ความว่า ย่อมทําพระราชกุมารให้หวาดเสียว. บทว่า เยนารกา สฺสติ ความว่าตัวมันเองจักทําเหตุให้จําต้องอยู่ห่างไกลจากข้าวและน้ำนี้. เจ้าอย่าคิดริษยาต่อมันเลย.

ฝ่ายลิงกาฬพาหุ พอล่วงไป ๒ - ๓ วันเท่านั้น ก็ทํากระดิกหูเป็นต้นต่อหน้าพระราชกุมารทั้งหลาย ทําให้พระราชกุมารทั้งหลายกลัว. พระราชกุมารทั้งหลายเหล่านั้นตระหนกตกพระทัยกลัว ต่างทรงส่งเสียงร้อง. พระราชาตรัสถามว่า นี่อะไรกัน? ได้ทรงสดับเรื่องราวนั้นแล้วรับสั่งว่า จงไล่มันออกไป แล้วให้ไล่ลิงกาฬพาหุนั้นออกไป ลาภสักการะของวานรชาวทั้งสองก็ได้เป็นปกติตามเดิมอีก.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ลิงกาฬพาหุในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต วานรโปฏฐปาทะในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ ส่วนวานรราธะในครั้งนั้นเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากาฬพาหุชาดกที่ ๙