พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. สีลวีมังสชาดก ว่าด้วยธรรมที่นําความสุขมาให้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35781
อ่าน  522

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 583

๑๐. สีลวีมังสชาดก

ว่าด้วยธรรมที่นําความสุขมาให้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 583

๑๐. สีลวีมังสชาดก

ว่าด้วยธรรมที่นําความสุขมาให้

[๖๑๘] ได้ยินว่า ศีลแลเป็นความงาม ศีลเป็นเยี่ยมในโลก ขอพระองค์จงทอดพระเนตรงูใหญ่มีพิษร้าย ย่อมไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยมารู้สึกตัวว่า เป็นผู้มีศีล.

[๖๑๙] นกตะกรุมทั้งหลายในโลก พากันล้อมจิกชิ้นเนื้อที่เหยี่ยวคาบอยู่ในปาก ชั่วเวลาที่มันคาบชิ้นเนื้อนิดหน่อยอยู่เท่านั้น หาได้เบียดเบียนนกที่ไม่มีความกังวลไม่.

[๖๒๐] ผู้ไม่มีความหวังย่อมหลับเป็นสุข ความหวังย่อมเผล็ดผลเป็นสุขได้ นางปิงคลาทาสีได้ทําความหวังจนหมดหวังแล้ว จึงหลับเป็นสุขได้.

[๖๒๑] ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ธรรมอันจะนําความสุขมาให้ยิ่งไปกว่าสมาธิย่อมไม่มีผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมไม่เบียดเบียนทั้งคนอื่นและตนเอง.

จบ สีลวีมังสชาดกที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 584

อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์ผู้ทดลองศีล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่าสีลํ กิเรว กลฺยาณํ ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันนิทานแม้ทั้งสองเรื่อง ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังทีเดียว. ส่วนในชาดกนี้ พระโพธิสัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าพาราณสี เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นจะทดลองศีลของตน จึงถือเอากหาปณะจากแผ่นกระดานสําหรับนับเงินไป ๓ วัน ราชบุรุษทั้งหลายจึงแสดงพระโพธิสัตว์นั้นแก่พระราชาว่าเป็นโจร. พระโพธิสัตว์นั้นยืนอยู่ในสํานักของพระราชา พรรณนาศีลด้วยคาถาที่ ๑ นี้ว่า :-

ได้ยินว่า ศีลแลเป็นความงาม ศีลเป็นเยี่ยมในโลก ขอพระองค์จงทอดพระ-เนตรงูใหญ่มีพิษร้าย ย่อมไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยมารู้สึกตัวว่า เป็นผู้มีศีล.

แล้วทูลขอให้พระราชาทรงอนุญาตบรรพชาแล้วไปบรรพชา.

ครั้งนั้น เหยี่ยวเฉี่ยวเอาชิ้นเนื้อในร้านขายเนื้อสัตว์แห่งหนึ่งแล้วบินไปทางอากาศ นกทั้งหลายอื่นจึงล้อมจิกตีมันด้วยเล็บเท้าและจะงอยปากเป็นต้น. เหยี่ยวนั้นไม่สามารถอดทนความทุกข์นั้นได้ จึง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 585

ทิ้งชิ้นเนื้อ นกตัวอื่นก็คาบเอาไป. แม้นกตัวนั้นเมื่อถูกเบียดเบียนอย่างนั้นเข้าก็ทิ้งชิ้นเนื้อนั้น. ที่นั้น นกตัวอื่นๆ ก็คาบเอาไป รวมความว่า นกใดๆ คาบเอาไป นกทั้งหลายก็ติดตามนกนั้นๆ ไป.นกใดๆ ทิ้ง นกนั้นๆ ก็มีความสบาย. พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นจึงคิดว่า ขึ้นชื่อว่ากามทั้งหลายนี้เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เมื่อเป็นอย่างนั้นคนที่ยึดไว้เหล่านั้นเท่านั้นจึงเป็นทุกข์ เมื่อสละเสียได้ก็เป็นสุข แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ชิ้นเนื้อหน่อยหนึ่งยังมีอยู่แก่เหยี่ยวนั้นเพียงใด นกตะกรุมทั้งหลายในโลกก็พากันล้อมจิกอยู่เพียงนั้น หาได้เบียดเบียนนกไม่มีความกังวลไม่.

คําที่เป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า ชิ้นเนื้อหน่อยหนึ่งที่เอาปากคาบอยู่ได้มีอยู่แก่เหยี่ยวนั้นเพียงใด นกตะกรุมทั้งหลายในโลกนี้ก็พากันรุมจิกเหยี่ยวนั้นอยู่เพียงนั้น แต่เมื่อมันปล่อยชิ้นเนื้อนั้นเสียนกที่เหลือก็ย่อมไม่เบียดเบียนนกนั้นผู้ไม่มีความกังวล คือไม่มีปลิโพธเครื่องกังวล.

พระโพธิสัตว์นั้นออกจากพระนครแล้ว ในตอนเย็นได้นอนอยู่ในเรือนของคนผู้หนึ่ง ในบ้านนั้นในระหว่างทาง. ก็นางทาสีในเรือนนั้นชื่อปิงคลาได้นัดแนะกับชายผู้หนึ่งว่า พึงมาในเวลาชื่อโน้น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 586

นางล้างเท้าของนายทั้งหลายแล้ว เมื่อนายทั้งหลายนอนแล้ว นั่งแลดูการมาของชายผู้นั้นอยู่ที่ธรณีประตู คิดว่าประเดี๋ยวเขาจักมา ประเดี๋ยวเขาจักมา จนเวลาล่วงเลยไปถึงปฐมยาม และมัชฌิมยาม. ก็ในเวลาใกล้รุ่ง นางหมดหวังว่า เขาคงไม่มาในบัดนี้แน่ จึงนอนหลับไป.พระโพธิสัตว์ได้เห็นเหตุการณ์นี้ จึงคิดว่า ทาสีนี้นั่งอยู่ได้ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ด้วยความหวังว่า ชายผู้นั้นจักมา รู้ว่าบัดนี้เขาไม่มา เป็นผู้หมดความหวัง ย่อมนอนหลับสบาย ขึ้นชื่อว่าความหวังในกิเลสทั้งหลาย เป็นทุกข์ ความไม่มีความหวังเท่านั้น เป็นสุขจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ผู้ไม่มีความหวังย่อมหลับเป็นสุขความหวังมีผลก็เป็นสุข นางปิงคลากระทําความหวังจนหมดหวังจึงหลังสบาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผลวตี ความว่า ความหวังที่ได้ผลนั้น ชื่อว่าเป็นสุข เพราะผลนั้นเป็นสุข. การทําให้หมดหวังคือกระทําให้ไม่มีความหวัง อธิบายว่า ตัดเสีย คือละเสีย. บทว่าปิงฺคลา ความว่า บัดนี้ นางปิงคลทาสีนี้หลับเป็นสุข.

วันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์นั้นจากบ้านนั้นเข้าไปยังป่า เห็นดาบสผู้หนึ่งนั่งเข้าฌานอยู่ในป่า จึงคิดว่า ความสุขอันยิ่งกว่าความสุขในฌาน ย่อมไม่มีในโลกนี้และในโลกหน้า จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 587

ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า ธรรมคือความสุขอื่นจากสมาธิ ย่อมไม่มี ผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมไม่เบียดเบียนทั้งคนอื่นและตนเอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมาธิปโร ความว่า ชื่อว่าธรรมคือความสุขนอกเหนือ คืออื่นจากสมาธิ ย่อมไม่มี.

พระโพธิสัตว์นั้น ครั้นเข้าป่าแล้วบวชเป็นฤๅษี ทําฌานและอภิญญาให้เกิดขึ้น ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุฏิทูสกชาดก

๒. ทุททุภายชาดก

๓. พรหมทัตตชาดก๔. จัมมสาฏกชาดก

๕. โคธชาดก

๖. กักการุชาดก

๗. กากาติชาดก

๘. อนนุโสจิยชาดก

๙. กาฬพาหุชาดก

๑๐. สีลวีมังสชาดก

จบ กุฏีทูสกวรรคที่ ๓