พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. รถลัฏฐิชาดก ว่าด้วยใคร่ครวญก่อนแล้วทํา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35783
อ่าน  466

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 593

๒. รถลัฏฐิชาดก

ว่าด้วยใคร่ครวญก่อนแล้วทํา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 593

๒. รถลัฏฐิชาดก

ว่าด้วยใคร่ครวญก่อนแล้วทํา

[๖๒๖] ข้าแต่พระราช บุคคลทําร้ายตนเองกลับกล่าวหาว่าคนอื่นทําร้ายดังนี้ก็มี โกงเขาแล้ว กลับกล่าวหาว่าเขาโกงดังนี้ก็มี ไม่ควรเชื่อคําของโจทก์ฝ่ายเดียว.

[๖๒๗] เพราะฉะนั้น บุคคลผู้เป็นเชื้อชาติบัณฑิตควรฟังคําแม้ของฝ่ายจําเลย เมื่อฟังคําของโจทก์และจําเลยทั้งสองฝ่ายแล้ว พึงปฏิบัติตามธรรม.

[๖๒๘] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามคุณ เกียจคร้าน ไม่ดีบรรพชิตผู้ไม่สํารวม ไม่งาม พระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทําไป ไม่งามบัณฑิตมีความโกรธเป็นเจ้าเรือน ก็ไม่งาม.

[๖๒๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ พระมหา-กษัตริย์ทรงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงปฏิบัติไม่ทรงใคร่ครวญเสียก่อน ไม่ควรปฏิบัติอิสริยยศ บริวารยศ และเกียรติคุณของ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 594

พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงใคร่ครวญแล้วจึงทรงปฏิบัติย่อมมีแต่เจริญขึ้น.

จบ รถลัฏฐิชาดกที่ ๒

อรรถกถารถลัฏฐิชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภปุโรหิตของพระเจ้าโกศล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่าอปิ หนฺตฺวา หโต พรูติ ดังนี้.

ได้ยินว่า ปุโรหิตนั้นไปบ้านส่วยของตนด้วยรถ ขับรถไปในทางแคบ พบหมู่เกวียนพวกหนึ่ง จึงกล่าวว่า พวกท่านจงหลีกเกวียนของพวกท่าน ดังนี้แล้วก็จะไป เมื่อเขายังไม่ทันจะหลีกเกวียนก็โกรธ จึงเอาด้ามปฏักประหารที่แอกรถของนายเกวียนในเกวียนเล่มแรก. ด้ามปฏักนั้นกระทบแอกรถก็กระดอนกลับมาพาดหน้าผากของปุโรหิตนั้นเข้า ทันทีนั้นที่หน้าผากก็มีปมปูดขึ้น. ปุโรหิตนั้นจึงกลับไปกราบทูลแก่พระราชาว่า ถูกพวกนายเกวียนตี พระราชาจึงทรงสั่งพวกตุลาการให้วินิจฉัย พวกตุลาการจึงให้เรียกพวกนายเกวียนมาแล้ววินิจฉัยอยู่ได้เห็นแต่โทษผิดของปุโรหิตนั้นเท่านั้น. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลายได้ยินว่า ปุโรหิตของพระราชาเป็นความหาว่า พวกเกวียนตีตน แต่ตนเองกลับเป็นฝ่ายผิด. พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 595

พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าด้วยเรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ปุโรหิตนี้ก็กระทํากรรมเห็นปานนี้เหมือนกันแล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอํามาตย์ผู้วินิจฉัยของพระเจ้าพาราณสีนั้นเอง. ข้อความทั้งหมดที่ว่า ครั้งนั้น ปุโรหิตของพระราชา ไปยังบ้านส่วยของตนด้วยรถดังนี้เป็นต้น เป็นเช่นกับข้อความอันมีแล้วในเบื้องต้นนั่นแหละ. แต่ในชาดกนี้ เมื่อปุโรหิตนั้นกราบทูลพระราชาแล้ว พระราชาประทับนั่ง ณ โรงวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง รับสั่งให้เรียกพวกนายเกวียนมา มิได้ทรงชําระการกระทําให้ชัดเจน ตรัสว่าพวกเจ้าตีปุโรหิตของเรา ทําให้หน้าผากโปขึ้น แล้วตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงปรับพวกเกวียนเหล่านั้นทั้งหมดคนละพัน. ลําดับนั้น พระโพธิสัตว์กราบทูลพระราชานั้นว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ยังมิได้ทรงชําระการกระทําให้ชัดแจ้งเลย ทรงให้ปรับพวกเกวียนเหล่านั้นทั้งหมดคนละพัน ด้วยว่าคนบางจําพวก แม้ประหารตนด้วยตนเองก็กล่าวหาว่า ถูกคนอื่นประหาร เพราะฉะนั้น การไม่วินิจฉัยแล้วสั่งการ ไม่ควร ธรรมดาพระราชาผู้ครองราชสมบัติใคร่ครวญแล้วสั่งการจึงจะควร แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 596

ข้าแต่พระราชา บุคคลทําร้ายตนเองกลับกล่าวหาว่า คนอื่นทําร้าย ดังนี้ก็มี โกงเขาแล้ว กลับกล่าวหาว่า เขาโกงดังนี้ก็มี ไม่ควรเชื่อคําของโจทก์ฝ่ายเดียว.

เพราะฉะนั้น บุคคลผู้เป็นเชื้อชาติบัณฑิต ควรฟังคําแม้ของฝ่ายจําเลยด้วย เมื่อฟังคําของโจทก์และจําเลย คู่ความทั้งสองฝ่ายแล้ว พึงปฏิบัติตามธรรม.

คฤหัสถ์ผู้ยังบริโภคกาม เกียจคร้านไม่ดีบรรพชิตผู้ไม่สํารวม ไม่ดี พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทําไป ไม่ดี บัณฑิตมีความโกรธเป็นเจ้าเรือน ก็ไม่ดี.

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ กษัตริย์ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงควรกระทํา ไม่ทรงใคร่ครวญก่อน ไม่ควรกระทํา อิสริยยศและเกียรติศัพท์ ย่อมเจริญแก่กษัตริย์ผู้ทรงใคร่ครวญแล้วกระทํา.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 597

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าอปิ หนฺตฺวาความว่า เออก็ คนบางพวกทําร้ายตนด้วยตนเอง ยังพูดคือกล่าวหาว่า ถูกคนอื่นทําร้าย.บทว่า เชตฺวา ชิโต ความว่า ก็หรือว่า คนเองโกงคนอื่นแล้วกล่าวหาว่าเราถูกโกง. บทว่า เอตทตฺถุ ความว่า ข้าแต่มหาราช บุคคลไม่ควรเชื่อคําของโจทก์ผู้ไปยังราชสกุลแล้วกล่าวหาก่อน ชื่อว่าผู้ฟ้องร้องก่อนโดยแท้ คือไม่พึงเชื่อคําของโจทก์โดยส่วนเดียว. บทว่าตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ไม่ควรเชื่อคําของผู้ที่มาพูดก่อนโดยส่วนเดียว. บทว่า ยถา ธมฺโม ความว่า สภาวะ (หลักการ) วินิจฉัยตั้งไว้อย่างใด พึงกระทําอย่างนั้น. บทว่า อสฺโต ได้แก่ ผู้ไม่สํารวมกายเป็นต้น คือ เป็นผู้ทุศีล. บทว่า ตํ น สาธุ ความว่าความโกรธกล่าวคือความขุ่นเคืองอันมั่นคง โดยการยึดถือไว้ตลอดระยะกาลนานของบัณฑิต คือบุคคลผู้มีความรู้นั้น ไม่ดี. บทว่านานิสมฺม ได้แก่ ไม่ทรงใคร่ครวญแล้ว ไม่ควรกระทํา. บทว่าทิสมฺปติ ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้เป็นใหญ่แห่งทิศทั้งหลาย.บทว่า ยโส กิตฺติ จ ความว่า บริวาร คือความเป็นใหญ่ และเกียรติศัพท์ย่อมเจริญ.

พระราชาได้สดับคําของพระโพธิสัตว์แล้ว ทรงวินิจฉัยตัดสินโดยธรรม. เมื่อทรงวินิจฉัยโดยธรรม โทษผิดจึงมีแก่พราหมณ์เท่านั้นแล.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 598

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้เป็นพราหมณ์นี่แหละในบัดนี้ส่วนอํามาตย์ผู้เป็นบัณฑิต ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถารถลัฏฐิชาดกที่ ๒