พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ราโชวาทชาดก ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้นํา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35785
อ่าน  680

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 606

๔. ราโชวาทชาดก

ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้นํา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 606

๔. ราโชวาทชาดก

ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้นํา

[๖๓๔] ถ้าเมื่อโคทั้งหลายว่ายข้ามแม่น้ำไป โคหัวหน้าฝูงว่ายคด เมื่อโคผู้นําฝูงว่ายคดอย่างนี้ โคทั้งหมดก็ย่อมว่ายคดไปตามกัน.

[๖๓๕] ในมนุษย์ทั้งหลายก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติไม่เป็นธรรม ประชาชนนอกนี้ก็ประพฤติไม่เป็นธรรมโดยแท้ ถ้าพระราชาผู้เป็นใหญ่ไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐย่อมอยู่เป็นทุกข์ทั่วกัน.

[๖๓๖] ถ้าเมื่อโคทั้งหลายว่ายข้ามแม่น้ำไปโคหัวหน้าฝูงว่ายข้ามตรง เมื่อโคผู้นําฝูงว่ายข้ามตรงอย่างนั้น โคทั้งหมดก็ย่อมว่ายข้ามตรงไปตามกัน

[๖๓๗] ในหมู่มนุษย์ทั้งหลายก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติเป็นธรรม ประชาชนนอกนี้ก็

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 607

ย่อมประพฤติเป็นธรรมไปตามโดยแท้ ถ้าพระราชาเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม รัฐก็ย่อมอยู่เป็นสุขทั่วกัน.

จบ ราโชวาทชาดกที่ ๔

อรรถกถาโชวาทชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภราโชวาท จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า ควนฺเจ ตรมานานํ ดังนี้

เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งในสกุณชาดก ส่วนในชาดกนี้ พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร แม้พระราชาครั้งแต่ก่อน ทรงสดับถ้อยคําของบัณฑิตทั้งหลายแล้ว ครองราชสมบัติโดยธรรม บําเพ็ญทางไปสวรรค์ให้บริบูรณ์ไปแล้ว อันพระราชาทรงอาราธนาแล้วจึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว เรียนศิลปะทั้งปวงเสร็จแล้ว บวชเป็นฤาษี ทําอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดแล้ว มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่ในหิมวันตประเทศอันน่ารื่นรมย์. ในกาลนั้น พระราชาทรงรังเกียจโทษมิใช่คุณความดี ทรงพระดําริว่า ใครๆ ผู้กล่าวโทษใช่คุณของเรา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 608

มีอยู่หรือ จึงทรงแสวงหาอยู่ มิได้พบเห็นใครๆ ผู้มักกล่าวโทษของพระองค์ทั้งในอันโตชนและพาหิรชน ทั้งในพระนครและนอกพระนคร ทรงพระดําริว่า ในชาวชนบทจะเป็นอย่างไรบ้าง จึงปลอมพระองค์ เสด็จเที่ยวไปตามชนบท แม้ในชนบทนั้น ก็มิได้ทรงเห็นคนผู้กล่าวโทษ ได้ทรงสดับแต่คําสรรเสริญคุณของพระองค์นั้น จึงทรงดําริว่า ในหิมวันตประเทศจะเป็นอย่างไรบ้าง แล้วเสด็จเข้าไปยังป่าเที่ยวไปจนถึงอาศรมของพระโพธิสัตว์ ทรงอภิวาทพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว ทรงทําปฏิสันถารแล้วประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์นําผลนิโครธสุกจากป่ามาบริโภค. ผลนิโครธสุกเหล่านั้นหวานมีโอชะ มีรสเสมอด้วยจุรณน้ำตาลกรวด. พระโพธิสัตว์นั้นทูลเชิญพระราชาแล้วทูลว่า ท่านผู้มีบุญมาก เชิญท่านบริโภคผลนิโครธสุกนี้แล้วดื่มน้ำ. พระราชาทรงกระทําอย่างนั้นแล้วตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอะไรหนอ ผลนิโครธสุกนี้จึงหวานดีจริง. พระโพธิสัตว์ทูลว่า ท่านผู้มีบุญมาก พระราชาทรงครองราชสมบัติโดยธรรมโดยเสมอเป็นแน่ เพราะเหตุนั้นแหละผลนิโครธสุกนั้น จึงหวาน. พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ในเวลาที่พระราชาได้ดํารงอยู่ในธรรม ผลนิโครธสุกย่อมไม่หวานหรือหนอ.พระโพธิสัตว์ทูลว่า ใช่ ท่านผู้มีบุญมาก เมื่อพระราชาทั้งหลายไม่ดํารงอยู่ในธรรม น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้นก็ดี รากไม้และผลไม้ในป่าเป็นต้นก็ดี ย่อมไม่หวาน หมดโอชะ อีกอย่างหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 609

มิใช่สิ่งเหล่านี้อย่างเดียว แม้รัฐทั้งสิ้นก็หมดโอชะ ไร้ค่า แต่เมื่อพระราชาทั้งหลายนั้นทรงดํารงอยู่ในธรรม แม้สิ่งเหล่านั้นก็ย่อมหวานมีโอชะ รัฐแม้ทั้งสิ้นก็ย่อมมีโอชะเหมือนกัน. พระราชาตรัสว่าท่านผู้เจริญ คงจักเป็นอย่างนั้น ทรงไม่ให้รู้ว่าพระองค์เป็นพระราชาเลย ทรงไหว้พระโพธิสัตว์แล้วเสด็จไปยังนครพาราณสี ทรงดําริว่าจักทดลองทําตามคําของพระดาบส จึงทรงครองราชสมบัติโดยไม่เป็นธรรม ทรงดําริว่า จักรู้ความจริงในบัดนี้ จึงให้เวลาล่วงไปเล็กน้อยแล้วเสด็จไปที่สํานักของพระโพธิสัตว์นั้นอีก ทรงไหว้แล้วประทับนั่งณ ส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็กล่าวเหมือนอย่างนั้นแหละแล้วได้ถวายผลนิโครธสุกแก่พระราชานั้น. ผลนิโครธสุกนั้นได้มีรสขมแก่พระราชานั้น. พระราชาทรงรู้สึกว่าไม่มีรสหวาน จึงถ่มทิ้งพร้อมกับเขฬะ แล้วกล่าวว่า ขม ท่านผู้เจริญ. พระโพธิสัตว์ทูลว่าท่านผู้มีบุญมาก พระราชาจักไม่ทรงประพฤติธรรมเป็นแน่ เพราะในกาลที่พระราชาทั้งหลายไม่ทรงประพฤติธรรม สิ่งทั้งหมดตั้งต้นแต่ผลาผลในป่า ย่อมหารสหาโอชะมิได้ แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ถ้าเมื่อโคทั้งหลายว่ายข้ามแม่น้ำไป โคหัวหน้าฝูงว่ายคด เมื่อโคผู้นําฝูงว่ายคดอย่างนี้ โคทั้งหมดก็ย่อมว่ายคดไปตามกัน.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 610

ในมนุษย์ทั้งหลายก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติไม่เป็นธรรม ประชาชนนอกนี้ก็ประพฤติไม่เป็นธรรมโดยแท้ ถ้าพระราชาผู้เป็นใหญ่ไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐก็ย่อมอยู่เป็นทุกข์ทั่วกัน.

ถ้าเมื่อโคทั้งหลายว่ายข้ามแม่น้ำไปโคหัวหน้าฝูงว่ายข้ามไปตรง เมื่อโคหัวหน้าฝูงว่ายข้ามไปตรงอย่างนั้น โคทั้งหมดก็ย่อมว่ายข้ามไปตรงตามกัน.

ในหมู่มนุษย์ทั้งหลายก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติเป็นธรรม ประชาชนนอกนี้ก็ย่อมประพฤติเป็นธรรมโดยแท้ ถ้าพระราชาเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม รัฐก็ย่อมอยู่เป็นสุขทั่วกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ควฺเจ ตรมานานํ ความว่าเมื่อโคทั้งหลายว่ายข้ามแม่น้ำ. บทว่า ชิมฺหํ ได้แก่ คด คือ โค้ง.บทว่า เนนฺเต ความว่า เมื่อโคผู้หัวหน้าโค คือโคจ่าฝูงผู้เป็น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 611

หัวหน้าโค นําไปคือพาไป. บทว่า ปเคว อิตรา ปชา ความว่าสัตว์ทั้งหลายนอกนี้ ก็ย่อมประพฤติไม่เป็นธรรมตามๆ กัน. บทว่าทุกฺขํ เสติ ความว่า มิใช่จะอยู่เป็นทุกข์อย่างเดียวย่อมได้ประสบทุกข์ในอิริยาบถแม้ทั้ง ๔ ด้วย. บทว่า อธมฺมิโก ความว่า ถ้าพระราชาประพฤติไม่เป็นธรรม โดยลุแก่อคติมีฉันทาคติเป็นต้น. บทว่าสุขํ เสติ ความว่า ถ้าพระราชาทรงละการลุอํานาจอคติ ดํารงอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมดย่อมจะถึงความสุขอย่างเดียว ในอิริยาบถทั้ง ๔.

พระราชาทรงสดับธรรมของพระโพธิสัตว์ จึงให้รู้ว่าพระองค์เป็นพระราชา แล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพเจ้าเองกระทําผลนิโครธสุกให้หวาน แล้วได้ทําให้ขม บัดนี้ จักกระทําให้หวานต่อไป แล้วทรงไหว้พระโพธิสัตว์ เสด็จกลับพระนครครองราชสมบัติโดยธรรม ได้ทรงกระทําสรรพสิ่งทั้งปวงให้กลับเป็นปกติตามเดิม.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพรนะอานนท์ ส่วนดาบสได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาราโชวาทชาดกที่ ๔