พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ชัมพุกชาดก ว่าด้วยโทษที่ไม่รู้ประมาณตน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35786
อ่าน  429

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 612

๕. ชัมพุกชาดก

ว่าด้วยโทษที่ไม่รู้ประมาณตน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 612

๕. ชัมพุกชาดก

ว่าด้วยโทษที่ไม่รู้ประมารตน

[๖๓๘] ดูก่อนสุนัขจิ้งจอก ช้างนั้นตัวใหญ่ร่างกายสูง งาก็ยาว ตัวท่านไม่ได้เกิดในตระกูลสัตว์ที่จะจับมันได้.

[๖๓๙] ผู้ใดมิใช่ราชสีห์ ยกตนเพราะสําคัญว่าเป็นราชสีห์ ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือนสุนัขจิ้ง-จอกถูกช้างเหยียบ นอนหายใจแขม่วๆ อยู่บนแผ่นดิน.

[๖๔๐] ผู้ใดไม่รู้จักกําลังกาย กําลังความคิด และชาติของผู้มียศเป็นชนชั้นสูง มีข้อลําล่ําสันกําลังมาก ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือนสุนัขจิ้งจอกถูกช้างเหยียบนอนตายอยู่นี้.

[๖๔๑] ส่วนผู้ใดใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทําการงาน รู้จักกําลังกายและกําลังความคิดของตนกําหนดด้วยคําพูดอันประกอบด้วยปัญญาเป็นวาจาสุภาษิตผู้นั้นย่อมมีชัยอย่างไพบูลย์.

จบ ชัมพุกชาดกที่ ๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 613

อรรถกถาชัมพุกชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงปรารภเหตุที่พระเทวทัตทําท่าทางอย่างพระสุคตเจ้า จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า พฺรหา ปวฑฺฒกาโย ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารแล้วในขึ้นหลังแล. ส่วนในชาดกนี้มีความย่อดังต่อไปนี้ :- พระศาสดาตรัสถามว่า สารีบุตร พระเทวทัตเห็นพวกเธอแล้วกระทําอย่างไร พระเถระจึงกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเทวทัตนั้นเมื่อจะกระทําตามพระองค์ ให้พันในมือข้าพระองค์แล้วนอน ที่นั้น พระโกกาลิกะจึงเอาเข่าประหารพระเทวทัตนั้นที่อก พระเทวทัตนั้นกระทําตามพระองค์ ได้เสวยทุกข์เห็นปานนี้.พระศาสดาทรงสดับดังนั้นจึงตรัสว่า สารีบุตร เทวทัตกระทําตามกิริยาท่าทางของเรา จึงเสวยความทุกข์ มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ก็ได้เสวยมาแล้วเหมือนกัน อันพระเถระทูลอาราธนาแล้วจึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกําเนิดราชสีห์ อยู่ในถ้ำ ณ หิมวันตประเทศ วันหนึ่ง ฆ่ากระบือแล้วกินเนื้อ ดื่มน้ำ แล้วกลับมายังถ้ำสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งพบราชสีห์นั้น เมื่อไม่อาจหลบหนี จึงนอนหมอบเมื่อราชสีห์กล่าวว่าอะไรกัน สุนัขจิ้งจอก มันจึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 614

ข้าพเจ้าจักอุปัฏฐากท่าน. ราชสีห์กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงมา แล้วนําสุนัขจิ้งจอกนั้นไปยังสถานที่อยู่ของตน แล้วนําเนื้อมาเลี้ยงดูมันทุกวันๆ เมื่อสุนัขจิ้งจอกนั้นมีร่างกายอ้วนพีเพราะกินเดนของราชสีห์วันหนึ่ง เกิดมานะขึ้นมาก มันจึงเข้าไปหาราชสีห์แล้วกล่าวว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าเป็นกังวลสําหรับท่านมาตลอดกาลนาน ท่านนําเนื้อมาเลี้ยงข้าพเจ้าเป็นนิจ วันนี้ ท่านจงอยู่ที่นี้แหละ ข้าพเจ้าจักฆ่าช้างเชือกหนึ่งกินเนื้อมันแล้วจักนํามาเผือท่านด้วย. ราชสีห์กล่าวว่า สุนัขจิ้งจอกเจ้าอย่าพอใจเรื่องฆ่าช้างนี้เลย เพราะเจ้ามิได้เกิดในกําเนิดสัตว์ที่ฆ่าช้างกินเนื้อ เราจักฆ่าช้างให้แก่เจ้า ธรรมดาช้างทั้งหลายตัวใหญ่ร่างกายสูง เจ้าอย่าสวนหน้าจับ เจ้าจงทําตามคําของเราแล้วกล่าวคาถาที่๑ ว่า :-

ดูก่อนสุนัขจิ้งจอก ช้างนั้นตัวใหญ่ร่างกายสูง งาก็ยาว ตัวเจ้าไม่ได้เกิดในตระกูลสัตว์ที่จะจับช้างได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหา แปลว่า ใหญ่ บทว่าปวฑฺฒกาโย ได้แก่ มีร่างกายสูงตระหง่าน. บทว่า ทีฆทาโฒความว่า ช้างนั้นมีงายาว มันจะเอางาประหารผู้เช่นเจ้าให้ถึงความสิ้นชีวิต. บทว่า ยตฺถ ความว่า เจ้ามิได้เกิดในตระกูลราชสีห์ที่จะจับช้างซับมันตัวประเสริฐ. อธิบายว่า ก็เจ้าเกิดในตระกูลสุนัขจิ้งจอก

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 615

สุนัขจิ้งจอก เมื่อราชสีห์ห้ามอยู่ ก็ขึ้นออกจากถ้ำ บันลืออย่างสุนับจิ้งจอก ๓ ครั้งว่า ฮกๆ ๆ แล้วยืนบนยอดเขา แลดูที่เชิงเขาเห็นช้างดําเชือกหนึ่งกําลังเดินไปตามเชิงเขา จึงโดดไปหมายว่าจักตกลงบนกระพองของช้างนั้น แต่พลาดตกไปที่ใกล้เท้า. ช้างยกเท้าหน้าเหยียบลงบนกระหม่อมของสุนัขจิ้งจอกนั้น ศีรษะแตกแหลกละเอียดเป็นจุรณวิจุรณไป. สุนัขจิ้งจอกนั้นนอนทอดถอนใจอยู่ ณ ที่นั้นเอง.ช้างส่งเสียงโกญจนาทแปรนแปรนหลีกไป. พระโพธิสัตว์ไปยืนอยู่บนยอดเขา เห็นสุนัขจิ้งจอกนั้นถึงความพินาศ จึงกล่าวว่า สุนัขจิ้งจอกได้รับความฉิบหายเพราะอาศัยมานะของตน แล้วกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-

ผู้ใดมิใช่ราชสีห์ ยกตนเพราะสําคัญว่าเป็นราชสีห์ ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือนสุนัขจิ้งจอกถูกช้างเหยียบนอนหายใจแขม่วอยู่บนแผ่นดิน.

ผู้ใดไม่รู้จักกําลังกาย กําลังความคิดและชาติสกุลของผู้มียศ เป็นคนชั้นสูง มีข้อลําล่ําสัน มีกําลังมาก ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือนสุนัขจิ้งจอก ถูกช้างเหยียบนอนตายอยู่นี้.

ส่วนผู้ใดใคร่ครวญก่อนแล้ว จึงทําการงาน รู้จักกําลังกายและกําลังความคิดของตน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 616

ด้วยการเล่าเรียนด้วยความคิด และด้วยคําสุภาษิต ผู้นั้นย่อมมีชัยอย่างไพบูลย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิกุพฺพติ ได้แก่ ย่อมยังตนให้แปรเปลี่ยนไป. บทว่า กุฏุว แปลว่า เหมือนสุนัขจิ้งจอก. บทว่าอนุตฺถุนํ แปลว่า ทอดถอนใจอยู่. ท่านกล่าวคําอธิบายนี้ไว้ว่า สุนัขจิ้งจอกนี้ได้รับทุกขเวทนาอย่างมหันต์ นอนถอนใจอยู่บนภาคพื้นฉันใด แม้คนอื่นที่ด้วยกําลังทําการทะเลาะกับผู้มีกําลังก็ฉันนั้น ย่อมเป็นผู้เห็นปานสุนัขจิ้งจอกนั้นทีเดียว. บทว่า ยสสฺสิโน ได้แก่ ผู้มีความเป็นใหญ่. บทว่า อุตฺตมปุคฺคลสฺส ได้แก่ บุคคลผู้สูงสุดด้วยกําลังกายและกําลังญาณ. บทว่า สฺชาตกฺขนฺธสฺส ได้แก่ มีข้อลําใหญ่ตั้งอยู่เรียบร้อย. บทว่า มหพฺพลสฺส ได้แก่ ผู้มีเรี่ยวแรงมาก.บทว่า ถามพลูปปตฺตึ ความว่า ไม่รู้กําลัง คือเรี่ยวแรง และการอุปบัติคือชาติกําเนิดเป็นราชสีห์ ของราชสีห์เห็นปานนี้ ใจความดังนี้ก็มีว่า สุนัขจิ้งจอกไม่รู้แรงกาย กําลังญาณและการอุปบัติเป็นราชสีห์.บทว่า ส เสติ ความว่า สุนัขจิ้งจอกนี้นั้นสําคัญแม้ตนว่าเป็นเช่นราชสีห์นั้น จึงถูกช้างฆ่านอนตายอยู่. บทว่า ปมาย ได้แก่ ใคร่ครวญคือ พิจารณา. บาลีว่า ปมาณา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ผู้ใดถือประมาณของตนแล้วกระทําโดยประมาณของตน. บทว่า. ถามพลํ ได้แก่ กําลังคือเรี่ยวแรง. อธิบายว่า เรี่ยวแรงทางกายและกําลังญาณดังนี้บ้างก็ได้.บทว่า ชปฺเปน ได้แก่ ด้วยการเล่าเรียน คือการศึกษา. บทว่า มนฺเตน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 617

ได้แก่ ด้วยการปรึกษากับบัณฑิตทั้งหลายอื่นแล้วจึงกระทํา. บทว่าสุภาสิเตน ได้แก่ ด้วยคําพูดอันไม่มีโทษ ประกอบด้วยคุณมีสัจจะเป็นต้น. บทว่า ปริกขวา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยการกําหนด. บทว่าโส วิปุลํ ชินาติ บุคคลใดย่อมเป็นผู้เห็นปานนั้น คือ เมื่อจะทําการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง รู้เรี่ยวแรงกาย และกําลังความรู้ของตนแล้วกําหนดด้วยอํานาจการศึกษาเล่าเรียนและการปรึกษาหารือ พูดแต่คําเป็นสุภาษิตจึงกระทํา บุคคลนั้นย่อมชนะคือไม่เสื่อมประโยชน์อันไพบูลย์และมากมาย

พระโพธิสัตว์กล่าวกรรมที่ควรกระทําในโลกนี้ด้วยคาถา ๓ คาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้น ได้เป็นเทวทัตในบัดนี้ ส่วนราชสีห์ในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาชัมพุกชาดกที่ ๕