พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. พรหาฉัตตชาดก เอาของน้อยแลกของมาก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35787
อ่าน  424

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 618

๖. พรหาฉัตตชาดก

เอาของน้อยแลกของมาก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 618

๖. พรหาฉัตตชาดก

เอาของน้อยแลกของมาก

[๖๔๒] พระองค์ตรัสเพ้ออยู่ว่า หญ้าๆ ใครหนอนําเอาหญ้ามาถวายพระองค์ พระองค์มีกิจด้วยหญ้าหรือหนอ จึงตรัสถึงแต่หญ้าเท่านั้น.

[๖๔๓] ฉัตตฤๅษีผู้มีร่างกายสูงใหญ่เป็นพรหม-จารี เป็นพหูสูต มาอยู่ณ ที่นี้ เขาลักเอาทรัพย์ของเราจนหมดสิ้นแล้ว ยังใส่หญ้าไว้ในนุ่มแล้วหนีไป.

[๖๔๔] การถือเอาทรัพย์ของตนไปหมด และการไม่ถือเอาหญ้า เป็นกิจที่ผู้ปรารถนาของน้อย แลเอาของมากพึงกระทําอย่างนั้นฉัตตฤๅษีใส่หญ้าไว้ในตุ่มหนีไปแล้ว การปริเวทนาเพราะเรื่องนั้น จะมีประโยชน์อะไร.

[๖๔๕] ผู้มีศีลทั้งหลายย่อมไม่ทําอย่างนั้น คนพาลย่อมกระทําอนาจารอย่างนี้ ความเป็น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 619

บัณฑิตจักทําคนทุศีล มีศีลไม่ยั่งยืน ให้เป็นคนอย่างไร.

จบ พรหาฉัตตชาดกที่ ๖

อรรถกถาพรหาฉัตตชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุโกหก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า ติณํ ติณนฺติลปสิ ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันได้กล่าวไว้แล้วเหมือนกัน. ส่วนเรื่องในอดีตมีข้อความดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร.พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอํามาตย์ผู้สอนอรรถและธรรม ของพระเจ้าพาราณสีนั้น. พระเจ้าพาราณสีทรงยกกองทัพใหญ่ไปเฉพาะพระเจ้าโกศล เสด็จในนครสาวัตถีเข้านครแล้วจับพระเจ้าโกศลได้ด้วยการรบ. ก็พระเจ้าโกศลมีพระราชโอรสนามว่าฉัตตกุมาร. ฉัตตกุมารนั้นปลอมเพศหนีออกไปยังเมืองตักกศิลาเรียนไตรเพท และศิลปศาสตร์๑๘ ประการ แล้วเสด็จออกจากเมืองตักกศิลา เที่ยวศึกษาศิลปะทุกลัทธิจนถึงปัจจันตคามแห่งหนึ่ง มีพระธิดาบส ๕๐๐ รูป อาศัยปัจจันตคามนั้นอยู่ณ บรรณศาลาในป่า. พระกุมารเข้าไปหาดาบสเหล่านั้นแล้วคิดว่า จักศึกษาอะไรๆ ในสํานักของพระดาบสแม้เหล่านี้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 620

จึงบวชแล้วเรียนเอาสิ่งที่พระดาบสเหล่านั้นรู้ทั้งหมด ครั้นต่อมา เธอได้เป็นศาสดาในคณะ. อยู่มาวันหนึ่ง เรียกหมู่ฤๅษีมาแล้วถามว่าท่านผู้เนียรทุกข์ทั้งหลาย เพราะเหตุไรพวกท่านจึงไม่ไปยังมัชฌิมประเทศ. หมู่ฤาษีจึงกล่าวว่า ท่านผู้เนียรทุกข์ ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ทั้งหลายในมัชณิมประเทศเป็นบัณฑิต เขาถามปัญหา ให้ทําอนุโมทนาให้กล่าวมงคล ย่อมติเตียนผู้ไม่สามารถ เราทั้งหลายไม่ไป เพราะความกลัวอันนั้น. ฉัตตดาบสจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลยข้าพเจ้าจักทํากิจนั้นทั้งหมด. หมู่ดาบสจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นพวกเราจะไป. ดาบสทั้งปวงถือเอาเครื่องหาบบริขารของตนๆ ถึงเมืองพาราณสีโดยลําดับ.

ฝ่ายพระเจ้าพาราณสีทรงกระทําราชสมบัติของพระเจ้าโกศลให้อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว ทรงตั้งผู้ควรแก่พระราชา (ข้าหลวง) ไว้ในนครนั้น ส่วนพระองค์ทรงพาเอาทรัพย์ที่มีอยู่ในนครนั้นไปยังนครพาราณสี ให้บรรจุเต็มตุ่มโลหะแล้วฝังไว้ในพระราชอุทยานในสมัยนั้น ประทับอยู่เฉพาะในนครพาราณสีนั่นเอง. ครั้งนั้นพระฤๅษีเหล่านั้นอยู่ในพระราชอุทยานตลอดคืน พอวันรุ่งขึ้น จึงเข้าไปภิกขาจารยังพระนคร แล้วได้ไปยังประตูพระราชนิเวศน์. พระราชาทรงเลื่อมใสในอิริยาบถของพระฤาษีเหล่านั้น จึงให้นิมนต์มาแล้ว ให้นั่ง ณ ท้องพระโรง ถวายข้าวยาคูและของเคี้ยว แล้วตรัสถามปัญหานั้นๆ จนถึงเวลาภัตตาหาร. ฉัตตดาบสเมื่อจะทําพระหฤทัยของพระ-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 621

ราชาให้ยินดี จึงแก้ปัญหาทั้งปวง ในเวลาเสร็จภัตกิจ ได้กระทําอนุ-โมทนาอันวิจิตรงดงาม. พระราชาทรงเลื่อมใสยิ่งขึ้น ทรงรับปฏิญญาให้พระฤๅษีเหล่านั้นแม้ทั้งหมดอยู่ในพระราชอุทยาน. ฉัตตฤๅษีรู้มนต์สําหรับขนขุมทรัพย์ เธอเมื่ออยู่ในพระราชอุทยานนั้นคิดว่า พระเจ้าพาราณสีนี้ทรงฝังทรัพย์อันเป็นของพระบิดาเราไว้ ณ ที่ไหนหนอจึงร่ายมนต์แล้วตรวจดูอยู่ ก็รู้ว่าฝังไว้ในพระราชอุทยาน จึงคิดว่าจักถือเอาทรัพย์ในที่นี้แล้วไปยึดเอาราชสมบัติขิงเรา จึงเรียกดาบสทั้งหลายมาแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เนียรทุกข์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นโอรสของพระเจ้าโกศล พระเจ้าพาราณสียึดเอาราชสมบัติของข้าพเจ้ามาข้าพเจ้าจึงปลอมเพศออกมา ตามรักษาชีวิตตนตลอดกาลประมาณเท่านี้ บัดนี้ข้าพเจ้าได้ทรัพย์อันเป็นของตระกูลแล้ว ข้าพเจ้าจักถือเอาแล้วไปยึดเอาราชสมบัติของตน ท่านทั้งหลายจักกระทําอย่างไร. พวกฤๅษีทั้งหลายจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายจักไปกับท่านเหมือนกัน.ฉัตตฤๅษีนั้นรับคําว่าตกลง แล้วให้ทํากระสอบหนังใหญ่ๆ ในเวลากลางคืน จึงขุดภาคพื้นขนตุ่มทรัพย์ขึ้นมา ใส่ทรัพย์ลงในกระสอบทั้งหลาย แล้วบรรจุหญ้าไว้เต็มตุ่มแทนทรัพย์ ให้ฤๅษี ๕๐๐ และมนุษย์อื่นๆ ถือทรัพย์พากันหนีไปถึงนครสาวัตถี ให้จับพวกข้าหลวงแล้วยึดเอาราชสมบัติไว้ จึงให้ทําการซ่อมแซมกําแพงและป้อมค่ายเป็นต้น กระทํานครนั้นให้เป็นนครที่ราชาผู้เป็นข้าศึก จะยึดไม่ได้ด้วยการสู้รบอีกต่อไป แล้วครอบครองพระนครอยู่. ฝ่ายพระเจ้า-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 622

พาราณสี พวกราชบุรุษกราบทูลว่า ดาบสทั้งหลายถือเอาทรัพย์จากพระราชอุทยานหนีไปแล้ว ท้าวเธอจึงเสด็จไปยังพระราชอุทยานรับสั่งให้เปิดตุ่มขุมทรัพย์ ทรงเห็นแต่หญ้าเท่านั้น. ท้าวเธอเกิดความเศร้าโศกอย่างใหญ่หลวง เพราะอาศัยทรัพย์เป็นเหตุ. จึงเสด็จไปยังพระนคร เสด็จเที่ยวบ่นเพ้ออยู่ว่าหญ้าๆ ใครๆ อื่นไม่สามารถทําความเศร้าโศกของพระราชานั้นให้ดับลงได้. พระโพธิสัตว์คิดว่า ความเศร้าโศกของพระราชาใหญ่หลวงนัก พระองค์ทรงเที่ยวบ่นเพ้ออยู่ ก็เว้นเราเสีย ใครๆ อื่นไม่สามารถจะบรรเทาความเศร้าโศกของท้าวเธอได้ เราจักกระทําท้าวเธอให้หมดเศร้าโศก. วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นนั่งเป็นสุขอยู่กับพระราชานั้น ในเวลาที่พระราชาทรงบ่นเพ้อ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

พระองค์ตรัสเพ้ออยู่ว่า หญ้าๆ ใครหนอนําเอาหญ้ามาถวายพระองค์ พระองค์มีกิจด้วยหญ้าหรือหนอ จึงตรัสถึงแต่หญ้าเท่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺนุ เต ติณฺกิจฺจตฺถิ ความว่ากิจที่จะพึงทําด้วยหญ้ามีอยู่แก่พระองค์หรือหนอ. บทว่า ติณเมวปภาสสิ ความว่า เพราะพระองค์ตรัสถึงแต่หญ้าอย่างเดียวว่า หญ้าหญ้า หาได้ตรัสว่า หญ้าชื่อโน้นไม่ ขอพระองค์จงตรัสชื่อของหญ้านั้นก่อนว่า หญ้าชื่อโน้น ข้าพระองค์ทั้งหลายจักนํามาถวายพระองค์

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 623

เออก็หญ้าจะมีประโยชน์อะไรแก่พระองค์ ขอพระองค์โปรดอย่าทรงตรัสพร่ําเพ้อเอาหญ้าเป็นเหตุเลย.

พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-

ฉัตตฤๅษีผู้มีร่างกายสูงใหญ่ เป็นพรหม-จารี เป็นพหูสูต มาอยู่ณ ที่นี้ เขาลักทรัพย์ของเราจนหมด แล้วใส่หญ้าไว้ในตุ่มแทนทรัพย์แล้วหนีไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหา แปลว่า สูง. คําว่า ฉตฺโตเป็นชื่อของพระฤๅษีนั้น. บทว่า สพฺพํ สมาทาย ได้แก่ ถือเอาทรัพย์ทั้งหมด. ด้วยบทว่า นิกฺขิปฺป คจฺฉติ นี้ พระเจ้าพาราณสีเมื่อจะแสดงว่า ฉัตตฤๅษีใส่หญ้าในตุ่มแล้วหนีไป จึงตรัสอย่างนั้น.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

การถือเอาทรัพย์ของตนไปหมด และการไม่ถือเอาหญ้า เป็นกิจที่ผู้ปรารถนาเอาของน้อยมาแลกของมาก พึงกระทําอย่างนั้นฉัตตฤๅษีใส่หญ้าในตุ่มหนีไปแล้ว การร่ําไรรําพรรณในเรื่องนั้น จะมีประโยชน์อะไร.

คําที่เป็นคาถานั้น มีความหมายดังนี้ :- การถือเอาทรัพย์อันเป็นของพระราชบิดาไปทั้งหมด และการไม่ถือเอาหญ้าที่ไม่ควรจะเอา

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 624

ไปนั้น เป็นกิจที่ผู้ปรารถนาทรัพย์ด้วยหญ้าอันมีประมาณน้อย จะพึงกระทําอย่างนั้น ข้าแต่มหาราชเจ้า ดังนั้น ฉัตตฤๅษีผู้มีร่างกายสูงใหญ่นั้น จึงถือเอาทรัพย์อันเป็นของพระราชบิดาตนซึ่งควรจะถือเอาแล้วบรรจุหญ้าที่ไม่ควรถือเอาไว้ตุ่มหนีไปแล้ว จะมัวร่ําไรรําพรรณอะไรกันในเรื่องนั้น.

พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๔ ว่า :-

ผู้มีศีลทั้งหลายย่อมไม่ทําอย่างนั้น คนพาลย่อมทําอนาจารอย่างนี้เป็นปกติ ความเป็นบัณฑิตจักทําคนผู้ทุศีล มีศีลไม่ยั่งยืนให้เป็นคนอย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลวนฺโต ความว่า บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่กระทํากรรมเห็นปานนั้น. บทว่า พาโล สีลานิ กุพฺพติ ความว่า ส่วนคนพาลย่อมทําปกติกล่าวคืออนาจารของตนเห็นปานนี้ได้. บทว่า อนิจฺจสีลํ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยศีลอันไม่ยั่งยืน คือไม่เป็นไปตลอดกาลนาน. บทว่าทุสฺสีลฺยํ ได้แก่ ผู้ทุศีล. บทว่า กึ ปณฺฑิจฺจํ กริสฺสติ ความว่าความเป็นบัณฑิตที่อบรมมาด้วยความเป็นพหูสูตร จักการทําบุคคลเห็นปานนั้นให้เป็นอย่างไร คือจักให้เขาถึงพร้อมอะไร คือจักนําความวิบัติแก่เขาเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 625

พระเจ้าพาราณสีนั้น ครั้นตรัสติเตียนฉัตตฤๅษีนั้นแล้ว เป็นเป็นผู้หมดความเศร้าโศกเพราะคาถาของพระโพธิสัตว์นั้น ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พรหาฉัตตฤๅษีในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุโกหกในบัดนี้ ส่วนอํามาตย์ผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคตฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาพรหาฉัตตชาดกที่ ๖