พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ถุสชาดก ว่าด้วยรู้จักแกลบหรือข้าวสารในที่มืด

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35789
อ่าน  413

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 632

๘. ถุสชาดก

ว่าด้วยรู้จักแกลบหรือข้าวสารในที่มืด


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 632

๘. ถุสชาดก

ว่าด้วยรู้จักแกลบหรือข้าวสารในที่มืด

[๖๕๐] แกลบปรากฏโดยความเป็นแกลบแก่หนูทั้งหลาย และข้าวสารก็ปรากฏโดยความเป็นข้าวสารแก่พวกมัน แม้ในที่มืด พวกมันเว้นแกลบเสีย กินแต่ข้าวสาร.

[๖๕๑] การปรึกษาในป่าก็ดี การพูดกระซิบกันในบ้านก็ดี และการคิดหาโอกาสฆ่าเราในบัดนี้ก็ดี เรารู้หมดแล้ว.

[๖๕๒] ได้ยินว่า ลิงตัวที่เป็นพ่อเอาฟันกัดภาวะบุรุษของลูกผู้เกิดตามสภาพ เสียแต่ยังเยาว์ทีเดียว.

[๖๕๓] การที่เจ้าดิ้นรนอยู่เหมือนแพะตาบอดในไร่ผักกาดก็ดี นอนอยู่ภายใต้ที่นอนก็ดี เรารู้หมดสิ้นแล้ว.

จบ ถุสชาดกที่ ๘

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 633

อรรถกถาถุสชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงปรารภพระเจ้าอชาตศัตรู จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า วิทิตํถุสํ ดังนี้.

ได้ยินว่า เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นอยู่ในพระครรภ์ของพระมารดานั้น พระมารดาของเธอผู้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าโกศลเกิดแพ้พระครรภ์ อยากดื่มพระโลหิตในพระขาณุข้างขวาของพระเจ้าพิมพิสาร เป็นอาการแรงกล้า. พระนางถูกนางสนมผู้รับใช้ทูลถามจึงบอกความนั้นแก่นางสนมเหล่านั้น. ฝ่ายพระราชาได้ทรงสดับแล้วรับสั่งให้เรียกโหรผู้ทํานายนิมิตมาแล้วตรัสถามว่า เขาว่าพระเทวีทรงเกิดการแพ้พระครรภ์เห็นปานนี้ ความสําเร็จของพระนางจะเป็นอย่างไร? พวกโหรผู้ทํานายนิมิตกราบทูลว่า สัตว์ผู้อุบัติในพระครรภ์ของพระเทวี จักปลงพระชนม์พระองค์แล้วยึดราชสมบัติ. พระราชาตรัสว่า บุตรของเราจักฆ่าเราแล้วยึดราชสมบัติ ในข้อนั้น จะมีโทษอะไร แล้วทรงเฉือนพระชานุข้างขวาด้วยพระแสงมืด เอาจานทองรองรับพระโลหิตแล้วประทานให้พระเทวีดื่ม พระเทวีนั้นทรงดําริว่าถ้าโอรสผู้เกิดในครรภ์ของเราจักปลงพระชนม์พระบิดาไซร้ เราจะประโยชน์อะไรด้วยพระโอรสนั้น พระนางจึงให้รีดพระครรภ์ เพื่อให้ครรภ์ตกไป. พระราชาทรงทราบจึงรับสั่งให้เรียกพระเทวีนั้นมา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 634

แล้วตรัสว่า นางผู้เจริญ นัยว่าบุตรของเราจักฆ่าเราแล้วยึดราชสมบัติก็เราจะไม่แก่ไม่ตายก็หามิได้ เธอจงให้เราเห็นหน้าลูกเถิด จําเดิมแต่นี้ไป เธออย่าได้กระทํากรรมเห็นปานนี้. จําเดิมแต่นั้น พระเทวีเสด็จไปพระราชอุทยานแล้วให้รีดครรภ์. พระราชาได้ทรงทราบ จึงทรงห้ามเสด็จไปพระราชอุทยาน จําเดิมแต่กาลนั้น. พระเทวีทรงมีพระครรภ์ครบบริบูรณ์แล้วประสูติพระโอรส. ก็ในวันขนานนามพระโอรสนั้น เขาขนานพระนามว่า อชาตศัตรูกุมาร เพราะเป็นศัตรูต่อพระบิดาตั้งแต่ยังไม่ประสูติ. เมื่ออชาตศัตรูกุมารนั้นทรงเจริญเติบโตอยู่ด้วยกุมารบริหาร วันหนึ่ง พระศาสดาแวดล้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ เสด็จไปนิเวศน์ของพระราชาแล้วประทับนั่งอยู่. พระราชาทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยของเคี้ยวและของฉันอันประณีตทรงนมัสการแล้วประทับนั่งสดับธรรมอยู่. ขณะนั้น พระพี่เลี้ยงแต่งองค์พระกุมารแล้วได้ถวายพระราชา. พระราชาทรงรับพระโอรสด้วยพระสิเนหาเป็นกําลัง ให้นั่งบนพระเพลาทรงปลาบปลื้มอยู่เฉพาะพระโอรส ด้วยความรักในพระโอรส มิได้ทรงสดับพระธรรม. พระศาสดาทรงทราบความประมาทของพระราชา จึงตรัสว่า มหาบพิตร พระราชาทั้งหลายในครั้งก่อน ทรงระแวงพระโอรสทั้งหลาย ถึงกับให้กระทําไว้ในที่อันมิดชิดให้ขัง แล้วตรัสสั่งไว้ว่า เมื่อเราล่วงไปแล้ว ท่านทั้งหลายจงนําออกมาให้ดํารงอยู่ในราชสมบัติ อันพระราชาทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 635

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักกศิลาสอนศิลปะ พวกราชกุมารและพราหมณกุมารเป็นจํานวนมาก. พระโอรสของพระราชาในนครพาราณสี เสด็จไปยังสํานักของพระโพธิ์สัตว์นั้นในเวลาพระองค์มีพระชนมายุ ๑๖ พรรษาเรียนไตรเพท และศิลปะทุกอย่าง เป็นผู้มีศิลปะครบบริบูรณ์แล้ว. จึงตรัสลาอาจารย์. อาจารย์จึงตรวจดูพระราชกุมารนั้น ด้วยวิชาดูอวัยวะ. แล้วคิดว่า อันตรายเพราะอาศัยพระโอรสจะปรากฏแก่พระราชกุมารนี้ เราจะปัดเป่าอันตรายนั้นไปเสียด้วยอานุภาพของตน จึงได้ผูกคาถาขึ้น ๔ คาถาถวายแก่พระราชกุมาร ก็แหละเมื่อให้คาถาอย่างนี้แล้ว จึงกําชับพระราชกุมารนั้นว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าดํารงอยู่ในราชสมบัติแล้ว ในเวลาโอรสของเจ้ามีชนมายุ ๑๖ พรรษา เมื่อจะเสวยพระกระยาหาร พึงกล่าวคาถาที่หนึ่ง ในเวลามีการเข้าเฝ้าเป็นการใหญ่ พึงกล่าวคาถาที่ ๒ เมื่อเสด็จขึ้นปราสาทประทับยืนที่หัวบันได พึงกล่าวคาถาที่ ๓ เมื่อเสด็จเข้าห้องบรรทมประทับยืนที่ธรณีประตู พึงกล่าวคาถาที่ ๔ พระราชกุมารนั้นรับคํา จึงไหว้อาจารย์แล้วไป ได้ดํารงอยู่ในตําแหน่งอุปราชเมื่อพระบิดาล่วงไปจึงดํารงอยู่ในราชสมบัติ. พระโอรสของท้าวเธอในเวลามีพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา ได้เห็นสิริสมบัติของพระราชาผู้เสด็จออกเพื่อประโยชน์แก่กิจมีกีฬาในพระราชอุทยานเป็นต้น มีความประสงค์จะปลงพระชนม์พระบิดาแล้ว ยึดครองราชสมบัติจึง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 636

ตรัสแก่พวกผู้ปฏิบัติบํารุงของพระองค์. พวกผู้ปฏิบัติบํารุงเหล่านั้นพากันทูลว่า ดีแล้ว ขอเดชะ ประโยชน์อะไรด้วยความเป็นใหญ่ที่ได้ในตอนแก่ ควรจะปลงพระชนม์พระราชาเสียด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วยึดครองราชสมบัติ. พระกุมารคิดว่า เราจะให้พระราชบิดาเสวยยาพิษสวรรคต เมื่อจะเสวยพระกระยาหารเย็นกับพระราชบิดาจึงถือยาพิษประทับนั่งอยู่. เมื่อพระกระยาหารในภาชนะกระยาหารยังไม่มีใครถูกต้องเลย พระราชาได้ตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-

แกลบปรากฏโดยความเป็นแกลบแก่หนูทั้งหลาย และข้าวสารก็ปรากฏโดยความเป็นข้าวสารแก่พวกมัน แม้ในที่มืด พวกมันก็เว้นแกลบเสียกินแข้าวสาร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิทิตํ ความว่า ในที่มืดแม้มีฝนดําแกลบก็แจ่งแจ้งปรากฏโดยความเป็นแกลบ ข้าวสารก็แจ่มแจ้งปรากฏโดยความเป็นข้าวสาร แก่หนูทั้งหลาย. แต่ในที่นี้ ท่านกล่าวโดยเป็นลิงควิปลาส (ลิงค์เคลื่อนคลาดตามหลักไวยากรณ์) ว่า ถุสํ คณฺฑุลํบทว่า ขาทเร ความว่า หนูทั้งหลายเว้นแกลบกินแต่ข้าวสารเท่านั้น.ท่านกล่าวอธิบายต่อไปว่า ลําดับนั้น พระกุมารคิดว่า แม้ในที่มืดแกลบก็ปรากฏโดยความเป็นแกลบ ข้าวสารปรากฏโดยความเป็นข้าวสาร แก่หนูทั้งหลาย พวกมันเว้นแกลบกินแต่ข้าวสาร ฉันใด ความที่เรานั่งกุมยาพิษร้ายก็ปรากฏ ฉันนั้นเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 637

พระกุมารดําริว่า พระบิดารู้เราแล้ว จึงทรงกลัว ไม่อาจใส่ยาพิษในภาชนะพระกระยาหาร ลุกขึ้นถวายบังคมพระราชาแล้วเสด็จไป. พระกุมารจึงไปบอกเรื่องนั้นแก่พวกผู้ปฏิบัติบํารุงของพระองค์แล้วตรัสถามว่า วันนี้ พระราชบิดารู้เราเสียก่อน บัดนี้ พวกเราจักปลงพระชนม์อย่างไร? ตั้งแต่นั้น พวกผู้ปฏิบัติบํารุงเหล่านั้นจึงหลบซ่อนอยู่ในพระราชอุทยานกระซิบหารือกัน ตกลงว่า มีอุบายอย่างหนึ่ง จึงกําหนดลงว่า ในเวลาเสด็จไปสู่ที่เฝ้าครั้งใหญ่ๆ ผูกสอดพระแสงขรรค์ประสงค์ประทับยืนในระหว่างพวกอํามาตย์ พอรู้ว่าพระราชาเผลอ จึงเอาพระแสงขรรค์ประหารให้สิ้นพระชนม์ ย่อมควร. พระกุมารรับว่าได้ แล้วผูกสอดพระแสงขรรค์แล้วเสด็จไปคอยมองหาโอกาสที่จะประหารพระราชาอยู่รอบด้าน. ขณะนั้น พระราชาได้ตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-

การปรึกษากันในป่าก็ดี การพูดกระซิบกันในบ้านก็ดี และการคิดหาโอกาสฆ่าเราในบัดนี้ก็ดี เรารู้หมดแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรฺสฺมึ ได้แก่ ในพระราชอุทยาน. บทว่า นิกณฺณิกา ได้แก่ ปรึกษากันใกล้ๆ หู. บทว่ายฺเจตํ อิติ จินฺตี จ ได้แก่ การแสวงหาโอกาสฆ่าเราในบัดนี้นั้นก็ดี. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ดูก่อนพ่อกุมาร การที่ท่านกระซิบกระซาบปรึกษากันทั้งในอุทยานและในบ้าน และเหตุแห่งความคิดว่าเพื่อ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 638

ต้องการฆ่าเราในบัดนี้นั้นก็ดี เรารู้หมดแล้ว.

พระกุมารคิดว่า พระบิดารู้ว่าเราเป็นศัตรู จึงหนีไปบอกแก่พวกปฏิบัติบํารุงๆ ทําเวลาให้ผ่านพ้น ๗ - ๘ วัน จึงทูลว่า ข้าแต่พระกุมาร พระบิดาย่อมไม่รู้ว่าพระองค์เป็นศัตรู พระองค์ได้สําคัญไปอย่างนั้น เพราะการคิดคาดคะเนเอา พระองค์จงปลงพระชนม์พระบิดานั้นเถิด. วันหนึ่ง พระกุมารนั้นถือพระแสงขรรค์แล้วได้ยืนอยู่ที่ประตูห้อง ใกล้หัวบันได. ครั้งนั้น พระราชาประทับยืนอยู่ที่หัวบันได ตรัสคาถาที่ ๓ :-

ได้ยินว่า ลิงตัวที่เป็นพ่อเอาฟันกัดผลคือภาวะแห่งบุรุษของลูกที่เกิดตามสภาวะเสียงแต่ยังเยาว์ทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน ได้แก่ ตามสภาวะ. บทว่าปุตฺตสฺส ปิตา ได้แก่ ลิงตัวที่เป็นพ่อของลูก คือลูกลิง. ท่านกล่าวคําอธิบายนี้ไว้ว่า ลิงที่เกิดในป่ารังเกียจการบริหารฝูงของตนเอาฟันกัดผลของลูกลิงเฉพาะตัวที่เป็นหนุ่ม ทําปุริสภาวะให้พินาศไปฉันใดเราเพิกถอนผลเป็นต้นแม้ของท่าน ผู้ประสงค์ราชสมบัติเกินไปจักทําปุริสภาจะให้พินาศไปฉันนั้น.

พระกุมารคิดว่า พระบิดาประสงค์จะให้จับเรา จึงตกพระทัยกลัวเสด็จหนีไปบอกแก่พวกผู้ปฏิบัติบํารุงว่า พระบิดาทรงคุกคามเรา

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 639

คนเหล่านั้น เมื่อล่วงเวลาไปประมาณกึ่งเดือน จึงทูลว่า ข้าแต่พระกุมาร ถ้าพระราชาพึงทรงทราบเหตุการณ์นั้น จะไม่พึงอดกลั้นอยู่ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ พระองค์ตรัสโดยการคิดคาดคะเนเอา พระองค์จงปลงพระชนม์พระราชานั้นเสียเถิด. วันหนึ่งพระกุมารนั้นถือพระขรรค์เสด็จเข้าไปยังพระที่สิริไสยาส ในปราสาทชั้นบนแล้วนอนอยู่ในใต้บัลลังก์ ด้วยหวังใจว่า จักประหารพระราชบิดาเมื่อเสด็จมาถึงทันที. พระราชาเสวยพระกระยาหารเย็นแล้วส่งชนบริวารกลับไป ทรงดําริว่าจักบรรทมจึงเสด็จเข้าห้องบรรทมอันประกอบด้วยสิริ ประทับยืนที่ธรณีประตูแล้วตรัสคาถาที่ ๔ ว่า :-

การที่เจ้าดิ้นรนอยู่เหมือนแพะตาบอดในไร่ผักกาดก็ดี นอนอยู่ภายใต้นี้ก็ดี เรารู้หมดสิ้นแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริสปฺปสิ ได้แก่ ได้อยู่ทางโน้นทางนี้ เพราะกลัว. บทว่า สาสเป แปลว่า ในไร่ผักกาด. บทว่าโยปายํ ตัดเป็น โยปิ อยํ . ท่านกล่าวคําอธิบายนี้ไว้ว่า เจ้าดิ้นรนไปทางโน้นทางนี้ เพราะความกลัว เหมือนแพะตาบอดที่เข้าไปยังดงผักกาด คือครั้งที่๑ เจ้าถือเอายาพิษมา ครั้งที่๒ ประสงค์จะประหารด้วยพระขรรค์จึงมา ครั้งที่ ๓ ได้ถือพระขรรค์มายืนที่หัวบันได และบัดนี้ เจ้าคิดว่าจักประหารพระราชานั้น จึงมานอนอยู่ใต้ที่นอนทั้งหมดนั้น เรารู้อยู่ บัดนี้จะไม่ละเจ้าไว้จักจับเจ้าลงราชอาญา พระ-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 640

ราชานั้นถึงจะไม่ทรงทราบอย่างนั้น แต่คาถานั้นๆ ก็ส่องความนั้นๆ.

พระกุมารคิดว่า พระราชบิดาทรงทราบเราแล้ว บัดนี้ จักทรงทําเราให้พินาศ จึงตกพระทัยกลัว จึงออกมาจากใต้พระที่บรรทมทิ้งพระขรรค์ ณ ที่ใกล้พระบาทพระราชานั่นเอง หมอบลงที่ใกล้บาทมูลกราบทูลขอโทษว่า ขอเดชะๆ พระราชบิดาโปรดงดโทษแก่หม่อมฉันเถิด. พระราชาทรงขู่พระกุมารนั้นว่า เจ้าคิดว่า ใครๆ จะไม่รู้การกระทําของเรา แล้วรับสั่งให้จองจําด้วยเครื่องจองจําคือโซ่ตรวน แล้วให้ส่งเข้าเรือนจําตั้งการอารักขาไว้. ในกาลนั้น พระราชาทรงสํานึกได้ถึงคุณงามความดีของพระโพธิสัตว์. ต่อมา พระราชานั้นเสด็จสวรรคต พวกอํามาตย์ราชเสวกกระทําการถวายพระเพลิงพระศพของท้าวเธอแล้ว จึงนําพระกุมารออกจากเรือนจํา ให้ดํารงอยู่ในราชสมบัติ.

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงตรัสเหตุนี้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระราชาในครั้งก่อนทรงรังเกียจเหตุที่ควรรังเกียจอย่างนี้ แม้พระองค์จะทรงตรัสอย่างนี้ พระราชาก็มิได้ทรงกําหนดไม่รู้สึกพระองค์ พระศาสดาทรงประชุมชาดกว่าอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักกศิลาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคตฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาถุสชาดกที่ ๘