๙. พาเวรุชาดก ว่าด้วยพวกเดียรถีย์เสื่อมลาภสักการะ
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 641
๙. พาเวรุชาดก
ว่าด้วยพวกเดียรถีย์เสื่อมลาภสักการะ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 641
๙. พาเวรุชาดก
ว่าด้วยพวกเดียรถีย์เสื่อมลาภสักการะ
[๖๕๔] เพราะยังไม่เห็นนกยูงซึ่งมีหงอน มีเสียงไพเราะ ชนทั้งหลายในพาเวรุรัฐ จึงพากันบูชากา ด้วยเนื้อและผลไม้.
[๖๕๕] แต่เมื่อใด นกยูงผู้สมบูรณ์ไปด้วยเสียงมายังพาเวรุรัฐ เมื่อนั้น ลาภและสักการะของกาก็เสื่อมไป.
[๖๕๖] พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชา ส่องแสงสว่าง ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้นเพียงใด ชนทั้งหลาย ก็พากันบูชาสมณพราหมณ์เหล่าอื่นอยู่เป็นอันมากเพียงนั้น.
[๖๕๗] แต่เมื่อใด พระพุทธเจ้าผู้มีพระสุรเสียงอันไพเราะ ได้ทรงแสดงธรรมแล้ว เมื่อนั้นลาภและสักการะของพวกเดียรถีย์ก็เสื่อมไป.
จบ พาเวรุชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 642
อรรถกถาพาเวรุรัฐชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภเถียรถีย์ทั้งหลายผู้เสื่อมลาภสักการะ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า อทสฺสเนน โมรสฺส ดังนี้.
ได้ยินว่า พวกเดียรถีย์ทั้งหลาย เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ ได้เป็นผู้มีลาภ แต่เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เป็นผู้เสื่อมลาภสักการะ เป็นเสมือนหิ่งห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น. ภิกษุทั้งหลายปรารถเรื่องราวนั้นของเดียรถีย์เหล่านั้น จึงประชุมสนทนากันในโรงธรรมสภา. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายบัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เรื่องนี้ พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า มิใช่บัดนี้เท่านั้นน่ะภิกษุทั้งหลายแม้ในกาลก่อน พวกผู้ที่ไร้คุณได้เป็นผู้ถึงความเลิศด้วยลาภและยศตราบเท่าที่ผู้มีคุณยังไม่อุบัติขึ้น เมื่อผู้มีคุณทั้งหลายอุบัติขึ้นแล้ว พวกผู้ที่ไร้คุณก็เป็นผู้เสื่อมลาภสักการะไป แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในกําเนิดนกยูง อาศัยความเจริญเติบโต ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความงดงาม ท่องเที่ยวไปในป่า. ในกาลนั้น พ่อค้าพวกหนึ่งพากาสําหรับบอกทิศไปยังพาเวรุรัฐโดยทาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 643
เรือ. ได้ยินว่าในกาลนั้นเท่านั้น ขึ้นชื่อว่านกทั้งหลายย่อมไม่มีใน.พาเวรุรัฐ. พวกชาวแว่นแคว้นที่ผ่านไปๆ เห็นกานั้นซึ่งจับอยู่ในกรงจึงสรรเสริญก้าวนั้นนั่นแหละว่า จงดูผิวพรรณอเนกตัวนี้ จะงอยปากอยู่สุดปลายคอ นัยน์ตาเหมือนก้อนแก้วมณี แล้วกล่าวกะพ่อค้าเหล่านั้นว่า ข้าแต่เจ้านายทั้งหลาย ท่านจงให้นกตัวนี้แก่พวกเรา แม้พวกเราก็มีความต้องการนกตัวนี้ ท่านทั้งหลายจักได้นกตัวอื่นในแว่นแคว้นของตน. พวกพ่อค้ากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายจงถือเอาด้วยราคา. ชาวพาเวรุรัฐกล่าวว่า โปรดให้แก่พวกเราด้วยราคาห้ากหาปณะพวกพ่อค้าตอบว่า ให้ไม่ได้ เมื่อชาวพาเวรุรัฐประมูลราคาขึ้น โดยลําดับกล่าวว่า โปรดให้ด้วยราคาหนึ่งร้อย. พวกพ่อค้าจึงพูดว่า นกนี้มีอุปการะแก่พวกเราเป็นอันมาก แต่จะขอเป็นไมตรีกับพวกท่าน จึงได้ถือเอาร้อยกหาปณะแล้วให้นกไป. ชาวพาเวรุรัฐเหล่านั้นนํานกนั้นไปใส่ไว้ในกรงทอง ปรนนิบัติด้วยปลา เนื้อ และผลไม้น้อยใหญ่มีประการต่างๆ . ในที่ที่นกอื่นๆ ไม่มี กาผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ประการ ได้เป็นผู้ถึงความเลิศด้วยลาภสักการะ. อีกครั้งหนึ่ง พ่อค้าเหล่านั้นจับพระยานกยูงได้ตัวหนึ่ง ให้สําเนียกโดยร้องด้วยเสียงดีดนิ้วมือ และฟ้อนด้วยเสียงปรบมือ แล้วได้ไปยังพาเวรุรัฐ. พระยานกยูงนั้น เมื่อมหาชนประชุมกัน จึงยืนที่แอกเรือกางปีกออกแล้วเปล่งเสียงอันไพเราะฟ้อนอยู่ คนทั้งหลายเห็นดังนั้นเกิดความโสมนัสพากันกล่าวว่า ข้าแต่เจ้านาย ท่านทั้งหลายจงให้พระยานกนี้ที่ถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 644
ความเลิศด้วยความงาม ซึ่งฝึกมาดีแล้ว แก่พวกข้าพเจ้าเถิด. พวกพ่อค้าตอบว่า ครั้งแรก พวกเรานํากามาท่านทั้งหลายก็เอากานั้นเสียคราวนี้ เรานําพระยานกยูงตัวหนึ่งมา ก็ขอนกยูงตัวนี้อีก ชื่อว่านกในแว่นแคว้นของท่านทั้งหลาย พวกเราไม่อาจจับเอามา. ชาวพาเวรุ-รัฐกล่าวว่า เอาเถิดเจ้านาย ท่านทั้งหลายจักได้นกแม้ตัวอื่นในแคว้นของตน จงให้นกยูงตัวนี้แก่พวกเราเถิด แล้วประมูลราคาซื้อเอาไว้ด้วยทรัพย์หนึ่งพัน. ทีนั้น ก็จัดให้นกยูงนั้นอยู่ในกรงอันวิจิตรตระการ ด้วยรัตนะ ๗ ปรนนิบัติด้วยปลา เนื้อ ผลไม้น้อยใหญ่ และข้าวตอกเคล้าน้ำผึ้งกับน้ำดื่มเจือด้วยน้ำตาลกรวดเป็นต้น พระยานกยูงถึงความเลิศด้วยลาภและเลิศด้วยยศ. จําเดิมแต่กาลที่พระยานกยูงนั้นมาแล้วลาภและสักการะของกาก็เสื่อมถอยไป. ใครๆ ไม่ปรารถนาแม้จะดูมัน. กาเมื่อไม่ได้ขาทนียโภชนียาหาร จึงร้อง กา กา บินไปลงที่พื้นกองหยากเยื่อ.
พระศาสดาครั้นทรงสืบต่อเรื่องทั้งสองเรื่องแล้ว ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งเอง ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
เพราะยังไม่เห็นนกยูงซึ่งเป็นนกมีหงอนมีเสียงไพเราะ ชนทั้งหลายในพาเวรุรัฐนั้นจึงพากันบูชากา ด้วยเนื้อและผลไม้.
แต่เมื่อใด นกยูงผู้สมบูรณ์ไปด้วยเสียง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 645
มายังพาเวรุรัฐ เมื่อนั้น ลาภและสักการะของกาก็เสื่อมไป.
พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชา ผู้ส่องแสงสว่างไสว ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น เพียงใดชนทั้งหลายก็พากันบูชาสมณพราหมณ์เหล่าอันอยู่เป็นอันมาก เพียงนั้น.
แต่เมื่อใด พระพุทธเจ้าผู้มีพระสุรเสียงอันไพเราะ ได้ทรงแสดงธรรมแล้ว เมื่อนั้นลาภและสักการะของพวกเดียรถีย์ก็เสื่อมไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิขิโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยหงอน. บทว่า มฺชุภาณิโน แปลว่า ผู้มีเสียงเพราะ. บทว่าอปูเชสุํ แปลว่า ได้บูชาแล้ว. บทว่า ผเลน จ ได้แก่ ผลไม้น้อยใหญ่มีประการต่างๆ . บทว่า พาเวรุมาคโต แปลว่า มายังพาเวรุรัฐ. บาลีเป็น ปาเวรุํ ดังนี้ก็มี. บทว่า อหายถ ได้แก่เสื่อมไปแล้ว. บทว่า ธมฺมราชา ความว่า ที่ชื่อว่าธรรมราชา เพราะยังบริษัทให้ยินดีด้วยโลกุตตรธรรม ๙. บทว่า ปภงฺกโร ความว่าชื่อว่าผู้ส่องแสงสว่างไสว เพราะส่องแสงสว่างไปในสัตว์โลก โอกาสโลก และสังขารโลก. บทว่า สรสมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 646
เสียงประดุจเสียงพรหม. บทว่า ธมฺมํ อเทสยิ ได้แก่ ทรงประกาศสัจจธรรมทั้ง ๔.
พระศาสดาครั้นตรัสพระคาถา ๔ คาถานี้ด้วยประการดังนี้แล้วจึงทรงประชุมชาดกว่า กาในครั้งนั้น ได้เป็นนิครนถ์นาฏบุตรในบัดนี้ส่วนพระยานกยูงในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกกาพาเวรุรัฐชาดกที่ ๙