พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. กุนตินีชาดก ว่าด้วยการเชื่อมิตรภาพ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35799
อ่าน  504

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 661

๓. กุนตินีชาดก

ว่าด้วยการเชื่อมิตรภาพ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 661

๓. กุนตินีชาดก

ว่าด้วยการเชื่อมิตรภาพ

[๖๗๐] หม่อมฉันได้อาศัยอยู่ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์ พระองค์ทรงอุปถัมภ์บํารุงมาเป็นอย่างดีมิได้ขาด มีบัดนี้ พระองค์ทีเดียวได้ก่อเหตุขึ้น ข้าแต่พระราชา ผิฉะนั้นหม่อมฉันจะขอทูลลาไปป่าหิมพานต์.

[๖๗๑] ผู้ใดแล เมื่อคนอื่นทําธรรนอันชั่วร้ายให้แก่ตนแล้ว และตนก็ได้ทําตอบแทนแล้วย่อมรู้สึกได้ว่า เราได้ทําตอบแก่เขาแล้วเวรของผู้นั้นย่อมสงบไปด้วยอาการเพียงเท่านี้ดูก่อนนางนกกะเรียน ท่านจงอยู่เถิด อย่าเพิ่งไปเลย.

[๖๗๒] มิตรภาพของผู้ที่ถูกทําร้ายกับผู้ที่ทําร้ายย่อมเชื่อมกันไม่ติดอีก ใจของหม่อมฉันไม่อนุญาตให้อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐเพราะเหตุนั้น หม่อมฉันขอทูลลาไป

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 662

[๖๗๓] มิตรภาพของผู้ที่ถูกทําร้ายกับผู้ที่ทําร้ายย่อมกลับเชื่อมติดกันได้อีกเฉพาะพวกบัณฑิตด้วยกัน ย่อมเชื่อมกันไม่ติดอีกเฉพาะพวกชนพาล ดูก่อนนางนกกะเรียน ท่านจงอยู่เถิด อย่าไปเลย.

จบ กุนตินีชาดกที่ ๓

อรรถกถากุนตินีชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภนางนกกะเรียนซึ่งอยู่อาศัยในพระราชวังปองพระเจ้าโกศล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า อวสิมฺหา ตวาคาเร ดังนี้.

ได้ยินว่า นางนกกะเรียนนั้นเป็นผู้จําทูลพระราชสาสน์ของพระราชา นางนกนั้นมีลูกนกอยู่ ๒ ตัว. พระราชาทรงให้นางนกนั้นถือพระราชหัตถเลขาไปส่งแก่พระราชาองค์หนึ่ง. ในเวลาที่นางนกนั้นไปแล้ว พวกทารกในราชสกุลพากัน เอามือบีบลูกนกเหล่านั้นจนตายไป. นางนกนั้นกลับมาแล้วเห็นลูกนกเหล่านั้นตายแล้วจึงถามว่าใครฆ่าลูกฉันตาย? เขาบอกว่า เด็กคนโน้นและเด็กคนโน้นฆ่า. ก็ในเวลานั้น ในราชสกุล มีเสือโคร่งที่เลี้ยงไว้ตัวหนึ่งดุร้ายหยาบช้ามันอยู่ได้โดยการล่ามไว้. ทีนั้นพวกเด็กเหล่านั้น ได้ไปเพื่อจะดูเสือโคร่งนั้น. นางนกแม้นั้นก็ได้ไปกับเด็กเหล่านั้น คิดว่า เราจักกระทํา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 663

เด็กเหล่านั้นเหมือนมันฆ่าลูกของเรา จึงพาเด็กเหล่านั้นไปทําให้ล้มลงใกล้เท้าเสือโคร่ง. เสือโคร่งเคี้ยวกินกร้วมๆ . นางนกนั้นคิดว่า บัดนี้มโนรถของเราบริบูรณ์แล้ว จึงบินไปยังหิมวันตประเทศทันที. ภิกษุทั้งหลายได้สดับเหตุนั้นแล้วจึงนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่าอาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่า นางนกกะเรียนในราชสกุล กระตุ้นพวกเด็กที่ฆ่าลูกของตนให้ล้มลงที่ใกล้เท้าเสือโคร่ง แล้วบินไปยังหิมวันตประเทศเลยทีเดียว. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายบัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากินเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เรื่องนี้ พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนนางนกกะเรียนนี้ก็กระตุ้นพวกเด็กผู้ฆ่าลูกของตนให้ล้ม แล้วไปสู่หิมวันตประเทศเหมือนกัน แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระโพธิสัตว์ครองราชสมบัติในนครพาราณสี โดยธรรมโดยสม่ําเสมอ. ในพระราชนิเวศน์ มีนางนกกะเรียนตัวหนึ่ง เป็นผู้จําทูลพระราชสาสน์. ข้อความทั้งหมดเช่นกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นเอง. ส่วนความแผกกันมีดังต่อไปนี้ :- นางนกกะเรียนนั้นให้เสือโคร่งฆ่าเด็กทั้งหลายแล้วคิดว่า บัดนี้ เราไม่อาจอยู่ในที่นี้ เราจักต้องไป แต่เมื่อจะไป ยังไม่กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบก่อนจักไม่ไป นางนกกะเรียนนั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วยืนอยู่ ณส่วนสุดข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนาย พวกเด็กฆ่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 664

ลูกๆ ของข้าพระองค์ เพราะความพลั้งเผลอของพระองค์ ข้าพระองค์เป็นผู้ตกอยู่ในอํานาจของความโกรธ จึงฆ่าเด็กพวกนั้นตอบแทนบัดนี้ ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่ในที่นี้ แล้วกล่าวคาถาที่๑ ว่า :-

ข้าพระองค์ได้อาศัยอยู่ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์ พระองค์ทรงอุปถัมภ์บํารุงเป็นอย่างดีมิได้ขาด มาบัดนี้ พระองค์ทีเดียวได้ก่อเหตุขึ้น ข้าแต่พระราชา ผิฉะนั้น ข้า -พระองค์จะขอทูลลาไปป่าหิมพานต์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวเมวทานิมกริ ความว่า พระองค์นั่นแหละให้ข้าพระองค์ถือพระราชหัตถเลขาไปส่ง ไม่ทรงปกป้องบุตรทั้งหลายของข้าพระองค์ เพราะความประมาทของพระองค์ ชื่อว่าทรงก่อเหตุให้ข้าพระองค์ไปนี้ ณ บัดนี้. ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาตใช้ในอรรถแห่งอุปสรรค. นางนกกะเรียนเรียกพระโพธิสัตว์ว่า ราชา.บทว่า วชามหํ ความว่า ข้าพระองค์จะไปยังหิมวันตประเทศ.

พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-

ผู้ใดแล เมื่อคนอื่นทํากรรมอันชั่วร้ายให้แก่ตนแล้ว และตนได้ทําตอบแทนแล้วย่อมรู้สึกได้ว่า เราได้ทําตอบแทนแล้วเวรของผู้นั้นย่อมสงบไปด้วยอาการเพียงเท่านี้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 665

ดูก่อนนางนกกะเรียน ท่านจงอยู่เถิด อย่าไปเลย.

คําที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า บุคคลใด เมื่อคนอื่นกระทํากรรมอันชั่วร้าย คือกระทํากรรมอันทารุณ มีฆ่าบุตรเป็นต้นของตนเมื่อตนกลับทําตอบซึ่งกรรมอันชั่วร้ายตอบต่อบุคคลนั้นได้ ย่อมรู้สึกว่าเราทําตอบเขาได้แล้ว. เวรนั้นย่อมสงบไปด้วยอาการอย่างนี้ คือ เวรนั้นย่อมสงบคือเข้าไปสงบด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ เพราะเหตุนั้น นางนกกะเรียนเอย เจ้าอยู่เถิดอย่าไปเลย.

นางนกกะเรียนได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

มิตรภาพของผู้ที่ถูกทําร้ายกับผู้ที่ทําร้ายย่อมเชื่อมกันอีกไม่ได้ ใจของข้าพระองค์ไม่ยอมอนุญาตให้อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐเพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จะขอทูลลาไปให้ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น กตสฺส จ กตฺตา จ ความว่าขึ้นชื่อว่ามิตรภาพของตน ๒ จําพวกนี้ คือ คนผู้ถูกกระทํา ถูกข่มเหงถูกเบียดเบียน และคนผู้ทําให้แปรปรวนไปโดยความแตกแยกในบัดนี้ย่อมเชื่อมกันไม่ได้ คือต่อกันไม่ได้อีก. บทว่า หทยํ นานุชานาติความว่า เพราะเหตุนั้น ใจของข้าพระองค์จึงไม่อนุญาตการอยู่ในที่นี้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 666

บทว่า คจฺฉฺเว รเถสภ ความว่า ข้าแต่มหาราช เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จักขอไปอย่างเดียว.

พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่๔ ว่า :-

มิตรภาพของผู้ที่ถูกทําร้ายกับผู้ที่ทําร้ายย่อมเชื่อมกันได้อีกเฉพาะพวกบัณฑิตด้วยกัน แต่สําหรับพวกคนพาลย่อมเชื่อมกันไม่ได้อีก ดูก่อนนางนกกะเรียน เจ้าจงอยู่เถิดอย่าไปเลย.

คําที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า ไมตรีของบุคคลผู้ถูกกระทําและบุคคลผู้กระทํา ย่อมเชื่อมกันได้อีก แต่ไมตรีนั้นย่อมเชื่อมกันได้สําหรับพวกนักปราชญ์ ส่วนสําหรับพวกคนพาลย่อมเชื่อม กันไม่ได้เพราะว่า ไมตรีของนักปราชญ์ทั้งหลาย แม้จะแตกไปแล้วก็กลับเชื่อมต่อได้ ส่วนไมตรีของพวกคนพาล แตกกันคราวเดียว ย่อมเป็นอันแตกไปเลย เพราะฉะนั้น นางนกกะเรียนเอย เจ้าจงอยู่เถิดอย่าไปเลย.

แม้เมื่อตรัสห้ามอยู่อย่างนั้น นางนกก็ยังทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนาย ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่พระเจ้าเฝ้า จึงถวายบังคมพระราชาแล้วบินไปยังหิมวันตประเทศทีเดียว.

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ในกาลนั้นนางนกกะเรียนนั่นแหละ ได้มาเป็น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 667

นางนกกะเรียนในบัดนี้ ส่วนพระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากุนตินีชาดกที่ ๓