พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. อัมพชาดก ว่าด้วยหญิงขะโมยมะม่วง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35800
อ่าน  549

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 668

๔. อัมพชาดก

ว่าด้วยหญิงขะโมยมะม่วง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 668

๔. อัมพชาดก

ว่าด้วยหญิงขโมยมะม่วง

[๖๗๔] หญิงคนใดลักมะม่วงทั้งหลายของท่านหญิงคนนั้นจงตกอยู่ใต้อํานาจของขายผู้ย้อมผม และผู้เดือดร้อนเพราะแหนบ.

[๖๗๕] หญิงคนใดลักมะม่วงทั้งหลายของท่านหญิงคนนั้นถึงจะมีอายุตั้ง ๒๐ ปี ๒๕ ปีหรือไม่ถึง ๓๐ ปี ตั้งแต่เกิดมาแม้เป็นเช่นนั้นอย่าได้ผัวเลย.

[๖๗๖] หญิงคนใดลักมะม่วงทั้งหลายของท่านหญิงคนนั้นถึงจะกระเสือกกระสันเที่ยวหาผัวเดินไปสู่หนทางไกลแสนไกล แต่ลําพังคนเดียว ถึงจะได้นัดแนะกันไว้แล้ว ก็ขออย่าได้พบได้เห็นผัวเลย.

[๖๗๗] หญิงคนใดลักมะม่วงทั้งหลายของท่านหญิงคนนั้นถึงจะมีที่อยู่สะอาด ตบแต่งร่างกายทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยกระแจะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 669

จันทน์ ก็จงนอนอยู่บนที่นอนแต่เพียงคนเดียวเถิด.

จบ อัมพชาดกที่ ๔

อรรถกถาอัมพชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชดวัน ทรงปรารภพระเถระผู้เฝ้ามะม่วงรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่าโย นีลิยํ มณฺฑยติ ดังนี้.

ได้ยินว่า พระเถระนั้นบวชเมื่อภายแก่ สร้างบรรณศาลาอยู่ในสวนมะม่วงท้ายพระเชตวัน ดูแลรักษามะม่วง เคี้ยวกินมะม่วงสุกที่หล่นอยู่. ย่อมให้เฉพาะคนที่เกี่ยวข้องกับตน. เมื่อพระเถระนั้นเข้าไปภิกขาจาร คนลักมะม่วง ทําผลมะม่วงให้หล่นแล้วกินและถือเอาไป. ขณะนั้น ธิดาของเศรษฐี ๔ คน อาบน้ำในแม่น้ำอจิรวดีแล้วเที่ยวไป จึงเข้าไปยังสวนมะม่วงนั้น. พระแก่มาเห็นธิดาเศรษฐีเหล่านั้นจึงกล่าวว่า พวกเจ้ากินมะม่วงของเรา. ธิดาเศรษฐีเหล่านั้นกล่าวว่า. ท่านผู้เจริญ พวกดิฉันเพิ่งมา ไม่ได้กินมะม่วงของท่าน.พระแก่กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นพวกเจ้าจงสบถ. ธิดาเศรษฐีเหล่านั้นรับคําว่าจะกระทําสบถ เจ้าข้า แล้วพากันกระทําสบถ. พระแก่ให้ธิดาเศรษฐีเหล่านั้นทําสบถให้ได้อาย แล้วจึงปล่อยตัวไป. ภิกษุทั้งหลายได้ฟังการกระทํานั้นของพระแก่รูปนั้น จึงสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่าพระแก่รูปโน้น ให้ธิดา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 670

เศรษฐีผู้เข้าไปยังสวนมะม่วงอันเป็นที่อยู่ของตนกระทําสบถ ทําให้ได้อายแล้วปล่อยไป. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายบัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่องอะไร. เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่ชาตินี้เท่านั้นแม้ชาติก่อน พระแก่นี้ได้เป็นผู้เฝ้ามะม่วง ยังธิดาเศรษฐีเหล่านี้ให้ทําการสบถ ทําให้ได้อายแล้วปล่อยไป แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ทรงครองความเป็นท้าวสักกเทวราช. ในกาลนั้น ชฏิลโกงผู้หนึ่งเข้าไปอาศัยนครพาราณสี สร้างบรรณศาลาในสวนมะม่วง ณ ที่ใกล้ฝังแม่น้ำ รักษามะม่วงอยู่ กินผลมะม่วงสุกที่หล่น ให้เฉพาะแก่คนที่เกี่ยวข้องกัน เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพมีประการต่างๆ อยู่. ในกาลนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงดําริว่า ใครหนอบํารุงบิดามารดา ใครหนอประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญที่สุดในสกุล ใครให้ทานรักษาศีล กระทําอุโบสถกรรม ใครบวชแล้วขวนขวายในสมณธรรมอยู่ ใครประพฤติอนาจาร จึงทรงตรวจดูชาวโลก ทรงเห็นชฏิลโกงผู้เฝ้ามะม่วงผู้นี้ไม่มีอาจาระ จึงทรงดําริว่าชฏิลโกงผู้นี้ละทิ้งสมณธรรมของตนมีบริกรรมกสิณเป็นต้น รักษาสวนมะม่วงอยู่ เราจักทําเขาให้สังเวชสลดใจ จึงในเวลาที่ชฎิลโกงนั้นเข้าไปภิกขาจารยังบ้านจึงบันดาลมะม่วงทั้งหลายให้ล้มลงด้วยอานุภาพ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 671

ของพระองค์ ทรงทําให้เสมือนหนึ่งถูกพวกโจรปล้น. ในคราวนั้นธิดาเศรษฐี ๔ คน จากนครพาราณสี เข้าไปยังสวนมะม่วงนั้น.ชฎิลโกงเห็นธิดาเศรษฐีเหล่านั้นจึงอ้างเอาว่า พวกท่านบริโภคมะม่วงของเรา. ธิดาเศรษฐีเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พวกฉันเพิ่งมาเดี๋ยวนี้เอง พวกดิฉันไม่ได้กินมะม่วงของท่าน. ชฏิลโกงพูดว่าถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงสบถ. ธิดาเศรษฐีเหล่านั้นถามว่า ก็พวกดิฉันสบถแล้วจักไปได้กระมัง? ชฎิลโกงกล่าวว่า เออ สบถแล้วจักได้ไป. ธิดาเศรษฐีเหล่านั้นพากันรับคําว่า ดีแล้ว ท่านผู้เจริญเมื่อธิดาเศรษฐีคนใหญ่จะสบถ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

หญิงใดลักมะม่วงของท่าน หญิงนั้นจงตกอยู่ในอํานาจของชายผู้ย้อมผมให้ดําและผู้เดือดร้อนเพราะ ต้องถอนผมหงอกด้วยแหนบ.

คําที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า ชายใดแต่งให้ผมดําซึ่งเอาผลไม้สีเขียวเป็นต้นมาประกอบทํา เพื่อต้องการจะทําผมหงอกให้มีสีดํา และผู้ถอนผมหงอกซึ่งแซมอยู่กับผมดํา ชื่อว่าเดือดร้อน คือลําบากเพราะแหนบ หญิงผู้ลักมะม่วงของท่านจงตกอยู่ในอํานาจของชายแก่เห็นปานนั้น คือจงได้ผัวเห็นปานนั้น.

ดาบสกล่าวว่า เจ้าจงยืนอยู่ในส่วนข้างหนึ่งแล้วให้ธิดาเศรษฐี

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 672

คนที่สองกระทําการสบถ. ธิดาเศรษฐีคนที่สองนั้น เมื่อจะสบถจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

หญิงใดลักมะม่วงของท่าน หญิงนั้นถึงจะมีอายุตั้ง ๒๐ ปี ๒๕ ปี หรือไม่ถึง๓๐ ปี โดยกําเนิด แม้เป็นผู้มีวัยแก่เช่นนั้นก็อย่าได้ผัวเลย.

คําที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า ธรรมดานารีทั้งหลาย ย่อมเป็นที่รักของพวกบุรุษ ในคราวมีอายุประมาณ ๑๕ - ๑๖ ปี แต่หญิงผู้ลักมะม่วงของท่าน อย่าได้สามีในคราวเป็นสาวเห็นปานนั้นพอถึงอายุ ๒๐ ปี หรือ ๒๕ ปี หรือชื่อว่าหย่อน ๓๐ ปี เพราะหย่อนหนึ่งปี สองปีโดยชาติกําเนิด แม้จะเป็นผู้เช่นนั้น คือเป็นผู้มีวัยแก่แล้ว ก็อย่าได้สามี.

เมื่อธิดาเศรษฐีคนที่สองแม้นั้นบถแล้ว ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ธิดาเศรษฐีคนที่สาม จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

หญิงใดลักมะม่วงของท่าน หญิงนั้นถึงจะกระเสือกกระสนเที่ยวหาผัว เดินทางไกลแสนไกลลําพังผู้เดียว ถึงจะได้นัดแนะกันไว้แล้ว ขออย่าได้พบได้เห็นผัวเลย.

คําที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า หญิงใดลักมะม่วงของท่าน หญิงนั้นเมื่อปรารถนาผัว ชื่อว่าเป็นผู้กระเสือกกระสน เพราะในไปใน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 673

สํานักของผัวนั้น ลําพังผู้เดียว คือไม่มีเพื่อน เดินทางไกลแสนไกลประมาณ ๑ คาวุต ๒ คาวุต และแม้ครั้นไปถึงแล้วทําการนัดหมายกันว่า ท่านพึงมายังที่ชื่อโน้น ก็อย่าได้พบเห็นผัวนั้นเลย.

เมื่อธิดาเศรษฐีคนที่สามแม้นั้นสบถแล้วยืน ณ ส่วนข้างหนึ่งธิดาเศรษฐีคนที่สี่ จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

หญิงใดลักมะม่วงของท่าน หญิงนั้นถึงจะมีที่อยู่สะอาด ตกแต่งร่างกาย ทัดทรงดอกไม้ลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ก็จงนอนอยู่บนที่นอนแต่เพียงคนเดียวเถิด.

คาถานั้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

ดาบสโกงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายทําการสบถแข็งแรงมาก คนเหล่าอื่นคงจักกินมะม่วงของเรา บัดนี้พวกท่านไปได้ แล้วส่งธิดาเศรษฐีเหล่านั้นไป. ท้าวสักกะจึงทรงแสดงรูปารมณ์อันน่ากลัว ทําดาบสโกงให้หนีไปจากที่นั้น.

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ชฎิลโกงในครั้งนั้น ได้เป็นพระแก่เฝ้ามะม่วงรูปนี้ธิดาเศรษฐี ๔ คนในครั้งนั้น ได้เป็นธิดาเศรษฐีเหล่านี้แหละ ส่วนท้าวสักกเทวราชในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอัมพชาดกที่ ๔