พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. คชกุมภชาดก ช้าๆ จะได้พร้าสองเล่มงาม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35801
อ่าน  567

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 674

๕. คชกุมภชาดก

ช้าๆ จะได้พร้าสองเล่มงาม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 674

๕. คชกุมภชาดก

ช้าๆ จะได้พร้าสองเล่มงาม

[๖๗๘] ดูก่อนเจ้าตัวโยก ไฟไหม้ป่าคราวใดคราวนั้นเจ้าจะทําอย่างไร เจ้าเป็นสัตว์มีความบากบั่นอ่อนแออย่างนี้.

[๖๗๙] โพรงไม้และระแหงแผ่นดินมีอยู่เป็นอันมากถ้าพวกข้าพเจ้าไปไม่ทันถึงโพรงไม้และระแหงแผ่นดินเหล่านั้น พวกข้าพเจ้าก็ต้องตาย.

[๖๘๐] ในเวลาที่จะต้องทําช้าๆ ผู้ใดรีบด่วนทําเสียเร็ว ในเวลาที่จะต้องรีบด่วนทํากลับทําช้าไป ผู้นั้นย่อมตัดรอนประโยชน์ของตนเองเหมือนคนเหยียบใบตาลแห้งแหลกละเอียดไปฉะนั้น.

[๖๘๑] ในเวลาที่จะต้องทําช้าๆ ผู้ใดทําช้า และในเวลาที่จะต้องรีบทําด่วนก็รีบด่วนทําเสียประโยชน์ของผู้นั้นย่อมบริบูรณ์ เหมือนดวงจันทร์กําจัดมืดเต็มดวงอยู่ ฉะนั้น.

จบ คชกุมภาชาดกที่ ๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 675

อรรถกถาคชกุมภชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุเกียจคร้านรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่าวนํ ยทคฺคิ ทหติ ดังนี้.

ได้ยินว่าภิกษุนั้นเป็นกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถี แม้บวชถวายตนในพระศาสนา ก็ได้เป็นผู้เกียจคร้านเหินห่างจากอุทเทสการเรียนพระบาลี การสอบถาม การโยนิโสมนสิการกัมมัฏฐาน และวัตรปฏิบัติกิจวัตรเป็นต้น เป็นผู้ถูกนิวรณ์ครอบงํา เป็นอยู่อย่างนั้นทุกอิริยาบถมีการนั่งและการยืนเป็นต้น. ภิกษุทั้งหลายสนทนากันปรารภถึงความเกียจคร้านนั้นของเธอ ในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุชื่อโน้น บวชในพระศาสนาอันเป็นนิยยานิกะเครื่องนําออกจากทุกข์เห็นปานนี้ ยังเป็นผู้ขี้เกียจขี้คร้าน ถูกนิวรณ์ครอบงําอยู่. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบว่า เรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนภิกษุนี้ก็เป็นผู้เกียจคร้านเหมือนกัน แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอํามาตย์แก้วของพระเจ้าพาราณสีนั้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 676

พระเจ้าพาราณสีได้เป็นผู้มีพระอัธยาศัยเกียจคร้าน พระโพธิสัตว์คิดว่าเราจักให้พระราชาทรงรู้สึกพระองค์ จึงเที่ยวเสาะหาข้อเปรียบเทียบอย่างหนึ่ง. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปพระราชอุทยาน อันหมู่อํามาตย์ห้อมล้อมเสด็จเที่ยวไปในพระราชอุทยานนั้น ทอดพระเนตรเห็นตัวกระพองช้างตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นสัตว์เกียจคร้านเฉื่อยช้า. เขาว่าสัตว์จําพวกนั้นเป็นสัตว์เฉื่อยช้า แม้จะเดินไปตลอดทั้งวัน ก็ไปได้ประมาณนิ้วหนึ่งหรือสองนิ้ว. พระราชาทรงเห็นดังนั้น จึงตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า สัตว์นั้นชื่ออะไร? พระมหาสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า สัตว์นั้นชื่อคชกุมภะตัวกระพองช้าง แล้วกราบทูลว่าก็สัตว์เห็นปานนี้ เฉื่อยช้าแม้จะเดินไปตลอดทั้งวัน ก็ไปได้เพียงนิ้วหนึ่งหรือสองนิ้วเท่านั้น เมื่อจะเจรจากับตัวกระพองช้างนั้น จึงกล่าวว่า

ดูก่อนคชกุมภะผู้เจริญพวกท่านเดินช้า เมื่อไฟป่าเกิดขึ้นในป่านี้ พวกท่านจะกระทําอย่างไร แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-ดูก่อนเจ้าตัวโยก ไฟไหม้ป่าคราวใดคราวนั้น. เจ้าจะทําอย่างไร เจ้าเป็นสัตว์มีความบากบั่นอ่อนแออย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทคฺคิ ตัดเป็น ยทา อคคิ. บทว่าปาวโก กณฺหวตฺตนิ เป็นชื่อของไฟ. พระโพธิสัตว์เรียกตัวคชกุมภะนั้นว่า ปจลกะ ตัวโยก. เพราะตัวคชกุมภะนั้นเดินโยกตัว หรือ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 677

โยกตัวอยู่เป็นนิตย์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ปจลกะ. บทว่าทนฺธปรกฺกโม แปลว่า มีความเพียรอ่อน.

ตัวคชกุมภะได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

โพรงไม้และช่องแผ่นดิน (ระแหง) มีอยู่เป็นอันมาก ถ้าพวกข้าพเจ้าไปไม่ถึงโพรงไม้หรือช่องแผ่นดินเหล่านั้น พวกข้าพเจ้าก็ต้องตาย.

คําที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า ข้าแต่ท่านบัณฑิต ชื่อว่าการไปที่ยิ่งกว่านี้ของพวกข้าพเจ้าไม่มี ก็ในป่านี้มีโพรงไม้และช่องแผ่นดินอยู่เป็นอันมาก ถ้าพวกข้าพเจ้าไปไม่ทันถึงโพรงไม้หรือช่องแผ่นดินเหล่านั้น พวกข้าพเจ้าก็ต้องตาย คือว่า ความตายเท่านั้นจะมีแก่พวกข้าพเจ้า.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถานอกนี้ว่า :-

ในเวลาที่จะต้องทําช้าๆ ผู้ใดรีบด่วนทําเสียเร็ว ในเวลาที่จะต้องรีบด่วนทํา กลับทําช้าไป ผู้นั้นย่อมตัดรอนประโยชน์ของตนเอง เหมือนคนเหยียบใบตาลแห้งให้แหลกละเอียดไปฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 678

ในเวลาที่จะต้องทําช้าๆ ผู้ใดทําช้า และในเวลาที่จะต้องรีบด่วนทํา ก็รีบด่วนทําประโยชน์ของผู้นั้นย่อมบริบูรณ์ เหมือนดวงจันทร์กําจัดมืดเต็มดวงอยู่ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทนฺธกาเล ความว่า ในเวลาที่จะต้องค่อยๆ ทําการงานนั้นๆ ก็รีบด่วนทําการงานนั้นๆ โดยเร็ว.บทว่า สุกฺขปณฺณํว ความว่า ผู้นั้นย่อมหักรานประโยชน์ของตนเหมือนบุรุษมีกําลัง เหยียบใบตาลแห้งเพราะลมและแดดให้ยับเยินคือทําให้แหลกละเอียดลงในที่นั้นเท่านั้น. บทว่า ทนฺเธติ ความว่าย่อมชักช้า คือ การงานที่จะต้องทําช้าๆ ก็กระทําให้ช้าไว้. บทว่าตารยิ ความว่า และการงานที่จะต้องรีบด่วนกระทํา ก็ด่วนกระทําเสีย. บทว่า สสีว รตฺตึ วิภชํ นี้ ท่านอธิบายว่า ประโยชน์ของบุรุษนั้นย่อมเต็มบริบูรณ์เหมือนดวงจันทร์ ทําราตรีข้างแรมให้โชติช่วง ชื่อว่ากําจัดราตรีข้างแรมเต็มดวงอยู่ทุกวันๆ ฉะนั้น.

พระราชาได้ทรงสดับคําของพระโพธิสัตว์แล้ว ตั้งแต่นั้น ก็มิได้ทรงเกียจคร้าน.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงทรงประชุมชาดกว่า ตัวคชกุมภะในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุเกียจคร้านในบัดนี้ส่วนอํามาตย์ผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล

จบ อรรถกถาคชกุมภชาดกที่ ๕