๗. อยกูฏชาดก ว่าด้วยยักษ์ถือกระบองเหล็กใหญ่
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 688
๗. อยกูฏชาดก
ว่าด้วยยักษ์ถือกระบองเหล็กใหญ่
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 688
๗. อยกูฏชาดก
ว่าด้วยยักษ์ถือกระบองเหล็กใหญ่
[๖๘๖] ท่านผู้ใด ยืนถือพะเนินเหล็กอันใหญ่โตเหลือขนาดอยู่บนอากาศ ท่านผู้นั้นมาสถิตอยู่เพื่อจะคุ้มครองข้าพเจ้าในวันนี้หรือ. หรือจะพยายามมาฆ่าข้าพเจ้า.
[๖๘๗] ดูก่อนพระราชา เราเป็นทูตของพวกยักษ์ถูกพวกยักษ์เหล่านั้นส่งมาที่นี้ เพื่อจะปลงพระชนม์พระองค์ แต่ท้าวสักกรินทร์เทวราชคุ้มครองพระองค์อยู่ เพราะเหตุนั้นเราจึงผ่าพระเศียรของพระองค์ไม่ได้.
[๖๘๘] ก็ถ้าท้าวมัฆวาฬเทวราช ผู้เป็นจอมทวยเทพ พระสวามีของนางสุชาดา คุ้มครองข้าพเจ้าอยู่ ผู้ฉะนั้นพวกปีศาจก็คงคุกคามเหล่าสัตว์ทั้งหลายเป็นแน่ ข้าพเจ้าไม่ได้สะดุ้งกลัวต่อพวกยักษ์เลย.
[๖๘๙] พวกภุมภัณฑ์และพวกปีศาจทั้งมวลจะคร่ําครวญกันไปก็ตามเถิด พวกมันคงไม่อาจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 689
จะต่อยุทธกับข้าพเจ้า กิริยาที่หลอกหลอนของพวกยักษ์ซึ่งทําให้น่ากลัวต่างๆ นั้น มีอยู่เป็นอันมาก แต่ข้าพเจ้าก็ไม่กลัว.
จบ อยกูฏชาดกที่ ๗
อรรถกถาอยกูฏชาดกที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการประพฤติประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคําเริ่มต้นว่า สพฺพายสํ กูฏํ ดังนี้. เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งในมหากัณหชาดก. ส่วนเรื่องในอดีตมีดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าพรหมทัตนั้น. เจริญวัยแล้ว เรียนศิลปศาสตร์ได้แล้ว เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว ได้ดํารงอยู่ในราชสมบัติ ทรงครองราชย์โดยธรรม. ในครั้งนั้น คนทั้งหลายเป็นผู้ถือเทวดาเป็นมงคล พากันฆ่าแพะเป็นต้นมากมาย กระทําพลีกรรมแก่เทวดาทั้งหลาย. พระโพธิ-สัตว์ให้เที่ยวตีกลองประกาศว่า ไม่ควรฆ่าสัตว์มีชีวิต. ยักษ์ทั้งหลายเมื่อไม่ได้พลีกรรมจึงโกรธพระโพธิสัตว์ ได้ไปยังสมาคมยักษ์ในหิมวันประเทศ ให้ส่งยักษ์ตนหนึ่งผู้หยาบช้าไป เพื่อต้องการฆ่าพระโพธิสัตว์. ยักษ์นั้นถือพะเนินเหล็กร้อนอันใหญ่ประมาณเท่าช่อฟ้า มา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 690
ด้วยตั้งใจว่า จักประหารพระโพธิสัตว์นั้นด้วยพะเนินเหล็กนี้ให้ตายจึงได้ยินอยู่ที่หัวนอนพระโพธิสัตว์ ในระหว่างมัชฌิมยาม. ขณะนั้นอาสนะของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน ท้าวเธอทรงรําพึงอยู่ ได้ทรงทราบเหตุนั้น จึงทรงถืออินทวชิราวุธเสด็จไป แล้วได้ประทับยืนเบื้องบนยักษ์. พระโพธิสัตว์ได้เห็นยักษ์แล้วคิดว่า ยักษ์นี้ยืนอารักขาเราหรือว่ายืนประสงค์จะฆ่าเรา เมื่อจะเจรจากับยักษ์นั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ท่านผู้ใดยืนถือพะเนินเหล็กล้วนอันใหญ่โตเหลือขนาดอยู่ในอากาศ ท่านผู้นั้นมาจัดแจงเพื่อจะคุ้มครองเราในวันนี้หรือ หรือว่าจะพยายามฆ่าเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิหิโตนุสชฺช ตัดบทเป็น วิหิโตนุสิอชฺช.
ก็พระโพธิสัตว์ เห็นแต่ยักษ์เท่านั้นไม่เห็นท้าวสักกะ. ยักษ์ไม่อาจประหารพระโพธิสัตว์เพราะกลัวท้าวสักกะ. ยักษ์นั้นได้ฟังถ้อยคําของพระโพธิสัตว์ จึงกล่าวว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพเจ้ามิได้ยินคุ้มครองท่าน แต่ข้าพเจ้ามาด้วยหวังใจว่า จักเอาพะเนินเหล็กอันโชติช่วงนี้ประหารทําท่านให้ตาย ข้าพเจ้าไม่อาจประหาร เพราะกลัวท้าวสักกะ เมื่อจะแสดงเนื้อความนี้ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 691
ดูก่อนพระราชา ข้าพเจ้าเป็นทูตของพวกยักษ์ ถูกพวกยักษ์เหล่านั้นส่งมาที่นี้เพื่อฆ่าพระองค์ แต่พระอินทร์เทวราชคุ้มครองพระองค์อยู่ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงผ่าพระเศียรของพระองค์ไม่ได้.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าว ๒ คาถานอกนี้ว่า :-
ถ้าท้าวมัฆวาฬเทวราชผู้เป็นจอมเทพพระสวามีของนางสุชาดา คุ้มครองข้าพเจ้าอยู่ มิฉะนั้น พวกปีศาจคงจะคุกคามสัตว์ทั้งหลายเป็นแน่ แต่ข้าพเจ้าไม่ได้สะดุ้งกลัวต่อพวกยักษ์เลย.
พวกกุมภัณฑ์และพวกปีศาจทั้งมวล จะคร่ําครวญกันไปก็ตามเถิด พวกปีศาจไม่อาจต่อยุทธ์กับข้าพเจ้า กิริยาที่หลอกหลอนพวกยักษ์ซึ่งทําให้น่ากลัวต่างๆ นั้น มีอยู่เป็นอันมาก แต่ข้าพเจ้าก็ไม่กลัว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รกฺขสิยา ปชาย ความว่าเหล่าสัตว์คือรากษส ได้แก่พวกสัตว์ที่เป็นรากษส. บทว่า กุมฺภณฺฑา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 692
ได้แก่ พวกยักษ์ท้องพลุ้ย มีอัณฑะเท่าหม้อ. บทว่า ปํ สุปิสาจกาได้แก่ พวกปีศาจในที่ทิ้งหยากเยื่อ. บทว่า นาลํ ความว่า ขึ้นชื่อว่าพวกปีศาจไม่สามารถจะต่อยุทธกับข้าพเจ้า. บทว่า มหตี สา วิเภสิกาความว่า ก็ยักษ์เหล่านี้ประชุมกันแสดงกิริยาน่ากลัวต่างๆ อันใดกิริยาที่น่ากลัวต่างๆ อันนั้นถึงจะมากมาย ก็เป็นเพียงแสดงอาการน่ากลัวแก่เราเท่านั้น แต่เราหากลัวไม่.
ท้าวสักกะทรงขับยักษ์ให้หนีไป โอวาทพระมหาสัตว์แล้วตรัสว่า ดูก่อนมหาราช พระองค์อย่าได้ทรงกลัวเลย จําเดิมแต่นี้ไป การคุ้มครองพระองค์ เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้า แล้วเสด็จสู่สถานที่ของพระองค์ทีเดียว.
พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ท้าวสักกะในครั้งนั้น ได้เป็นพระอนุรุทธะส่วนพระเจ้าพาราณสี ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอยกูฏชาดกที่ ๗