พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. อรัญญชาดก ว่าด้วยการเลือกคบคน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35804
อ่าน  455

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 693

๘. อรัญญชาดก

ว่าด้วยการเลือกคบคน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 693

๘. อรัญญชาดก

ว่าด้วยการเลือกคบคน

[๖๙๐] คุณพ่อ ผมออกจากป่าไปสู่บ้านแล้วพึงคบคนที่มีศีลอย่างไร มีวัตรอย่างไรผมถามแล้ว ขอคุณพ่อจงบอกข้อนั้นแก่ผมด้วย.

[๖๙๑] ลูกเอย ผู้ใดพึงคุ้นเคยกะเจ้าก็ดี พึงอดทนความคุ้นเคยของเจ้าได้ก็ดี เชื่อถือคําพูดของเจ้าก็ดี งดโทษให้เจ้าก็ดี เจ้าไปจากที่นี้แล้วจงคบหาผู้นั้นเถิด.

[๖๙๒] ผู้ใดไม่มีกรรมชั่วด้วยกาย วาจาและใจเจ้าไปจากที่นี้แล้วจงคบหาผู้นั้น ทําตนให้เหมือนบุตรผู้เกิดจากอกของผู้นั้นเถิด.

[๖๙๓] ลูกเอย คนที่มีจิตเหมือนน้ำย้อมขมิ้นมีจิตกลับกลอก รักง่ายหน่ายเร็ว เจ้าอย่าคบหาคนเช่นนั้นเลย ถึงหากว่าพื้นชมพูทวีปทั้งหมดจะไม่มีมนุษย์ก็ตาม.

จบ อรัญญชาดกที่ ๘

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 694

อรรถกถาอรัญญชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประโยคทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการประเล้าประโยคโลมของกุมาริกาอ้วนคนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า อรฺา คามมาคมฺม ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งในจุลลนารทกัสสปชาดก. ส่วนเรื่องในอดีตมีดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้วเรียนศิลปศาสตร์ในเมืองตักกศิลาแล้ว เมื่อภรรยาถึงแก่กรรมแล้วได้พาบุตรไปบวชเป็นฤๅษีอยู่ในหิมวันตประเทศ ให้บุตรอยู่ในอาศรมบท. ส่วนตนไปเพื่อต้องการผลาผล. ครั้งนั้น เมื่อพวกโจรปล้นปัจจันตคามแล้วพาพวกเชลยไป กุมาริกาคนหนึ่งหนีไปถึงอาศรมบทนั้น ประเล้าประโลมดาบสกุมารให้ถึงศีลวินาศแล้วกล่าวว่ามาเถิด พวกเราพากันไป. ดาบสกุมารกล่าวว่า จงรอให้บิดาของเรามาก่อน เราพบบิดาแล้วจักไป. กุมาริกากล่าวว่าถ้าอย่างนั้น ท่านพบบิดาแล้วจงมา แล้วได้ออกไปนั่งอยู่ที่ระหว่างทาง. เมื่อบิดามาแล้วดาบสกุมาร จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ข้าแต่พ่อ ฉันออกจากป่าไปสู่บ้านแล้วจะพึงคบคนที่มีศีลอย่างไร มีวัตรอย่างไร

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 695

ฉันถามแล้ว ขอท่านจงบอกข้อนั้นแก่ฉันด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรฺา คามมาคมฺม ความว่าข้าแต่พ่อ ฉันจากป่านี้ไปยังถิ่นมนุษย์ เพื่อจะอยู่ ถึงบ้านที่อยู่แล้วจะกระทําอะไร.

ลําดับนั้น บิดาเมื่อจะให้โอวาทแก่บุตรนั้น จึงกล่าวคาถา๓ คาถาว่า :-

ลูกเอย ผู้ใดพึงคุ้นเคยกะเจ้าก็ดี พึงอดทนความคุ้นเคยของเจ้าได้ก็ดี เชื่อถือคําพูดของเจ้าก็ดี งดโทษให้เจ้าก็ดี เจ้าไปจากที่นี้แล้วจึงคบหาผู้นั้นเถิด.

ผู้ใดไม่มีกรรมชั่วด้วยกาย วาจาและใจ เจ้าไปจากที่นี้แล้วจงคบหาผู้นั้น ทําตนให้เหมือนบุตรผู้เกิดจากอกของผู้นั้นเถิด.

ลูกเอย คนที่มีจิตเหมือนน้ำย้อมขมิ้นมีจิตกลับกลอก รักง่ายหน่ายเร็ว เจ้าอย่าคบที่คนเช่นนั้นเลย ถึงหากว่าพื้นชมพูทวีปทั้งสิ้นจะไม่มีมนุษย์ก็ตาม.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 696

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย ตํ วิสฺสาสเย ความว่าบุรุษใดพึงคุ้นเคย คือไม่รังเกียจเจ้า. บทว่าวิสฺสาสฺจ ขเมยฺยเตความว่า อนึ่ง บุคคลใดพึงคุ้นเคยแก่เจ้าซึ่งเจ้ากระทําตน ไม่รังเกียจ อดทนความคุ้นเคยนั้นได้. บทว่า สุสฺสูสี ความว่า อนึ่งบุคคลใดต้องการฟังคํากล่าวด้วยความคุ้นเคยของเจ้า. บทว่า ติติกฺขีความว่า อนึ่ง บุคคลใดอดกลั้นความผิดที่เจ้ากระทําได้. บทว่าตํ ภเชหิ ความว่า เจ้าพึงคบคือพึงเข้าไปนั่งใกล้บุรุษนั้น. บทว่าโอรสีว ปติฏาย ความว่า บุตรผู้เกิดแต่อกเจริญเติบโตอยู่ในอ้อมอกของบุคคลนั้น ฉันใดเจ้าพึงเป็นเสมือนบุตรผู้ตั้งอยู่ในอ้อมอกเช่นนั้น พึงคบหาบุรุษเห็นปานนั้น ฉันนั้น. บทว่า หลิทฺทราคํได้แก่ ผู้มีจิตไม่มั่นคงดุจย้อมด้วยขมิ้น. บทว่า กปิจิตฺตํ ได้แก่ชื่อว่ามีจิตเหมือนลิง เพราะเปลี่ยนแปลงเร็ว. บทว่า ราควิราคินํได้แก่ มีสภาพรักและหน่ายโดยชั่วครู่เท่านั้น. บทว่า นิมฺมนุสฺสมฺปิเจ สิยา ความว่า พื้นชมพูทวีปทั้งสิ้น ชื่อว่าพึงปราศจากมนุษย์เพราะไม่มีมนุษย์ผู้เว้นจากกายทุจริตเป็นต้น แม้ถึงเช่นนั้น เจ้าอย่าได้ซ่องเสพคนผู้มีจิตใจเบาเช่นนั้นเลย จงค้นหาถิ่นมนุษย์แม้ทั่วๆ ไปแล้วซ่องเสพคนผู้สมบูรณ์ด้วยคุณดังกล่าวในหนหลังเถิด.

ดาบสกุมารได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า ข้าแต่บิดา ฉันจักได้บุคคลผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้ ณ ที่ไหน? ฉันจะไม่ไป จักอยู่ในสํานักของท่านบิดาเท่านั้น ครั้นกล่าวแล้วก็หวนกลับมา. ลําดับนั้น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 697

บิดาจึงได้บอกกสิณบริกรรมแก่ดาบสกุมารนั้น. ดาบสทั้งสอง มีฌานไม่เสื่อมได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า บุตรและกุมาริกาในครั้งนั้นได้เป็นคนเหล่านี้ ส่วนดาบสผู้บิดาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอรัญญชาดกที่ ๘