พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. สันธิเภทชาดก ว่าด้วยโทษที่เชื่อถือคําส่อเสียด

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35805
อ่าน  413

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 698

๙. สันธิเภทชาดก

ว่าด้วยโทษที่เชื่อถือคําส่อเสียด


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 698

๙. สันธิเภทชาดก

ว่าด้วยโทษที่เชื่อถือคําส่อเสียด

[๖๙๔] ดูก่อนนายสารถี สัตว์ทั้ง ๒ นี้ ไม่ได้มีความเสมอกันเพราะสตรีทั้งหลายเลย ไม่ได้มีความเสมอกันเพราะอาหารเลย ภายหลังเมื่อสุนัขจิ้งจอกยุยงทําลายความสนิทสนมกันเสียจนถึงให้ตาย ท่านจงเห็นเหตุนั้นซึ่งฉันคิดไว้ถูกต้องแล้ว.

[๖๙๕] พวกสุนัขจิ้งจอกพากันกัดกินโคและราชสีห์ เพราะคําส่อเสียดใด คําส่อเสียดนั้น ย่อมเป็นไปถึงตัดมิตรภาพเพราะเนื้อดุจดาบคม ฉะนั้น.

[๖๙๖] ดูก่อนนายสารถี ท่านจงดูการนอนตายของสัตว์ทั้ง ๒ นี้ผู้ใดเชื่อถือถ้อยคําของตนส่อเสียด ผู้มุ่งทําลายความสนิทสนม ผู้นั้นจะต้องนอนตายอย่างนี้.

[๖๙๗] ดูก่อนนายสารถี นรชนเหล่าใดไม่เชื่อถือถ้อยคําของตนส่อเสียด ผู้มุ่งทําลายความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 699

สนิทสนม นรชนเหล่านั้น ย่อมได้ประสบความสุขเหมือนคนไปสวรรค์ ฉะนั้น.

จบ สันธิเภทชาดกที่ ๙

อรรถกถาสันธิเภทชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภเปสุญญสิกขาบท จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า เนวอิตฺถีสุ สามฺํ ดังนี้.

ได้ยินว่า สมัยหนึ่งพระศาสดาได้ทรงสดับว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์นําความส่อเสียดป้ายร้ายเข้าไปให้ จึงรับสั่งให้เรียกภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้นมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนําความส่อเสียดป้ายร้ายเข้าไปให้แก่พวกภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันจริงหรือ? เพราะเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดขึ้น และความบาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญยิ่งขึ้น เมื่อพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่าจริงพระเจ้าข้า จึงทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าวาจาส่อเสียดคมกล้าประดุจประหารด้วยศาตรา ถึงความคุ้นเคยที่เหนียวแน่นมั่นคงก็แตกสลายไปได้โดยรวดเร็ว เพราะวาจาส่อเสียดนั้น ก็แหละชนผู้เชื่อถือวาจาส่อเสียดนั้นแล้วทําลายไมตรีของตนเสีย ย่อมเป็นเช่นกับราชสีห์และโคผู้ทีเดียว แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 700

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นโอรสของพระเจ้าพาราณสีนั้น เจริญวัยแล้ว เล่าเรียนศิลปะในเมืองตักกศิลาเสร็จแล้ว เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว ได้ครองราชสมบัติโดยธรรม. ครั้งนั้น นายโคบาลคนหนึ่ง.เลี้ยงโคทั้งหลายในตระกูลทั้งหลาย เมื่อจะมาจากป่า ไม่ได้นึกถึงแม่โคตัวหนึ่งซึ่งมีครรภ์ จึงทิ้งไว้แล้วไปเสีย แม่โคนั้นเกิดความคุ้นเคยกับแม่ราชสีห์ตัวหนึ่ง. แม่โคและแม่ราชสีห์ทั้งสองนั้นเป็นมิตรกันอย่างมั่นคงเที่ยวไปด้วยกัน. จําเนียรกาลนานมา แม่โคจึงตกลูกโคแม่ราชสีห์ตกลูกราชสีห์. ลูกโคและลูกราชสีห์ทั้งสองนั้นก็ได้เป็นมิตรกันอย่างเหนียวแน่น ด้วยไมตรีซึ่งมีมาโดยสกุล จึงเที่ยวไปด้วยกัน.ครั้งนั้น พรานป่าคนหนึ่งเข้าป่าเห็นสัตว์ทั้งสองนั้นคุ้นเคยกัน จึงถือเอาสิ่งของที่เกิดขึ้นในป่า แล้วไปเมืองพาราณสี ถวายแด่พระราชาอันพระราชาตรัสถามว่า สหาย ท่านเคยเห็นความอัศจรรย์อะไรๆ ในป่าบ้างไหม? จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่ได้เห็นอะไรๆ อย่างอื่น แต่ได้เห็นราชสีห์ตัวหนึ่งกับโคผู้ตัวหนึ่ง สนิทสนมกันและกันเที่ยวไปด้วยกัน. พระราชาตรัสว่า เมื่อสัตว์ตัวที่สามเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งสองเหล่านั้น ภัยจักบังเกิดมี เมื่อใดท่านเห็นสัตว์ตัวที่สามเพิ่มขึ้นแก่สัตว์ทั้งสองนั้น เมื่อนั้นท่านพึงบอกเรา. นายพรานป่านั้นทูลรับว่า ได้พระเจ้าข้า. ก็เมื่อพรานป่าไปเมืองพาราณสีแล้วมีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเข้าไปบํารุงราชสีห์และโคผู้. นายพรานป่าไปป่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 701

ได้เห็นสุนัขจิ้งจอกนั้นคิดว่า จักกราบทูลความที่สัตว์ตัวที่สามเกิดขึ้นแล้วแก่พระราชา จึงได้ไปยังพระนครพาราณสี. สุนัขจิ้งจอกคิดว่าเว้นเนื้อราชสีห์และเนื้อโคผู้เสีย ขึ้นชื่อว่าเนื้ออื่นที่เราไม่เคยกิน ไม่มีเราจักยุยงทําลายสัตว์ทั้งสองนี้แล้วกินเนื้อสัตว์ทั้งสองนี้. สุนัขจิ้งจอกนั้นจึงยุยงสัตว์ทั้งสองนั้นให้ทําลายกันและกันโดยพูดว่า ผู้นี้พูดอย่างนี้กะท่าน ผู้นี้พูดอย่างนี้กะท่าน ไม่นานนัก ก็ได้ทําให้ถึงแก้ความตายเพราะทําการทะเลาะกัน. ฝ่ายพรานป่ามาถึงแล้วกราบทูลแก่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ สัตว์ตัวที่สามเกิดขึ้นแล้วแก่ราชสีห์และโคผู้เหล่านั้น พระราชาตรัสถามว่า สัตว์ตัวที่สามนั้น คืออะไร? พรานป่ากราบทูลว่า สุนัขจิ้งจอกพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า สุนัขจิ้งจอกจักยุยงทําลายสัตว์ทั้งสองนั้นให้ตาย พวกเราจักไปทันในเวลาสัตว์ทั้งสองนั้นจะตาย จึงเสด็จขึ้นทรงราชรถเสด็จไปตามทางที่พรานป่าชี้แสดงให้ เสด็จไปทันในเมื่อสัตว์ทั้งสองนั้นทําการทะเลาะกันและกันแล้วถึงแก่สิ้นชีวิตไป. สุนัขจิ้งจอกมีใจยินดีกินเนื้อราชสีห์ครั้งหนึ่งกินเนื้อโคผู้ครั้งหนึ่ง พระราชาทั้งเห็นสัตว์ทั้งสองนั้นถึงความสิ้นชีวิตไปแล้ว ทรงประทับยืนอยู่บนรถนั่นแล เมื่อจะตรัสเจรจากับนายสารถี จึงตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-

ดูก่อนนายสารถี สัตว์ทั้งสองนี้ไม่ได้มีความเสมอกันเพราะสตรีทั้งหลาย ไม่ได้มี

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 702

ความเสมอกันเพราะอาหาร คือต่างก็มีสัตว์ตัวเมียและอาหารคนละชนิดไม่เหมือนกันภายหลัง เมื่อสุนัขจิ้งจอกยุยงทําลายความสนิทสนมจนถึงให้ตาย ท่านจงเห็นเหตุนั้นซึ่งฉันคิดไว้ถูกต้องแล้ว.

พวกสุนัขจิ้งจอกพากันกัดกินโคผู้และราชสีห์ เพราะคําส่อเสียดใด คําส่อเสียดนั้น ย่อมเป็นไปถึงตัดมิตรภาพ เพราะเนื้อคือสุนัขจิ้งจอกเป็นเหตุ ดุจดาบคน ฉะนั้น.

ดูก่อนนายสารถี ท่านจงดูการนอนตายของสัตว์ทั้งสองนี้ ผู้ใดเชื่อถือถ้อยคําของคนส่อเสียด ผู้มุ่งทําลายความสนิทสนม ผู้นั้นจะต้องนอนตายอย่างนี้.

ดูก่อนนายสารถี นรชนเหล่าใดไม่เชื่อถือถ้อยคําของตนส่อเสียด ผู้มุ่งทําลายความสนิทสนม นรชนเหล่านั้นย่อมได้ประสบสุขเหมือนคนไปสวรรค์ ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 703

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนว อิตฺถีสุ ความว่า ดูก่อนนายสารถีผู้สหาย สัตว์ทั้งสองนี้ไม่มีความเสมอกันในเพราะสตรี และในเพราะอาหาร เพราะราชสีห์ย่อมเสพสตรีเฉพาะอย่างหนึ่ง โคผู้ย่อมเสพสตรีอีกอย่างหนึ่ง คนละอย่าง อนึ่งราชสีห์ย่อมกินภักษาหารอย่างหนึ่ง และโคผู้ย่อมกินภักษาหารอีกอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกัน ในบทว่า อถสฺส นี้ มีอธิบายว่า เมื่อเหตุที่จะทําให้ทะเลาะกันแม้จะไม่มีอยู่อย่างนี้ ภายหลังสุนัขจิ้งจอกชาติชั่วตัวนี้ผู้ทําลายความสนิทสนมกันฉันมิตร คิดว่า จักกินเนื้อของสัตว์ทั้งสอง จึงฆ่าสัตว์ทั้งสองนี้ ท่านจงเห็นดังที่เราคิดไว้ดีแล้ว. ในบทว่า ยตฺถ นี้ ท่านแสดงความว่า เมื่อความส่อเสียดใดเป็นไปอยู่ พวกสุนัขจิ้งจอกผู้ฆ่าเนื้อ ย่อมเคี้ยวกินโคผู้และราชสีห์ ความส่อเสียดนั้นย่อมตัดมิตรภาพไปในเพราะเนื้อ เหมือนดาบอันคมกริบฉะนั้น. ด้วยบทว่า ยมิมํปสฺสสิ นี้ ท่านแสดงว่า ดูก่อนสารถีผู้สหาย ท่านจงดูการนอนตายของสัตว์ทั้งสองเหล่านี้ บุคคลแม้อื่นใดรู้สึก คือเชื่อถือวาจาส่อเสียดของผู้ส่อเสียดผู้ทําลายความสนิทสนม บุคคลนั้นย่อมนอนเช่นนี้ คือตายอย่างนี้ทีเดียว. บทว่า สุขเมธนฺติ ความว่า ย่อมประสบคือได้ความสุข บทว่า นรา สคฺคคตาริว ความว่า ชนเหล่านั้นย่อมประสบความสุข เหมือนนรชนผู้ไปสวรรค์พรั่งพร้อมด้วยโภคะอันเป็นทิพย์ฉะนั้น. บทว่า นาวโพเธนฺติ ความว่า ย่อมสํารวมระวังจาก

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 704

สิ่งที่ไม่ใช่สาระแก่นสาร คือได้ฟังคําแม้เช่นนั้นแล้วก็ทักท้วง ให้สํานึกไม่ทําลายไมตรี คงตั้งอยู่ตามปกติดังเดิม.

พระราชาครั้นตรัสคาถานี้แล้ว รับสั่งให้เก็บเอาหนัง เล็บและเขี้ยวของไกรสรราชสีห์ แล้วเสด็จไปยังพระนครทีเดียว.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสันธิเภทชาดกที่ ๙