พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. มณิกุณฑลชาดก ผู้ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35807
อ่าน  485

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 707

ปัญจกนิบาตชาดก

๑. มณิกุณฑลวรรค

๑. มณิกุณฑลชาดก

ผู้ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 707

๑. มณิกุณฑลชาดก

ผู้ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

[๗๐๒] พระองค์ทรงละแว่นแคว้น ม้า กุณฑลแก้วมณี อนึ่ง ยังทรงละพระราชบุตรและเหล่าพระสนมเสียได้ เมื่อโภคสมบัติทั้งสิ้นของพระองค์ไม่มีเหลือเลย เหตุไฉนพระองค์จึงไม่ทรงเดือดร้อน ในคราวที่มหาชนพากันเศร้าโศกอยู่เล่า.

[๗๐๓] โภคสมบัติย่อมละทิ้งสัตว์ไปเสียก่อนก็มี บางทีสัตว์ย่อมละทิ้งโภคสมบัติเหล่านั้นไปก่อนก็มี ดูก่อนพระองค์ผู้ใคร่ในกามารมณ์โภคสมบัติที่บริโภคกันอยู่เป็นของไม่แน่นอน เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่เดือดร้อนในคราวที่มหาชนพากันเศร้าโศกอยู่.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 708

[๗๐๔] พระจันทร์อุทัยขึ้นเต็มดวง ก็จะกลับหายสิ้นไป พระอาทิตย์กําจัดความมืด ทําโลกให้เร่าร้อนแล้วอัสดงคตไป ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นศัตรู โลกธรรมทั้งหลายหม่อมฉันชนะได้แล้วเพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่เศร้าโศกในคราวที่มหาชนพากันเศร้าโศกอยู่.

[๗๐๕] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามคุณ เกียจคร้านก็ไม่ดี บรรพชิตไม่สํารวมก็ไม่ดี พระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทรงทําก็ไม่ดี บัณฑิตมีความโกรธเป็นเจ้าเรือนก็ไม่ดี.

[๗๐๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าทิศ กษัตริย์ควรใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทํา ไม่ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วไม่ควรทํา อิสริยยศ บริวารยศและเกียรติคุณ ของพระราชาผู้ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทํา ย่อมเจริญขึ้น.

จบ มณิกุณฑลชวดกที่ ๑

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 709

อรรถกถาชาดก

ปัญจกนิบาต

อรรถกถามณิกุณฑลวรรคที่ ๑

อรรถกถามณิกุณฑลชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภอํามาตย์ชั่วผู้จัดประโยชน์ทั้งปวง ในภายในพระราชวังของพระเจ้าโกศล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า ชินฺโน รฏฺสฺสมณิภุณฺฑเลจ ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. ส่วนในชาดกนี้ พระโพธิสัตว์ได้เป็นพระเจ้าพาราณสี. อํามาตย์ชั่วนําพระเจ้าโกศลมายึดเอากาสิกรัฐ จองจําพระเจ้าพาราณสีใส่ไว้ในเรือนจํา.พระเจ้าพาราณสีทําฌานให้เกิดขึ้นแล้วนั่งขัดสมาธิในอากาศ. ความเร่าร้อนเกิดขึ้นในร่างกายของราชาผู้เป็นโจร. พระราชาโจรนั้นเข้าไปหาพระเจ้าพาราณสี แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

พระองค์ทรงละทิ้งแว่นแคว้น ม้ากุณฑล แก้วมณี อนึ่ง ยังทรงละทิ้งราชบุตรและเหล่าสนม เมื่อโภคสมบัติทั้งสิ้น ของพระองค์ไม่มีเหลือเลย เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงเดือดร้อนในคราวเศร้าโศกเล่า.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 710

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชินฺโน รฏสฺสมณิกุณฺฑเล จความว่าข้าแต่มหาราช พระองค์ทรงละทิ้งแว่นแคว้น ม้า และกุณฑลแก้วมณีทั้งหลาย. บาลีว่า รถมณิภุณฺฑเล จ ดังนี้ก็มี. บทว่าอเสสเกสุ แปลว่า ไม่เหลือเลย.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถานี้ว่า :-

โภคสมบัติย่อมละทิ้งสัตว์ไปเสียก่อนก็มี บางทีสัตว์ก็ละทิ้งโภคสมบัติเหล่านั้นไปก่อนก็มี ดูก่อนพระองค์ผู้ใคร่ในกามโภคสมบัติที่บริโภคกันอยู่เป็นของไม่แน่นอนเพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่เดือดร้อนในคราวที่ควรเศร้าโศก.

พระจันทร์อุทัยขึ้นเต็มดวง และจะหายไป อนึ่ง พระอาทิตย์กําจัดความมืด ทําโลกให้เร่าร้อน แล้วอัสดงคตไป ฉันใด โภค-สมบัติทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นและพินาศไป ฉันนั้น ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นศัตรู โลกธรรมทั้งหลายหม่อมฉันชนะแล้วเพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่เศร้าโศกในคราวที่ควรเศร้าโศก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 711

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพว มจฺจํ ความว่า โภคะทั้งหลายย่อมละสัตว์ไปในเบื้องต้น คือก่อนทีเดียวบ้าง สัตว์ย่อมละโภคะเหล่านั้นไปก่อนกว่าบ้าง. พระโพธิสัตว์เรียกพระราชาที่เป็นโจรปล้นราชสมบัติว่า กามกามิ. อธิบายว่า ดูก่อนพระองค์ผู้ใคร่กามทั้งหลาย ชื่อว่ากามกามิ ธรรมดาคนผู้มีโภคสมบัติเป็นผู้ไม่แน่นอนในโลก คือ เมื่อโภคสมบัติทั้งหลายฉิบหายไปแล้ว ถึงจะมีชีวิตอยู่ก็เป็นผู้ไม่มีโภคสมบัติ หรือตนละทิ้งโภคสมบัติฉิบหายไปเอง เพราะฉะนั้นหม่อมฉันจึงไม่เศร้าโศก แม้ในคราวเศร้าโศกของมหาชน.พระโพธิสัตว์เรียกราชาโจรด้วยคําว่า ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นศัตรู โลกธรรมทั้งหลายหม่อมฉันชนะแล้ว ดังนี้. อธิบายว่า ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นศัตรู โลกธรรมทั้งหลายมีอาทิว่า มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ ดังนี้ หม่อมฉันชนะแล้ว เหมือนอย่างว่าพระจันทร์อุทัยขึ้นเต็มดวง และกลับสิ้นไป ฉันใด และเหมือนพระอาทิตย์ขจัดความมืดทําภูมิภาคของโลกอันใหญ่โตให้ร้อน แล้วกลับถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ คืออัสดงคตไปไม่ปรากฏในตอนเย็น ฉันใด โภคสมบัติทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นและย่อมฉิบหายไป จะประโยชน์อะไร ด้วยการเศร้าโศกในเรื่องนั้น เพราะฉะนั้นหม่อมฉันจึงไม่เศร้าโศก.

พระมหาสัตว์แสดงธรรมแก่พระราชาผู้เป็นโจรอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะติเตียนพระราชาโจรนั้นนั่นแหละ จึงกล่าวว่า :

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 712

คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม เกียจคร้านไม่ดีบรรพชิตไม่สํารวม ไม่ดี พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญแล้วกระทํา ไม่ดี การเป็นบัณฑิตขี้โกรธก็ไม่ดี.

ท่านผู้เป็นใหญ่ในทิศ กษัตริย์พึงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงกระทํา ยังมิได้ใคร่ครวญแล้วไม่ควรทํา ยศและเกียรติย่อมเจริญแก่พระราชาผู้ทรงใคร่ครวญแล้วทํา.

ก็คาถาทั้งสองนี้ ได้พรรณาให้พิสดารในหนหลังแล้วแล.

พระราชาโจรขอษมาพระโพธิสัตว์แล้ว มอบราชสมบัติให้ทรงรับไว้แล้ว เสด็จไปยังชนบทของพระองค์เอง.

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พระเจ้าโกศลในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ ในบัดนี้ส่วนพระเจ้าพาราณสี ในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามณิกุณฑลชาดกที่ ๑