๒. สุชาตชาดก ว่าด้วยคําคมของคนฉลาด
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 713
๒. สุชาตชาดก
ว่าด้วยคําคมของคนฉลาด
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 713
๒. สุชาตชาดก
ว่าด้วยคําคมของคนฉลาด
[๗๐๗] เหตุไรหนอ เจ้าจึงเป็นเหมือนรีบด่วนเกี่ยวเอาหญ้าอันเขียวสดมาแล้ว บ่นเพ้อถึงวัวแก่ผู้ปราศจากชีวิตแล้วว่า จงเคี้ยวกินเสียวัวที่ตายแล้วจะพึงลุกขึ้นได้เพราะหญ้าและน้ำเป็นไม่มีแน่ เจ้าบ่นเพ้อไปเปล่าๆ เหมือนคนผู้ไร้ความคิด ฉะนั้น.
[๗๐๘] ศีรษะ เท้าหน้า เท้าหลัง หางและหูของวัว ก็ตั้งอยู่ตามที่อย่างนั้น ผมเข้าใจว่าวัวตัวนี้จะพึงลุกขึ้นได้ ศีรษะหรือมือเท้าของคุณปู่มิได้ปรากฏเลย คุณพ่อนั่นเองมาร้อง-ไห้อยู่ที่สถูปดิน เป็นคนไร้ความคิดมิใช่หรือ.
[๗๐๙] เจ้ารดพ่อผู้เดือดร้อนยิ่งนักให้หายร้อนยังความกระวนกระวายของพ่อให้ดับได้สิ้นเหมือนบุคคลเอาน้ำรดไฟติดเปรียงให้ดับไปฉะนั้น เจ้ามาถอนลูกศรคือความโศกที่เสียบแน่นอยู่ในหทัยของพ่อออกได้แล้วหนอ เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 714
พ่อถูกความโศกครอบงํา เจ้าได้บรรเทาความโศกถึงบิดาเสียได้.
[๗๑๐] พ่อเป็นผู้ถอนลูกศรคือความโศกออกได้แล้ว ปราศจากความเศร้าโศก หมดความมัวหมอง ลูกรัก พ่อจะไม่เศร้าโศก จะไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังถ้อยคําของเจ้า.
[๗๑๑] คนผู้มีปัญญา มีใจอนุเคราะห์ ย่อมทําบุคคลให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศกได้เหมือนกับพ่อสุชาตบุตรของเรา ทําเราผู้บิดาให้ล่วงพ้นจากความเศร้าโศก ฉะนั้น.
จบ สุชาตชาดกที่ ๒
อรรถกถาสุชาตชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภกฎมพีผู้ที่บิดาตาย จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า กินฺนุสนฺตรมาโนว ดังนี้.
ได้ยินว่า กุฎมพีนั้น เมื่อบิดาตายแล้ว เที่ยวปริเทวนาการร่ําไร ไม่อาจบรรเทาความโศกได้. ลําดับนั้น พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยโสดาปัตติผลของกุฎมพีนั้น ทรงพาปัจฉาสมณะเสด็จเที่ยว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 715
บิณฑบาตในนครสาวัตถี เสด็จไปถึงเรือนของกุฎมพีนั้น ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว จึงตรัสกะกุฎมพีนั้นผู้นมัสการแล้วนั่งอยู่ว่า อุบาสก ท่านเศร้าโศกหรือ เมื่อกุฎมพีนั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จึงตรัสว่า อาวุโส โบราณกบัณฑิตทั้งหลายฟังถ้อยคําของบัณฑิตทั้งหลายแล้ว เมื่อบิดาตาย ไม่เศร้าโศกเลย อันกุฎมพีนั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในเรือนของกุฎมพี ญาติทั้งหลายตั้งชื่อของพระโพธิสัตว์นั้นว่า สุชาตกุมาร. เมื่อสุชาตกุมารนั้นเจริญวัยแล้ว ปู่ได้กระทํากาลกิริยาตายไป ลําดับนั้น บิดาของสุชาตกุมารนั้นก็เพียบพูนด้วยความโศก จําเดิมแต่บิดากระทํากาลกิริยา จึงไปยังป่าช้า นํากระดูกมาจากป่าช้า สร้างสถูปดินไว้ในสวนของตน แล้วฝังกระดูกเหล่านั้นไว้ในสวนนั้น ในเวลาที่ผ่านไปๆ ได้บูชาสถูปด้วยดอกไม้ทั้งหลาย เดินเวียนเจดีย์ร่ําไรอยู่ ไม่อาบน้ำ ไม้ลูบไล้ ไม่บริโภค ไม่จัดแจงการงานทั้งปวง. พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นจึงคิดว่าบิดาของเรา จําเดิมแต่เวลาที่ปู่ตายไปแล้ว ถูกความโศกครอบงําอยู่ไม่รู้วาย ก็เว้นเราเสีย ผู้อื่นไม่สามารถจะทําบิดาเรานั้นให้รู้สึกตัวได้เราจักกระทําบิดานั้นให้หมดความโศก ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง ได้เห็นโคตายตัวหนึ่งที่ภายนอกบ้าน จึงนําหญ้าและน้ำดื่มมาวางไว้ข้างหน้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 716
โคตายตัวนั้นแล้วพูดว่า จงกิน จงกิน จงดื่ม จงดื่ม. พวกคนที่ผ่านมาๆ เห็นดังนั้น พากันกล่าวว่า สุชาตะผู้สหาย ท่านเป็นบ้าไปแล้วหรือ ท่านจึงให้หญ้าและน้ำแก่โดยตาย. สุชาตกุมารนั้นไม่ได้กล่าวตอบอะไรๆ . ลําดับนั้น ชนทั้งหลายจึงพากันไปยังสํานักแห่งบิดาของสุชาตกุมารนั้นแล้วกล่าวว่า บุตรของท่านเป็นบ้าไปแล้ว ให้หญ้าและน้ำแก่โคตาย. เพราะได้ฟังคําของชนทั้งหลายนั้น ความโศกเพราะบิดาของกฎมพีก็หายไป ความโศกเพราะบุตรกลับดํารงอยู่. กุฎมพีนั้นจึงรีบมาแล้วกล่าวว่า พ่อสุชาตะ เจ้าเป็นบัณฑิตมิใช่หรือ เพราะเหตุไร จึงให้หญ้าและน้ำแก่โคตาย แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
เหตุไรหนอ เจ้าจึงเป็นเหมือนรีบด่วนเกี่ยวเอาหญ้าอันเขียวสดมาแล้ว บ่นเพ้อถึงวัวแก่ผู้ปราศจากชีวิตว่า จงเคี้ยวกินๆ วัวที่ตายแล้วจะพึงลุกขึ้นได้เพราะหญ้าและน้ำเป็นไม่มีแน่ เจ้าบ่นเพ้อไปเปล่าๆ เหมือนคนผู้ไร้ความคิด ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตรมาโนว ความว่า เป็นเสมือนรีบด่วน. บทว่า ลายิตฺวา แปลว่า เกี่ยวแล้ว. บทว่า วิลปิแปลว่า บ่นเพ้อแล้ว. บทว่า คตสนฺตํ ชรคฺควํ ได้แก่ โคแก่ที่ปราศจากชีวิต. บทว่า ตํ ในบทว่า ยถาตํ เป็นเพียงนิบาต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 717
อธิบายว่า คนผู้ไม่มีความคิด คือมีปัญญาน้อย พึงบ่นเพ้อไป ฉันใดเจ้าก็บ่นเพ้อไปเปล่าๆ คือไม่เป็นจริงได้ ฉันนั้น.
ลําดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
ศีรษะ เท้าหน้า เท้าหลัง หางและหูของวัว ยังตั้งอยู่อย่างนั้นตามเดิม ผมเข้าใจว่า วัวตัวนี้จะพึงลุกขึ้นได้ ศีรษะหรือมือและเท้าของคุณปู่มิได้ปรากฏเลย คุณพ่อนั่นเองมาร้องไห้อยู่ที่สถูปดิน เป็นคนไร้ความคิดมิใช่หรือ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเถว ความว่า ยังตั้งอยู่เหมือนดังตั้งอยู่ในครั้งก่อน. บทว่า มฺเ ความว่า ผมเข้าใจว่า โคตัวนี้จะลุกขึ้น เพราะอวัยวะมีศีรษะเป็นต้น เหล่านั้นยังตั้งอยู่เหมือนเดิมอย่างนั้น. บทว่า เนวยฺยกสฺส สีสํ ความว่า ส่วนศีรษะหรือหรือและเท้าของคุณปู่มิได้ปรากฏ. บาลีว่า ปิฏิปาทา น ทิสฺสเรดังนี้ก็มี. บทว่า นนุ ตฺวฺเว ทุมฺมติ ความว่า เบื้องต้น ผมเห็นศีรษะเป็นต้นอยู่จึงกระทําอย่างนั้น ส่วนคุณพ่อไม่เห็นอะไรเลยเพราะเทียบกับผมแล้ว คุณพ่อนั้นแหละเป็นผู้ไร้ความคิดตั้งร้อยเท่าพันเท่า มิใช่หรือ. เพราะเหตุนั้น สังขารทั้งหลายชื่อว่ามีการแตกไปเป็นธรรมดา ย่อมแตกไป จะมัวร่ําไรอะไรในข้อนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 718
บิดาของพระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า บุตรของเราเป็นบัณฑิต รู้กิจในโลกนี้และโลกหน้า ได้กระทํากรรมนี้เพื่อต้องการให้เรารู้ได้เอง จึงกล่าวว่า พ่อสุชาตผู้บัณฑิต พ่อรู้แล้วว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ตั้งแต่นี้ไปพ่อจักไม่เศร้าโศก ชื่อว่าบุตรผู้นําความโศกของบิดาออกไปได้ พึงเป็นเช่นตัวเจ้า เมื่อจะทําการชมเชยบุตร จึงกล่าวว่า :-
เจ้ารดพ่อผู้เดือดร้อนยิ่งนักให้หายร้อนทําความกระวนกระวายของพ่อให้ดับได้หมดสิ้น เหมือนบุคคลเอาน้ำรดไฟที่ติดเปรียงให้ดับไปฉะนั้น เจ้ามาถอนลูกศรคือความโศกที่เสียบแน่นอยู่ในหทัยของพ่อออกได้แล้วหนอเมื่อพ่อถูกความโศกครอบงํา เจ้าได้บรรเทาความโศกถึงบิดาเสียได้.
พ่อเป็นผู้ถอนลูกศรคือความโศกออกได้แล้ว ปราศจากความเศร้าโศก หมดความมัวหมอง ลูกรัก พ่อจะไม่เศร้าโศก จะไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคําของเจ้า.
คนผู้มีปัญญา มีใจอนุเคราะห์ ย่อมทําบุคคลให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศกได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 719
เหมือนกับพ่อสุชาตบุตรของเรา ทําเราผู้บิดาให้หลุดพ้นความโศก ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพาปเย แปลว่า ให้ดับแล้ว.บทว่า ทรํ ได้แก่ ความกระวนกระวาย เพราะความโศก. บทว่าสุชาโต ปิตรํ ยถา ความว่า พ่อสุชาตบุตรของเรา ทําเราผู้เป็นบิดาให้พ้นจากความโศก เพราะความที่ตนเป็นผู้มีปัญญา ฉันใดแม้คนอื่นผู้มีปัญญา ก็ย่อมทําคนอื่นให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศกฉันนั้น.
พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะกุฎมพีก็ดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล. ส่วนสุชาตกุมารในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาสุชาตชาดกที่ ๒