พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. เวนสาขชาดก ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35809
อ่าน  484

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 720

๓. เวนสาขชาดก

ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 720

๓. เวนสาขชาดก

ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว

[๗๑๒] ดูก่อนพรหมทัตกุมาร ความเกษมสําราญ ภิกษาหารหาได้ง่ายและความเป็นผู้สําราญกายนี้ ไม่พึงมีตลอดกาลเป็นนิตย์เมื่อประโยชน์ของตนสิ้นไป ท่านอย่าเป็นผู้ล่มจมเสียเลยเหมือนคนเรือแตก ไม่ได้ที่พึ่งอาศัย ต้องจมอยู่ในท่ามกลางทะเลฉะนั้น.

[๗๑๓] บุคคลทํากรรมใด ย่อมมองเห็นกรรมนั้นในตน ผู้ทํากรรมดีย่อมได้ผลดี ผู้ทํากรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ผลย่อมงอกขึ้นเช่นนั้น.

[๗๑๔] ปาจารย์ได้กล่าวคําใดไว้ว่า ท่านอย่าได้ทําบาปกรรมที่ทําแล้วจะทําให้เดือดร้อนในภายหลังเลย คํานั้นเป็นคําสอนของอาจารย์เรา.

[๗๑๕] ปิงคิยปุโรหิตนั้น ย่อมบ่นเพ้อแสดงต้นไทรนี้ว่ามีกิ่งแผ่ไพศาล สามารถให้ความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 721

ชนะได้ เราได้ให้ฆ่ากษัตริย์ผู้ประดับด้วยราชาลังการ ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์แดงทั้งพันพระองค์เสีย ที่ต้นไม้ใด ต้นไม้นั้น บัดนี้ไม่อาจทําการป้องกันอะไรแก่เราได้ ความทุกข์อันนั้นแหละกลับมาสนองเราแล้ว.

[๗๑๖] พระนางอุพพรีอัครมเหสีของเรา มีพระฉวีวรรณงามดังทองคํา ลูบไล้ตัวด้วยแก่นจันทน์แดง ย่อมงามเจริญตา เหมือนกับกิ่งไม้สิงคุอันขึ้นตรงไป ไหวสะเทือนอยู่ฉะนั้น เรามิได้เห็นพระนางอุพพรีแล้ว คงจักต้องตายเป็นแน่ การที่เราไม่ได้เห็นพระ-นางอุพพรีนั้น จักเป็นทุกข์ยิ่งกว่ามรณทุกข์นี้อีก.

จบ เวนสาขชาดกที่ ๓

อรรถกถาเวนสาขชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยตําบลสุงสุมารคีรีในแขวงภัคคชนบทประทับอยู่ในเภสกฬาวัน ทรงปรารภโพธิราชกุมาร จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคําเริ่มต้นว่า นยิทํ นิจฺจํ ภวิตพฺพํ ดังนี้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 722

ครั้งนั้นพระโอรสของพระเจ้าอุเทนนามว่า โพธิราชกุมารประทับอยู่ ณ สุงสุมารคีรี รับสั่งให้เรียกช่างไม้ผู้ชํานาญศิลปะคนหนึ่งมาให้สร้างปราสาทชื่อโกกนุท โดยสร้างไม่ให้เหมือนกับพระราชาอื่นๆ ก็แหละครั้นให้สร้างเสร็จแล้ว มีพระทัยตระหนี่ว่าช่างไม้คนนี้จะพึงสร้างปราสาทเห็นปานนี้ แก่พระราชาแม้องค์อื่นจึงให้ควักนัยน์ตาทั้งสองข้างของช่างไม้นั้นเสีย. เพราะเหตุนั้น แม้ความที่พระโพธิราชกุมารให้ควักนัยน์ตาของช่างไม้นั้น ก็เกิดปรากฏในหมู่ภิกษุสงฆ์. เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย จึงนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่า โพธิราชกุมารรับสั่งให้ควักนัยน์ตาทั้งสองข้างของนายช่างไม้เห็นปานนั้น โอ ! ช่างกักขฬะหยาบช้า สาหัสนัก. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายมิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน โพธิราชกุมารนี้ก็เป็นผู้กักขฬะหยาบช้า สาหัส เหมือนกันและในบัดนี้เท่านั้นยังไม่สิ้นเชิง แม้ในกาลก่อน โพริราชกุมารนี้ก็ให้ควักพระเนตรของกษัตริย์ ๑,๐๐๐ องค์ให้ปลงพระชนม์ทําพลีกรรมด้วยเนื้อของกษัตริย์ ๑,๐๐๐ องค์นั้นแล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์อยู่ในเมืองตักก-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 723

ศิลา. ขัตติยมาณพและพราหมณมาณพในพื้นชมพูทวีป พากันเรียนศิลปะในสํานักของพระโพธิสัตว์นั้นเอง พระโอรสแม้ของพระเจ้าพาราณสี นามว่า พรหมทัตกุมาร ก็เรียนพระเวททั้ง ๓ ในสํานักของพระโพธิสัตว์นั้น. แต่ตามปกติ พรหมทัตกุมารนั้นได้เป็นผู้กักขฬะ หยาบช้า ทารุณ. พระโพธิสัตว์รู้ว่าพรหมทัตกุมารนั้นเป็นผู้กักขฬะ หยาบช้า ทารุณ ด้วยอํานาจวิชาดูอวัยวะ ได้กล่าวสอนว่าดูก่อนพ่อ เธอเป็นผู้กักขฬะ หยาบช้า ทารุณ ความเป็นใหญ่ที่ได้ด้วยความหยาบช้า ย่อมไม่ดํารงอยู่นาน เมื่อความเป็นใหญ่พินาศไปคนผู้หยาบช้านั้นย่อมไม่ได้ที่พึ่งเหมือนคนเรือแตกไม่ได้ที่พึ่งพํานักในสมุทรฉะนั้น เพราะฉะนั้น เธออย่าได้เป็นผู้เห็นปานนั้น ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ดูก่อนพรหมทัตกุมาร ความเกษมสําราญ ๑ ภิกษาหารที่หาได้ง่าย ๑ ความเป็นผู้สําราญกายนี้ ๑ ไม่พึงมีตลอดกาลเป็นนิตย์ เมื่อประโยชน์ของตนสิ้นไป ท่านอย่าได้เป็นผู้ล่มจมเลย เหมือนคนเรือแตกไม่ได้ที่พึ่งอาศัย จมอยู่ในท่ามกลางทะเลฉะนั้น.

บุคคลทํากรรมใด ย่อมเห็นกรรมนั้น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 724

ในตน ผู้ทํากรรมดีย่อมได้ผลดี ผู้ทํากรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ผลย่อมงอกขึ้นเช่นนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขตา จ กาเย ความว่าดูก่อนพ่อพรหมทัต ความเกษมสําราญก็ตาม ความมีภิกษาที่หาได้ง่ายก็ตาม หรือความสบายกายก็ตาม ทั้งหมดนี้ ย่อมไม่มีเป็นนิตย์คือตลอดกาลทั้งปวงแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ก็ความเกษมสําราญเป็นต้นนี้เป็นของไม่เที่ยงมีความไม่มีเป็นธรรมดา. บทว่า อตฺถจฺจเยความว่า ท่านนั้น ในเมื่อความเป็นใหญ่ปราศจากไปโดยความเป็นของไม่เที่ยงคือ เพราะประโยชน์ของตนล่วงไป อย่าได้เป็นผู้ล่มจมเหมือนคนเรือแตก เมื่อไม่ได้ที่พึ่งอาศัยในท่ามกลางสาคร ย่อมเป็นผู้จมลงฉะนั้น. บทว่า ตานิ อตฺตนิ ปสฺสติ ความว่า บุคคลผู้ประสบผลของกรรมเหล่านั้น ชื่อว่าเห็นกรรมในตน.

พรหมทัตกุมารนั้นไหว้อาจารย์แล้วไปถึงนครพาราณสี แสดงศิลปะแก่พระบิดา แล้วดํารงอยู่ในตําแหน่งอุปราช เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว ก็ได้เสวยราชสมบัติ. ท้าวเธอมีปุโรหิตชื่อว่าปิงคิยะเป็นคนกระด้างหยาบช้า เพราะความโลภในยศเขาจึงคิดว่า ถ้ากระไรเรายุให้พระราชานี้จับพระราชาทุกองค์ในชมพูทวีปทั้งสิ้น เมื่อเป็นอย่างนี้ พระราชานี้จักเป็นพระราชาแต่พระองค์เดียว แม้เรา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 725

ก็จะได้เป็นปุโรหิตแต่ผู้เดียว. ปุโรหิตนั้นทําให้พระราชานั้นเชื่อถือถ้อยคําของตน. พระราชาจึงยกกองทัพใหญ่ออก ล้อมนครของพระราชาองค์หนึ่งแล้วจับพระราชาองค์นั้น. พระราชานั้นยึดราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ด้วยอุบายนี้นั่นแหละ ห้อมล้อมด้วยพระราชา ๑,๐๐๐ องค์ ได้ไปด้วยหวังว่า จักยึดราชสมบัติในนครตักกศิลา. พระโพธิสัตว์ปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมพระนครกระทําให้เป็นนครที่คนอื่นกําจัดไม่ได้. ฝ่ายพระเจ้าพาราณสีให้วงม่านที่โคนต้นไทรใหญ่ริมแม่น้ำคงคา แล้วให้ทําเพดานข้างบน ลาดที่บรรทมแล้วพักอยู่. ท้าวเธอแม้จะพาเอาพระราชา ๑,๐๐๐ องค์ ในพื้นชมพูทวีปออกรบอยู่ ก็ไม่อาจยึดเมืองตักกศิลาได้ จึงตรัสถามปุโรหิตว่า ท่านอาจารย์ พวกเรามาพร้อมกับพระราชาเหล่านี้ ไม่สามารถยึดเมืองตักกศิลาได้ควรจะทําอย่างไรดี. ปุโรหิตกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้าเราทั้งหลายจงควักนัยน์ตาของพระราชา ๑,๐๐๐ พระองค์แล้วปลงพระชนม์เสีย ผ่าท้องถือเอาเนื้ออร่อย ๕ ชนิด กระทําพลีกรรมแก่เทวดาผู้บังเกิดอยู่ที่ต้นไทรนี้ แล้ววงรอบต้นไทรด้วยเกลียวพระอันตะแล้วเจิมด้วยโลหิต ชัยชนะจักมีแก่พวกเราอย่างเร็วพลันทีเดียว ด้วยอุบายอย่างนี้. พระราชาทรงรับว่า ดีละ แล้ววางคนปล้ำผู้มีกําลังมากไว้ภายในม่าน ให้เรียกพระราชามาทีละองค์ แล้วให้ทําให้สลบด้วยการบีบรัดแล้วควักเอานัยน์ตาแล้วฆ่าให้ตาย เอาแต่เนื้อไว้ ลอยซากศพไปในแม่น้ำคงคา ให้ทําพลีกรรมมีประการดังกล่าวแล้ว ให้

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 726

ตีกลองบวงสรวงแล้วเสด็จไปรบ. ครั้งนั้น ยักษ์ตนหนึ่งชื่ออัชชิสกตะมาควักพระเนตรเบื้องขวาของพระเจ้าพาราณสีนั้นแล้วก็ไป. เวทนาใหญ่หลวงเกิดขึ้นแล้ว ท้าวเธอได้รับเวทนา จึงเสด็จไปบรรทมหงายบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ณ โคนต้นไทร. ขณะนั้น แร้งตัวหนึ่งคาบเอากระดูกชิ้นหนึ่งซึ่งมีปลายคมกริบ มาจับอยู่บนยอดไม้ กินเนื้อหมดแล้วทิ้งกระดูกลงมา ปลายกระดูกลอยมาตกลงที่พระเนตรซ้ายของพระราชา ทําพระเนตรทั้งสองแตกไปเหมือนหลาวเหล็กแทงฉะนั้น. ขณะนั้น ท้าวเธอจึงกําหนดได้ถึงถ้อยคําของพระโพธิสัตว์.พระองค์จึงทรงบ่นเพ้อว่า อาจารย์ของเรากล่าวไว้ว่า สัตว์เหล่านี้ย่อมเสวยวิบากอันสมควรแก่กรรม เหมือนบุคคลเสวยผลอันสมควรแก่พืช ดังนี้ เห็นจะเป็นเหตุนี้จึงกล่าวไว้ แล้วได้กล่าวคาถา๒ คาถาว่า :-

ปาจารย์ได้กล่าวคํารดไว้ว่า ท่านอย่าได้ทําบาปกรรมที่ทําแล้วจะทําให้เดือดร้อนในภายหลัง คํานั้นเป็นคําสอนของอาจารย์เรา.

ปิงคิยปุโรหิตนั้น มาบ่นเพ้อแสดงต้นไทรนี้ว่า มีกิ่งแผ่ไพศาล มีเดชานุภาพสามารถให้ความชนะได้ เราได้ให้ฆ่ากษัตริย์

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 727

ผู้ประกอบด้วยราชอลังการ ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์แดง ถึงพันพระองค์ ที่ต้นไม้ใดบัดนี้ ต้นไม้นั้นไม่อาจทําการป้องกันอะไรแก่เราได้ ความทุกข์อันนั้นแหละกลับมาสนองเวรแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ ตทาจริยวโจ ความว่าคํานี้นั้น เป็นคําของอาจารย์. พระเจ้าพาราณสีตรัสเรียกอาจารย์นั้นโดยโคตรว่า ปาจารย์. บทว่า ปจฺฉา กตํ ความว่า อาจารย์ได้ให้ โอวาทว่า บาปใดที่เธอกระทําไว้ บาปนั้นจะทําเจ้าให้เดือดร้อนลําบาก ในภายหลัง เธออย่าทําบาปนั้นเลย ดังนี้ แต่เราไม่ได้กระทําตามคําของอาจารย์นั้น. ปิงคิยปุโรหิตบ่นเพ้อแสดงต้นไทรว่า อยเมวแปลว่า ต้นนี้แหละ. บทว่า เวนสาโข ได้แก่ มีกิ่งแผ่กว้างไป.บทว่า ยมฺหิ จ ฆาตฺยึ ความว่า ให้ปลงพระชนม์กษัตริย์ ๑,๐๐๐องค์ ที่ต้นไม้ใด. บทว่า อลงฺกเต จนฺทนสารลิตฺเต นี้ ท่านแสดงว่า เราให้ฆ่ากษัตริย์เหล่านั้น ผู้ประดับด้วยราชอลังการลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์แดง ที่ต้นไม้ใด ต้นไม้นั้น คือต้นนี้ บัดนี้ ไม่สามารถกระทําการต้านทานอะไรแก่เรา. บทว่า ตเมว ทุกฺขํ ความว่าพระเจ้าพาราณสีทรงร่ําไรว่า ทุกข์อันเกิดจากควักนัยน์ตาของคนอื่นอันใด ที่เรากระทําแล้วทุกข์นี้กลับมาถึงเราเหมือนอย่างนั้นแหละ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 728

บัดนี้ คําของอาจารย์เราถึงที่สุดแล้ว.

ท้าวเธอเมื่อทรงคร่ําครวญอยู่อย่างนี้แล ทรงหวนระลึกถึงพระอัครมเหสี จึงกล่าว่าคาถาว่า :-

พระนางอุพพรีอัครมเหสีของเรา มีพระฉวีวรรณดังทองคํา ลูบไล้ทาตัวด้วยแก่นจันทน์แดง งดงามเจริญตา ยามเมื่อเยื้องกราย เหมือนกิ่งไม้สิงคุ ยามเมื่อต้องลมอ่อนๆ ไหวสะเทือนอยู่ฉะนั้น เรามิได้เห็นพระนางอุพพรีแล้ว เพราะตาบอด จักตายแน่ การที่เราไม่ได้เห็นพระนางอุพพรีนั้นจักเป็นทุกข์ยิ่งกว่ามรณทุกข์นี้เสียอีก

คําที่เป็นคาถานั้นมีความว่า พระนางอุพพรีอัครมเหสีเรามีพระฉวีวรรณงามดังทองคํา ยามเมื่อกระทําอิตถีวิลาศกิริยาเยื้องกรายของหญิงย่อมงดงาม เหมือนกิ่งไม้สิงคุที่ชี้ไปตรงๆ ยามถูกลมอ่อนรําเพยพัดไหวโอนงามอยู่ฉะนั้น. บัดนี้ เราไม่ได้เห็นพระนางอุพพรีนั้น เพราะนัยน์ตาทั้งสองข้างแตกไปแล้ว จักต้องตาย การที่เรามองไม่เห็นพระนางอุพพรีนั้น จักเป็นทุกข์ยิ่งกว่ามรณทุกข์นี้.

พระเจ้าพาราณสีนั้นทรงบ่นเพ้ออยู่อย่างนี้ ตายแล้วบังเกิดในนรก. ปุโรหิตผู้อยากได้ความเป็นใหญ่ไม่อาจทําการต้านทานพระเจ้า

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 729

พาราณสีนั้น ไม่อาจทําความเป็นใหญ่แก่ตน. เมื่อพระเจ้าพาราณสีนั้นพอสวรรคตเท่านั้น พลนิกายต่างพากันแตกสานซ่านเซ็นไป.

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า. พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นโพธิราชกุมาร ปิงคิยปุโรหิต ได้เป็นพระเทวทัต อาจารย์ทิศาปาโมกข์ในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาเวนสาขชาดกที่ ๓