พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. อุรคชาดก เปรียบความตายเหมือนงูลอกคราบ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35810
อ่าน  707

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 730

๔. อุรคชาดก

เปรียบความตายเหมือนงูลอกคราบ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 ส.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 730

๔. อุรคชาดก

เปรียบความตายเหมือนงูลอกคราบ

[๗๑๗] บุตรของข้าพเจ้าละทิ้งร่างกายของตนไปดุจงูละทิ้งคราบเก่าไปฉะนั้น เมื่อร่างกายแห่งบุตรของข้าพเจ้าใช้อะไรไม่ได้ กระทํากาละไปแล้วอย่างนี้ บุตรข้าพเจ้าถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ําไห้ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา คติของตนมีอย่างใด เขาก็ย่อมไปสู่คติของตนอย่างนั้น.

[๗๑๘] บุตรของดิฉันนี้ ดิฉันมิได้เชื้อเชิญให้เขามาจากปรโลก เขาก็มาเอง แม้เมื่อจะไปจากมนุษยโลกนี้ ดิฉันก็มิได้อนุญาตให้เขาไป เขามาอย่างใด เขาก็ไปอย่างนั้น การปริเทวนาถึงในการที่บุตรของดิฉันไปจากมนุษยโลกนั้น จะเกิดประโยชน์อะไร บุตรของดิฉันถูกเผาอยู่ก็ไม่รู้สึกถึงความร่ําไห้ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้าโศก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 ส.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 731

ถึงเขา คติของตนมีอย่างใด เขาก็ไปสู่คติของตนอย่างนั้น.

[๗๑๙] เมื่อพี่ชายตายแล้ว หากว่าดิฉันจะพึงร้องไห้ ดิฉันก็จะผ่ายผอม เมื่อดิฉันร้องไห้อยู่ จะมีผลอะไร ความไม่ยินดีจะพึงมีแก่ญาติมิตรและสหายของดิฉันยิ่งขึ้น พี่ชายของดิฉันถูกเผาอยู่ก็ไม่รู้สึกถึงความร่ําไห้ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้าโศกถึงพี่ชายนั้น คติของตนมีอย่างใดเขาไปสู่คติของตนอย่างนั้น.

[๗๒๐] เด็กร้องไห้ขอพระจันทร์อันโคจรอยู่ในอากาศฉันใด การที่บุคคลมาเศร้าโศกถึงผู้ที่ละไปสู่ปรโลกแล้วนี้ ก็มีอุปไมยฉันนั้น สามีของดิฉันถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ําไห้ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้าโศกถึงสามีนั้น คติของตนมีอย่างใด เขาก็ไปสู่คติของตนอย่างนั้น.

[๗๒๑] หม้อน้ำที่แตกแล้ว เชื่อมให้สนิทอีก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 ส.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 732

ไม่ได้ฉันใด การที่บุคคลมาเศร้าโศกถึงผู้ที่ละไปสู่ปรโลกแล้วนี้ ก็มีอุปไมยฉันนั้น นายของดิฉันถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ําไห้ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้าโศกถึงนายนั้น คติของตนมีอย่างใด นายของดิฉันก็ไปสู่คติของตนอย่างนั้น.

จบ อุรคชาดกที่ ๔

อรรถกถาอุรคชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภกุฎมพีคนหนึ่งผู้มีภรรยาตายแล้ว จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า อุรโคว ตจํ ชิณฺณํ ดังนี้

เรื่องปัจจุบัน เป็นเหมือนเรื่องกุฎมพีผู้มีภรรยาตาย และมีบิดาตายแล้วนั่นแหละ. แม้ในชาดกนี้ พระศาสดาเสด็จไปยังนิเวศน์ของกุฎมพีนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน แล้วตรัสถามกุฎมพีนั้นผู้มาถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ว่า อาวุโส ท่านเศร้าโศกหรือ เมื่อกุฎมพีนั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เศร้าโศกตั้งแต่บุตรของข้าพระองค์ตายไปแล้วจึงตรัสว่าอาวุโส ชื่อว่าสิ่งที่มีการแตกทําลายเป็นธรรมดา ย่อมจะแตกทําลายไป ชื่อว่าสิ่งที่มีการพินาศไปเป็นธรรมดา ย่อมจะพินาศไป ก็แหละสิ่งที่มีการแตกและการพินาศ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 ส.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 733

ไปนั้น จะมีแก่คนผู้เดียวเท่านั้นก็หามิได้ จะมีในหมู่บ้านเดียวเท่านั้นก็หามิได้ ชื่อว่าสภาวธรรม คือ ความไม่ตายย่อมไม่มีในภพทั้งสามในจักรวาลอันหาประมาณมิได้ แม้สังขารอย่างหนึ่งซึ่งสามารถดํารงอยู่โดยภาวะนั้นเท่านั้น ชื่อว่าเที่ยงยั่งยืนย่อมไม่มี สัตว์ทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา สังขารทั้งหลายมีการแตกสลายไปเป็นธรรมดา แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อบุตรตายแล้ว คิดว่า สิ่งที่มีการพินาศไปเป็นธรรมดา พินาศไปแล้ว จึงไม่เศร้าโศกเลย อันกุฎมพีนั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ ณ หมู่บ้านใกล้ประตูเมืองพาราณสี สั่งสมทรัพย์สมบัติไว้เลี้ยงชีพด้วยกสิกรรม. พระโพธิ-สัตว์นั้นได้มีทารก ๒ คน คือ บุตร ๑ ธิดา ๑. พระโพธิสัตว์นั้นเมื่อบุตรเจริญวัยแล้ว ได้นํานางกุมาริกามาจากสกุลที่เสมอกัน. ดังนั้นชนเหล่านั้นได้เป็น ๖ คนด้วยกันกับนางทาสี คือ พระโพธิสัตว์ภรรยา บุตร ธิดา ลูกสะใภ้ และทาสี. ชนเหล่านั้นได้เป็นผู้สมัครสมานยินดีอยู่กันด้วยความรัก. พระโพธิสัตว์ได้ให้โอวาทแก่คนทั้ง ๕ที่เหลืออย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงให้ทานโดยนิยามตามทํานองที่หาได้เท่านั้น จงรักษาศีล กระทําอุโบสถกรรม เจริญมรณัสสติ จงกําหนดถึงภาวะคือความตายของท่านทั้งหลาย เพราะความตายของสัตว์เหล่านี้เป็นของยั่งยืน ชีวิตไม่ยั่งยืน สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มีความเสื่อม

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 ส.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 734

สิ้นไปเป็นธรรมเทียว ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาททั้งกลางคืนและกลางวันเถิด. ชนทั้ง ๕ นั้นรับโอวาทว่าสาธุ แล้วเป็นผู้ไม่ประมาทเจริญมรณสติอยู่. อยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์ไปนาพร้อมกับบุตรไถนาอยู่ บุตรลากหยากเหยื่อมาเผา ในที่ไม่ใกล้บุตรนั้น มีอสรพิษอยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง ควันไฟกระทบตาของอสรพิษนั้น มันโกรธเลื้อยออกมาคิดว่า ภัยเกิดแก่เราเพราะอาศัยคนผู้นี้ จึงกัดบุตรชายจมทั้ง ๔ เขี้ยว เขาล้มลงตายทันที พระโพธิสัตว์เหลียวมาดูเห็นบุตรชายนั้นล้มลงจึงหยุดโคแล้วไปหา รู้ว่าบุตรชายนั้นตายแล้ว จึงยกบุตรนั้นขึ้นให้นอนอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง คลุมผ้าไว้ ไม่ร้องไห้ ไม่ปริ-เทวนาการร่ําไร. ไถนาไปพลาง กําหนดถึงเฉพาะความเป็นอนิจจังว่าก็สิ่งที่ที่การแตกเป็นธรรมดา แตกไปแล้ว สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาตายไปแล้ว สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สําเร็จด้วยความตาย. พระโพธิ-สัตว์นั้น เห็นบุรุษผู้คุ้นเคยกันคนหนึ่งเดินไปทางใกล้นาจึงถามว่า จะไปเรือนหรือพ่อ เมื่อเขากล่าวว่าจ้ะ จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านพึงแวะไปยังเรือน แม้ของพวกเรา บอกกะนางพราหมณีเขาว่าวันนี้ ไม่ต้องนําภัตตาหารไปเพื่อคนสองคนเหมือนดังก่อน พึงนําอาหารไปเฉพาะสําหรับคนผู้เดียวเท่านั้น และเมื่อก่อน ทาสีผู้เดียวเท่านั้น นําอาหารมา แต่วันนี้ คนทั้ง ๔ พึงนุ่งห่มผ้าขาว ถือของหอมและดอกไม้มา. บุรุษนั้นรับคําแล้วไปบอกแก่นางพราหมณีเหมือนอย่างนั้น. นางพราหมณีถามว่า ดูก่อนพ่อ ข่าวนี้ใครให้ท่านมา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 ส.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 735

บุรุษนั้นตอบว่า พราหมณ์ให้มาจ้ะ แม่เจ้า. นางพราหมณีนั้นรู้ได้ว่าบุตรของเราตายแล้ว. แม้ความวิปริตสักว่าความหวานใจก็มิได้มีแก่นางพราหมณ์นั้น. ก็นางมีจิตอบรมไว้ดีแล้วอย่างนี้ นุ่งห่มผ้าขาวถือของหอมและดอกไม้ ให้ถืออาหารแล้วได้ไปพร้อมกับคนที่เหลือ. แม้คนผู้เดียวก็มิได้มีความร้องไห้หรือความร่ําไร. พระโพธิสัตว์นั่งในร่มเงาที่บุตรชายนอนอยู่นั่นแหละบริโภคอาหาร. ในเวลาเสร็จการบริโภคอาหาร คนแม้ทั้งหมดก็ขนฟืนมา ยกบุตรชายนั้นขึ้นสู่เชิงตะกอนบูชาด้วยของหอมและดอกไม้แล้วเผา. น้ำตาแม้หยดเดียวก็ไม่ได้มีแก่ใครๆ . ทั้งหมดเป็นผู้เจริญมรณัสสติไว้ดีแล้ว. ด้วยเดชแห่งศีลของตนเหล่านั้น ภพแห่งท้าวสักกะจึงแสดงอาการร้อน. ท้าวสักกะนั้นทรงใคร่ครวญอยู่ว่า ใครหนอประสงค์จะให้เราเคลื่อนจากที่ ทรงทราบว่าภพร้อนเพราะเดชแห่งคุณของชนเหล่านั้น เป็นผู้มีพระมนัสเลื่อมใสทรงดําริว่า เราไปยังสํานักของชนเหล่านี้ ทําให้เขาบันลือสีหในเวลาเสร็จสิ้นการบันลือสีหนาท จึงกระทํานิเวศน์ของชนเหล่านั้นให้เต็มด้วยรัตนะทั้ง ๗ แล้วจึงมา ย่อมจะควร จึงเสด็จไปในที่นั้นโดยเร็วแล้วประทับยืนอยู่ที่ข้างป่าช้าตรัสว่า ดูก่อนพ่อ พวกท่านทําอะไรกัน.ชนเหล่านั้นกล่าวว่า นาย พวกเราเผามนุษย์คนหนึ่ง. ท้าวสักกะตรัสว่า พวกท่านจักไม่เผามนุษย์ แต่เห็นจะฆ่าเนื้อตัวหนึ่งแล้วจึงปิ้งอยู่. ชนเหล่านั้นกล่าวว่า นาย ข้อนั้นก็หามิได้ พวกเราเผาเฉพาะมนุษย์เท่านั้น. ท้าวสักกะตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เขาคงจะเป็นมนุษย์

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 ส.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 736

ที่มีเวรกับพวกท่าน ลําดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะท้าวสักกะนั้นว่า นาย เขาเป็นบุตรผู้เกิดแต่อกของพวกเรา ไม่ใช่คนมีเวรกัน.ท้าวสักกะตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เขาดงจะเป็นบุตรผู้ที่ไม่เป็นที่รักของท่าน. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า นาย เขาเป็นบุตรที่รักยิ่งของข้าพเจ้า.ท้าวสักกะตรัสว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ร้องไห้.พระโพธิสัตว์นั้น เมื่อจะบอกถึงเหตุที่ไม่ร้องไห้ จึงกล่าวคาถาที่๑ว่า :-

บุตรของข้าพเจ้าละทิ้งร่างกายของตนไปดุจงูละทิ้งคราบเก่าฉะนั้น เมื่อร่างกายแห่งบุตรของข้าพเจ้าใช้อะไรไม่ได้ ทํากาละไปแล้วอย่างนี้ บุตรของข้าพเจ้าถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ําไรของหมู่ญาติ เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา คติของตนมีอย่างใด เขาก็ย่อมไปสู่คติของตนอย่างนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตนุํ แปลว่า ร่างกายของตน.นิพฺโภเค ความว่า ชื่อว่าเว้นจากการใช้สอย เพราะไม่มีชีวิตินทรีย์คือความเป็นใหญ่คือชีวิต. บทว่า เปเต ได้แก่ กลับไปยังปรโลก.บทว่า กาลกเต ได้แก่ กระทํากาละแล้ว อธิบายว่า ตายแล้ว. ท่านกล่าวคําอธิบายนี้ไว้ว่า นาย บุตรของข้าพเจ้าละทิ้งร่างกายของตนไป

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 ส.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 737

เหมือนงูลอกคราบเก่า ไม่เหลียวแลห่วงใย ละทิ้งไปฉะนั้น เมื่อร่างกายแห่งบุตรของเรานั้น เว้นขาดจากชีวิตินทรีย์ใช้การไม่ได้อย่างนี้ และเมื่อบุตรของเรานั้นละไปแล้ว คือหวนกลับไปแล้ว กระทํามรณกาลแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยความการุณหรือความร่ําไห้เพราะบุตรของเรานี้ย่อมไม่รู้ แม้ความร่ําไห้ของพวกญาติ เหมือนเอาหลาวแทงแล้วเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกสุขและทุกข์ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา เขาไปตามคติแห่งตนของเขาแล้ว.

ท้าวสักกะได้ทรงฟังคําของพระโพธิสัตว์ แล้วจึงตรัสถามนางพราหมณีว่า ดูก่อนแม่ เขาเป็นอะไรแก่ท่าน? นางพราหมณีตอบว่านาย เขาเป็นบุตรที่ข้าพเจ้าบริหารด้วยครรภ์ถึง ๑๐ เดือน ให้ดื่มถัญแล้วบํารุงเลี้ยงให้เจริญเติบโต. ท้าวสักกะตรัสว่า ดูก่อนแม่ บิดาไม่ร้องไห้ เพราะเป็นบุรุษก็ยกไว้ส่วนหทัยของมารดาอ่อนโยน เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ร้องไห้. นางพราหมณีนั้นเมื่อจะบอกเหตุที่ไม่ร้องไห้ จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

บุตรของดิฉันนี้ ดิฉันมิได้เชื้อเชิญให้เขามาจากปรโลก เขาก็มาเอง แม้เมื่อจะไปจากมนุษยโลกนี้ ดิฉันก็มิได้อนุญาตให้เขาไป เขามาอย่างใด เขาก็ไปอย่างนั้นการปริเทวนาถึงในการที่บุตรของดิฉันไปจาก

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 ส.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 738

มนุษยโลกนั้น จะเกิดประโยชน์อะไร บุตรของดิฉันถูกเผาอยู่ก็ไม่รู้สึกถึงความร่ําไรของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา คติของเขามีอย่างใด เขาก็ไปสู่คติของตนอย่างนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนพฺภิโต ความว่า ดูก่อนพ่อบุตรของดิฉันนี้ ดิฉันมิได้เชื้อเชิญ คือมิได้ขอร้องให้มาจากปรโลก.บทว่า อาคา ความว่า มาสู่เรือนของดิฉันแล้ว. บทว่า อิโต ความว่าแม้เมื่อจะไปจากมนุษยโลกนี้ ดิฉันมิได้อนุญาตเลย ได้ไปแล้ว. บทว่ายถาคโต ความว่า แม้เมื่อจะมาก็มาตามความชอบใจของตนอย่างใดแม้เมื่อจะไปก็ไปอย่างนั้นนั่นแหละ. บทว่า ตตฺถ ความว่า จะมัวไปปริเทวนาการร่ําไห้อะไรในการที่เขาไปจากมนุษยโลกนี้นั้น. คาถาว่าทยฺหมาโน ดังนี้ไปพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วแล.

ลําดับนั้น ท้าวสักกะครั้นได้สดับถ้อยคําของนางพราหมณีแล้วจึงตรัสถามน้องสาวว่า แน่ะแม่ เขาเป็นอะไรแก่เธอ? น้องสาวกล่าวว่า เขาเป็นพี่ชายของดิฉันจ้ะนาย. ท้าวสักกะตรัสว่า แน่ะแม่ ธรรมดาน้องสาวทั้งหลายย่อมมีความสิเนหารักใคร่พี่ชาย เพราะเหตุไร เธอจึงไม่ร้องไห้. ฝ่ายน้องสาวนั้น เมื่อจะบอกเหตุ ไม่รู้องให้แก่ท้าวสักกะนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 ส.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 739

เมื่อพี่ชายตายแล้ว หากว่าดิฉันจะพึงร้องไห้ ดิฉันก็จะผ่ายผอม เมื่อดิฉันร้องไห้อยู่ จะมีผลอะไร ความไม่ยินดีก็จะพึงมีแก่ญาติ มิตรและสหายของดิฉันยิ่งขึ้น พี่ชายของดิฉันถูกเผาอยู่ก็ไม่รู้สึกถึงความร่ําไห้ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้าโศกถึงพี่ชายนั้น คติของตนมีอย่างใด เขาก็ไปสู่คติของตนอย่างนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ นี้ ท่านแสดงว่า ถ้าเมื่อพี่ชายตาย ดิฉันจะพึงร้องให้ไซร้ ดิฉันจะพึงเป็นผู้มีร่างกายผ่ายผอมอนึ่ง ชื่อว่าความเจริญอันมีการร้องไห้นั้นเป็นปัจจัย ก็ไม่มีแก่พี่ชายของดิฉัน. ด้วยบทว่า ตสฺสา เม นี้ แสดงว่า เมื่อดิฉันนั้นร้องไห้อยู่ผลอะไร คืออานิสงส์อะไร จะพึงมี แต่ความไม่เจริญจะปรากฏ. บทว่าาติมิตฺตาสุหชฺชานํ ได้แก่ ญาติ มิตร และสหาย. อีกอย่างหนึ่ง.บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ภิยฺโย โน ความว่า ความไม่ยินดีอย่างยิ่ง จะพึงมีแก่ญาติ มิตร และสหายเหล่านั้น ขอดิฉัน.

ครั้นท้าวสักกะได้ทรงสดับถ้อยคําของหญิงผู้เป็นน้องสาวแล้วจึงตรัสถามภรรยาของบุตรที่ตายนั้นว่า แน่ะแม่ เขาเป็นอะไรแก่เธอ? ภรรยาตอบว่า นาย เขาเป็นสามีดิฉัน. ท้าวสักกะตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 ส.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 740

ธรรมสตรีทั้งหลาย เมื่อสามีตายไป ย่อมเป็นหม้าย ไร้ที่พึ่ง เพราะเหตุไร เธอจึงไม่ร้องให้. ฝ่ายภรรยานั้น เมื่อจะบอกเหตุที่ไม่ร้องไห้แก่ท้าวสักกะนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

เด็กร้องไห้ขอพระจันทร์อันโคจรอยู่ในอากาศฉันใด การที่บุคคลมาเศร้าโศกถึงผู้ที่ละไปสู่ปรโลกแล้วนี้ ก็มีอุปไมยฉันนั้นสามีของดิฉันถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ําไห้ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้าโศกถึงสามีนั้น คติของตนมีอย่างใด เขาก็ไปสู่คติของตนอย่างนั้น.

คําที่เป็นคาถานั้นมีเนื้อความว่า ทารกผู้อ่อนเยาว์ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร สิ่งที่ควรได้และไม่ควรได้ ในที่ใดที่หนึ่ง นั่งอยู่บนตักของมารดา เห็นพระจันทร์เต็มดวงในเดือนวันเพ็ญ ลอยเด่นอยู่ในอากาศย่อมร้องไห้แล้วๆ เล่าๆ ว่า แม่จา จงให้พระจันทร์ฉัน แม่จาจงให้พระจันทร์ฉัน ดังนี้ ฉันใด ความถึงพร้อมอุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ความร้องไห้ของตนผู้เศร้าโศกถึงคนที่ละไป คือตายไปแล้วนั้น สําเร็จความอุปไมยเหมือนฉันนั้น ทั้งไม่มีประโยชน์ยิ่งกว่าพาลทารกผู้ร้องไห้อยากได้พระจันทร์แม้นี้ เพราะเหตุไร? เพราะ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 ส.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 741

พาลทารกเด็กอ่อนนั้นร้องไห้ถึงพระจันทร์ที่มีอยู่ ส่วนสามีของดิฉันตายแล้ว บัดนี้ ไม่ปรากฏอยู่ แม้เขาเอาหลาวแทงเผาอยู่ก็ไม่รู้อะไรๆ

ท้าวสักกะได้ทรงสดับถ้อยคําของภรรยา แล้วจึงตรัสถามทาสีว่า ดูก่อนแม่ เขาเป็นอะไรแก่เจ้า? ทาสีตอบว่า ข้าแต่นาย เขาเป็นนายของดิฉัน. ท้าวสักกะตรัสว่า เจ้าจักได้ถูกบุรุษนี้เบียดเบียนโบยตีแล้วใช้สอยเป็นแน่ เพราะฉะนั้น เจ้าจึงไม่ร้องไห้เพราะคิดว่าบุรุษนี้พ้นไปเสียดีแล้ว. ทาสีกล่าวว่า นายท่านอย่าพูดอย่างนั้น คําที่ท่านพูดนี้ไม่สมควรแก่นายดิฉันนี้ ลูกเจ้านายของดิฉัน เพียบพร้อมด้วยขันติ เมตตา และความเอ็นดู ได้เป็นผู้เสมือนบุตรที่ดิฉันให้เจริญเติบโตในอก. ท้าวสักกะตรัสว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร เจ้าจึงไม่ร้องไห้. ฝ่ายทาสีนั้น เมื่อจะบอกเหตุที่ไม่ร้องไห้แก่ท้าวสักกะนั้นจึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

หม้อน้ำที่แตกแล้ว เชื่อมให้สนิทอีกไม่ได้ ฉันใด การที่บุคคลเศร้าโศกถึงผู้ที่ละไปสู่ปรโลกแล้วนี้ ก็มีอุปไมยฉันนั้น นายของดิฉันถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ําไห้ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้าโศกถึงนายนั้น คติของตนมีอย่างใด นายของดิฉันก็ไปสู่คติของตนอย่างนั้น

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 ส.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 742

คําที่เป็นคาถานั้นมีความว่า หม้อนําอันเขายกขึ้น พลัดตกแตกออก ๗ เสี่ยง ย่อมไม่อาจที่จะเรียงเชื่อมกระเบื้องเหล่านั้นแล้ว ทําให้กลับเป็นของปกติได้อีก ชื่อฉันใดความเศร้าโศกของตนผู้เศร้าโศกถึงคนที่ละไปแล้วนั้น ก็ให้สําเร็จความอุปไมยเหมือนฉันนั้น เพราะไม่อาจทําคนตายให้เป็นขึ้นมาได้อีก อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีฤทธิ์ไม่อาจเชื่อมหม้อที่แตกแล้วให้เต็มด้วยน้ำ ด้วยอานุภาพแห่งฤทธิ์ ฉันใดถึงผู้ที่ตายแล้ว ใครๆ ก็ไม่อาจทําให้กลับเป็นปกติตามเดิม แม้ด้วยกําลังฤทธิ์ได้ฉันนั้น. คาถานอกนี้ มีเนื้อความได้กล่าวไว้แล้วในคาถาก่อนทั้งนั้น.

ท้าวสักกะทรงสดับธรรมกถาของคน ทั้งหมดแล้วทรงเลื่อมใสตรัสว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาทเจริญมรณัสสติแล้ว จําเดิมแต่นี้ไป ท่านทั้งหลายไม่ต้องทําการงานด้วยมือของตน เราเป็นท้าวสักกะเทวราช เราจักทํารัตนะทั้ง ๗ อันหาประมาณมิได้ไว้ในเรือนของพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงให้ทาน รักษาศีลอยู่จําอุโบสถ จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ครั้นให้โอวาทแก่ชนเหล่านั้นแล้ว ทรงกระทําเรือนให้มีทรัพย์นับประมาณไม่ได้ แล้วเสด็จหลีกไป.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้วจึงทรงประกาศสัจจะแล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะกุฎมพีดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล. ทาสีในครั้งนั้น ได้เป็นนางขุชชุตตรา ธิดาได้เป็นนางอุบลวรรณา บุตรได้เป็นพระราหุล มารดาได้เป็นนางเขมา ส่วนพราหมณ์ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอุรคชาดกที่ ๔