๕. ธังกชาดก ว่าด้วยการร้องไห้ไม่มีประโยชน์
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 743
๕. ธังกชาดก
ว่าด้วยการร้องไห้ไม่มีประโยชน์
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 743
๕. ธังกชาดก
ว่าด้วยการร้องไห้ไม่มีประโยชน์
[๗๒๒] ชนเหล่าอื่นเศร้าโศกอยู่ ร้องไห้อยู่ชนเหล่าอื่นมีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา พระองค์เป็นผู้มีผิวพระพักตร์ผ่องใส ดูก่อนฆฏราชาเพราะเหตุไรพระองค์จึงไม่เศร้าโศก.
[๗๒๓] ความเศร้าโศกหาได้นําสิ่งที่ล่วงไปแล้วมาได้ไม่ หาได้นําความสุขในอนาคตมาได้ไม่ดูก่อนธังกราชา เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่เศร้าโศก ความเป็นสหายในความโศกย่อมไม่มี.
[๗๒๔] บุคคลเศร้าโศกอยู่ ย่อมเป็นผู้ผอมเหลืองและไม่พอใจบริโภคอาหาร เมื่อเขาถูกลูกศรคือความเศร้าโศกเสียบแทงแล้ว เร่าร้อนอยู่ศัตรูทั้งหลายย่อมดีใจ.
[๗๒๕] ความฉิบหายอันมีความเศร้าโศกเป็นมูลจักไม่มาถึงหม่อมฉันผู้อยู่ในบ้านหรือในป่าในที่ลุ่มหรือในที่ดอน หม่อมฉันเห็นบทฌานแล้วอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 744
[๗๒๖] คนผู้เดียวเท่านั้นสามารถจะนํากามรสทั้งปวงมาให้ได้ สหายของพระราชาพระองค์ใด ไม่สามารถจะนํามาให้ได้ ถึงสมบัติในแผ่นดินทั้งสิ้น ก็จักนําความสุขมาให้แก่พระราชาพระองค์นั้นไม่ได้.
จบ ธังกชาดกที่ ๕
อรรถกถาธังกชาดกที่ ๕
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภอํามาตย์ผู้หนึ่งของพระเจ้าโกศล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า อฺเ โสจนฺติ โรทนฺติ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบัน เป็นเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.ส่วนในชาดกนี้ พระราชาประทานยศใหญ่แก่อํามาตย์ผู้อุปการะช่วยเหลือพระองค์ ภายหลังทรงเชื่อถือถ้อยคําของผู้ยุยงจึงจองจําอํามาตย์นั้นแล้วให้ขังไว้ในเรือนจํา. อํามาตย์นั้นนั่งยู่ในเรือนจํานั้นแหละทําโสดาปัตติมรรคให้บังเกิดแล้ว. พระราชาทรงกําหนดได้ถึงคุณความดีของอํามาตย์นั้น จึงรับสั่งให้ปล่อยจากเรือนจํา. อํามาตย์นั้นจึงถือของหอมและดอกไม้ไปยังสํานักของพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่. ลําดับนั้น พระศาสดาตรัสถามอํามาตย์นั้นว่า เขาว่าความฉิบหายมิใช่ประโยชน์เกิดขึ้นแล้วแก่ท่านหรือ เมื่ออํามาตย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 745
นั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประโยชน์ก็มาถึงข้าพระองค์ ด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ คือ โสดาปัตติมรรคบังเกิดแล้ว พระเจ้าข้า. พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก มิใช่แต่ท่านเท่านั้น จะนําเอาประโยชน์มาด้วยสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลายก็นํามาแล้ว อันอํามาตย์นั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ใต้บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าพรหมทัตนั้น พระญาติทั้งหลายขนานพระนามพระโพธิสัตว์นั้นว่า ฆฏกุมาร. สมัยต่อมา ฆฏกุมารนั้น เรียนศิลปะในเมืองตักกศิลาแล้วครองราชสมบัติโดยธรรม. อํามาตย์คนหนึ่งในภายในพระราชวังของพระราชานั้นคิดประทุษร้าย. พระราชานั้นทรงทราบโดยชัดแจ้งจึงให้ขับไล่อํามาตย์นั้นออกจากแว่นแคว้น. ครั้นนั้น พระเจ้าธังกราชครองราชสมบัติในนครสาวัตถี. อํามาตย์นั้นได้ไปยังราชสํานักของพระเจ้าธังกราชนั้นอุปัฏฐากท้าวเธอ ให้เชื่อถือคําของตน โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ แล้วให้ยึดราชสมบัติในนครพาราณสี. พระเจ้าธังกราชนั้น ครั้นยึดราชสมบัติได้แล้ว ให้เอาโซ่ตรวนพันธนาการพระโพธิสัตว์ไว้ แล้วส่งให้เข้าไปอยู่ในเรือนจํา.พระโพธิสัตว์ทําฌานให้บังเกิดแล้วนั่งขัดสมาธิอยู่ในอากาศ. ความเร่าร้อนตั้งขึ้นในพระสรีระของพระเจ้าธังกราช ท้าวเธอจึงไปได้เห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 746
หน้าพระโพธิสัตว์มีสง่างามดุจแว่นทองและดอกบัวบาน เมื่อจะถามพระโพธิสัตว์ จึงตรัสคาถาที่๑ ว่า :-
ชนเหล่าอันเศร้าโศก ร้องไห้อยู่ ชนเหล่าอื่นมีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา ส่วนพระองค์เป็นผู้มีผิวพระพักตร์ผ่องใส ดูก่อนฆฏราชาเพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่เศร้าโศก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฺเ หมายถึงว่ามนุษย์ที่เหลือเว้นพระโพธิสัตว์นั้น.
ลําดับนั้น พระโพธิสัตว์เมื่อจะบอกเหตุที่ไม่เศร้าโศกแก่พระเจ้าธังกราชนั้น จึงได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-
ความเศร้าโศกหาได้นําสิ่งที่ล่วงไปแล้วมาได้ไม่ หาได้นําความสุขในอนาคตมาได้ไม่ดูก่อนธังกราชา เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่เศร้าโศก ความเป็นสหายในความโศกย่อมไม่มี.
บุคคลผู้เศร้าโศกอยู่ ย่อมเป็นผู้ผอม-เหลืองและไม่พอใจบริโภคอาหาร เมื่อเขาถูกลูกศรคือความเศร้าโศกเสียบแทงแล้วเร่าร้อนอยู่ พวกศัตรูย่อมดีใจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 747
ความฉิบหายอันมีความเศร้าโศกเป็นมูลจักไม่มาถึงหม่อมฉันผู้อยู่ในบ้านหรือในป่าในที่ลุ่มหรือในที่ดอน หม่อมฉันเห็นบทฌานแล้วอย่างนี้.
ตนผู้เดียวเท่านั้นจะสามารถนํากามรสทั้งปวงมาให้ได้ สหายของพระราชาพระองค์ใด ไม่สามารถจะนํามาให้ได้ถึงสมบัติในแผ่นดินทั้งสิ้น ก็จักนําความสุขมาให้แก่พระ-ราชานั้นไม่ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาพฺภตีตหโร แปลว่า นําสิ่งที่ล่วงไปแล้วมาไม่ได้. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. ขึ้นชื่อว่าความโศกย่อมนําเอามาอีกไม่ได้ซึ่งสิ่งที่ล่วงเลยดับลับหายไปแล้วบทว่า ทุตียตา ได้แก่ ความเป็นสหาย. พระโพธิสัตว์กล่าวว่าขึ้นชื่อว่าความโศกย่อมไม่เป็นสหายของใครๆ ในการที่จะนําเอาอดีตมา หรือในการที่จะนําเอาอนาคตมา ด้วยเหตุแม้นั้น เราจึงไม่เศร้าโศก. บทว่า โสจํ แปลว่า เศร้าโศกอยู่. บทว่า สลฺลวิทฺธสฺสรุปฺปโต ความว่า เมื่อบุคคลถูกลูกศรคือความโศกเสียบแทง คือถูกลูกศรคือความโศกกระทบอยู่ ศัตรูทั้งหลายย่อมดีใจว่า พวกเราเห็นหลังข้าศึกแล้ว. บทว่า ิตํ มํ นาคมิสฺสติ ความว่า ดูก่อนพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 748
สหายธังกราชความพินาศฉิบหายอันมีความโศกซึ่งมีสภาวะเป็นผู้ผอมเหลืองเป็นต้นเป็นมูล จักไม่มาถึงเราผู้สถิตอยู่ณ ที่ใดที่หนึ่ง ในบรรดาบ้านเป็นต้นเหล่านี้. บทว่า เอวํ ทิฏปโท ความว่า เราได้เห็นบทแห่งฌานโดยประการที่ความพินาศฉิบหายนั้นยังไม่มาถึง.บางอาจารย์กล่าวว่า บทคือโลกธรรม ๘ ดังนี้ก็มี. แต่ในบาลีเขียนว่าน มตฺตํ นาคมิสฺสติ ความตายจักไม่มาถึง. คําที่เขียนไว้นั้น ย่อมไม่มีแม้ในอรรถกถาทั้งหลาย.
ในคาถาสุดท้ายมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ตนที่ชื่อว่านํามาซึ่งกามรสทั้งปวง เพราะนํามาซึ่งสรรพกามรสกล่าวคือฌานสุข เพราะอรรถว่าน่าอยากได้น่าปรารถนา. ท่านกล่าวคําอธิบายนี้ไว้ว่า. ก็ตนผู้เดียวละเว้นสหายอื่นๆ เสีย ไม่อาจนํากามรสทั้งปวงมา คือไม่สามารถนํามาซึ่งกามรสทั้งปวง กล่าวคือความสุขในฌานทั้งปวงแก่พระราชาใดทรัพย์สมบัติในแผ่นดินแม้ทั้งสิ้นก็จักไม่นําความสุขมาให้แก่พระราชานั้น เพราะธรรมดาความสุข ย่อมไม่มีแก่ผู้เดือดร้อนเพราะกามส่วนพระราชาผู้สามารถนํามาซึ่งความสุขในฌานอันเว้นจากความกระวนกระวาย เพราะกิเลส ย่อมเป็นผู้มีความสุข. ส่วนเนื้อความของบาลีในคาถานี้ที่ว่า ยสฺสตฺถา นาลเมโก ดังนี้ก็มีนั้น ไม่ปรากฏแล.
พระเจ้าธังกราชได้สดับคาถาทั้ง ๔ คาถา ด้วยประการดังนี้แล้วจึงขอษมาพระโพธิสัตว์แล้วมอบราชสมบัติคืน ได้เสด็จหลีกไปแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 749
ฝ่ายพระมหาสัตว์มอบราชสมบัติแก่อํามาตย์ทั้งหลาย แล้วไปยังหิมวันตประเทศ บวชเป็นฤาษีมีฌานไม่เสื่อม ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระเจ้าธังกราชในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วนพระเจ้าฆฏราช ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาธังกชาดกที่ ๕