พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. การันทิยชาดก ว่าด้วยการทําที่เหลือวิสัย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35812
อ่าน  447

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 750

๖. การันทิยชาดก

ว่าด้วยการทําที่เหลือวิสัย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 750

๖. การันทิยชาดก

ว่าด้วยการทําที่เหลือวิสัย

[๗๒๗] ท่านผู้เดียวรีบร้อน ยกเอาก้อนหินใหญ่กลิ้งลงไปในซอกเขาในป่า ดูก่อนการันทิยะจะเป็นประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยการทิ้งก้อนหินลงในซอกเขานี้เล่าหนอ.

[๗๒๘] ข้าพเจ้าเกลี่ยหินก้อนเล็กก้อนใหญ่ลงจักกระทําแผ่นดินใหญ่นี้ซึ่งมีมหาสมุทรสี่เป็นขอบเขต ให้ราบเรียบเพียงดังฝ่ามือ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ทิ้งหินลงในซอกเขา.

[๗๒๙] ดูก่อนการันทิยะ เราสําคัญว่า มนุษย์คนเดียวย่อมไม่สามารถจะทําแผ่นดินให้ราบเรียบดังฝ่ามือได้ ท่านพยายามจะทําซอกเขานี้ให้เต็มขึ้น ท่านก็จักละชีวโลกนี้ไปเสียเปล่าเป็นแน่.

[๗๓๐] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หากว่ามนุษย์คนเดียวไม่สามารถจะทําแผ่นดินใหญ่นี้ให้ราบเรียบได้ฉันใด ท่านก็จักนํามนุษย์เหล่านี้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 751

ผู้มีทิฏฐิต่างๆ กันมาไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๗๓๑] ดูก่อนการันทิยะ. ท่านได้บอกความจริงโดยย่อแก่เรา ข้อนี้เป็นอย่างนั้น แผ่นคนนี้มนุษย์ไม่สามารถจะทําให้ราบเรียบได้ฉันใดเราก็ไม่อาจจะทําให้มนุษย์ทั้งหลายมาอยู่ในอํานาจของเราได้ ฉันนั้น.

จบ การันทิยชาดกที่ ๖

อรรถกถาการันทิยชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพระธรรมเสนาบดี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า เอโกอรฺเ ดังนี้.

ได้ยินว่า พระเถระให้ศีลแก่คนทุศีลทั้งหลาย มีพรานเนื้อและคนจับปลาเป็นต้น ที่ผ่านๆ มา ซึ่งท่านได้พบได้เห็นเท่านั้นว่า ท่านทั้งหลายจงถือศีล ท่านทั้งหลายจงถือศีล. ชนเหล่านั้น มีความเคารพในพระเถระ ไม่อาจขัดขืนถ้อยคําของพระเถระนั้น จึงพากันรับศีลก็แหละครั้นรับแล้วก็ไม่รักษา คงกระทําการงานของตนๆ อยู่อย่างเดิมพระเถระเรียกสัทธิวิหาริกทั้งหลายของตนมาแล้วกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลายคนเหล่านี้รับศีลในสํานักของเรา ก็แหละครั้นรับแล้วก็ไม่รักษา.สัทธิวิหาริกทั้งหลายกล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านให้ศีลโดยความไม่พอใจ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 752

ของชนเหล่านั้น พวกเขาไม่อาจขัดขืนถ้อยคําของท่านจึงรับเอา ตั้งแต่นี้ไป ขอท่านอย่าได้ให้ศีลแก่ชนทั้งหลายเห็นปานนี้. พระเถระไม่พอใจต่อถ้อยคําของสัทธิวิหาริก. ภิกษุทั้งหลายได้สดับเรื่องราวนั้นแล้วก็สนทนากันขึ้นในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่าพระสารีบุตรให้ศีลแก่คนที่ท่านได้ประสบพบเห็นเท่านั้น. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบว่า เรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้นแม้ในกาลก่อน พระสารีบุตรนี้ก็ให้ศีลแก่คนที่ตนได้ประสบพบเห็นซึ่งไม่ขอศีลเลย แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ เจริญวัยแล้วได้เป็นอันเตวาสิกผู้ใหญ่ของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักกศิลา ชื่อว่าการันทิยะ. ครั้งนั้น อาจารย์นั้นให้ศีลแก่คนที่ได้ประสบพบเห็นมีชาวประมงเป็นต้นผู้ไม่ขอศีลเลยว่า ท่านทั้งหลายจงรับศีล ท่านทั้งหลายจงรับศีล ดังนี้. ชนเหล่านั้นแม้รับเอาแล้วก็ไม่รักษา. อาจารย์จึงบอกความนั้นแก่อันเตวาสิกทั้งหลาย อันเตวาสิกทั้งหลายจึงพากัน กล่าวว่าท่านผู้เจริญ ท่านให้ศีลโดยความไม่ชอบใจของชนเหล่านั้น เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงพากันทําลายเสีย จําเดิมแต่บัดนี้ไป ท่านพึงให้เฉพาะแก่คนที่ขอเท่านั้น อย่าให้แก่คนที่ไม่ขอ. อาจารย์นั้นได้เป็น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 753

ผู้วิปฏิสารเดือดร้อนใจ. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ยังคงให้ศีลแก่พวกคนที่ตนได้ประสบพบเห็นอยู่นั่นแหละ. อยู่มาวันหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายมาจากบ้านแห่งหนึ่ง เชิญอาจารย์ไปเพื่อการสวดของพราหมณ์.อาจารย์นั้นเรียกการันทิยมาณพมาแล้วกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ ฉันจะไม่ไป เธอจงพามาณพ ๕๐๐ นี้ไปในที่สวดนั้น รับการสวดแล้ว จงนําเอาส่วนที่เขาให้เรามา ดังนี้ แล้วจึงส่งไป. การันทิยมาณพนั้นไปแล้วกลับมา ในระหว่างทาง เห็นซอกเขาแห่งหนึ่งจึงคิดว่า อาจารย์ของพวกเราให้ศีลแก่คนที่ได้ประสบพบเห็น ซึ่งไม่ขอศีลเลย จําเดิมแต่บัดนี้ไป เราจะทําอาจารย์นั้นได้ให้ศีลเฉพาะแก่พวกคนที่ขอเท่านั้นเมื่อพวกมาณพนั้นกําลังนั่งสบายอยู่ เขาจึงลุกขึ้นไปยกศิลาก้อนใหญ่โยนลงไปในซอกเขา โยนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่นั่นแหละ. ลําดับนั้นมาณพเหล่านั้นจึงลุกขึ้นพูดกะการันทิยมาณพนั้นว่า อาจารย์ ท่านทําอะไร. การันทิยมาณพนั้นไม่กล่าวคําอะไรๆ . มาณพเหล่านั้นจึงรีบไปบอกอาจารย์. อาจารย์มาแล้ว เมื่อจะเจรจากับการันทิยมาณพนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ท่านผู้เดียวรีบร้อน ยกก้อนหินใหญ่กลิ้งลงไปในซอกเขาในป่า ดูก่อนการันทิยะจะประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยการทิ้งก้อนหินลงในซอกเขาเล่านี้หนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกนุ ตวยิธตฺโถ ความว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 754

ประโยชน์อะไรหนอ ด้วยการที่ท่านทิ้งศิลาลงในซอกเขานี้.

การันทิยมาณพนั้นได้ฟังคําของอาจารย์นั้นแล้ว ประสงค์จะท้วงอาจารย์ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ข้าพเจ้าเกลี่ยหินก้อนเล็กก้อนใหญ่ลงจักกระทําแผ่นดินใหญ่นี้ ซึ่งมีมหาสมุทรสี่เป็นขอบเขต ให้ราบเรียบเพียงดังฝ่ามือเพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ทิ้งหินลงในซอกเขา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหํ หิมํ ความว่า ก็ข้าพเจ้าเกลี่ยหินก้อนเล็กก้อนใหญ่ลง จักกระทําแผ่นดินใหญ่นี้ ให้ราบเรียบ. บทว่า สาครเสวิตนฺตํ ได้แก่ อันสาครทะเลใหญ่บรรจบแล้วมีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นที่สุด. บทว่า ยถาปิ ปาณิ ความว่า เราจักกระทําให้ราบเสมอดังฝ่ามือ. บทว่า วิกีริย แปลว่า เกลี่ยแล้ว. บทว่าสานูนิ จ ปพฺพตานิ ได้แก่ ภูเขาดินและภูเขาหิน.

พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่๓ ว่า :-

ดูก่อนการันทิยะ เราสําคัญว่า มนุษย์คนเดียวย่อมไม่สามารถจะทําแผ่นดินให้ราบเรียบดังฝ่ามือได้ ท่านพยายามจะทําซอกเขานี้ให้เต็มขึ้น ท่านก็จักละชีวโลกนี้ไปเสีย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 755

เปล่าเป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า กรณายเมยเมโก นี้ ท่านแสดงว่า คนผู้เดียวไม่อาจกระทําได้ คือไม่สามารถจะกระทําได้. บทว่ามฺามิมฺเว ทรึ ชิคึสํ ความว่า เราย่อมสําคัญว่า แผ่นดินจงยกไว้ก่อนเถิด ซอกเขานี้เท่านั้น ท่านพยายามเพื่อต้องการจะทําให้เต็มขึ้น เที่ยวแสวงหาหินทั้งหลายมา คิดค้นหาอุบายอยู่นั่นแล. จะละคือจักละชีวโลกนี้ไป อธิบายว่า จักตายเสียเปล่า.

มาณพได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หากว่ามนุษย์คนเดียวไม่สามารถจะทําแผ่นดินใหญ่นี้ให้ราบเรียบได้ ฉันใด ท่านก็จักนํามนุษย์เหล่านี้ผู้มีทิฏฐิต่างๆ กันมาไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

คําที่เป็นคาถานั้นมีความว่า ถ้ามนุษย์คนเดียวนี้ ไม่อาจ คือไม่สามารถทําแผ่นดิน คือ ปฐพีใหญ่นี้ให้ราบเรียบ ฉันใด ท่านก็จักนํามนุษย์ทุศีลผู้มีทิฏฐิต่างกันมาไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน คือท่านกล่าวกะมนุษย์เหล่านั้นว่า พวกท่านจงรับศีลจักนํามาสู่อํานาจของตนไม่ได้ฉันนั้น ด้วยว่าคนที่เป็นบัณฑิตเท่านั้น ย่อมติเตียนปาณาติบาตว่าเป็นอกุศล ส่วนคนพาลไม่เชื่อสังสาระ เป็นผู้มีความสําคัญในข้อนั้นว่าเป็นกุศล ท่านจักนําคนเหล่านั้นมาได้อย่างไร เพราะฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 756

ท่านอย่าให้ศีลแก่คนที่ได้ประสบพบเห็น จงให้แก่คนที่ขอเท่านั้น.

อาจารย์ได้ฟังดังนั้นคิดว่า การันทิยะพูดถูกต้อง บัดนี้ เราจักไม่กระทําอย่างนั้น ครั้นรู้ว่าตนผิดแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า :-

ดูก่อนการันทิยะ ท่านได้บอกความจริงโดยย่อแก่เรา ข้อนี้เป็นอย่างนั้นจริงแผ่นดินนั้นมนุษย์ไม่สามารถจะทําให้ราบเรียบได้ฉันใด เราก็ไม่อาจทํามนุษย์ทั้งหลายให้มาอยู่ในอํานาจของเราได้ ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมายํ ตัดเป็น สมา อยํ.

อาจารย์ได้ทําความชมเชยมาณพอย่างนี้. ฝ่ายมาณพนั้นท้วงอาจารย์นั้นแล้ว ตนเองก็นําท่านไปยังเรือน

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนการันทิยบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาการันทิยชาดกที่ ๖