พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. สุสันธีชาดก ว่าด้วยนางผิวหอม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35816
อ่าน  475

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 785

๑๐. สุสันธีชาดก

ว่าด้วยนางผิวหอม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 785

๑๐. สุสันธีชาดก

ว่าด้วยนางผิวหอม

[๗๔๘] กลิ่นดอกไม้ติมิระหอมฟุ้งไป น้ำทะเลคะนองใหญ่ พระนางสุสันธีอยู่ห่างไกลจากนครนี้ ข้าแต่พระเจ้าตัมพราช กามทั้งหลายเสียบแทงหัวใจข้าพระบาทอยู่.

[๗๔๙] ท่านข้ามทะเลไปได้อย่างไร ท่านได้เห็นเกาะเสรุมได้อย่างไร ดูก่อนนายอัคคะความสมาคมของนางและท่านได้มีขึ้นอย่างไร.

[๗๕๐] เมื่อพวกพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์ ออกไปจากท่าชื่อภรุกัจฉะ พวกมังกรทําให้เรือแตกแล้ว เราได้ลอยไปกับแผ่นกระดาน.

[๗๕๑] พระนางสุสันธีมีกลิ่นพระกายหอมดุจแก่นจันทน์อยู่เป็นนิตย์น่าดูน่าชม ทรงเห็นข้าพระบาทเข้าแล้ว ปลอบโยนด้วยวาจาอันอ่อนหวาน ได้ทรงอุ้มข้าพระบาทด้วยแขนทั้งสองเหมือนกับมารดาอุ้มบุตรผู้เกิดจากอกฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 786

[๗๕๒] พระนางผู้มีพระเนตรอ่อนหวาน ทรงบํารุงบําเรอข้าพระบาทด้วยข้าว น้ำ ผ้าที่นอน และแม้ด้วยพระองค์ ข้าแต่พระเจ้า-ตัมพราช ขอพระองค์โปรดทรงทราบอย่างนี้เถิด.

จบ สุสันธีชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาสุสันธีชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันอยากสึก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่าวาติ คนฺโธ ติมิรานํ ดังนี้ :-

ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่าดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระสันอยากสึกจริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระเจ้าข้าจึงตรัสว่า เพราะเห็นอะไร เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า เพราะเห็นมาตุคามประดับประดาแต่งตัว พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุธรรมดาว่ามาตุคามนี้ ใครๆ ไม่อาจรักษาไว้ได้ แม้โบราณกบัณฑิตจะรักษาไว้ในสุบรรณพิภพ ก็ไม่อาจรักษาไว้ได้ อันภิกษุนั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่าตัมพราช ครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระอัครมเหสีของพระเจ้าตัมพราชนั้น พระนามว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 787

สุสันธี ทรงพระรูปโฉมอันล้ำเลิศ. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในกําเนิดสุบรรณพิภพ. ในกาลนั้น ได้มีเกาะนาคชื่อว่า เสรุมทวีป.พระโพธิสัตว์อยู่ในสุบรรณพิภพ เกาะนี้. พระโพธิสัตว์ออกจากสุบรรณพิภพไปยังนครพาราณสี แปลงเพศเป็นมาณพ เล่นสกากับพระเจ้าตัมพราช. หญิงผู้เป็นปริจาริกาเห็นรูปสมบัติของมาณพนั้นจึงทูตพระนางสุสันธีว่า มาณพชื่อเห็นปานนี้ เล่นสกากับพระราชาของเราทั้งหลาย. พระนางสุสันธีนั้นได้ฟังดังนั้น มีความประสงค์จะดูมาณพนั้น วันหนึ่ง ทรงแต่งองค์แล้วเสด็จมายังสนามเล่นสกาประทับยืนอยู่ในระหว่างพวกนางปริจาริกาทรงแลดูมาณพนั้น. ฝ่ายมาณพนั้นก็แลดูพระเทวี ชนทั้งสองต่างมีจิตปฏิพัทธ์กันและกัน.พระยาสุบรรณทําลมให้ตั้งขึ้นในนครด้วยอานุภาพของตน มนุษย์ทั้งหลายพากันออกจากพระราชนิเวศน์ เพราะกลัวเรือนพัง. พระยาสุบรรณนั้นกระทําความมืดมนด้วยอานุภาพของตนแล้ว พาพระเทวีมาทางอากาศ แล้วเข้าไปยังพิภพของตน ณ เกาะนาคทวีป. ชื่อว่าคนผู้จะรู้สถานที่ที่พระนางสุสันธีเสด็จไป มิได้มีเลย. พระยาสุบรรณนั้นอภิรมย์อยู่กับพระนางสุสันธีนั้น ไปเล่นสกากับพระราชา. ก็พระราชานั้นมีคนธรรพ์ ชื่อว่า อัคคะ. ท้าวเธอไม่ทรงทราบสถานที่ที่พระเทวีเสด็จไป จึงตรัสเรียกคนธรรพ์นั้นมาแล้วทรงส่งไปด้วยพระดํารัสว่า ดูก่อนพ่อคนธรรพ์ เธอจงไป จงเที่ยวไปตามทางบกและทางน้ำให้ทั่วจนพบเห็นสถานที่ที่พระเทวีเสด็จไป. คนธรรพ์นั้น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 788

ถือเอาเสบียงทางแล้วค้นหาไปตั้งแต่บ้านใกล้ประตูจนถึงท่าภารุกัจฉา.ครั้งนั้น พ่อค้าชาวภารุกัจฉาจะแล่นเรือไปยังสุวรรณภูมิ. คนธรรพ์นั้นจึงเข้าไปหาพ่อค้าเหล่านั้น แล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นคนธรรพ์นักขับร้องจักทําการขับร้องให้แก่พวกท่าน โดยหักเป็นค่าเรือ ของท่านทั้งหลายจงพาข้าพเจ้าไปด้วย. พ่อค้าเหล่านั้นรับว่าได้ แล้วให้เขาขึ้นไปยังเรือแม้นั้นแล้วออกเรือไป. เมื่อเรือแล่นไปแล้ว พ่อค้าเหล่านั้นจึงเรียกคนธรรพ์นั้นมาแล้วกล่าวว่า จงทําการขับร้องให้แก่พวกเรา. คนธรรพ์กล่าวว่า ถ้าข้าพเจ้าจะทําการขับร้องไซร้ ก็เมื่อกําลังขับร้องอยู่ฝูงปลาทั้งหลายจักเคลื่อนไหว เมื่อเป็นเช่นนั้นเรือของท่านทั้งหลายจักแตก. พวกพ่อค้ากล่าวว่า เมื่อกระทําการขับร้องอยู่ในทางของมนุษย์ ชื่อว่าพวกปลาจะเคลื่อนไหวย่อมไม่มี ท่านจงขับร้องเถอะ. คนธรรพ์จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายอย่าโกรธข้าพเจ้า. แล้วแก้พิณออกทําการขับร้องให้เสียงดีดพิณเข้ากับเสียงขับและให้เสียงขับเข้ากับเสียงดีดพิณ. ปลาทั้งหลายเคลิบเคลิ้มเพราะเสียงนั้นจึงพากันเคลื่อนไหว. ครั้งนั้น มังกร (ชนิดของปลา) ตัวหนึ่งกระโดดตกลงไปในเรือทําให้เรือแตก. นายอัคคะนั้นนอนอยู่ในแผ่นกระดานลอยไปตามลมจนถึงแหล่งของต้นไทรอันเป็นสุบรรณพิภพณ เกาะนาคทวีป. ฝ่ายพระนางสุสันธีเทวี ในเวลาที่พระยาสุบรรณไปเล่นสกากับพระราชา ก็ลงจากวิมานเดินเที่ยวไปที่ชายฝัง เห็นคนธรรพ์ชื่อว่าอัคคะนั้น ทรงจําได้ จึงถามว่า ท่านมาได้อย่างไร

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 789

คนธรรพ์นั้นจึงทูลให้ทราบทั้งหมด. พระนางสุสันธีจึงปลอบโยนคนธรรพ์นั้นว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านอย่ากลัวไปเลย แล้วเอาแขนทั้งสองโอบอุ้มขึ้นไปยังวิมาน ให้นอนบนที่นอน ในเวลาที่นายอัคคะกระปรี้กระเปล่าขึ้นแล้ว ก็ให้โภชนาหารทิพย์ ให้อาบน้ำหอมทิพย์ ให้นุ่งห่มผ้าทิพย์ ประดับด้วยของหอมและดอกไม้ทิพย์แล้วกลับใหันอนบนที่นอนทิพย์อีก. พระนางปฏิบัติคนธรรพ์นั้น ด้วยประการอย่างนี้ เวลาพระยาสุบรรณมา ก็ปกปิดไว้เสีย เวลาพระยาสุบรรณไป ก็อภิรมย์ด้วยอํานาจกิเลสกับคนธรรพ์นั้น. จากนั้น ล่วงไปได้กึ่งเดือน พ่อค้าชาวเมืองพาราณสีมาถึงที่โคนต้นไทร ในเกาะนั้นเพื่อต้องการจะเอาฟืนและน้ำ. นายอัคคะนั้นนั่งเรือไปยังนครพาราณสีกับพระเทวีนั้น ได้เฝ้าพระราชาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครั้นในเวลาพระยาสุบรรณนั้นมาเล่นสกาจึงถือพิณ เมื่อจะขับร้องถวายพระราชาจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า

กลิ่นดอกติมิระฟุ้งตลบไป น้ำทะเลก็กึกก้องคนองลั่น พระนางสุสันธีอยู่ห่างไกลนครนี้แท้ ข้าแต่พระเจ้าคัมพราช กามทั้งหลายเสียบแทงหัวใจข้าพระบาทอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติมิรานํ ได้แก่ ดอกของต้นติมิระ. เขาว่า มีต้นติมิระล้อมรอบต้นไทรนั้น. นายอัคคคนธรรพ์กล่าวอย่างนั้น โดยหมายเอาต้นติมิระเหล่านั้น. บทว่า กุสมุทฺโท

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 790

ได้แก่ น้ำทะเล. บทว่า โฆสวา แปลว่า มีเสียงดังลั่น. นายอัคคคนธรรพ์กล่าวอย่างนั้น โดยเอาทะเลใกล้ๆ ต้นไทรนั้นเท่านั้น. บทว่าอิโต หิ แปลว่า จากนครนี้. นายอัคคนธรรพ์เรียกพระราชาว่าตมฺพ. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า ตมฺพกามา นี้ ท่านแสดงว่ากามที่พระเจ้าตัมพราชทรงใคร่ ชื่อว่า ตัมพกาม กามนั้นเสียบแทงหัวใจข้าพระบาทอยู่.

พระยาสุบรรณได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ท่านข้ามทะเลไปได้อย่างไร ท่านได้เห็นเกาะเสรุมะได้อย่างไร ดูก่อนนายอัคคะความสมาคมของนางและท่านได้มีขึ้นอย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสรุมํ ได้แก่ เกาะชื่อเสรุมะ.ลําดับนั้น อัคคคนธรรพ์ได้กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-

เมื่อพวกพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์ ออกไปจากท่าชื่อภรุกัจฉา พวกมังกรทําให้เรือแตก เราได้ลอยไปกับแผ่นกระดาน

พระนางสุสันธีมีกลิ่นภายหอมดังแก่นจันทน์อยู่เป็นนิจ ผู้น่าดูน่าชม ทรงเห็นข้าพระบาทผู้ข้ามห้วงมหรรณพได้เพราะแผ่น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 791

กระดานแล้ว ปลอบโยนด้วยวาจาอันอ่อน-หวาน ทรงอุ้มข้าพระบาทด้วยแขนทั้งสองประหนึ่งมารดาอุ้มบุตรผู้เกิดจากอกฉะนั้น.

พระนางผู้มีพระเนตรอ่อนหวาน ทรงบํารุงบําเรอข้าพระบาทด้วยข้าว น้ำ ผ้าที่นอน และแม้ด้วยตัวพระองค์เอง ข้าแต่พระเจ้าตัมพราช ขอพระองค์โปรดทรงทราบอย่างนี้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สา มํ สณฺเหน มุทุนาความว่าพระนางทรงเที่ยวไปที่ฝังสมุทร ทรงเห็นข้าพระบาทผู้ข้ามขึ้นฝังด้วยแผ่นกระดานอย่างนี้แล้ว ทรงปลอบโยนด้วยวาจาอันไพเราะอ่อนหวานว่าอย่ากลัวเลย. ด้วยบทว่า องฺเคน นี้ แขนทั้งคู่ท่านเรียกว่าอังเคนะ ในที่นี้. บทว่า ภทฺทา ได้แก่ น่าดู น่าพิศมัย. บทว่าสา มํ อนฺเนน ความว่า พระนางบําเรอข้าพระบาทให้อิ่มหนําด้วยข้าวเป็นต้นนี้. บทว่า อตฺตนาปิ จ นี้ ท่านแสดงว่า มิใช่แต่ข้าวเป็นต้นอย่างเดียวเท่านั้น แม้ตัวพระองค์เองก็ทรงบําเรอให้อิ่มหนําอภิรมย์อยู่. บทว่า มทฺทกฺขี แปลว่า มีนัยน์ตาอ่อนหวานท่านอธิบายว่า มีการแลดูด้วยอาการอ่อนโยนเป็นปกติธรรมดา. บาลีว่ามตฺตกฺขี ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ประกอบด้วยดวงตาประหนึ่งว่ามัวเมา

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 792

ด้วยความเมา ดวงตาหยาดเยิ้ม บทว่า เอวํ ตมฺพ ความว่าข้าแต่พระเจ้าตัมพราช ขอพระองค์โปรดทรงทราบอย่างนี้.

เมื่อคนธรรพ์อยู่นั้นแหละ พระยาสุบรรณ มีความร้อนใจคิดว่า เราแม้อยู่ในสุบรรณพิภพ ก็ไม่อาจรักษานางได้ เราจะประโยชน์อะไรด้วยนางผู้ทุศีล จึงนําพระนางมาถวายคืนพระราชาแล้วหลีกไป. ตั้งแต่นั้น ก็ไม่ได้มาอีกเลย.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศสัจจะ แล้วทรงประชุมชาดกว่า ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึก ได้ดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล. พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ ส่วนพระยาสุบรรณในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคตฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสุสันธีชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มณิกุณฑลชาดก

๒. สุชาตชาดก

๓. เวนสาขชาดก

๔. อุรคชาดก

๕. ธังกชาดก

๖ การันทิยชาดก

๗. ลฏกิกชาดก

๘. จุลลธรรมปาลชาดก

๙. สุวรรณมิคชาดก

๑๐. สุสันธีชาดก

จบ มณิกุณฑลวรรคที่ ๑