๑. วรรณาโรหชาดก ว่าด้วยผู้มีใจคอหนักแน่น
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 793
๒. วรรณาโรหวรรค
๑. วรรณาโรหชาดก
ว่าด้วยผู้มีใจคอหนักแน่น
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 793
๑. วรรณาโรหชาดก
ว่าด้วยผู้มีใจคอหนักแน่น
[๗๕๓] ท่านผู้มีเขี้ยวงามกล่าวว่า เสื้อโคร่งชื่อสุพาหุนี้ มีวรรณะ ลักษณะ ชาติ กําลังกายและกําลังความเพียร ไม่ประเสริฐไปกว่าเรา.
[๗๕๔] เสือโคร่งชื่อสุพาหุกล่าวว่า ราชสีห์ผู้มีเขี้ยวงาม มีวรรณะ. ลักษณะ ชาติ กําลังกายและกําลังความเพียร ไม่ประเสริฐไปกว่าเรา.
[๗๕๕] แน่ะเพื่อนสุพาหุ ถ้าท่านจะประทุษ-ร้ายเราผู้อยู่กับท่านอย่างนี้ บัดนี้ เราก็ไม่พึงยินดีอยู่ร่วมกับท่านต่อไป.
[๗๕๖] ผู้ใดเชื่อคําของคนอื่นโดยเป็นจริงเป็น-จัง ผู้นั้นต้องพลันแตกจากมิตร และต้องประสบเวรเป็นอันมาก.
[๗๕๗] ผู้ใดไม่ประมาททุกขณะ มุ่งความแตกร้าว คอยแต่จับความผิด ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นมิตร ส่วนผู้ใดอันคนอื่นยุให้แตกกันไม่ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 794
ไม่มีความรังเกียจในมิตร นอนอยู่อย่างปลอดภัย เหมือนบุตรนอนแอบอกมารดาฉะนั้น ผู้นั้นนับว่าเป็นมิตรแท้.
จบ วรรณาโรหชาดกที่ ๑
อรรถกถาวรรณาโรหวรรคที่ ๒
อรรถกถาวรรณาโรหชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่ออาศัยพระนครสาวัตถีประทับอยู่ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพระเถระอัครสาวกทั้งสอง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า วณฺณาโรเหน ดังนี้.
ได้ยินว่า สมัยหนึ่ง พระมหาเถระทั้งสองคิดกันว่า พวกเราจักพอกพูนการอยู่ป่าตลอดภายในพรรษานี้ จึงทูลลาพระศาสดา แล้วละหมู่คณะ ถือบาตรจีวรด้วยตนเอง ออกจากพระเชตวัน อาศัยปัจจันตคามแห่งหนึ่งอยู่ในป่า. บุรุษกินเดนแม้คนหนึ่ง ทําการอุปัฏฐากพระเถระทั้งสองอยู่ณ ส่วนข้างหนึ่งในป่านั้นนั่นแหละ บุรุษนั้นเห็นการอยู่อย่างพร้อมเพรียงของพระเถระทั้งสอง จึงคิดว่า พระเถระทั้งสองนั้นอยู่พร้อมเพรียงกันเหลือเกิน เราอาจไหมหนอที่จะทําลายพระเถระเหล่านี้ให้แตกกันและกัน จึงเข้าไปหาพระสารีบุตรเถระแล้วถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านมีเวรอะไรๆ กับพระมหาโมคคัลลานเถระผู้เป็นเจ้าหรือหนอ? พระสารีบุตรเถระถามว่า ก็เวรอะไรเล่า? ผู้มีอายุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 795
บุรุษนั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ในเวลาที่กระผมมา พระมหาโมคคัลลานเถระนี้ กล่าวแต่โทษของท่านเท่านั้นว่า ชื่อว่าพระสารีบุตรจะพออะไรกับเรา โดยชาติ โคตร ตระกูล และประเทศก็ตาม โดยสุตตะและคันถะก็ตาม หรือโดยปฏิเวธและอิทธิฤทธิ์ก็ตาม. พระเถระทําการแย้มหัวแล้วกล่าวว่า อาวุโส ท่านไปเสียเถอะ. ในวันแม้อื่นบุรุษนั้นเข้าไปหาพระโมคคัลลานเถระบ้าง แล้วก็กล่าวเหมือนอย่างนั้นแหละ. ฝ่ายพระมหาโมคคัลลานเถระก็กระทําการแย้มหัวแล้วกล่าวกะบุรุษนั้นว่า ท่านไปเสียเถอะ ผู้มีอายุ. แล้วจึงเข้าไปหาพระสารีบุตรเถระถามว่า ท่านผู้มีอายุ คนกินเดนนั้นกล่าวอะไรๆ ในสํานักของท่าน. พระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ เขากล่าวแม้กับผม ควรนําคนกินเดนนั้นออกไปเสีย เมื่อพระมหาโมคคัลลานเถระกล่าวว่า ดีละท่านผู้มีอายุ ท่านจงนําออกไปเสีย พระเถระจึงดีดนิ้วมืออันเป็นเหตุให้รู้ว่า ท่านอย่าอยู่ที่นี้ แล้วนําเขาออกไป. พระเถระทั้งสองนั้นอยู่อย่างสมัครสมานกัน แล้วไปยังสํานักของพระศาสดาถวายบังคมแล้วจึงนั่งอยู่. พระศาสดาทรงกระทําปฏิสันถารแล้วตรัสถามว่า เธอทั้งสองอยู่ตลอดพรรษาโดยสบายหรือ? เมื่อพระเถระทั้งสองกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนกินเดนคนหนึ่งเป็นผู้ประสงค์จะทําลายพวกข้าพระองค์ เมื่อไม่อาจทําลาย จึงหนีไป. พระองค์จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร มิใช่บัดนี้เท่านั้นที่เขาไม่อาจทําลาย แม้ในกาลก่อน คนกินเดนนี้ก็คิดว่า จักทําลายพวกเธอ เมื่อไม่อาจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 796
ทําลายก็ได้หนีไปแล้ว อันพระเถระทั้งสองนั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นรุกขเทวดาอยู่ในป่า. ครั้งนั้น ราชสีห์กับเสือโคร่งอยู่กันในถ้ำแห่งภูเขาในป่า. สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งอุปัฏฐากสัตว์ทั้งสองนั้น กินเดนของสัตว์ทั้งสองนั้น. จนมีร่างกายใหญ่โตวันหนึ่ง คิดว่า เราไม่เคยกินเนื้อของราชสีห์และเสือโคร่ง เราควรจะทําให้สัตว์ทั้งสองนี้ให้แตกกัน แต่นั้น เราจักกินเนื้อของสัตว์ทั้งสองนั้นที่ตายเพราะทะเลาะกัน. สุนัขจิ้งจอกนั้นจึงเข้าไปหาราชสีห์แล้วถามว่า ข้าแต่นาย ท่านมีเวรอะไรๆ กับเสือโคร่งหรือ? ราชสีห์กล่าวว่า เวรอะไรเล่าสหาย. สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ในตอนที่ข้าพเจ้ามาเสือโคร่งนั้นกล่าวแต่โทษของท่านเท่านั้นแหละว่า ขึ้นชื่อว่าราชสีห์ย่อมไม่ถึงส่วนแห่งเสี้ยวของเรา โดยผิวพรรณแห่งร่างกายก็ตาม โดยลักษณะสูงใหญ่ก็ตาม หรือโดยชาติกําลัง และความเพียรก็ตาม. ราชสีห์กล่าวว่า จะไปเสียเถอะเจ้า เสือโคร่งนั้นคงจักไม่กล่าวอย่างนั้น. แม้เสือโคร่งสุนัขจิ้งจอกก็เข้าไปหาแล้วก็กล่าวโดยอุบายนั้นเหมือนกัน. เสือโคร่งได้ฟังดังนั้น จึงเข้าไปหาราชสีห์แล้วกล่าวว่า สหาย ได้ยินว่า ท่านพูดอย่างนี้และอย่างนี้ เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถาที่๑ ว่า :-
ท่านผู้มีเขี้ยวงามกล่าวว่า เสือโคร่งชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 797
สุพาหุนี้ มีวรรณะ ลักษณะ ชาติ กําลังกายและกําลังความเพียร ไม่ประเสริฐไปกว่าเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พลนิกฺกมเนน จ ความว่า มีกําลังกาย และกําลังความเพียร. บทว่า สุพาหุ น มยา เสยฺโยความว่า ได้ยินว่า ท่านพระยาเนื้อผู้ประกอบด้วยเขี้ยวทั้งหลายงดงามชื่อว่าผู้มีเขี้ยวงาม กล่าวอย่างนี้จริงหรือว่า เสือโคร่งชื่อว่าสุพาหุนี้ไม่แม้นเหมือน คือไม่ยิ่งไปกว่าเราด้วยเหตุเหล่านี้ .
ราชสีห์ได้ฟังดังนั้นจึงได้กล่าว ๔ คาถาที่เหลือว่า :-
เสือโคร่งชื่อสุพาหุกล่าวว่า ราชสีห์ผู้มีเขี้ยวงาม มีวรรณะ ลักษณะ ชาติ กําลังกายและกําลังความเพียร ไม่ประเสริฐไปกว่าเรา.
แน่ะเพื่อนสุพาหุ ถ้าท่านจะประทุษร้ายเราผู้อยู่กับท่านอย่างนี้ บัดนี้ เราก็จะไม่พึงยินดีอยู่ร่วมกับท่านต่อไป.
ผู้ใดเชื่อคําของคนอื่นโดยถือเป็นจริงเป็นจัง ผู้นั้นต้องพลันแตกจากมิตร และต้องประสบเวรเป็นอันมาก.
ผู้ใดระมัดระวังอยู่ทุกขณะ มุ่งความแตกร้าว คอยแต่จับผิด ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 798
มิตร ส่วนผู้ใดอันผู้อื่นยุให้แตกกันไม่ได้ ไม่มีความรังเกียจในมิตร นอนอยู่อย่างปลอดภัยเหมือนบุตรุนอนแอบอกมารดาฉะนั้น ผู้นั้นนับว่าเป็นมิตรแท้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺม แปลว่า เพื่อน. บทว่าทุพฺภสิ ความว่า ถ้าท่านเชื่อถือถ้อยคําของสุนัขจิ้งจอกแล้วประทุษร้าย คือปรารถนาจะฆ่าเราผู้อยู่อย่างพร้อมเพรียงกับท่านอย่างนี้ไซร้จําเดิมแต่บัดนี้ไป เราจะไม่พึงยินดีอยู่กับท่าน. บทว่ายถาตถํ ความว่า พึงเธอคําอารยชนผู้ไม่กล่าวให้คลาดเคลื่อนกล่าวแล้วตามความเป็นจริง คือตามความจริงความแท้. อธิบายว่า ผู้ใดพึงเชื่อคําของคนอื่นคนใดคนหนึ่ง ด้วยประการอย่างนี้. บทว่า โย สทา อปฺปมตฺโต ความว่า ผู้ใดเป็นผู้ไม่ประมาทระมัดระวังเป็นนิจไม่ให้ความคุ้นเคยแก่มิตร ผู้นั้นไม่ชื่อว่ามิตร. บทว่า เภทาสงฺกี ความว่าย่อมหวังแต่ความแตกร้าวของมิตรอยู่อย่างนี้ว่า จักแตกกันวันนี้ จักแตกกันพรุ่งนี้. บทว่า รนฺธเมวานุปสฺสี ได้แก่ มองเห็นแต่ช่องบกพร่องเท่านั้น. บทว่า อุรสีว ปุตฺโต ความว่า เป็นผู้ไม่รังเกียจในมิตร เป็นผู้ปลอดภัยนอนอยู่ เหมือนบุตรนอนที่หทัยของมารดาฉะนั้น.
เมื่อราชสีห์กล่าวคุณของมิตรด้วยคาถาทั้ง ๔ คาถานี้ด้วยประ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 799
การฉะนี้ เสือโคร่งกล่าวว่า โทษผิดของข้าพเจ้า แล้วขอษมาราชสีห์.สัตว์ทั้งสองนั้นได้อยู่พร้อมเพรียงกันเหมือนอย่างเดิม ส่วนสุนัขจิ้งได้หนีไปอยู่ที่อื่นแล.
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า สุนัขจิ้งจอกในกาลนั้น ได้เป็นคนกินเดน ราชสีห์ในกาลนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร เสือโคร่งในกาลนั้น ได้เป็นพระโมคคัลลานะ ส่วนรุกขเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในป่านั้นเห็นเหตุการณ์นั้นโดยจัดแจ้ง ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถา วรรณาโรหชาดกที่ ๑