พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. สีลวีมังสชาดก ผู้ประพฤติธรรมย่อมเป็นผู้เสมอกัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35818
อ่าน  423

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 800

๒. สีลวีมังสชาดก

ผู้ประพฤติธรรมย่อมเป็นผู้เสมอกัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 800

๒. สีลวีมังสชาดก

ผู้ประพฤติธรรมย่อมเป็นผู้เสมอกัน

[๗๕๘] ข้าพระองค์มีความสงสัยว่า ศีลประเสริฐหรือสุตะ ประเสริฐศีลนี่แหละประเสริฐกว่าสุตะ ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยแล้ว.

[๗๕๙] ชาติและวรรณะเป็นของเปล่า ได้สดับมาว่า ศีลเท่านั้นประเสริฐที่สุด บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยศีล ย่อมไม่ได้ประโยชน์เพราะสุตะ.

[๗๖๐] กษัตริย์และแพศย์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ไม่อาศัยธรรม ชนทั้งสองนั้นละโลกนี้ไปแล้วย่อมเข้าถึงทุคติ.

[๗๖๑] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์คนจัณฑาล และคนเทหยากเยื่อ ประพฤติธรรมในธรรมวินัยนี้แล้วย่อมเป็นผู้เสมอกันในไตรทิพย์.

[๗๖๒] เวท ชาติ แม้พวกพ้อง ก็ไม่สามารถจะให้อิสริยยศ หรือความสุขในภพหน้าได้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 801

ส่วนศีลของตนเองที่บริสุทธิ์ดีแล้ว ย่อมนําความสุขในภพหน้ามาให้ได้.

จบ สีลวีมังสชาดกที่ ๒

อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์ผู้ทดลองศีลคนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า สีลํ เสยฺโย ดังนี้.

ได้ยินว่า พระราชาทรงเห็นพรามณ์นั้นว่า พราหมณ์นี้เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยศีล จึงทรงตั้งให้ยิ่งกว่าพราหมณ์ทั้งหลายอื่น.พราหมณ์นั้นคิดว่า พระราชาทรงกระทําความเคารพนับถือเรา ทรงเห็นเราว่าเป็นผู้มีศีล หรือว่าทรงเห็นว่าเป็นผู้ประกอบด้วยการจําทรงสุตะไว้ได้ เราจักทดลองดูก่อนว่าศีลหรือสุตะสําคัญกว่ากัน.วันหนึ่งพราหมณ์นั้นจึงหยิบเอากหาปณะจากแผ่นกระดานนับเงินของเหรัญญิกไป. เหรัญญิกก็ไม่พูดอะไร เพราะความเคารพ. แม้ในครั้งที่สอง ก็ไม่พูดอะไร แต่ในครั้งที่สาม เหรัญญิกกล่าวหาว่า เป็นโจรปล้นเงิน แล้วให้จับพราหมณ์นั้นมาถวายพระราชา เมื่อพระราชาตรัสว่า พราหมณ์นี้ทําอะไร จึงกราบทูลว่า ปล้นทรัพย์พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า เขาว่า จริงหรือพราหมณ์. พราหมณ์กราบทูลว่าข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระบาทมิได้ปล้นทรัพย์ แต่ข้าพระบาทมีความ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 802

รังเกียจสงสัยว่า ศีลเป็นใหญ่หรือว่าสุตะเป็นใหญ่ ข้าพระบาทนั้นเมื่อจะทดลองว่า บรรดาศีลและสุตะนั้น อย่างไหนหนอเป็นใหญ่ จึงหยิบเอากหาปณะไป ๓ ครั้ง เหรัญญิกนี้ให้จําข้าพระบาทนั้นแล้วนํามาถวายพระองค์ บัดนี้ ข้าพระบาททราบแล้วว่า ศีลใหญ่กว่าสุตะข้าพระบาทไม่มีความต้องการอยู่ครองเรือน ข้าพระบาทจักบวช. ดังนี้แล้ว ขอให้ทรงอนุญาตการบวช แล้วไม่เหลียวดูประตูเรือนเลยไปยังพระเชตวัน ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา พระศาสดาทรงสั่งให้บรรพชาและอุปสมบทแก่พราหมณ์นั้น. ท่านอุปสมบทแล้วไม่นานเจริญวิปัสสนา ได้ดํารงอยู่ในอรหัตตผล.

ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พราหมณ์ชื่อโน้นทดลองศีลของตนแล้ว ก็บวชเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์นี้เท่านั้นทดลองศีลแล้วบรรพชาบรรลุพระอรหัตเฉพาะในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน บัณฑิตทั้งหลายทดลองศีลแล้วบรรพชา ได้กระทําที่พึ่งแก่ตนแล้วเหมือนกัน. แล้วทรงนําเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพระพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 803

เรียนศิลปะทุกอย่างในเมืองตักกศิลาเสร็จแล้ว กลับไปเมืองพาราณาสีแสดงให้พระราชา ทอดพระเนตร. พระราชาได้ประทานตําแหน่งปุโรหิตแก่พระโพธิสัตว์นั้น พระโพธิสัตว์นั้นรักษาศีลห้า. ฝ่ายพระราชาก็ทรงเคารพพระโพธิสัตว์นั้นทรงเห็นว่าเป็นผู้มีศีล. พระโพธิ-สัตว์นั้นคิดว่า พระราชาทรงเคารพเห็นว่าเราเป็นผู้มีศีล หรือทรงเห็นว่าเป็นผู้ประกอบการทรงจําสุตะไว้ได้. เรื่องทั้งปวงเหมือนเรื่องปัจจุบันนั่นแล. แต่ในที่นี้ พราหมณ์นั้นกล่าวว่า บัดนี้ เรารู้แล้วว่าศีลเป็นใหญ่สําคัญว่าสุตะ. จึงได้กล่าวคาถา ๕ คาถานี้ว่า :-

ข้าพระองค์ได้มีความสงสัยว่า ศิลประ-เสริฐหรือสุตะประเสริฐ ศีลนี่แหละประเสริฐกว่าสุตะ ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยแล้ว.

ชาติและวรรณะเป็นของเปล่า ได้สดับมาว่า ศีลเท่านั้นประเสริฐที่สุด บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยศีล ย่อมไม่ได้ประโยชน์เพราะสุตะ.

กษัตริย์และแพศย์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมไม่อาศัยธรรม ชนทั้งสองนั้น ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ.

กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์ คน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 804

จัณฑาลและคนเทหยากเหยื่อ ประพฤติธรรมในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในไตรทิพย์

เวท ชาติ แม้พวกพ้องก็ไม่สามารถจะให้อิสริยยศหรือความสุขในภพหน้าได้ ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้วย่อมนํามาซึ่งความสุขในภพหน้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลเมว สุตา เสยฺโย ความว่าศีลเท่านั้นยิ่งกว่าปริยัติคือสุตะ โดยร้อยเท่า พันเท่า. ก็แหละครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงตั้งหัวข้อว่า ชื่อว่าศีลนี้มีอย่างเดียวด้วยอํานาจสังวรศีล มีสองอย่าง ด้วยอํานาจจารีตศีลและวารีตศีล มีสามอย่างด้วยอํานาจศีลที่เป็นไปทางกาย วาจา และใจ มีสี่อย่าด้วยอํานาจปาติโมกข์สังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทฐิศีล และปัจจยสันนิสิตศีล แล้วได้กล่าวคุณของศีลให้พิสดาร. บทว่า โมฆา ได้แก่ไร้ผล คือเป็นของเปล่า. บทว่า ชาติ ได้แก่ การเกิดในขัตติยสกุลเป็นต้น. บทว่า วณฺโณ ได้แก่ ผิวพรรณแห่งร่างกาย คือ ความเป็นผู้มีรูปงาม. ก็เพราะเหตุที่ความถึงพร้อมด้วยชาติก็ดี ความถึงพร้อมด้วยวรรณะก็ดี ย่อมไม่สามารถจะให้ความสุขในสวรรค์ แก่คนผู้เว้นจากศีล ฉะนั้น พระโพธิสัตว์นั้น จึงกล่าวความถึงพร้อมด้วยชาติและวรรณะทั้งสองนั้นว่าเป็นโมฆะ. ด้วยบทว่า สีลเมว กิร นี้ ท่าน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 805

กล่าวตามที่ได้ยินได้ฟังมา แต่ไม่ได้รู้ด้วยตนเอง. บทว่า อนฺเปตสฺสแปลว่า ผู้ไม่ประกอบแล้ว. บทว่า สุเตนตฺโถ น วิชฺชติ ความว่าบุคคลผู้เว้นจากศีล ย่อมไม่มีความเจริญอะไรในโลกนี้หรือโลกหน้าเพราะเหตุสักว่าปริยัติคือสุตะ. จากนั้นได้กล่าวคาถา ๒ คาถาข้างหน้าต่อไป เพื่อจะแสดงถึงความที่ชาติเป็นของเปล่า. บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า เต ปริจฺจชฺชุโภ โลเก ความว่า คนไม่มีศีลเหล่านั้นละโลกทั้งสองคือ เทวโลกและมนุษยโลก ย่อมเข้าถึงทุคติ. บทว่า จณฺฑาลปุกฺกุสา ได้แก่ คนจัณฑาลผู้ทิ้งซากศพ และคนชาติปุกกุสะผู้ทิ้งดอกไม้. บทว่า ภวนฺติ ติทเว สมา ความว่า ชนเหล่านั้นทั้งหมดบังเกิดในเทวโลก ด้วยอานุภาพแห่งศีล ชื่อว่าเป็นผู้เสมอกัน คือไม่พิเศษกว่ากัน ถึงการนับว่าเทพเหมือนกัน. ท่านกล่าวคาถาที่ ๕ เพื่อแสดงว่า สุตเป็นต้นทั้งหมดเป็นของเปล่า. เนื้อความของคาถาที่๕ นั้นว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เวทเป็นต้นเหล่านี้ เว้นการให้เพียงสักว่ายศในโลกนี้เสีย ย่อมไม่สามารถจะให้ยศหรือสุขในโลกหน้า คือในภพที่ ๒ หรือภพที่ ๓ ได้ส่วนศีลของตนเท่านั้นอันบริสุทธิ์ ย่อมอาจให้ยศหรือสุขนั้นได้.

พระมหาสัตว์กล่าวคุณของศีลอย่างนี้แล้ว จึงขอให้พระราชาทรงอนุญาตการบวช แล้วเข้าไปยังประเทศหิมพานต์ในวันนั้นเองบวชเป็นฤๅษี ทําอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดแล้ว ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 806

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้วจึงทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์ผู้ทดลองศีลแล้วบวชเป็นฤๅษีในครั้งนั้นได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่ ๒