พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. อหิตุณฑิกชาดก ว่าด้วยลิงกับหมองู

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35821
อ่าน  480

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 814

๕. อหิตุณฑิกชาดก

ว่าด้วยลิงกับหมองู


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 814

๕. อหิตุณฑิกชาดก

ว่าด้วยลิงกับหมองู

[๗๗๓] ดูก่อนสหายผู้มีหน้างาม เราเป็นนักเลงสะกา แพ้เขาเพราะลูกบาศก์ ท่านจงทิ้งมะม่วงสุกลงมาบ้าง เราจะได้บริโภคเพราะความเพียรของท่าน.

[๗๗๔] ดูก่อนสหาย ท่านมากล่าวสรรเสริญเราผู้ล่อกแล่ก ด้วยคําไม่เป็นจริง ขึ้นชื่อว่าลิงที่มีหน้างาม ท่านเคยได้ยินหรือเคยได้เห็นที่ไหนมาบ้าง.

[๗๗๕] ดูก่อนหมองู ท่านทํากรรมใดไว้กะเรากรรมนั้นยังปรากฏอยู่ในหัวใจของเราจนวันนี้ท่านเข้าไปยังตลาดขายข้าวเปลือก เมาสุราแล้ว ตีเราผู้กําลังหิวโหยถึงสามครั้ง.

[๗๗๖] เราระลึกถึงการนอนเป็นทุกข์อยู่ที่ตลาดนั้นได้ อนึ่ง ถึงท่านจะยกราชสมบัติให้เราครอบครอง ท่านขอมะม่วงเราแม่ผลเดียว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 815

เราก็ไม่ให้ เพราะว่าเราถูกท่านคุกคามให้กลัวเสียแล้ว.

[๗๗๗] อนึ่ง บัณฑิตรู้จักผู้ใดที่เกิดในตระกูลเอิบอิ่มอยู่ในห้อง ไม่มีความตระหนี่ ก็ควรจะผูกความเป็นสหายและมิตรภาพกับผู้นั้นไว้ให้สนิท.

จบ อหิตุณฑิกชาดกที่ ๕

อรรถกถาอหิตุณฑิกชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุแก่รูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า ธุตฺโตมฺหิดังนี้.

เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารแล้วในสาลกชาดกในหนหลัง. แม้ในชาดกนี้ ภิกษุแก่นั้นให้เด็กชาวบ้านคนหนึ่งบวช แล้วด่าและประหาร. เด็กจึงหนีไปสึก. แม้ครั้งที่สอง ให้เด็กนั้นบวชแล้วก็ได้กระทําเหมือนอย่างเดิม แม้ครั้งที่สองเด็กนั้นก็สึก ผู้อันพระแก่นั้นอ้อนวอนอีก ก็ไม่ปรารถนาแม้เพื่อจะแลดู. ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุแก่ชื่อโน้นไม่อาจเป็นไปเพื่อจะร่วมและจะพรากจากสามเณรของตน ส่วนสามเณรเห็นโทษ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 816

ของพระแก่นั้น ไม่ปรารถนาแม้เพื่อจะแลดูอีก สามเณรนั้นเป็นเด็กใจดี. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าเรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในปางก่อน สามเณรนี้ก็เป็นคนใจดีแท้ เห็นโทษคราวเดียวไม่ปรารถนาแม้เพื่อจะแลดูอีก แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพ่อค้าข้าวเปลือก เจริญวัยแล้วจึงเลี้ยงชีวิตด้วยการขายข้าวเปลือก. ครั้งนั้น มีหมองูคนหนึ่งจับลิงมาฝึกให้เล่นกับงู เมื่อเขาโฆษณาการมหรสพในนครพาราณสี จึงพักลิงนั้นมาไว้ในสํานักของพ่อค้าข้าวเปลือกแล้วเที่ยวเล่นอยู่ตลอด ๗วัน. พ่อค้าแม้นั้นได้ให้ของเคี้ยว ของบริโภคแก่ลิง. ในวันที่ ๗หมองูเลิกเล่นมหรสพกลับมา ได้เอาซี่ไม้ไผ่ตีลิงนั้น ๓ ครั้ง แล้วพาลิงนั้นไปยังอุทยาน ผูกไว้แล้วจึงหลับไป. ลิงแก้เครื่องผูกออกแล้วขึ้นไปยังต้นมะม่วง นั่งกินมะม่วงอยู่. หมองูนั้นตื่นขึ้นแล้ว แลเห็นลิงอยู่บนต้นไม้ จึงคิดว่า เราควรจะหลอกล่อจับลิงนั้น เมื่อจะเจรจากับลิงนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ดูก่อนสหายผู้มีหน้างาม เราเป็นนักเลงสะกาแพ้เขาเพราะลูกบาศก์ท่านจงทิ้งมะม่วง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 817

สุกลงมาบ้าง เราจะได้บริโภคก็เพราะความเพียรของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺขปราชิโต แปลว่า แพ้เพราะลูกบาศก์ทั้งหลาย. บทว่า หเรหิ ความว่า จงให้ตกลงมา. บาลีว่าปาเตหิ ดังนี้ก็มี.

ลิงได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาทั้งหลายที่เหลือว่า :-

ดูก่อนสหาย ท่านมาสรรเสริญเราผู้ล่อกแล่กด้วยคําไม่เป็นจริง ขึ้นชื่อว่าลิงที่มีหน้างาม ท่านเคยได้ยินหรือเคยได้เห็นที่ไหนมาบ้าง.

ดูก่อนหมองู ท่านทํากรรมใดไว้กะเรากรรมนั้นยังปรากฏอยู่ในหัวใจของเราจนบัดนี้ท่านเข้าไปยังร้านตลาดข้าวเปลือก เมาสุราแล้ว ติเราผู้กําลังหิวโหยถึงสามที.

เราระลึกถึงการนอนเป็นทุกข์ ณ ที่ตลาดนั้นได้ อนึ่ง ถึงท่านจะยกราชสมบัติให้เราครอบครอง ถึงอย่างนั้น ท่านขอมะม่วงเราแม้ผลเดียว เราก็ไม่ให้ เพราะว่าเราถูกท่านคุกคามให้กลัวเสียแล้ว.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 818

อนึ่ง บัณฑิตรู้จักผู้ใดที่เกิดในตระกูลเอิบอิ่มอยู่ในห้อง ไม่มีความตระหนี่ ก็ควรจะผูกความเป็นสหายและมิตรภาพกับผู้นั้นไว้ให้สนิท.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลิกํ ได้แก่ เหลวไหลหนอ.บทว่า อภูเตน แปลว่า ไม่มีอยู่. บทว่า โก เต แก้เป็น กตฺถตยา. บทว่า สุมุโข แปลว่า ผู้มีหน้างาม. ลิงเรียกหมองูนั้นว่าอหิตุณฑิกะ. บาลีว่า อหิคุณฺฑิก ดังนี้ก็มี. บทว่า ฉาตํ ได้แก่ถูกความหิวครอบงํา คือ ทุรพล กําพร้า. บทว่า หนาสิ ได้แก่ตีด้วยซี่ไม้ไผ่ ๓ ครั้ง. บทว่า ตาหํ แยกเป็นศัพท์ว่า ตํ อหํ.บทว่า สรํ แปลว่า ระลึกถึงอยู่. บทว่า ทุกฺขเสยฺยํ ได้แก่ นอนเป็นทุกข์อยู่ที่ตลาดนั้น. บทว่า อปิ รชฺชมฺปิ การเย ความว่าถ้าแม้ท่านจะเอาราชสมบัติในเมืองพาราณสีมาให้เรา แล้วให้เราครองราชสมบัติไซร้ แม้ถึงอย่างนั้น เราผู้อันท่านอ้อนวอนขอก็จะไม่ให้มะม่วงนั้น คือ เราถูกท่านขอก็จะไม่ให้มะม่วงสุกนั้นแม้แต่ผลเดียว.เพราะเหตุไร? เพราะเราถูกท่านคุกคามให้กลัวเสียแล้ว อธิบายว่าจริงอย่างนั้น เราถูกท่านคุกดามด้วยความกลัว. บทว่า คพฺเภ ติตฺตํความว่า ผู้อิ่มเอิบด้วยสุธาโภชน์อยู่เฉพาะในท้องมารดา หรือในห้องนอนที่ประดับและตกแต่งแล้ว ชื่อว่าผู้ไม่จนเพราะหวังได้โภคทรัพย์. บทว่า สขิฺจ มิตฺตฺจ ความว่า บัณฑิตควรจะเชื่อม

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 819

คือเชื่อมต่อความเป็นเพื่อนและความเป็นมิตรกับบุคคลเห็นปานนี้ผู้เกิดในตระกูล ผู้เอิบอิ่ม ไม่ยากจน ไม่มีความตระหนี่ ก็ใครเล่าจะเชื่อมต่อความเป็นมิตรกับท่านผู้เป็นหมองูยากจน.

ก็แหละวานรครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ผลุนผลันเข้าชัฏป่าไป.

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า หมองูในครั้งนั้น ได้เป็นพระเถระแก่ ลิงในครั้งนั้นได้มาเป็นยามเณร ส่วนพ่อค้าข้าวเปลือกในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคตฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอหิตุณฑิกชาดกที่ ๕