พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. คุมพิยชาดก เปรียบวัตถุกามเหมือนยาพิษ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35822
อ่าน  425

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 820

๖. คุมพิยชาดก

เปรียบวัตถุกามเหมือนยาพิษ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 820

๖. คุมพิยชาดก

เปรียบวัตถุกามเหมือนยาพิษ

[๗๗๘] ยักษ์ชื่อคุมพิยะเที่ยวหาเหยื่อของตนอยู่ได้วางยาพิษอันมีสี กลิ่น และรสเหมือนน้ำผึ้งไว้ในป่า.

[๗๗๙] สัตว์เหล่าใดมาสําคัญว่าน้ำผึ้ง กินยาพิษนั้นเข้าไป ยาพิษนั้นเป็นของร้ายแรงแก่สัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นต้องพากันเข้าถึงความตาย เพราะยาพิษนั้น.

[๗๘๐] ส่วนสัตว์เหล่าใดพิจารณาดูรู้ว่าเป็นยาพิษแล้วละเว้นเสีย สัตว์เหล่านั้น เมื่อสัตว์ที่บริโภคยาพิษเข้ากระสับกระส่ายอยู่ ถูกฤทธิ์ยาพิษแผดเผาอยู่ ก็เป็นผู้มีความสุข ดับความทุกข์เสียได้.

[๗๘๑] วัตถุกามทั้งหลายฝังอยู่ในมนุษย์ บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นยาพิษ เหมือนกับยาพิษอันยักษ์วางไว้ที่หนทางฉะนั้น กามคุณนี้ชื่อว่าเป็นเหยื่อของสัตว์โลก และชื่อว่าเป็นเครื่อง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 821

ผูกมัดสัตว์โลกไว้ มฤตยูมีถ้ำคือร่างกายเป็นที่อยู่อาศัย.

[๗๘๒] บัณฑิตเหล่าใดผู้มีความเร่าร้อน ย่อมละเว้นกามคุณเหล่านี้ อันเป็นเครื่องบํารุงปรุงกิเลสเสียได้ในกาลทุกเมื่อ บัณฑิตเหล่านั้นนับว่า ได้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องในโลกแล้ว เหมือนกับผู้ละเว้นยาพิษที่ยักษ์วางไว้ในหนทางใหญ่ฉะนั้น.

จบ คุมพิยชาดกที่ ๖

อรรถกถาคุมพิยชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันจะสึก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่ามธุวณฺณํ มธุรสํ ดังนี้.

ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระสันจะสึกจริงหรือ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า. จึงตรัสถามว่า เพราะเห็นอะไร? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า เพราะเห็นมาตุคามผู้ประดับแต่งตัว พระเจ้าข้า. จึงตรัส ว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่าเบญจกามคุณเหล่านั้น เป็นเสมือนน้ำผึ้งที่ยักษ์ชื่อว่า คุมพิยะตนหนึ่งใส่น้ำผึ้งวางไว้ที่หนทาง อันภิกษุนั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 822

นําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลสัตถวาหะคือพ่อค้าเกวียน พอเจริญวัย จึงเอาเกวียน ๕๐๐ เล่ม บรรทุกสินค้าจากเมืองพาราณสีไปเพื่อค้าขาย บรรลุถึงประตูดงชื่อมหาวัตตนี จึงให้พวกเกวียนประชุมกันแล้วให้โอวาทว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ในหนทางนี้ มีใบไม้ดอกไม้และผลไม้เป็นต้นมีพิษ ท่านทั้งหลายเมื่อจะกินอะไรที่ไม่เคยกิน ยังไม่ได้ถามข้าพเจ้า อย่าเพิ่งกิน แม้พวกอมนุษย์ก็จะใส่ยาพิษวางห่อภัตชิ้นน้ำอ้อย และผลไม้เป็นต้นไว้ในหนทาง พวกท่านยังไม่ได้ถามข้าพเจ้า จงอย่ากินห่อภัตเป็นต้นแม้เหล่านั้น ดังนี้แล้วก็เดินทางไป.ครั้งนั้น ยักษ์ตนหนึ่งชื่อว่าคุมพิยะลาดใบไม้วางก้อนน้ำอ้อย ผสมยาพิษอย่างแรงไว้ในหนทาง ในที่ท่ามกลางดง ส่วนตนเองเที่ยวเคาะต้นไม้ในที่ใกล้ทางทําที่หาน้ำผึ้งอยู่. พวกคนที่ไม่รู้คิดว่า เขาคงจะวางไว้เพื่อต้องการบุญ จึงกินเข้าไปแล้วก็ถึงแก่ความสิ้นชีวิต. พวกอมนุษย์จึงพากันมากินคนเหล่านั้น แม้มนุษย์ชาวเกวียนของพระโพธิสัตว์เห็นสิ่งของเหล่านั้น บางพวกมีสันดานละโมบ ไม่อาจอดกลั้นได้ก็กินเข้าไป พวกที่มีชาติกําเนิดเป็นคนฉลาดคิดว่า จักถามก่อนแล้วจึงจะกิน จึงได้ถือเอาไปแล้วยืนอยู่. พระโพธิสัตว์เห็นชนเหล่านั้นแล้วจึงให้ทิ้งสิ่งของที่อยู่ในมือเสีย. คนเหล่าใดกินเข้าไปก่อนแล้วคนเหล่านั้นก็ตายไป คนเหล่าใดกินเข้าไปครึ่งหนึ่ง พระโพธิสัตว์จึงให้ยาสํารอกแก่คนเหล่านั้นแล้วได้ให้รสหวานสี่อย่าง ในเวลาที่สํารอก

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 823

ออกแล้ว. ดังนั้น ชนเหล่านั้นจึงได้รอดชีวิตด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์นั้น พระโพธิสัตว์ไปถึงที่ที่ปรารถนาโดยปลอดภัย แล้วจําหน่ายสินค้า ได้กลับมายังเรือนของตนตามเดิม.

พระศาสดาเมื่อจะตรัสเนื้อความนั้น จึงได้ตรัสอภิสัมพุทธคาถาคือคาถาที่ตรัสในเวลาที่ได้ตรัสรู้แล้วเหล่านี้ว่า :-

ยักษ์ชื่อคุมพิยะเที่ยวหาเหยื่อของตนอยู่ด้วยวางยาพิษอันมีสี กลิ่นและรสเหมือนน้ำผึ้งไว้ในป่า.

สัตว์เหล่าใด มาสําคัญว่าน้ำผึ้ง กินยาพิษนั้นเข้าไป ยาพิษนั้นเป็นของร้ายแรงแก่สัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้น ต้องพากันเข้าถึงความตาย เพราะยาพิษนั้น.

ส่วนสัตว์เหล่าใด พิจารณาดูรู้ว่าเป็นยาพิษแล้วละเว้นเสีย สัตว์เหล่านั้น เมื่อสัตว์ที่บริโภคยาพิษเข้าไปกระสับกระส่ายอยู่ ถูกยาพิษแผดเผาอยู่ ตัวเองก็เป็นผู้มีความสุขดับความทุกข์ได้เสีย.

วัตถุกามทั้งหลายฝังอยู่ในมนุษย์ บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นยาพิษ เหมือนยาพิษอันยักษ์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 824

วางไว้ที่หนทางฉะนั้น กามคุณนี้นับว่าเป็นเหยื่อของสัตว์โลก และนับว่าเป็นเครื่องผูกมัดสัตว์โลกไว้ มฤตยูมีถ้ำคือร่างกายเป็นที่อยู่อาศัย.

บัณฑิตเหล่าใดผู้มีความร้อนใจย่อมละเว้นกามคุณเหล่านี้อันเป็นเครื่องบํารุงปรุง-กิเลสเสียได้ในกาลทุกเมื่อ บัณฑิตเหล่านั้นนับว่า ได้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องในโลกแล้ว เหมือนกับผู้ละเว้นยาพิษที่ยักษ์วางไว้ในหนทางใหญ่ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คุมฺพิโยได้แก่ ยักษ์ผู้ได้ชื่ออย่างนั้น เพราะเที่ยวไปในพุ่มไม้ในป่านั้น. บทว่า ฆาสเมสาโน ได้แก่ผู้แสวงหาเหยื่อของตนอยู่อย่างนี้ว่า เราจักกินคนที่กินยาพิษนั้นตาย.บทว่า โอทหีความว่าวางยาพิษนั้นอันมีสี กลิ่น และรส เสมอด้วยน้ำผึ้ง. บทว่า กฎกํ อาสิ ความว่า ได้เป็นยาพิษร้ายแรง. บทว่ามรณํ เตนุปาคมุํ ความว่า สัตว์เหล่านั้นเข้าถึงความตายเพราะยาพิษนั้น. บทว่าอาตุเรสุ ได้แก่ ผู้จวนจะตายเพราะกําลังยาพิษ. บทว่าทยฺหมาเนสุ ได้แก่ ผู้อันเดชของยาพิษนั้นแหละแผดเผาอยู่. บทว่าวิสกามา สโมหิตาความว่า แม้ในจําพวกมนุษย์ วัตตุกาม ๕ มีรูปเป็นต้นนี้นั้นและฝัง คือ วางอยู่ในที่นั้นๆ วัตถุกาม ๕ นั้นพึง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 825

ทราบว่าเป็นยาพิษ เหมือนยาพิษที่ยักษ์ฝัง คือวางใว้ในหนทางใหญ่ในดงวัตตทีนั้น ฉะนั้น.บทว่าอามิสํ พนฺธนฺเจตํ ความว่า ธรรมดาว่ากามคุณห้านี้ ชื่อว่าเป็นเหยื่ออันนายพรานเบ็ดคือมารใส่ล่อชาวโลกผู้เป็นสัตว์ที่มีอันจะต้องตายเป็นสภาวะนี้ และชื่อว่าเป็นเครื่องจองจํามีประการต่างๆ มีชื่อเป็นต้นเป็นประเภท เพราะไม่ยอมให้ออกไปจากภพน้อยภพใหญ่ ด้วยประการอย่างนี้. บทว่า มจฺจุวโส คุหาสโยความว่า ความตายชื่อว่า มัจจุวสะ เพราะมีถ้ำคือร่างกายเป็นที่อยู่.บทว่า เอวเมว อิเม กาเม ได้แก่ กามเหล่านั้นที่ฝังอยู่ในร่างกายนั้นๆ เหมือนยาพิษที่ยักษ์วางไว้ในหนทางใหญ่ในดงชื่อว่าวัตตนีฉะนั้น. บทว่า อาตุรา ความว่า มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตใกล้จะตายชื่อว่าผู้ร้อนใจกระสับกระส่าย เพราะมีความตายโดยแท้. บทว่าปริจาริเก ได้แก่ บําเรอกิเลส คือผูกมัดกิเลสไว้ บทว่า เย สทาปริวชฺชนฺติ ความว่า มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตเหล่าใดผู้มีประการยังกล่าวแล้ว งดเว้นกามทั้งหลายเห็นปานนี้ ได้เป็นนิจ. บทว่า สงฺคํโลเก ได้แก่ กิเลสชาตชนิดราคะเป็นต้น ซึ่งได้นามว่าเครื่องข้องเพราะอรรถว่าเป็นเครื่องข้องอยู่ในโลก. บทว่า อุปจฺจคา ความว่าบัณฑิตเหล่านั้นพึงทราบว่า ชื่อว่าผู้ล่วงไปได้แล้ว อีกอย่างหนึ่งอธิบายว่า ย่อมก้าวล่วงไป.

พระศาสดา ครั้นทรงประกาศสัจจะแล้ว จึงทรงประชุมชาดก.ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึกดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล. พ่อค้าเกวียนในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาคุมพิยชาดกที่ ๖