พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ตจสารชาดก คนฉลาดย่อมไม่แสดงอาการให้ศัตรูเห็น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35824
อ่าน  469

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 830

๘. ตจสารชาดก

คนฉลาดย่อมไม่แสดงอาการให้ศัตรูเห็น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 830

๘. ตจสารชาดก

คนฉลาดย่อมไม่แสดงอาการให้ศัตรูเห็น

[๗๘๘] พวกเจ้าตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู ถูกเขาจองจําด้วยท่อนไม้ไผ่แล้ว ยังเป็นผู้มีสีหน้าผ่องใส เพราะเหตุไรพวกเจ้าจึงไม่เศร้าโศกเล่า.

[๗๘๙] บุคคลไม่พึงได้ความเจริญแม้แต่เล็กน้อย ด้วยความเศร้าโศกและความร่ํารําพันพวกศัตรูรู้ว่าบุคคลนั้นเศร้าโศก ได้รับความทุกข์ ย่อมดีใจ.

[๗๙๐] ส่วนบัณฑิตผู้ฉลาดในการวินิจฉัยความย่อมไม่สะทกสะท้าน เพราะอันตรายที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าเมื่อไร พวกศัตรูได้เห็นหน้าของบัณฑิตนั้น อันไม่เปลี่ยนแปลง เป็นเหมือนแต่ก่อนย่อมเกิดความทุกข์.

[๗๙๑] บุคคลจะพึงได้ประโยชน์ในที่ใด ด้วยประการใดๆ เช่นการร่ายมนต์ การปรึกษาผู้รู้การกล่าววาจาอ่อนหวาน การให้สินบน หรือ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 831

การสืบวงศ์ตระกูล พึงพากเพียรทําประโยชน์ในที่นั้น ด้วยประการนั้นๆ เถิด.

[๗๙๒] ก็ในกาลใด บัณฑิตพึงรู้ว่า ประโยชน์นี้เราหรือคนอื่นไม่พึงได้รับ ในกาลนั้น ก็ไม่ควรเศร้าโศก ควรอดกลั้นไว้ด้วยคิดเสียว่ากรรมเป็นของมั่นคง บัดนี้ เราจะกระทําอย่างไรดี.

จบ ตจสารชาดกที่ ๘

อรรถกถาตจสารชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภปัญญาบารมี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า อมิตฺตหตฺ-ถตฺถคตา ดังนี้.

จริงอยู่ ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายมิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนตถาคตก็เป็นผู้มีปัญญา ฉลาดในอุบายเหมือนกัน อันภิกษุเหล่านั้นทูลอาราชนาแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

เรื่องอดีตทั้งปวงซึ่งมีคําเริ่มว่า ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลกุฎมพีในหมู่บ้าน ดังนี้ไปพึงกล่าวตามทํานองชาดกแรกนั่น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 832

แหละ. ก็ในชาดกนี้เมื่อหมอตายแล้ว ชาวบ้านกล่าวว่า. เด็กเหล่านั้นเป็นผู้ฆ่ามนุษย์ จึงจองจําเด็กเหล่านั้นด้วยไม้ตะโหงกแล้วนําไปยังนครพาราณสีด้วยหวังใจว่า จักถวายพระราชาทอดพระเนตร. ในระหว่างทางนั่นแล พระโพธิสัตว์ได้ให้โอวาทแก่พวกเด็กที่เหลือว่าท่านทั้งหลายอย่ากลัว ท่านทั้งหลายเฝ้าพระราชาแล้วก็อย่ากลัว พึงเป็นผู้มีอินทรีย์ร่าเริง พระราชาจักตรัสกับพวกเราก่อน จําเดิมแต่นั้นเราจักรู้. เด็กเหล่านั้นรับคําว่าได้ แล้วจึงกระทําเหมือนอย่างนั้น.พระราชาทรงเห็นเด็กเหล่านั้นไม่กลัว มีอินทรีย์ร่าเริง ทรงดําริว่าเด็กเหล่านั้นถูกหาว่าเป็นผู้ฆ่าคนถูกจําด้วยไม้ตะโหงกนํามา แม้จะถึงความทุกข์เห็นปานนี้ก็ไม่กลัว มีอินทรีย์ร่าเริงยินดีทีเดียว อะไรหนอเป็นเหตุไม่เศร้าโศกของเด็กพวกนี้ เราจักถามพวกเขาดู เมื่อจะตรัสถาม จึงตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-

พวกเจ้าตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู ถูกเขาจองจําด้วยท่อนไม้ไผ่ ยังเป็นผู้มีสีหน้าผ่องใส เพราะเหตุไรพวกเจ้าจึงไม่เศร้าโศกเล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมิตฺตหตฺถตฺถคตา ความว่าอยู่ในเงื้อมมือของพวกอมิตรผู้เอาไม้ตะโหงกจําที่คอแล้วนํามา. บทว่าตจสารสมปฺปิตา ความว่า พระราชาตรัสอย่างนี้ เพราะเด็กเหล่านั้นถูกจองจําด้วยท้อนไม้ไผ่. บทว่า กสฺมา ความว่า พระราชาตรัส

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 833

ถามว่า พวกเจ้าแม้ได้รับความพินาศเห็นปานนี้ เพราะเหตุไรจึงไม่เศร้าโศก.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า

บุคคลไม่พึงได้ความเจริญแม้แต่เล็กน้อย ด้วยความเศร้าโศกและความร่ําไห้พวกศัตรูรู้ว่าบุคคลนั้นเศร้าโศก ได้รับความทุกข์ ย่อมจะดีใจ.

ส่วนบัณฑิตผู้ฉลาดในการวินิจฉัยความย่อมไม่สะทกสะท้านเพราะอันตรายที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าเมื่อไร พวกศัตรูได้เห็นหน้าบัณฑิตนั้น อันไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเหมือนแต่ก่อนย่อมเกิดความทุกข์.

บุคคลพึงได้ประโยชน์ในที่ใด ด้วยประการใด เช่น การร่ายมนต์ การปรึกษาท่านผู้รู้ การกล่าววาจาอ่อนหวาน การให้สินบน หรือการสืบวงศ์ตระกูล บัณฑิตพึงพากเพียรทําประโยชน์ในที่นั้น ด้วยประการนั้นๆ เถิด.

ก็ในกาลใด บัณฑิตพึงรู้ว่าประโยชน์นี้เราหรือคนอื่นไม่พึงได้รับ ในกาลนั้น ก็

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 834

ไม่ควรเศร้าโศก ควรอดกลั้นไว้ด้วยคิดเสียว่ากรรมเป็นของมั่นคง บัดนี้เราจะกระทําอย่างไรดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺโถ ได้แก่ ความเจริญ.ด้วยบทว่า ปจฺจตฺถิกา อตฺตมนา นี้ ท่านแสดงว่า พวกปัจจามิตรรู้ว่าบุรุษนั้นเศร้าโศก มีทุกข์ ย่อมจะดีใจ บัณฑิตไม่ควรต่ําชื่อซึ่งเหตุแห่งความยินดีของพวกปัจจามิตรนั้น. บทว่า ยโต แปลว่าในกาลใด. บทว่า น เวธติ ความว่า ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความกลัวอันเกิดจากความสะดุ้งแห่งจิต. บทว่า อตฺถวินิจฺฉยฺู ได้แก่ผู้ฉลาดวินิจฉัยอรรถคดีนั้นๆ . บทว่า ชปฺเปน แปลว่า ด้วยการร่ายมนต์. บทว่า มนฺเตน ได้แก่ ด้วยการถือเอาความคิดกับบัณฑิตทั้งหลาย. บทว่า สุภาสิเตน ได้แก่ ด้วยคําพูดอันน่ารัก. บทว่าอนุปฺปทาเนน ได้แก่ ด้วยการให้สินบน. บทว่า ปเวณิยา ได้แก่ด้วยตระกูลวงศ์. ท่านกล่าวคําอธิบายนี้ไว้ว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดาบัณฑิต เมื่ออันตรายเกิดขึ้น ไม่ควรเศร้าโศก ไม่ควรลําบากใจก็บุคคลพึงชนะพวกปัจจามิตรได้ด้วยอํานาจเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาเหตุ ๕ ประการนี้ ก็ถ้าอาจทําได้ไซร้ พึงร่ายมนต์ผูกปากไว้ไม่ให้พูด ก็จะพึงชนะพวกปัจจามิตรนั้นได้ บัณฑิตเมื่อไม่อาจทําอย่างนั้น พึงให้สินบนแก่พวกอํามาตย์ผู้ตัดสินความ ก็จะพึงชนะได้เมื่อไม่อาจทําอย่างนั้น พึงพูดถึงวงศ์ตระกูล แม้จะลําดับญาติที่มีอยู่อย่างนี้ว่า พวกข้าพเจ้ามาจากเชื้อสายชื่อโน้น และบรรพบุรุษของ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 835

ท่านก็เป็นอันเดียวกัน ก็พึงชนะได้เหมือนกัน. บทว่า ยถา ยถาความว่า บุคคลพึงได้ความเจริญแห่งตนในที่ใดๆ ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาเหตุ ๕ ประการนี้. บทว่า ตถา ตถา ความว่าพึงพากเพียรในที่นั้นๆ ด้วยเหตุนั้นๆ. อธิบายว่า พึงทําความบากบั่นจนชนะพวกข้าศึก. บทว่า ยโต จ ชาเนยฺย ความว่า ก็ในกาลใด บัณฑิตพึงรู้ว่า ประโยชน์นี้อันเราหรือคนอื่นก็ตามไม่ควรได้แม้จะพยายามโดยประการต่างๆ ก็ไม่อาจได้แม้ในกาลนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิตก็ไม่เสียใจ ไม่ลําบากใจ พึงอดกลั้นไว้ด้วยคิดเสียว่า กรรมที่เราทําไว้ในปางก่อน เหนียวแน่น มั่นคง ไม่อาจจะห้ามได้ เดี๋ยวนี้เราจะสามารถทําอะไรได้.

พระราชาได้สดับธรรมกถาของพระโพธิสัตว์ แล้วทรงสะสางการกระทําด้วยพระองค์เอง ทรงทราบว่าพวกเด็กไม่มีโทษผิด จึงรับสั่งให้นําไม้ตะโหงกออก แล้วพระราชทานยศยิ่งใหญ่แก่พระมหาสัตว์แล้วได้ทรงกระทําให้เป็นอํามาตย์แก้วอนุศาสก์อรรถธรรมแก่พระองค์

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า. พระเจ้าพาราณสีในครั้นนั้น ได้เป็นพระอานนท์ พวกเด็กๆ ในครั้งนั้น ได้เป็นพระเถรานุเถระ ส่วนเด็กผู้เป็นบัณฑิตใดครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาตจสารชาดกที่ ๘