พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. มิตตวินทุกชาดก ว่าด้วยจักรกรดพัดบนหัว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35825
อ่าน  571

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 836

๙. มิตตวินทุกชาดก

ว่าด้วยจักรกรดพัดบนหัว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 836

๙. มิตตวินทุกชาดก

ว่าด้วยจักรกรดพัดบนหัว

[๗๙๓] ข้าพเจ้าได้กระทําอะไรไว้แก่เทวดาทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กระทําบาปกรรมอะไรไว้จักรกรดจึงได้มากระทบศีรษะของข้าพเจ้าพัดอยู่บนกระหม่อม.

[๗๙๔] ท่านล่วงเลยปราสาทแก้วผลึก ปราสาทแก้วมณี ปราสาทเงินและปราสาททอง แล้วมาในที่นี้เพราะเหตุอะไร.

[๗๗๕] เชิญท่านดูข้าพเจ้าผู้ถึงความฉิบหายเพราะความสําคัญเช่นนี้ว่า โภคสมบัติในที่นี้เห็นจะมีมากกว่าโภคสมบัติในปราสาททั้งสี่นั้น.

[๗๙๖] ท่านละทิ้งนางเวมานิกเปรต ๔ มาได้นางเวมานิกเปรต ๘ ละทิ้งนางเวมานิกเปรต ๘ มาได้นางเวมานิกเปรต ๑๖ ละทิ้งนางเวมานกเปรต ๑๖ มาได้นางเวมานิกเปรต ๓๒ปรารถนาไม่รู้จักพอ มายินดีจักรกรด จักร-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 837

กรดจึงพัดอยู่บนกระหม่อมของท่าน ผู้ถูกความปรารถนาครอบงําไว้.

[๗๙๗] อันธรรมดาตัณหาเป็นสิ่งที่กว้างขวางอยู่ณ เบื้องบน ให้เต็มได้ยาก มักเป็นไปตามอํานาจของความปรารถนา เพราะฉะนั้น ชนเหล่าใดมีกําหนัดยินดีตัณหานั้น ชนเหล่านั้นจึงต้องเป็นผู้ทูนจักรกรดไว้.

จบ มิตตวินทุกชาดกที่ ๙

อรรถกถามิตตวินทุกชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า กฺยาหํเทวานมกรํ ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งในมหามิตตวินทุกชาดก. ก็นายมิตตวินทุกะนี้ถูกเขาโยนทิ้งในทะเล แล้วได้ไปพบนางเวมานิกเปรตแห่งหนึ่ง๔ นาง แห่งหนึ่ง ๘ นาง แห่งหนึ่ง ๑๖ นาง แห่งหนึ่ง ๓๒ นางก็ยังเป็นผู้ปรารถนายิ่งขึ้นไม่รู้จักพอ จึงเป็นต่อไปข้างหน้า ได้พบอุสสุทนรกอันเป็นสถานที่เสวยวิบากของพวกสัตว์นรก จึงได้เข้าไปด้วยสําคัญว่า เป็นเมืองๆ หนึ่ง เห็นจักรกรดพัดอยู่บนหัวสัตว์นรกสําคัญว่าเป็นเครื่องประดับ จึงยินดีชอบใจจักรกรด อ้อนวอนขอได้มา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 838

คราวนั้น พระโพธิสัตว์เป็นเทวบุตรเที่ยวจาริกไปในอุสสุทนรก. นายมิตตวินทุกะนั้นเห็นพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว เมื่อจะถาม จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ข้าพเจ้าได้กระทําอะไรไว้แก่เหล่าเทวดาบาปอะไรที่ข้าพเจ้าได้กระทําไว้ จักรกรดจึงได้มากระทบศีรษะของข้าพเจ้าแล้วพัดอยู่บนกระหม่อม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กฺยาหํ เทวานมกรํ ความว่าข้าแต่เทพบุตรผู้เป็นนาย ข้าพเจ้าได้กระทํากรรมชื่ออะไรไว้แก่เหล่าเทพดา เหล่าเทพดาเบียดเบียนข้าพเจ้าทําไม. บทว่า กึ ปาปํปกตํ มยา ความว่า นายมิตตวินทุกะได้รับทุกขเวทนา กําหนดบาปที่คนทําไว้ไม่ได้ เพราะมีทุกข์มาก จึงได้กล่าวอย่างนั้น. บทว่ายํ เม ความว่า จักรกรดนี้จรดคือกระทบศีรษะข้าพเจ้า แล้วหมุนอยู่บนกระหม่อมขอข้าพเจ้า เพราะบาปใด บาปนั้นชื่ออะไร?

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ท่านล่วงเลยปราสาทแล้วผลึก ปราสาทแก้วมณี ปราสาทเงิน และปราสาททองแล้วมาที่นี้เพราะเหตุอะไร?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รมณภํ ได้แก่ ปราสาทแก้วผลึก.บทว่า ทุพฺพกํ ได้แก่ ปราสาทแก้วมณี. บทว่า สทามตฺตํ ได้แก่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 839

ปราสาทเงิน. บทว่า พฺรหฺมตรฺจ ปาสาทํ ได้แก่ ปราสาททอง.บทว่า เกนฏเน ความว่า ท่านละนางเทพธิดาเหล่านี้ คือ เทพธิดา๔ นาง ๘ นาง ๑๖ นาง และ ๓๒ นาง ในปราสาทแก้วผลึกเป็นต้นเหล่านี้ แล้วก้าวล่วงปราสาทเหล่านั้นมาที่นี้ เพราะเหตุอะไร?

ลําดับนั้น นายมิตตวินทุกะกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

เชิญท่านดูข้าพเจ้าผู้ถึงความฉิบหายเพราะความสําคัญนี้ว่า โภคสมบัติในที่นี้เห็นจะมีมากกว่าโภคสมบัติในปราสาททั้งสี่นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิโต พหุตรา ความว่า จักมีเหลือเฟือกว่าโภคสมบัติในปราสาททั้งสี่นี้.

ลําดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

ท่านละทิ้งนางเวมานิกเปรต ๔ มาได้นางเวมานิกเปรต ๘ ละทิ้งนางเวมานิกเปรต๘ มาได้นางเวมานิกเปรต ๑๖ ละทิ้งนางเว-มานิกเปรต ๑๖ มาได้นางเวมานิกเปรต ๓๒ยังปรารถนายิ่งขึ้นไม่รู้จักพอ มายินดีจักร-กรด จักรกรดจึงพัดอยู่บนกระหม่อมของท่านผู้ถูกความปรารถนาครอบงํา.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 840

อันธรรมดาตัณหาเป็นสิ่งที่กว้างขวางอยู่ในเบื้องบน ให้เต็มได้ยาก มักเป็นไปตามอํานาจของความปรารถนา เพราะฉะนั้น ชนเหล่าใดมากําหนัดยินดีตัณหานั้น ชนเหล่านั้นจึงต้องเป็นผู้ทูนจักรกรดไว้.

ด้วยบทว่า อุปริ วิสาลา นี้ ในคาถานั้น พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนมิตตวินทุกะ ขึ้นชื่อว่าตัณหานี้ เมื่อบุคคลส้องเสพอยู่ย่อมเป็นของกว้างขวางอยู่เบื้องบน คือเป็นของแผ่ไป ธรรมดาตัณหาให้เต็มได้โดยยาก เสมือนมหาสมุทร มีปกติไปตามอํานาจความอยากได้ คือความปรารถนาซึ่งอยากได้อารมณ์นั้นๆ ในบรรดารูปารมณ์เป็นต้น เพราะฉะนั้น คนเหล่าใดมากําหนัดยินดีตัณหานั้นคือเห็นปานนั้น คือเป็นผู้อยากได้แล้วๆ เล่าๆ ยึดถืออยู่. บทว่า เต โหนฺติจกฺกธาริโน ความว่า ชนเหล่านั้นย่อมทูนจักรกรดนั้นไว้.

ก็นายมิตตวินทุกะกําลังพูดอยู่นั่นแหละ จักรแม้นั้นก็พัดกดลงไป ด้วยเหตุนั้น เขาจึงไม่อาจจะกล่าวอีกต่อไป. เทพบุตรจึงไปยังเทวสถานของตนทีเดียว.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า นายมิตตวินทุกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุว่ายากส่วนเทพบุตรในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามิตตวินทุกชาดกที่ ๙