พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ทีฆีติโกสลชาดก ว่าด้วยเวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35827
อ่าน  763

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 848

๓. อัฑฒวรรค

๑. ทีฆีติโกสลชาดก

ว่าด้วยเวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 848

๑. ทีฆีติโกสลชาดก

ว่าด้วยเวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร

[๘๐๓] ข้าแต่พระราช เมื่อพระองค์ตกอยู่ในอํานาจของข้าพระองค์อย่างนี้แล้ว เหตุอันใดอันหนึ่งที่จะทําให้พระองค์พ้นจากทุกข์ได้ มีอยู่หรือ.

[๘๐๔] พ่อเอยเมื่อฉันตกอยู่ในอํานาจของท่านถึงอย่างนี้แล้ว เหตุอันใดอันหนึ่งที่จะทําให้ฉันพ้นจากทุกข์ได้ ไม่มีเลย.

[๘๐๕] ข้าแต่พระราชา เว้นสุจริตและวาจาสุภาษิตเสีย เหตุอย่างอื่นจะป้องกันได้ในเวลาใกล้มรณกาล ไม่มีเลย ทรัพย์นอกนี้ก็เหมือนกันแหละ.

[๘๐๖] ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรว่า คนนี้ได้ด่าเรา คนนี้ได้ฆ่าเรา คนนี้ได้ชนะเรา คนนี้ได้ลักของๆ เรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่สงบ ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรว่า คน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 849

นี้ได้ด่าเรา คนนี้ได้ฆ่าเรา คนนี้ได้ชนะเราคนนี้ได้ลักของๆ เรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมสงบ.

[๘๐๗] ในกาลไหนๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย แต่ย่อมระงับได้ด้วยความไม่มีเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.

จบ ทีฆีติโกสลชาดกที่ ๑

อรรถกถาอัฑฒวรรคที่ ๓

อรรถกถาทีฆีติโกสลชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุชาวเมืองโกสัมพีผู้กระทําการทะเลาะทุ่มเถียงกัน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า เอวํ ภูตสฺส เต ราช ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกาลที่ภิกษุเหล่านั้นมายังพระเชตวันวิหาร ขอให้พระศาสดาทรงอดโทษ พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเป็นโอรสของเรา ชื่อว่าบุตรผู้เกิดจากปาก อันบุตรทั้งหลายไม่ควรทําลายโอวาทที่บิดาได้ไว้ ก็เธอทั้งหลายไม่กระทําตามโอวาท โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้โจรผู้ฆ่ามารดาบิดาของตนแล้วยึดครองราชสมบัติ ตกอยู่ในเงื้อมมือในป่า ก็

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 850

ยังไม่ฆ่าด้วยคิดว่า จักไม่ทําลายโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้ ดังนี้ แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ก็ในชาดกนี้ เรื่องทั้งสอง คือเรื่องปัจจุบันและเรื่องในอดีต จักมีแจ้งโดยพิสดารในสังฆเภทกะ. ก็ทีฆาวุกุมารนั้นจับพระจุฬาพระเจ้าพาราณสีผู้บรรทมหลับอยู่บนตักของตนในป่า เงื้อดาบขึ้นด้วยหมายใจว่า บัดนี้ เราจักตัดโจรผู้ฆ่ามารดาบิดาของเรา ให้เป็น ๑๔ ท่อนขณะนั้น ระลึกถึงโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้ จึงคิดว่า เราแม้จะสละชีวิตก็จักไม่ทําลายโอวาทของท่าน จักคุกคามพระเจ้าพาราณสีนั้นอย่างเดียว จึงกล่าวคาถาที่๑ ว่า :-

ข้าแต่พระราชา เมื่อพระองค์ตกอยู่ในอํานาจของข้าพระองค์อย่างนี้แล้ว เหตุอันใดอันหนึ่งที่จะทําให้พระองค์พ้นจากทุกข์ได้ มีอยู่หรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วเส มมํ ได้แก่ ผู้มาสู่อํานาจของข้าพระองค์. บทว่า ปริยาโย ได้แก่ เหตุ.

ลําดับนั้น พระราชาตรัสคาถาที่๒ ว่า :-

พ่อเอย เมื่อฉันตกอยู่ในอํานาจของท่านอย่างนี้แล้ว เหตุอันใดอันหนึ่งที่จะทําให้ฉันพ้นทุกข์ได้ ไม่มีเลย.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 851

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โน เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่าเหตุอะไรๆ ที่จะทําให้ฉันพ้นจากทุกข์นั้น ย่อมไม่มี.

ลําดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

ข้าแต่พระราชา เว้นสุจริตและวาจาที่เป็นสุภาษิตเสีย เหตุอย่างอื่นจะป้องกันได้ในเวลาจะตาย ไม่มีเลย ทรัพย์นอกนี้ก็เหมือนกันนั่นแหละ.

ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรว่า คนนี้ได้ด่าเรา คนนี้ได้ฆ่าเรา คนนี้ได้ชนะเรา คนนี้ได้ลักของๆ เรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่สงบ ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรว่า คนนี้ได้ด่าเรา คนนั้นได้ฆ่าเรา คนนั้นได้ชนะเราคนนี้ได้ลักของๆ เรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมเข้าไปสงบ.

ในกาลไหนๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย แต่ย่อมระงับได้ด้วยความไม่มีเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาฺํ สุจริตํ แก้เป็น นาฺํสุจริตา. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้แหละ อธิบายว่า เว้นสุจริตเสีย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 852

เราไม่เห็นอย่างอื่น. ก็ในคาถานี้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า สุจริตบ้างสุภาษิตบ้าง ก็หมายเอาโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้เท่านั้น. บทว่า เอวเมว ได้แก่ ไม่มีประโยชน์เลย. ท่านกล่าวอธิบายนี้ไว้ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เว้นจากสุจริตและวาจาสุภาษิต กล่าวคือการกล่าวสอนและการพร่ําสอน อย่างอื่นชื่อว่าสามารถเพื่อต่อต้านบอกกันในเวลาจะตายย่อมไม่มี ทรัพย์นอกนี้ก็เหมือนกัน คือไม่มีประโยชน์เลย ก็บัดนี้พระองค์จะให้ทรัพย์แม้ตั้งแสนโกฏิ แก่ข้าพระองค์ ก็จะไม่ได้ชีวิตเพราะฉะนั้น ข้อนี้พึงทราบว่า สุจริตและคําสุภาษิตเท่านั้น ยิ่งกว่าทรัพย์.

แม้คาถาที่เหลือก็มีเนื้อความสังเขปดังต่อไปนี้ :- ข้าแต่มหาราชเจ้า คนเหล่าใดเข้าไปผูกเวร คือตั้งเวรไว้ในหทัยเหมือนผูกไว้อย่างนี้ว่า ผู้นี้ด่าเรา ผู้นี้ประหารเรา ผู้นี้ได้ชนะเรา ผู้นี้ได้ลักของเรา เวรของคนเหล่านั้นย่อมไม่สงบ. ส่วนคนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกคือไม่ตั้งเวรนั้นไว้ในหทัย เวรของตนเหล่านั้นย่อมสงบ เพราะในกาลไหนๆ เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับด้วยเวร แต่จะระงับด้วยความไม่มีเวร ธรรมนั้นเป็นของเก่า อธิบายว่า ธรรมเก่าก่อน คือสภาวะที่เป็นไปตลอดกาลนาน.

ก็แหละ พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกราบทูลว่าข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ไม่ประทุษร้ายพระองค์ แต่พระองค์จงฆ่าข้าพระองค์เสียเถิด แล้ววางดาบในพระหัตถ์ของพระราชานั้น. ฝ่ายพระราชาก็ทรงกระทําการสบถว่า เราจักไม่ประทุบร้ายท่าน แล้วเสด็จ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 853

ไปพระนครพร้อมกับพระโพธิสัตว์นั้น ทรงแสดงพระโพธิสัตว์นั้นแก่อํามาตย์ทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูก่อนพวกท่านทั้งหลาย ผู้นี้ คือที-ฆาวุกุมารโอรสของพระเจ้าโกศล แม้ผู้นี้ก็ได้ให้ชีวิตเรา เราก็ไม่ได้ทําอะไรกะผู้นี้ ครั้นตรัสแล้ว ได้ประทานธิดาของพระองค์แล้วให้ดํารงอยู่ในราชสมบัติอันเป็นของพระบิดา. ตั้งแต่นั้นมา พระราชาทั้งสองพระองค์ทรงสมัครสมานบันเทิงพระทัยครองราชสมบัติ.

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า บิดามารดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นตระกูลมหาราชส่วนทีฆาวุกุมาร ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาทีหีติโกสลชาดกที่ ๑