พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. มูสิกชาดก ควรเรียนทุกอย่างแต่ไม่ควรใช้ทุกอย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35829
อ่าน  421

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 861

๓. มูสิกชาดก

ควรเรียนทุกอย่างแต่ไม่ควรใช้ทุกอย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 861

๓. มูสิกชาดก

ควรเรียนทุกอย่างแต่ไม่ควรใช้ทุกอย่าง

[๘๑๓] คนบ่อพร่ําอยู่ว่า นางทาสีชื่อมูสิกาไปไหนๆ เราคนเดียวเท่านั้นรู้ว่า นางทาสีชื่อว่ามูสิกา ตายอยู่ในบ่อน้ำ.

[๘๑๔] เหตุใดท่านจึงคิดอย่างนี้ และมองหาโอกาสจะประหารทางนี้ๆ กลับไปแล้วเหมือนลา เพราะฉะนั้นเราจึงรู้ว่า ท่านฆ่านางทาสีชื่อว่ามูสิกาตายทิ้งไว้ในบ่อน้ำ วันนี้ปรารถนาจะกินข้าวเหนียวอีกหรือ.

[๘๑๕] แน่เจ้าผู้โง่เขลา เจ้ายังเป็นเด็กอ่อนตั้งอยู่ในปฐมวัย มีผมดําสนิท มายืนถือท่อนไม้ยาวนี้อยู่ เราจะไม่ยอมยกชีวิตให้แก่เจ้า.

[๘๑๖] เราเป็นผู้อันบุตรปรารถนาจะฆ่าเสีย จะพ้นจากความตาย เพราะภพในอากาศหรือเพราะบุตรที่รักเปรียบด้วยอวัยวะก็หาไม่ เราพ้นจากความตายเพราะคาถาที่อาจารย์ผู้ให้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 862

[๘๑๗] บุคคลควรเรียนวิชาที่ควรเรียนทุกอย่างไม่ว่าจะเลว ดี หรือปานกลางก็ตาม บุคคลควรรู้ประโยชน์ของวิชาที่เรียนทุกอย่าง แต่ไม่ควรประกอบทั้งหมด ศิลปที่ศึกษาแล้วนําประโยชน์ให้ในเวลาใด แม้เวลาเช่นนั้นย่อมมีแท้.

จบ มูสิกชาดกที่ ๓

อรรถกถามูสิกชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงปรารภพระเจ้าอชาตศัตรู จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า กุหึคตา กตฺถ คตา ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารมาแล้วในถุสชาดก ในหนหลังนั่นแลส่วนในชาดกนี้ พระศาสดาทรงเห็นพระราชาทรงหยอกเล่นกับพระโอรสพลาง ทรงฟังธรรมพลางอย่างนั้น ทรงทราบว่า ภัยจักเกิดขึ้นแก่พระราชา เพราะอาศัยพระโอรสนั้น จึงตรัสว่า มหาบพิตรพระราชาครั้งเก่าก่อนทั้งหลาย ทรงรังเกียจสิ่งที่ควรรังเกียจ ได้ทรงการทําโอรสของพระองค์ไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ด้วยทรงดําริว่าพระโอรสจงครองราชสมบัติในเวลาเราแก่ชราตามัว แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 863

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ในเมืองตักกศิลา ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์. โอรสของพระเจ้าพาราณสี พระนามว่ายวกุมาร ได้เรียนศิลปะทุกอย่างในสํานักของพระโพธิสัตว์นั้น แล้วให้การซักถามคือทดสอบวิชาแล้ว ประสงค์จะกลับมาบ้านเมือง จึงอําลาอาจารย์นั้น. อาจารย์รู้ได้ด้วยอํานาจวิชาดูอวัยวะว่า อันตรายจักมีแก่กุมารนี้เพราะอาศัยบุตรเป็นเหตุ คิดว่าเราจักบําบัดอันตรายของพระกุมารนั้น จึงเริ่มไตร่ตรองหาข้อเปรียบเทียบสักข้อหนึ่ง.ก็ในกาลนั้น ม้าของอาจารย์ทิศาปาโมกข์นั้นมีอยู่ตัวหนึ่งแผลเกิดขึ้นที่เท้าของม้านั้น. พวกคนเลี้ยงม้าจึงกระทําม้าตัวนั้นไว้เฉพาะในเรือน เพื่อจะตามรักษาแผล. ในที่ไม่ไกลเรือนนั้นมีบ่อน้ำอยู่บ่อหนึ่งครั้งนั้น หนูตัวหนึ่งออกจากเรือนกัดแผลที่เท้าของม้า. ม้าไม่สามารถจะห้ามมันได้. วันหนึ่ง ม้านั้นไม่อาจอดกลั้นเวทนาได้ จึงเอาเท้าดีดหนูซึ่งมากัดกินแผลให้ตายตกลงไปในบ่อน้ำ. พวกคนเลี้ยงม้าไม่เห็นหนูมาจึงกล่าวกันว่า ในวันอื่นๆ หนูมากัดแผล บัดนี้ไม่ปรากฏมันไปเสียที่ไหนหนอ. พระโพธิสัตว์กระทําเหตุนั้นให้ประจักษ์แล้วกล่าวว่าคนอื่นๆ ไม่รู้ จึงพากันกล่าวว่า หนูไปเสียที่ไหน แต่เราเท่านั้นย่อมรู้ว่าหนูถูกม้าฆ่าแล้วดีดลงไปในบ่อน้ำ. พระโพธิสัตว์นั้นจึงกระทําเหตุนี้นั่นแหละให้เป็นข้อเปรียบเทียบ แล้วประพันธ์เป็นคาถาที่หนึ่งมอบให้แก่พระราชกุมาร. พระโพธิสัตว์นั้นไตร่ตรองหาข้อ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 864

เปรียบเทียบข้ออื่นอีก ได้เห็นม้าตัวนั้นแหละมีแผลหายแล้ว ออกไปที่ไร่ข้าวเหนียวแห่งหนึ่ง แล้วสอดปากเข้าไปทางช่องรั้ว ด้วยหวังว่าจักกินข้าวเหนียว จึงกระทําเหตุนั้นแหละให้เป็นข้อเปรียบเทียบ แล้วประพันธ์เป็นคาถาที่ ๒ มอบให้แก่พระราชกุมารนั้น ส่วนคาถาที่ ๓พระโพธิสัตว์ประพันธ์โดยกําลังปัญญาของตน มอบคาถาที่ ๓ แม้นั้นให้แก่พระราชกุมารนั้นแล้วกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ เธอดํารงอยู่ในราชสมบัติแล้ว เวลาเย็นเมื่อจะไปสระโบกขรณีสําหรับสรงสนาน พึงเดินท่องบ่นคาถาที่ ๑ ไปจนถึงบันใดอันใกล้ เมื่อจะเข้าไปยังปราสาทอันเป็นที่อยู่ของเธอ พึงเดินท่องบ่นคาถาที่ ๒ ไปจนถึงที่ใกล้เชิงบันได ต่อจากนั้นไป พึงเดินท่องบ่นคาถาที่ ๓ ไปจนถึงหัวบันไดครั้นกล่าวแล้วจึงส่งพระกุมารไป. พระกุมารนั้นครั้นไปถึงแล้วได้เป็นอุปราช เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว ได้ครองราชสมบัติ. โอรสองค์หนึ่งของพระองค์ประสูติแล้ว. พระโอรสนั้น ในเวลามีพระวัสสา๑๖ ปี คิดว่าจักปลงพระชนม์พระบิดา เพราะความโลภในราชสมบัติจึงตรัสกะอุปัฏฐาก (มหาดเล็ก) ทั้งหลายว่า พระบิดาของเรายังหนุ่มเราคอยเวลาถวายพระเพลิงพระบิดานี้ จักเป็นคนแก่คร่ําคร่าเพราะชรา ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติแม้ที่ได้ในกาลเช่นนั้น. อุปัฏฐากเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ไม่อาจไปยังประเทศชายแดนแล้วกระทําความเป็นโจร พระองค์จงปลงพระชนม์พระบิดาของพระองค์ด้วยอุบายบางอย่างแล้วยึดเอาราชสมบัติ. พระโอรสนั้นรับว่าได้ แล้วไปยังที่ใกล้สระโบกขรณีสําหรับสรงสนานตอนเย็นของ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 865

พระราชา ในภายในพระราชนิเวศน์ ได้ถือพระขรรค์ยืนอยู่ด้วยตั้งใจว่าจักฆ่าพระบิดานั้น ณ ที่นี้. ในเวลาเย็น พระราชาทรงสั่งนางทาสีชื่อหนูไปด้วยพระดํารัสว่า เจ้าจงไปชําระหลังสระโบกขรณีให้สะอาดแล้วจงมา เราจักอาบน้ำ. นางทาสีนั้นไปชําระหลังสระโบกขรณีอยู่เห็นพระกุมาร. พระกุมารจึงฟันนางทาสีนั้นขาด ๒ ท่อน แล้วทิ้งให้ตกลงไปในสระโบกขรณี เพราะกลัวว่ากรรมของตนจะปรากฏขึ้น.พระราชาได้เสด็จไปเพื่อจะสรงสนาน. ชนที่เหลือกล่าวว่าแม้จนวันนี้นางหนูผู้เป็นทาสียังไม่กลับมา นางหนูไปไหน ไปที่ไร. พระราชาตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-

คนพร่ําบ่นอยู่ว่า นางหนูไปไหน นางหนูไปไหน เราคนเดียวเท่านั้นรู้ว่า นางหนูตายอยู่ในบ่อน้ำดังนี้.

พระองค์ได้เสด็จไปถึงฝังสระโบกขรณี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุหึ คตา กตฺถ คตา เป็นคําไวพจน์ของกันและกัน. บทว่า อิติ ลาลปฺปตี ได้แก่ บ่นเพ้ออยู่อย่างนั้น. ดังนั้น คาถานี้แสดงเนื้อความนี้แก่พระราชาผู้ไม่ทรงทราบเลยแหละว่า ชนผู้ไม่รู้ย่อมพร่ําบ่นว่า นางหนูผู้เป็นทาสีไปไหนแต่เราผู้เดียวเท่านั้นรู้ว่า นางหนูถูกพระราชกุมารฟันขาดสองท่อนแล้วโยนให้ตกลงในสระโบกขรณี.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 866

พระราชาได้เสด็จดําเนินตรัสคาถาที่ไปถึงฝังสระโบกขรณี. พระกุมารคิดว่า พระบิดาของเราได้ทรงทราบกรรมที่เรากระทําไว้จึงกลัวหนีไปบอกเรื่องนั้นแก่พวกอุปัฏฐาก. พอล่วงไป ๗ - ๘ วัน อุปัฏฐากเหล่านั้นจึงทูลพระกุมารนั้นอีกว่า ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าพระราชาจะทรงทราบไซร้ จะไม่ทรงนิ่งไว้ ก็คํานั้นคงจะเป็นคําที่พระราชานั้นตรัสโดยทรงคาดคะเนเอา พระองค์จงปลงพระชนม์พระบิดานั้นเถิด. วันรุ่งขึ้น พระกุมารนั้นถือพระขรรค์ประทับยืนที่ใกล้เชิงบันใด ในเวลาพระราชาเสด็จมา ทรงมองหาโอกาสที่จะประหารไปรอบด้าน. พระราชาได้เสด็จดําเนินสาธยายคาถาที่ ๒ ว่า

เหตุใดท่านจึงคิดอย่างนี้ และมองหาโอกาสจะประหารทางโน้นทางนั้นแล้วกลับไปเสมือนลา เพราะฉะนั้น เราจึงรู้ว่า ท่านฆ่าทาสีชื่อว่านางหนูตายทิ้งไว้ในบ่อน้ำ วันนี้ยังปรารถนาจะบริโภคโภชนะข้าวเหนียวอีกหรือ.

แม้คาถานี้ก็แสดงเนื้อความนี้สําหรับพระราชาผู้ไม่ทรงทราบเลยว่า เพราะเหตุที่นั้นคิดอย่างนี้ และมองหาโอกาสจะประหารอยู่ทางโน้นทางนี้แล้วกลับไปเสมือนลาฉะนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงรู้จักท่านว่า วันก่อนท่านฆ่าทาสีชื่อนางหนูที่สระโบกขรณี๑วันนี้ ยังปรารถนาจะบริโภคโภชนะข้าวเหนียวอีก (๑)


(๑) ตรงนี้น่าจะเป็นว่า "วันนี้ ยังปรารถนาจะฆ่าพระเจ้ายวราชอีก"

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 867

พระกุมารสะดุ้งพระทัยหนีไปด้วยคิดว่า พระบิดาเห็นเราแล้ว.พระกุมารนั้นให้เวลาล่วงไปประมาณกึ่งเดือนแล้วคิดว่า จักเอาท่อนไม้ประหารพระราชาให้ตาย จึงถือท่อนไม้สําหรับประการท่อนหนึ่งมีด้ามยาวแล้วได้ยืนกุมอยู่. พระราชาตรัสว่า

แน่ะเจ้าผู้โง่เขลา เจ้ายังเป็นเด็กอ่อนตั้งอยู่ในปฐมวัย มีผมดําสนิท มายืนถือท่อนไม้ยาวนี้อยู่ เราจะไม่ยอมยกชีวิตให้แก่เจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมุปฺปตฺติโต (๑) ได้แก่ อุบัติคือประกอบด้วยปฐมวัย อธิบายว่า ตั้งอยู่ในปฐมวัย. บทว่า สุสู แปลว่า ยังเป็นหนุ่ม. บทว่า ทีฆํ ได้แก่ ท่อนไม้สําหรับประหารมีด้ามยาว. บทว่า สมาปชฺช ความว่า เจ้ามายืนถือกุมไว้. คาถาแม้นี้ก็ข่มขู่พระกุมาร แสงเนื้อความนี้ สําหรับพระราชาผู้ไม่รู้นั้นแลว่า เจ้าคนโง่เจ้าจักไม่ได้บริโภคข้าวเหนียวของตน บัดนี้เราจักไม่ให้ชีวิตแก่เจ้าผู้ไม่มีความละอาย เราจักฆ่าตัดให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ แล้วให้เสียบไว้บนหลาวนั่นแหละ.

พระราชาทรงสาธยายคาถาที่ ๓ พลางขึ้นถึงหัวบันใด. วันนั้นพระกุมารนั้นไม่อาจหลบหนี กราบทูลว่าข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์โปรดประทานชีวิตแก่ข้าพระองค์เถิดพระเจ้าข้า แล้วหมอบลงที่ใกล้พระบาทของพระราชา. พระราชาทรงคุกคามพระกุมารนั้นแล้ว ให้


(๑) บาลี เป็น ปมุปฺปตฺติโก.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 868

จองจําด้วยโซ่ตรวน แล้วให้ขังไว้ในเรือนจํา ทรงนั่งเหนือราชอาสน์ที่ประดับประดา ณ ภายใต้เศวตฉัตร ทรงดําว่า พราหมณ์ทิศาปาโมกข์ผู้อาจารย์ของเรา เห็นอันตรายนี้แก่เรา จึงได้ให้คาถา ๓คาถานี้ จึงร่าเริงยินดี เมื่อจะเปล่งอุทาน จึงได้ตรัสคาถาที่เหลือว่า :-

เราเป็นผู้อันบุตรปรารถนาจะฆ่าเสีย จะพ้นจากความตายเพราะภพในอากาศ หรือเพราะบุตรที่รับเปรียบด้วยอวัยวะก็หาไม่ เราพ้นจากความตายเพระคาถาที่อาจารย์ผูกให้.

บุคคลควรเรียนวิชาที่ควรเรียนทุกอย่างไม่ว่าจะเลว ดีหรือปานกลาง บุคคลควรรู้ประโยชน์ของวิชาที่เรียนทั้งหมด แต่ไม่ควรประกอบใช้ทั้งหมด ศิลปะที่ศึกษาแล้วนําประโยชน์มาให้ในเวลาใด แม้เวลาเช่นนั้นย่อมจะมีแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นานฺตลิกฺขภวเนน ความว่าทิพยวิมานเรียกกว่าภพในอากาศ วันนี้ เรามิได้ขึ้นแม้สู่ภพในอากาศเพราะฉะนั้น เราจึงมิได้พ้นจากความตายในวันนี้ แม้เพราะภพในอากาศ. บทว่า นางฺคปุตฺตสิเรน วา ความว่า หรือว่า เรามิได้พ้นจากความตาย แม้เพราะบุตรอันเห็นเสมอด้วยอวัยวะ. บทว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 869

ปุตฺเตน หิ ปฏิยิโต ความว่า ก็เราอันบุตรของตนเองปรารถนา.จะฆ่าในวันนี้. บทว่า สิโลเกหิ ปโมจิโต ความว่า เรานั้นเป็นผู้พ้นจากความตาย เพราะคาถาทั้งหลายที่อาจารย์ของตนประพันธ์ให้มาบทว่า สุตํ ได้แก่ ปริยัติการเล่าเรียน. บทว่า อธีเยถ ได้แก่พึงเรียน คือ ศึกษาเอา. ด้วยบทว่า หีนมุกฺกฏมชฺฌิมํ นี้ ท่านแสดงว่า วิชาที่เรียนไม่ว่าจะต่ํา ปานกลาง หรือ ชั้นสูงก็ตามบุคคลควรเรียนทั้งหมด. บทว่า น จ สพฺพํ ปโยชเย ความว่าไม่ควรประกอบใช้มนต์ชั้นต่ํา หรือศิลปะชั้นกลาง ควรประกอบใช้แต่ชั้นสูงเท่านั้น. บทว่า ยตฺถ อตฺถําวหํ สุตํ ความว่า ศิลปะที่ได้ศึกษาแล้วชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่นการปั้นหม้อของมโหสถบัณฑิตย่อมนําประโยชน์มาให้ในกาลใด กาลแม้นั้นย่อมจะมีทีเดียว.

ในกาลต่อมา เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว พระกุมารก็ได้ดํารงอยู่ในราชสมบัติ.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชากว่า ก็อาจารย์ทิศาปาโมกข์ในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามูสิกชาดกที่ ๓