พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. เนรุชาดก ว่าด้วยอานุภาพของเนรุบรรพต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35835
อ่าน  532

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 45

๔. เนรุชาดก

ว่าด้วยอานุภาพของเนรุบรรพต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 45

๔. เนรุชาดก

ว่าด้วยอานุภาพของเนรุบรรพต

[๘๔๙] กาป่าก็ดี ฝูงกาธรรมดาก็ดี และพวกเรา ผู้ประเสริฐกว่านกทั้งหลายก็ดี มาถึงภูเขาลูกนี้แล้ว เป็นเหมือนกันหมด คือ มีสีเหมือนกันหมด.

[๘๕๐] ทั้งสิงห์โต ทั้งเสือ ทั้งนก หมาไน ก็เป็นเหมือนกันหมด ภูเขานี้ชื่ออะไร?

[๘๕๑] คนทั้งหลาย รู้จักภูเขาลูกนี้ว่า ชื่อว่า เนรุ เป็นภูเขาชั้นยอด ของภูเขาทั้งหลาย สัตว์ทุกชนิด อยู่ในภูเขานี้ สีสวยหมด.

[๘๕๒] ณ ที่ใด มีแต่ความไม่นับถือกัน การดูหมิ่น สัตบุรุษ หรือการนับถือคนเลว ณ ที่นั้น คนมีอำนาจไม่ควรอยู่.

[๘๕๓] แต่ในภูเขาใด เขาบูชาทั้งคนเกียจคร้าน ทั้งคนขยัน คนกล้าหาญ ทั้งคนขลาด สัตบุรุษ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 46

ทั้งหลาย จะไม่อยู่บนภูเขานั้น ที่ไม่ทำให้แตกต่างกัน.

[๘๕๔] เขาเนรุนี้ จะไม่คบคนที่เลว คนชั้นสูง แต่คนขนาดกลาง เขาเนรุทำให้สัตว์ ไม่แตก ต่างกัน เชิญเถิดพวกเรา จะละทิ้ง เขาเนรุนั้นเสีย.

จบ เนรุชาดกที่ ๔

อรรถกถาเนรุชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปใด รูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กาโกลา กากสงฺฆา จ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้น เรียนพระกัมมัฏฐาน ในสำนักของพระศาสดา แล้วได้ไปยังหมู่บ้านชนบท ตำบลหนึ่ง. คนทั้งหลายเลื่อมใส ในอิริยาบถของท่าน ให้ท่านฉันแล้ว รับปฏิญญาท่าน สร้างบรรณศาลาในป่า ให้ท่านอยู่ที่บรรณศาลานั้น และพากันถวายสักการะท่าน อย่างเหลือเฟือ. ครั้งนั้น ภิกษุอื่น ซึ่งเป็นพวกสัตตวาทะได้มา ณ ที่นั้น. คนเหล่านั้น ได้ฟังคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว พากันสละเถรวาททิ้ง เชื่อ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 47

ถือสัสสตวาท ถวายสักการะท่านเหล่านั้น เท่านั้น. ต่อมาพวกอุจเฉทวาท มา. พวกเขาก็พากันสละสัสสตวาททิ้ง เชื่อถืออุจเฉทวาท. ต่อมาพวกอื่น ที่เป็นอเจลกวาทมา. พวกเขาก็พากันสละอุจเฉทวาททิ้ง เธอถือ อเจลกวาท. ท่านอยู่อย่างไม่สบาย ในสำนักของพวกคนเหล่านั้น ผู้ไม่รู้จักคุณ และมิใช่คุณ ออกพรรษาปวารนาแล้ว จึงไปยังสำนักของพระศาสดา เป็นผู้ที่พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารแล้ว เมื่อพระองค์ ตรัสถามว่า เธอจำพรรษาที่ไหน? ทูลว่า อาศัยหมู่บ้านชายแดน พระเจ้าข้า. ถูกตรัสถามว่า อยู่สบายดีหรือ? จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ อยู่อย่างเป็นทุกข์ ในสำนักของผู้ไม่รู้คุณ และไม่ใช่คุณ. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บัณฑิตทั้งหลาย ในสมัยก่อน แม้เกิดในกำเนิดเดียรฉาน แม้เพียงวันเดียว ก็ไม่อยู่กับคนทั้งหลายผู้ไม่รู้คุณ และมิใช่คุณ เหตุไฉน เธอจึงอยู่ในสำนักของคน ที่ไม่รู้จักคุณ และมิใช่คุณของตน. ทรงเป็นผู้ที่ภิกษุนั้น ทูลอ้อนวอน จึงทรงนำเอาเรื่อง ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดสุวรรณหงส์ แม้พี่ๆ น้องๆ ของเขาก็มี. พวกเขาพากันอยู่ที่เขาจิตกูฏ จิกกินข้าวสาลีที่เกิดเอง ในท้องที่หิมพานต์. อยู่มาวันหนึ่ง พวกเขาพากันเที่ยวไป ในท้องถิ่นหิมพานต์นั้น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 48

แล้วกำลังกลับมายังเขาจิตกูฏ เห็นภูเขาทองลูกหนึ่ง ชื่อว่า เนรุ ในระหว่างทาง จึงได้พากันเกาะอยู่บนยอดเขานั้น. แต่สัตว์ที่อาศัยอยู่ภูเขานั้น มีทั้งนก ทั้งกระต่าย แต่สัตว์ ๔ เท้านานาชนิด ในทำเลหากิน ตั้งแต่เวลาเข้าไปสู่ภูเขา จะกลายเป็นมีสีเหมือนทอง เพราะต้องแสงภูเขานั้น. พวกสุวรรณหงส์ พากันเห็นแล้ว น้องสุดท้องของพระโพธิสัตว์ ไม่รู้เหตุนั้น สงสัยว่า นั่นเป็นเหตุอะไรหนอ? เมื่อจะสนทนากับพี่ชาย จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

กาป่าก็ดี ฝูงกาธรรมดาก็ดี และพวกเราผู้ประเสริฐกว่า นกทั้งหลายก็ดี มาถึงภูเขานี้แล้ว เป็นเหมือนกันหมด ทั้งสิงห์โต ทั้งเสือ ทั้งนก ทั้งหมาไน ก็เป็นเหมือนกันหมด ภูเขานี้ชื่ออะไร?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาโกลา ได้แก่ กาป่า นกกาเหว่า. บทว่า กากสงฺฆา ความว่า หรือฝูงกาปกติ. บทว่า ปตฺตํ วรา ความว่า ประเสริฐสุดกว่านกทั้งหลาย. บทว่า สทิสา โหม ความว่า เป็นผู้มีสีเหมือนกัน.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 49

คนทั้งหลาย รู้จักภูเขาลูกนี้ว่า ชื่อว่า เนรุ เป็นภูเขาชั้นยอดกว่าภูเขาทั้งหลาย สัตว์ทุกชนิดอยู่ในภูเขานี้ สีสวยหมด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ วณฺเณน ความว่า สัตว์ทั้งหลายในเนรุบรรพตนี้ เป็นผู้มีสีสวย เพราะรัศมีภูเขา.

น้องชายได้ยินคำนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

ณ ที่ใด มีแต่ความไม่นับถือกัน การดูหมิ่นสัตบุรุษ หรือการนับถือคนเลว ณ ที่นั้น คนมีอำนาจไม่ควรอยู่. แต่ในที่ใดเขาบูชา ทั้งคนเกียจคร้าน ทั้งคนขยัน ทั้งคนกล้าหาญ ทั้งคนขลาด สัตบุรุษทั้งหลาย จะไปอยู่ในที่นั้น ที่ไม่ทำให้ไม่แปลกกัน. เขาเนรุนี้ จะไม่คบคนที่เลว คนชั้นสูง และคนขนาดกลาง เขาเนรุทำให้สัตว์ ไม่แตกต่างกัน เชิญเถิด พวกเราจะละทิ้ง เขาเนรุนั้นเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น คาถาที่หนึ่ง มีเนื้อความว่า ณ ที่ใดมีทั้งการไม่นับถือ ทั้งการดูหมิ่น หรือการปราศจากความนับถือ ด้วยอำนาจ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 50

การดูหมิ่น เพราะไม่มีความนับถือ สัตบุรุษ คือ บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล หรือมีการนับถือคนเลว หรือคนทุศีล ที่นั้นผู้มีอำนาจ ไม่ควรอยู่. บทว่า ปูชิยา ความว่า คนเหล่านี้ เป็นผู้ที่เขาบูชาแล้ว ด้วยการบูชา ที่เป็นเช่นเดียวกัน คือได้สักการะเสมอกัน ในที่นั้น. บทว่า หีนฺมุกฺกฏฺมชฺฌิเม ความว่า ผู้นี้จะไม่คบทั้งคนเลว ทั้งคนปานกลาง และคนชั้นสูง โดยชาติ โคตร ตระกูล ท้องถิ่น ศีล อาจาระ และญาณ เป็นต้น. ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาต ใช้ในอรรถแห่งอุปสรรค. บทว่า ชหามเส ความว่า ย่อมสลัดทิ้ง.

ก็แลหงส์ทั้ง ๒ ตัวนั้น ครั้นพูดกันอย่างนี้แล้ว ได้พากันบินไป ยังเขาจิตกูฏ นั่นเอง.

พระศาสดาครั้นทรงนำ พระธรรมเทศนานี้ มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะแล้ว ทรงประชุมชาดกไว้. ในที่สุดแห่งสัจจะ ภิกษุนั้นได้ดำรงอยู่ ในโสดาปัตติผล. หงส์ตัวน้องในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนหงส์ตัวพี่ คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา เนรุชาดกที่ ๔