พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. มิคาโลปชาดก ว่าด้วยโทษของคนหัวดื้อ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35837
อ่าน  438

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 65

๖. มิคาโลปชาดก

ว่าด้วยโทษของคนหัวดื้อ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 65

๖. มิคาโลปชาดก

ว่าด้วยโทษของคนหัวดื้อ

[๘๖๓] ดูก่อนพ่อมิคาโลปะ พ่อไม่มีความพอใจ ที่เจ้าบินไปอย่างนั้น ลูกเอ๋ยเจ้าบินสูงมาก เจ้าคบหาที่ไม่ใช่ถิ่นลูกเอ๋ย.

[๘๖๔] แผ่นดินปรากฏแก่เจ้า เป็นเสมือนนาแปลงสี่เหลี่ยม เมื่อใด เมื่อนั้นเจ้าจงกลับลงมา อย่าบินเลยนี้ขึ้นไป.

[๘๖๕] นกแม้เหล่าอื่น ที่มีปีกเป็นยานพาหนะ บินไปในอากาศมีอยู่ พวกมันถูกกำลังแรงของลมพัดไป สำคัญตนว่า เป็นเสมือนสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย ได้พินาศไปแล้วมากต่อมาก.

[๘๖๖] แร้งมิคาโลปะ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของแร้ง แต่ชื่อ อปรัณผู้เป็นพ่อ บินเลยลมกาลวาตไป ตกอยู่ในอำนาจของลมเวรัมภวาต.

[๘๖๗] เมื่อแร้งมิคาโลปะ ไม่ปฏิบัติตามโอวาท ทั้งลูกทั้งเมียของมัน และแร้งอื่นๆ ที่เป็นลูก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 66

น้องทั้งหมด ถึงความพินาศแล้ว.

[๘๖๘] ผู้ไม่สำนึกถึงคำสอนของผู้เฒ่าทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประพฤติเลยขอบเขตก็ เดือดร้อน ทุกคนไม่ปฏิบัติ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จะถึงความพินาศเหมือนแร้ง ที่ฝ่าฝืนคำสอนของพ่อ ฉะนั้น.

จบ มิคาโลปชาดกที่ ๖

อรรถกถามิคาโลปชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า น เม รุจิ ดังนี้.

ครั้งนั้น พระศาสดาได้ตรัสเรียกภิกษุนั้นมา แล้วตรัสถามว่า จริงหรือภิกษุ ได้ทราบว่า เธอเป็นผู้ว่ายาก? เมื่อเธอทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่ใช่บัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน เธอก็เป็นคนว่ายากเหมือนกัน. ก็เพราะอาศัยความเป็นผู้ว่ายาก เธอไม่เชื่อฟัง คำของบัณฑิตทั้งหลาย จึงถึงความย่อยยับ ในช่องทางของลมเวรัมภะ คือ ลมงวง. แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในกำเนิดแร้ง ได้มีชื่อว่า แร้งอปรัณ มันมี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 67

หมู่แร้ง ห้อมล้อมอาศัยอยู่บนเขา คิชฌกูฏ. ส่วนลูกของมันชื่อ มิคาโลปะ มีกำลังสมบูรณ์. มันบินสูงมาก เลยแดนของแร้งตัวอื่นๆ ไป แร้งทั้งหลาย บอกแก่พระยาแร้งว่า ลูกของท่านบินไปไกลเหลือเกิน. แร้งอปรัณได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงเรียกลูกมาถามว่า ลูกเอ๋ย ได้ยินว่า เจ้าบินสูงมาก ผู้บินสูงมาก จักถึงความสิ้นชีวิต แล้วได้กล่าวคาถา ๓ คาถาไว้ว่า :-

ดูก่อนพ่อมิคาโลปะ พ่อไม่มีความพอใจ ที่เจ้าบินไปอย่างนั้น ลูกเอ๋ยเจ้าบินสูงมาก เจ้า คบหาที่ไม่ใช่ถิ่นลูกเอ๋ย. แผ่นดินปรากฏแก่เจ้า เป็นเสมือนนาแปลงสี่เหลี่ยม เมื่อใด เมื่อนั้นเจ้าจงกลับลงมา อย่าบินเลยนี้ขึ้นไป. นกแม้เหล่าอื่น ที่มีปีกเป็นยานพาหนะ บินไปในอากาศมีอยู่ พวกมันถูกกำลังแรงของลมพัดไป สำคัญตนว่า เป็นเสมือนสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย ได้พินาศไปแล้วมากต่อมาก.

พึงทราบวินิจฉัย ในบทเหล่านั้น แร้งพ่อเรียกลูกโดยชื่อว่า มิคโลปะ. บทว่า อตุจฺจํ ตาต คจฺฉสิ ความว่า ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าบินสูง จนเลยแดนของแร้งเหล่าอื่น. แร้งพ่อบอกแดนแก่ลูก ด้วยคำนี้ว่า จตุกฺกณฺณํว เกทารํ คือ เหมือนนาแปลงสี่เหลี่ยม. มีอธิบายไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 68

ลูกเอ๋ย เมื่อผืนแผ่นดินใหญ่นี้ เป็นเสมือนนา แปลงสี่เหลี่ยมสำหรับเจ้า คือ ปรากฏเป็นเหมือนขนาดเล็กอย่างนั้น เมื่อนั้นเจ้าควรกลับ จากที่ประมาณเท่านี้ อย่าไปเลยนี้. บทว่า สนฺติ อญฺเปิ เป็นต้น ความว่า แร้งพ่อแสดงว่า ไม่ใช่เจ้าตัวเดียวเท่านั้นไม่ไป แม้แร้งตัวอื่นๆ ก็ทำอย่างนี้มาแล้ว. บทว่า อุกฺขิตฺตา ความว่า แม้พวกเขาบินเลยแดนของพวกเราไป ถูกแรงลมตีสาบสูญไปแล้ว. บทว่า สสฺสตีสมา มีอธิบายว่า พวกมันสำคัญตนว่า เป็นผู้เสมอด้วยแผ่นดิน และภูเขาทั้งหลาย ที่ยั่งยืน แม้อายุของตนมีประมาณพันปี ยังไม่เต็มบริบูรณ์ ก็พินาศไปแล้ว ในระหว่าง.

ฝ่ายมิคาโลปะไม่ทำตามโอวาท ไม่เชื่อฟังคำพ่อ บินทะยานขึ้น เห็นเขตแดนตามที่พ่อบอกไว้แล้ว แต่ก็บินเลยเขตแดนนั้นไป ให้ลมกาลวาต สิ้นไปทะลุลมแม้เหล่านั้น แล่นเข้าสู่ปากทางลมเวรัมภวาต. จึงถูกเวรัมภวาตตีมัน. มันเพียงแต่ถูกลมเหล่านั้น ก็แหลกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย อันตรธานไปในอากาศนั่นเอง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า:-

แร้งมิคาโลปะ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ของแร้งแก่ ชื่อ อปรัณ ผู้เป็นพ่อ บินเลยลมกาลวาต ไป ตกอยู่ในอำนาจของลมเวรัมภวาต. เมื่อแร้งมิคาโลปะ ไม่ปฏิบัติตามโอวาท ทั้งลูกทั้งเมีย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 69

ของมัน และแร้งอื่นๆ ที่เป็นลูกน้องทั้งหมด ถึงความพินาศแล้ว. ผู้ไม่สำนึกถึงคำสอน ของผู้ เฒ่าทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประพฤติเลยขอบเขต ก็เดือดร้อนทุกคน ไม่ปฏิบัติตามคำ สอนของพระพุทธเจ้า จะถึงความพินาศ เหมือนแร้งที่ฝ่าฝืน คำสอนของพ่อ ฉะนั้น.

๓ คาถานี้ เป็นพระคาถาของท่านผู้รู้ยิ่งแล้ว

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุชีวิโน ได้แก่ แร้งทั้งหลาย ที่อาศัยแร้งมิคาโลปะนั้น เกิดภายหลัง. บทว่า อโนวาทเร ทิเช ความว่า เมื่อแร้งมิคาโลปะ แม้นั้น ไม่ทำตามโอวาท แร้งเหล่านั้น บินไปกับแร้งมิคาโลปะนั้น เลยเขตแดนไป พากันถึงความพินาศทั้งหมด. บทว่า เอวมฺปิ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แร้งนั้น ถึงความพินาศแล้วฉันใด แม้ผู้ใดใครอื่น จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่เชื่อถือ พระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ทรงอนุ- เคราะห์ ด้วยประโยชน์เกื้อกูล แม้ผู้นั้น ก็จะถึงความพินาศ เหมือนแร้งตัวนี้ ที่เที่ยวไปเลยเขตแดน เป็นผู้เดือดร้อน คือลำบากแล้ว ฉะนั้น.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ประกาศสัจธรรมแล้ว ทรงประมวลชาดกไว้ว่า แร้งมิคาโลปะ ได้แก่ ภิกษุผู้ว่ายาก ส่วนแร้งอปรัณ ได้แก่ เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบอรรถกถา มิคาโลปชาดกที่ ๖