พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. กุกกุฏชาดก ว่าด้วยผลของการไม่เชื่อง่าย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35839
อ่าน  596

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 90

๘. กุกกุฏชาดก

ว่าด้วยผลของการไม่เชื่อง่าย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 90

๘. กุกกุฏชาดก

ว่าด้วยผลของการไม่เชื่อง่าย

[๘๘๖] ดูก่อนพ่อนกน้อยสีแดง ผู้ปกคลุมด้วย ขนที่สวยงาม เจ้าจงลงมาจากกิ่งไม้เถิด เราจะเป็นภรรยาของท่านเปล่าๆ.

[๘๘๗] เจ้าเป็นสัตว์ ๔ เท้าที่สวยงาม ส่วนฉันเป็นสัตว์ ๒ เท้า เนื้อกับนกจะร่วมกันไม่ได้ ในอารมณ์เป็นที่รื่นรมย์ใจ เจ้าจงไปแสวงหา ผู้อื่นเป็นสามีเถิด.

[๘๘๘] ฉันจักเป็นภรรยาสาว ผู้สวยงาม ร้องไพเราะของคุณ คุณจะพบฉัน ผู้เป็นพรหมจารินี ที่สวยงาม ด้วยการเสวยอารมณ์อย่างดี คือ สุขเวทนา.

[๘๘๙] ดูก่อนเจ้าผู้กินซากศพ ผู้ดื่มโลหิต ผู้เป็นโจรปล้นไก่ เจ้าไม่ต้องการให้ฉันเป็นผัว ด้วยการเสวยอารมณ์อย่างดี คือ สุขเวทนา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 91

[๘๙๐] หญิง ๔ คน เห็นนรชนผู้ประเสริฐ แม้อย่างนี้แล้ว ชักนำด้วยวาจาอ่อนหวาน เหมือน นางแมวชักนำไก่ ฉะนั้น.

[๘๙๑] ก็ผู้ใดรู้ไม่เท่าทันเหตุ ที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้น จะตกอยู่ในอำนาจของศัตรู และเดือดร้อนภายหลัง.

[๘๙๒] ส่วนผู้ใดรู้ทันเหตุ ที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้น จะพ้นจากเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่ พ้นจากนางแมว ฉะนั้น.

จบ กุกกุฏชาดกที่ ๘

อรรถกถากุกกุฏชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า สุจิตฺตปตฺตจฺฉาทน ดังนี้

ความย่อว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า เหตุไฉน? เธอจึงกระสันอยากสึก. เมื่อเธอทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ เห็นหญิงคนหนึ่ง ผู้ประดับประดา ตกแต่งตัวแล้ว จึงกระสันอยากสึก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 92

ด้วยอำนาจกิเลสดังนี้. แล้วตรัสว่า ธรรมดาผู้หญิงลวง ให้ชายลุ่มหลง แล้วให้ถึงความพินาศ ในเวลาชาย ตกอยู่ในอำนาจของตน เป็นเหมือนแมวตัวเหลวไหล แล้วได้ทรงนิ่ง. เมื่อถูกภิกษุนั้น ทูลอ้อนวอน จึงทรงนำเอาเรื่อง ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในกำเนิดไก่ในป่า มีไก่หลายร้อยตัว เป็นบริวารอยู่ในป่า. ฝ่ายนางแมวตัวหนึ่ง ก็อาศัยอยู่ในที่ไม่ไกลพระโพธิสัตว์นั้น. มันใช้อุบายลวงกินไก่ที่เหลือ เว้นแต่ไก่โพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ไม่ไปสู่ป่าชัฏของมัน. มันคิดว่า ไก่ตัวนี้อวดดีเหลือเกิน ไม่รู้ว่าเรา เป็นผู้โอ้อวด และเป็นผู้ฉลาด ในอุบาย เราควรจะเล้าโลมไก่ตัวนี้ ว่าจักเป็นภรรยาของมัน แล้วกินในเวลามัน ตกอยู่ในอำนาจของตน. มัน จึงไปยังควงไม้ ที่ไก่นั้นเกาะอยู่ เมื่อขอร้องไก่นั้น ด้วยวาจา ที่มีภาษิต สรรเสริญนำหน้า จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ดูก่อนพ่อนกน้อยสีแดง ผู้ปกคลุมด้วยขนที่สวยงาม เจ้าจงลงมาจากกิ่งไม้เถิด เราจะเป็นภรรยาของท่านเปล่าๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุจิตฺตปตฺตจฺฉาทน ความว่า ผู้มีเครื่องห่อหุ้ม ที่ทำด้วยขนอันสวยงาม. บทว่า มุธา ความว่า เราจะเป็นภรรยาของท่าน โดยปราศจากมูลค่า คือ โดยไม่รับเอาอะไรเลย.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 93

พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้ว คิดว่า แมวตัวนี้ กัดกินญาติของ เราหมดไปแล้ว บัดนี้มันประสงค์ จะล่อลวงกินเรา. เราจักขับส่งมันไป แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

เจ้าเป็นสัตว์ ๔ เท้าที่สวยงาม ส่วนฉันเป็นสัตว์ ๒ เท้า เนื้อกับนก จะร่วมกันไม่ได้ ในอารมณ์ เป็นที่รื่นรมย์ใจ เจ้าจงไปแสวงหาผู้อื่น เป็นสามีเถิด.

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถานั้นต่อไป พระโพธิสัตว์กล่าวว่า มิคี หมายเอา แมว. ด้วยบทว่า อสํยุตฺตา พระโพธิสัตว์แสดงว่า แมวกับไก่ ร่วมกันไม่ได้ สัมพันธ์กันไม่ได้ เพื่อเป็นผัวเมียกัน สัตว์ทั้ง ๒ เหล่านั้น ไม่มีความสัมพันธ์เช่นนี้.

นางแมวนั้น ได้ฟังคำนั้นแล้ว ลำดับนั้น จึงคิดว่า ไก่ตัวนี้ โอ้อวดเหลือเกิน เราจักใช้อุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง ลวงกินมันให้ได้. แล้วได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ฉันจักเป็นภรรยาสาว ผู้สวยงาม ร้องไพเราะเพื่อคุณ คุณจะพบฉัน ผู้เป็นพรหมจารินี ที่สวยงาม ด้วยการเสวยอารมณ์อย่างดี คือ สุขเวทนา.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 94

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถานั้น ด้วยบทว่า โกมาริกา นางแมว กล่าวว่า ฉันไม่รู้จักชายอื่น ตลอดเวลานี้ ฉันจักเป็นภรรยาสาวของคุณ. บทว่า มญฺชุกา ปิยภาณินี ความว่า เราจักเป็นผู้มีถ้อยคำไพเราะ พูดคำน่ารักเป็นปกติ ต่อคุณทีเดียว. บทว่า วินฺท มํ ความว่า คุณจะกลับได้ฉัน. บทว่า อริเยน เวเทน ความว่า ด้วยการกลับได้ที่ดี. นางแมวพูดว่า เพราะว่าฉันเอง ก่อนแต่นี้ ไม่รู้จักสัมผัสตัวผู้ ถึงคุณก็ยังไม่รู้จัก การสัมผัสตัวเมีย ฉะนั้น คุณจะได้ฉัน ผู้เป็นพรหมจารินีตามปกติ ด้วยการได้ที่ไม่มีโทษ คุณต้องการฉัน ถ้าไม่เชื่อถ้อยคำของฉัน ก็ให้ตีกลองประกาศ ในนครพาราณสีชั่ว ๑๒ โยชน์ว่า นางแมวนี้ เป็นทาสของฉัน คุณจงรับฉัน ให้เป็นทาสของตนเถิด.

พระโพธิสัตว์ได้ยินคำนั้นแล้ว ถัดนั้นไป ก็คิดว่า ควรที่เราจะขู่แมวตัวนี้ ให้หนีไปเสีย แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

ดูก่อนเจ้าผู้กินซากศพ ผู้ดื่มโลหิต ผู้เป็นโจรปล้นไก่ เจ้าไม่ต้องการ ให้ฉันเป็นผัว ด้วยการเสวยอารมณ์ที่ดี คือ สุขเวทนา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตวํ อริเยน ความว่า พระโพธิสัตว์ กล่าวว่า เจ้าไม่ประสงค์ให้ข้าเป็นผัว ด้วยลาภที่ประเสริฐ คือ การอยู่ประพฤติเหมือนพรหม แต่เจ้าต้องการลวงกินฉัน. ดูก่อนเจ้า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 95

ผู้ลามก เจ้าจงฉิบหาย ดังนี้แล้ว ให้แมวนั้น หนีไปแล้ว.

ส่วนแมวนั้น หนีไปแล้ว ไม่อาจแม้เพื่อจะมองดูอีก เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงได้ตรัส อภิสัมพุทธคาถาเหล่านี้ ว่า :-

หญิง ๔ คน เห็นนรชนผู้ประเสริฐ แม้อย่างนี้แล้ว ชักนำด้วยวาจาอ่อนหวาน เหมือนนางแมวชักนำไก่ ฉะนั้น. ก็ผู้ใดรู้ไม่เท่าทันเหตุ ที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้นจะตกอยู่ในอำนาจของศัตรู และจะเดือดร้อนภายหลัง. ส่วนผู้ใดรู้ทันเหตุ ที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน. ผู้นั้น จะพ้นจากการเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากนางแมว ฉะนั้น.

คาถาเหล่านี้ เป็นพระคาถาของท่านผู้รู้ยิ่งแล้ว คือ คาถาของท่านผู้ตรัสรู้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุรา คือ ผู้ประกอบหญิงจำนวน ๔ คน. บทว่า นารี ได้แก่ หญิงทั้งหลาย. บทว่า เนนฺติ ความว่า นำเข้าไปสู่อำนาจของตน. บทว่า วิลารี วิย ความว่า นางแมวนั้น พยายามชักนำไก่นั้น ฉันใด หญิงเหล่าอื่น ก็ชักนำภิกษุนั้น ฉันนั้น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 96

เหมือนกัน. บทว่า อุปฺปติตํ อตฺถํ ความว่า เหตุการณ์บางอย่าง นั่นเอง ที่เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า น พุชฺฌติ ความว่า ไม่รู้ตามสภาพความจริง และจะเดือดร้อนภายหลัง. บทว่า กุกฺกุโฏว มีเนื้อความว่า ภิกษุนั้น พ้นจากการเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่ตัวที่ถึงพร้อม ด้วยความรู้ พ้นจากแมว ฉะนั้น.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม ประมวลชาดกไว้. ในที่สุดแห่งสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึก ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล ก็พระยาไก่ในครั้งนั้น ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา กุกกุฏชาดกที่ ๘