พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ธัมมัทธชชาดก ว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทําอย่างหนึ่ง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ส.ค. 2564
หมายเลข  35840
อ่าน  428

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 97

๙. ธัมมัทธชชาดก

ว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทําอย่างหนึ่ง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 97

๙. ธัมมัทธชชาดก

ว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง

[๘๙๓] ดูก่อนญาติทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงพากันประพฤติธรรม เธอทั้งหลาย จงพากันประพฤติธรรม ความเจริญจักมีแก่พวกเธอ เพราะว่ามีผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งใน โลกนี้ และโลกหน้า.

[๘๙๔] จำเริญหนอ นกตัวนี้ นกผู้ประพฤติธรรม ยืนขาเดียว พร่ำสอนธรรมอย่างเดียว.

[๘๙๕] กาตัวนั้น ไม่มีศีล สูเจ้าทั้งหลาย จงรู้ไว้เถิด เพราะไม่รู้ จึงพากันสรรเสริญมัน มันกิน ทั้งไข่ทั้งลูกอ่อน แล้วพูดว่า ธรรมๆ.

[๘๙๖] มันพูดอย่างหนึ่ง ด้วยวาจา แต่ทำอย่างหนึ่งด้วยกาย พูดแต่ปากไม่ทำด้วยกาย ไม่ตั้ง อยู่ในธรรมนั้น.

[๘๙๗] มันเป็นผู้อ่อนหวานทางวาจา แต่เป็นผู้มีใจร้ายกาจ คือ ปากปราศรัย แต่หัวใจเชือดคอ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 98

มันเป็นผู้ยกธรรมขึ้นเป็นธงชัย ซ่อนตัวไว้ เหมือนงูเห่าหม้อ ซ่อนตัวอาศัยอยู่ในรู ฉะนั้น. กาตัวนี้ ถูกสมมติว่า เป็นสัตว์ในบ้าน และนิคมทั้งหลาย คนโง่รู้ได้ยาก

[๘๙๘] สูเจ้าทั้งหลาย จงใช้จะงอยปาก ปีก และเท้า จิกตีกาตัวนี้ สูเจ้าทั้งหลาย จงให้กาชั่วตัวนี้พินาศ กาตัวนี้ไม่ควรอยู่ร่วม.

จบ ธัมมัทธชชาดกที่ ๙

อรรถกถาธัมมัทธชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ผู้โกหกรูปหนึ่งแล้ว จึงได้ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ธมฺมํ จรถ าตโย ดังนี้.

ความย่อว่า ในครั้งนั้นพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ ไม่ใช่โกหกเฉพาะในบัดนี้ เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ก็โกหกเหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีต มาสาธก ดังต่อไปนี้:-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ เกิดในกำเนิดนก เติบโตแล้ว มีฝูงนกห้อมล้อม อาศัยอยู่ที่เกาะกลางมหาสมุทร. ครั้งนั้น พ่อค้าชาวกาสิกรัฐ กลุ่มหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 99

พากันแล่นเรือไปยังมหาสมุทร โดยเอากาบอกทิศไปด้วย. เรือแตกท่ามกลางมหาสมุทร. กาบอกทิศนั้น ไปถึงเกาะนั้นแล้ว คิดว่า นกฝูงนี้ เป็นฝูงใหญ่ เราควรทำการโกหก แล้วกินไข่ และลูกอ่อนของนกฝูงนี้อร่อยๆ. มันบินร่อนลงแล้ว ยืนขาเดียวอ้าปาก อยู่ที่พื้นดินท่ามกลางฝูงนก. มัน ถูกนกทั้งหลาย ถามว่า ท่านเป็นใคร ครับนาย? ก็บอกว่า ฉันเป็นผู้ประพฤติธรรม.

นก. เหตุไฉน ท่านจึงยืนขาเดียว?

กา. เมื่อฉันเหยียบ ๒ ขา แผ่นดินก็ไม่สามารถจะทนทานได้.

นก. เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไฉน ท่านจึงยืนอ้าปาก?

กา. ฉันไม่กินอาหารอื่น กินแต่ลมเท่านั้น.

ก็แล ครั้นมันตอบอย่างนั้นแล้ว จึงเรียกนกเหล่านั้น มาเตือนว่า ฉันจักให้โอวาทเธอทั้งหลาย ขอจงพากันมาฟังโอวาทนั้น แล้วได้กล่าวคาถาที่ ๑ เป็นการให้โอวาทนกเหล่านั้นว่า :-

ดูก่อนญาติทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงพากันประพฤติธรรม เธอทั้งหลาย จงพากันประพฤติธรรม ความเจริญจักมีแก่พวกเธอ เพราะว่าผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 100

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมํ จรถ ความว่า เธอทั้งหลาย จงพากันประพฤติธรรม แยกประเภท เป็นกายทุจริต เป็นต้น. กาบอก ทิศเรียกนกเหล่านั้นว่า ญาติทั้งหลาย. บทว่า ธมฺมํ จรถ ภทฺทํ โว ความว่า เธอทั้งหลาย อย่าพากันย่อท้อ จงประพฤติธรรมบ่อยๆ เถิด ความเจริญจักมีแก่เธอทั้งหลาย. คำว่า สุขํ เสติ นี้ เป็นเพียงหัวข้อเทศนา. กานั้นแสดงว่า ผู้ประพฤติธรรม ยืน นั่ง เดิน นอน ก็เป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นสุขทุกอิริยาบถ.

นกทั้งหลายไม่รู้ว่า กาตัวนี้ พูดอย่างนี้ เพื่อจะโกหกกินไข่นก. เมื่อจะพรรณนาความทุศีลนั้น จึงได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

จำเริญหนอ นกตัวนี้ นกผู้ประพฤติธรรม ยืนขาเดียว พร่ำสอนธรรมอย่างเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมเมว ได้แก่ สภาวธรรม นั่นเอง. บทว่า อนุสาสติ ได้แก่ บอกสอน.

นกทั้งหลาย เชื่อฟังกาทุศีลนั้นแล้ว บอกว่า นายครับ ได้ทราบว่า ท่านไม่หาเหยื่ออย่างอื่น กินลมเท่านั้น ถ้ากระนั้น ขอให้ท่านคอยดูไข่ และลูกอ่อนของพวกฉันด้วย แล้วไปหาเหยื่อกัน. กาลามกตัวนั้น เวลานกเหล่านั้นไปแล้ว ก็จิกกินไข่ และลูกอ่อนขอนกเหล่านั้น เต็มท้อง แต่เวลานกเหล่านั้น กลับมา ก็สงบเสงี่ยมยืนขาเดียวอ้าปากอยู่ นกทั้ง-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 101

หลายมาแล้ว ไม่เห็นลูกน้อยของตน. ร้องดังลั่นว่า ใครหนอกินลูกเรา ไม่ทำแม้ความสงสัย ในกาตัวนั้น เพราะคิดว่า กาตัวนี้ประพฤติธรรม. อยู่มาวันหนึ่ง พระมหาสัตว์คิดว่า เมื่อก่อนที่นี่ ไม่มีอันตรายอะไร จำเดิม แต่กาตัวนี้มาแล้ว อันตรายจึงเกิด เราควรซุ่มจับกาตัวนี้. พระมหาสัตว์นั้นทำเหมือนไปหาเหยื่อ กับนกทั้งหลาย แต่ก็กลับมาเกาะอยู่ในที่กำบัง. ฝ่ายกาเข้าใจว่า นกทั้งหลายไปแล้ว ไม่มีความสงสัยลุกไปหากินไข่นก และลูกอ่อน แล้วกลับมายืนขาเดียวอ้าปากอยู่. พระยานก เมื่อนกทั้งหลายมาแล้ว จึงเรียกให้ฝูงนกทั้งหมด มาประชุมกันเตือนฝูงนกว่า วันนี้ ฉันซุ่มจับอันตรายของลูกสูเจ้าทั้งหลาย ได้เห็นกาลามกตัวนี้ กินลูกสูเจ้าอยู่ มาเถิดสูเจ้าทั้งหลายพวกเราจงจับมันไว้ แล้วให้ล้อมกานั้นไว้ สั่งว่า ถ้าหากมันจะหนีไปไซร้ สูเจ้าทั้งหลาย จงพากันจับมันไว้. แล้วได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

กาตัวนั้นไม่มีศีล สูเจ้าทั้งหลาย จงรู้ไว้เถิด เพราะไม่รู้ จึงพากันสรรเสริญมัน. มันกินทั้งไข่ทั้งลูกอ่อน แล้วพูดว่า ธรรมๆ. มันพูดอย่างหนึ่งด้วยวาจา แต่ทำอย่างหนึ่งด้วยกาย. พูดแต่ปาก แต่ไม่ทำด้วยกาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรมนั้น. มันเป็นผู้อ่อนหวานทางวาจา แต่เป็นผู้มีใจร้ายกาจ คือ ปากปราศรัยหัวใจเชือด

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 102

คอ มันเป็นผู้ยกธรรมขึ้น เป็นธงชัย ซ่อนตัวไว้ เหมือนงูเห่าหม้อ ซ่อนตัวอาศัยอยู่ในรู ฉะนั้น. กาตัวนี้ ถูกสมมติว่า เป็นสัตว์ในบ้าน และนิคมทั้งหลาย คนโง่รู้ได้ยาก. สูเจ้าทั้งหลาย จงใช้จะงอยปาก ปีก และเท้า จิกตีกาตัวนี้. สูเจ้าทั้งหลาย จงให้กาชั่วช้าตัวนี้พินาศ กาตัวนี้ไม่ควรอยู่ร่วม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาสฺส สีลํ ความว่า มันไม่มีศีล. บทว่า อนญฺาย ความว่า ไม่รู้. บทว่า ภุตฺวา จิกกิน. บทว่า วาจาย โน จ กาเยน ความว่า เพราะว่ากาตัวนี้ประพฤติธรรม ด้วยคำพูดเท่านั้น แต่ไม่ทำด้วยกายเลย. บทว่า น ตํ ธมฺมํ อธิฏฺิโต ความว่า เพราะฉะนั้น ควรทราบมันไว้ว่า กาตัวนี้พูดธรรมอย่างใด ไม่อธิษฐานธรรม คือ ไม่ตั้งอยู่ในธรรมนั้น. บทว่า วาจาย สขิโล ความว่า เป็นผู้อ่อนโยนด้วยวาจา. บทว่า มโนปวิทุคฺโค ความว่า ถึงการรู้ทั่ว คือ ประกาศให้รู้ว่าชั่วด้วยใจ. บทว่า ปฏิจฺฉนฺโน ความว่า มันนอนอยู่ในรูใด ถูกรูนั้นปิดบังไว้. บทว่า กูปสฺสโย ความว่า มีรู เป็นที่อยู่อาศัย. บทว่า ธมฺมทฺธโช ความว่า ชื่อว่า มีธรรมเป็นธง เพราะทำสุจริตธรรมให้เป็นธงเที่ยวไป. บทว่า คามนิคมาสุ สาธุ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 103

ความว่า เป็นผู้ดี ทั้งในบ้าน ทั้งในนิคมทั้งหลาย. บทว่า สมฺมโต ความว่า ถูกยกย่องว่า เป็นผู้เจริญ. บทว่า ทุชฺชาโน ความว่า คนแบบนี้ เป็นคนทุศีล มีการงานปกปิด คนโง่ คือ ผู้ไม่รู้ไม่อาจรู้ได้. บทว่า ปาทาหิมํ ความว่า และจิกตีกาตัวนี้ ด้วยเท้าของตนๆ. บทว่า วิเหถ ความว่า จงตี. บทว่า ฉวํ ได้แก่ ลามก. บทว่า นายํ เป็นต้น ความว่า กาตัวนี้ ไม่ควรอยู่ร่วม ในที่เดียวกันกับพวกเรา ดังนี้.

ก็แล หัวหน้านก ครั้นพูดอย่างนี้แล้ว ตนเองก็โดดขึ้น ใช้จะงอยปาก จิกหัวของกานั้น. นกที่เหลือ ก็พากันใช้จะงอยปากบ้าง เล็บบ้าง แข้งบ้าง ปีกบ้าง จิกตี. มันก็ถึงความสิ้นชีวิต ณ ที่นั้นนั่นเอง.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแล้ว ทรงประมวลชาดกไว้ว่า กาโกหกในครั้งนั้น คือ ภิกษุผู้โกหกในบัดนี้ ส่วนพระยานก ได้แก่ เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบอรรถกถา ธัมมัทธชชาดกที่ ๙