พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. สุวรรณกักกฏกชาดก ว่าด้วยปูตัวฉลาด

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35847
อ่าน  402

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 150

๔. สุวรรณกักกฏกชาดก

ว่าด้วยปูตัวฉลาด


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 150

๔. สุวรรณกักกฏกชาดก

ว่าด้วยปูตัวฉลาด

[๙๒๓] มฤคสิงคี คือ ปูมีตาโปน มีกระดองแข็ง อาศัยน้ำ ไม่มีขน ฉันถูกมันหนีบ จะร้องไห้ อย่างคนที่ควรกรุณา เฮ้ย เพื่อนแกจะหนีบฉันไป เพื่อประโยชน์อะไร?

[๙๒๔] งูที่เป็นเพื่อนนั้น เมื่อจะทัดทานเพื่อนของตนไว้ จึงแผ่พังพานใหญ่ไปพลาง พ่นพิษไปพลาง ได้มาถึงตัวปู ปูก็ได้หนีบงูไว้.

[๙๒๕] ปูไม่ต้องการกินกา ไม่ต้องการกินพระยางู แต่หนีบไว้ เจ้าปูตาโปนเอ๋ย ข้าขอถามแก เหตุไรแกจึงหนีบข้าทั้ง ๒ ไว้.

[๙๒๖] ชายคนนี้ ที่จับข้านำไปที่น้ำ เป็นผู้หวังความเจริญแก่ข้า เมื่อเขาตาย ข้าจะมีความ ทุกข์หาน้อยไม่ เราทั้ง ๒ คือ ข้าและคนๆ นั้น จะไม่มี.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 151

[๙๒๗] อนึ่ง คนทุกคน เห็นข้าผู้มีร่างกายเติบโตแล้ว ต้องการเบียดเบียน คือกินเนื้อที่ทั้งอร่อย ทั้งอวบ ทั้งนุ่ม ฝ่ายกาเห็นข้าแล้ว ก็คงจะเบียดเบียน.

[๙๒๘] ถ้าหากข้าถูกหนีบ เพราะแห่งชายคนนั้นไซร้ ข้าจะดูดพิษกลับ ชายคนนี้ ลุกขึ้นได้ แกจงปล่อย ทั้งข้า ทั้งกา โดยเร็ว ก่อนที่พิษร้ายแรง จะเข้าไปสู่ชายคนนี้.

[๙๒๙] ข้าจะปล่อยงู แต่ยังไม่ปล่อยกาก่อน เพราะกาจะเป็นตัวประกันไว้ก่อน. ต่อเมื่อเห็น ชายคนนี้ มีความสุขสบายปลอดภัยแล้ว ข้าจึงจะปล่อยกาไป เหมือนปล่อยงู ฉะนั้น.

[๙๓๐] กาในครั้งนั้น ได้แก่ เทวทัตในบัดนี้ ส่วนงูเห่าหม้อ ได้แก่ ช้างนาฬาคิรี ปู ได้แก่ พระอานนท์ผู้เจริญ ส่วนตถาคตผู้เป็นศาสดา ได้แก่ พราหมณ์ ในครั้งนั้น.

จบ สุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๔

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 152

อรรถกถาสุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ การเสียสละชีพของพระอานนทเถระ เพื่อพระองค์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่ม ต้นว่า สิงฺคมิโค ดังนี้.

เรื่องแต่ต้น จนถึงการประกอบนายขมังธนู ตรัสแล้ว ในกัณฑหาลชาดก การปล่อยช้างธนบาล ตรัสไว้แล้ว ในจุลลหังสชาดก.

ความย่อว่า ในครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ตั้งเรื่องกันขึ้น ในธรรมสภาว่า พระอานนทเถระผู้เป็นคลังพระธรรม เป็นผู้บรรลุ เสขปฏิสัมภิทา เมื่อช้างธนบาลกำลังวิ่งมา ก็ได้สละชีวิตถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. พระศาสดาเสด็จมาถึงแล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวก เธอนั่งสนทนากัน ด้วยเรื่องอะไรหนอ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่บัดนี้ เท่านั้น แม้ในชาติก่อนพระอานนท์ ก็สละชีวิต เพื่อเราเหมือนกัน ดังนี้แล้ว จึงได้ทรงนำเอาเรื่อง ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล ด้านทิศอิสาณของกรุงราชคฤห์ ได้มีบ้านพราหมณ์ ชื่อว่า หลินทิยะ. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เกิดในตระกูลกาสิกพราหมณ์ ในหมู่บ้านนั้น เติบโตแล้ว ดำรงทรัพย์สมบัติไว้ ให้คนทำกสิกรรม ประมาณ ๘ หมื่น ในนา มคธแห่งหนึ่ง ด้านทิศอิสาณของหมู่บ้านนั้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 153

วันหนึ่ง เขาไปนาพร้อมกับคนทั้งหลาย ผู้เป็นบริวาร สั่งบังคับกรรมกรทั้งหลายว่า สูเจ้าทั้งหลายจงพากันทำงานเถิด แล้วเข้าไปหนองน้ำใหญ่ปลายนา เพื่อต้องการล้างหน้า. ก็แหละ ในหนองน้ำนั้น มีปูตัวหนึ่ง มีสีเหมือนสีทอง มีรูปงามน่าเลื่อมใสอาศัยอยู่. พระโพธิสัตว์เคี้ยวไม้ชำระฟันแล้ว จึงลงไปหนองน้ำนั้น ในเวลาพระโพธิสัตว์นั้น ล้างหน้า ปูได้มาใกล้พระโพธิสัตว์. ครั้งนั้น ท่านได้ยกมันขึ้นมา จับให้นอนอยู่ ในระหว่างผ้าห่มของตนแล้ว เมื่อไปทำกิจที่ตนจะต้องทำ ในนา จึงวางมันลงไป ในหนองนั้น แล้วได้ไปบ้าน. ต่อแต่นั้นมาพระโพธิสัตว์ เมื่อมาถึงนา จะไปหนองน้ำนั้นก่อน ให้ปูนอนในระหว่างผ้าห่มแล้ว จึงตรวจดูการงานภายหลัง. ด้วยประการดังนี้ ความคุ้นเคยกันระหว่าง พระโพธิสัตว์กับปูนั้น จึงได้มั่นคง. พระโพธิสัตว์ก็มานาเนืองนิตย์. ก็แหละ ประสาทในนัยน์ตาของพระโพธิสัตว์นั้น ปรากฏเป็นวงกลม ๓ ชั้น ใสแจ๋ว. ครั้งนั้น กาตัวเมียที่รังกา บนต้นตาลต้นหนึ่ง ที่ปลายนาของพระโพธิสัตว์นั้น เห็นนัยน์ตาของท่านแล้ว อยากจะกิน จึงบอกกาตัวผู้ว่า พี่ ฉันเกิดแพ้ท้องแล้ว.

กาตัวผู้ ธรรมดาการแพ้ท้องเป็นอย่างไร?

กาตัวเมีย ฉันอยากกินนัยน์ตาของพราหมณ์คนนั้น.

กาตัวผู้ แกเกิดแพ้ท้องที่เลวร้าย ใครจักสามารถ นำนัยน์ตาเหล่านั้น มาได้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 154

กาตัวเมีย เจ้าไม่สามารถหรือ?

กาตัวผู้ ข้าไม่สามารถ.

กาตัวเมีย ฉันรู้เรื่องนี้ ก็ที่จอมปลวกนั่น ในที่ไม่ไกลต้นตาล มีงูเห่าหม้ออาศัยอยู่ เจ้าจงปรนนิบัติงูเห่านั้น พราหมณ์นั้น ถูกงูนั้นกัดแล้ว จักตาย เมื่อเป็นเช่นนั้น เจ้าก็จักจิกเอานัยน์ตาของเขามาได้. กาตัวผู้รับคำว่าดีแล้ว จำเดิมแต่นั้นมา ก็ปรนนิบัติงูเห่าหม้อ. ในเวลาที่ข้าวกล้า ที่พระโพธิสัตว์หว่านไว้ตั้งท้อง ปูก็ได้เติบโตขึ้น. อยู่มาวันหนึ่ง งูพูดกะกาว่า สหายเอ๋ย ท่านปรนนิบัติเราเนืองนิตย์ เพราะเหตุอะไร. เราจะทำอะไรให้ท่านได้. กาบอกว่า นาย ทาสีของท่าน คือภรรยาของฉัน เกิดแพ้ท้อง อยากกินนัยน์ตาของเจ้าของนานั่น เรานั้นจักได้นัยน์ตาของเจ้าของนานั้น ด้วยอานุภาพของท่าน เพราะฉะนั้น เราจึงปรนนิบัติท่าน. งูบอกให้กานั้นเบาใจว่า เรื่องนี้ยกไว้เถอะ ไม่ใช่เรื่องหนักหนา ท่านจักได้แน่. ในวันรุ่งขึ้น จึงอาศัยคันนาเอาหญ้าปิดไว้ที่ทางมา นอนดูการมาของเขา. พระโพธิสัตว์ เมื่อมา จะลงไปหนองน้ำล้างหน้า ยังความเสน่หาให้เกิดขึ้น สวมกอดปูทอง ให้นอนอยู่ในระหว่างผ้าห่มก่อน แล้วจึงเข้าไปนา. งูเห็นพระโพธิสัตว์นั้นกำลังมา ก็เลื้อยไปโดยเร็ว กัดเนื้อปลีแข้ง คือ น่อง ให้ล้มลงไปในที่นั้น นั่นเอง แล้วจึงหนีไปหมาย จอมปลวกเป็นปลายทาง. การล้มของพระโพธิสัตว์ก็ดี การกระโดดออกไป จากระหว่างผ้าสาฎกของปูก็ดี การมาเกาะบนที่อกพระโพธิสัตว์

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 155

ก็ดี ได้มีไม่ก่อนไม่หลังกัน. กาเกาะแล้ว จะใช้จะงอยปากจิกนัยน์ตา. ปูคิดว่า ภัยเกิดขึ้นแก่สหายของเราแล้ว เพราะอาศัยกาตัวนี้ เมื่อเราจับกาตัวนี้ไว้ได้ งูก็จักกลับมา จึงอ้าก้ามหนีบคอกาไว้แน่น เหมือนเอาคีมคีบไว้ ให้มันล้า แล้วจึงได้ทำให้หย่อนไว้ หน่อยหนึ่ง คือ ลาก้ามลง. กาเมื่อจะเรียกงูว่า สหายเอ๋ย สหายจะทั้งเราไป เพื่อประโยชน์อะไร? ปู ตัวนี้หนีบฉัน ฉันจะยังไม่ตายจนกว่าเพื่อนจะมา จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:-

มฤคสิงคี คือ ปูมีตาโปน มีกระดองแข็ง อาศัยน้ำ ไม่มีขน ฉันถูกมันหนีบ จะร้องไห้ อย่างคนที่ควรกรุณา เฮ้ย เพื่อนแกจะหนีฉันไป เพื่อประโยชน์อะไร?

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถานั้น ดังต่อไปนี้. ปูเขาเรียกว่า สิงคมิคะ เพราะมีสีเหมือนสีทองสิงคี หรือเพราะมีเขากล่าว คือ ก้าม. บทว่า อายตจฺขุเนตฺโต ได้แก่ ประกอบด้วยตา กล่าวคือ จักษุยาว. กระดอง คือ กระดูกของปูนั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ปูนั้น จึงชื่อว่า มีกระดองแข็ง อฏฺิตฺตโจ. คำว่า หเร สขา เป็นคือร้องเรียก ความหมายว่า ดูก่อนสหายผู้เจริญ.

งูได้ฟังคำนั้นแล้ว ได้แผ่พังพานพ่นพิษร้ายมา.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 156

พระศาสดาเมื่อทรงแสดงเนื้อความนั้น ได้ตรัสอภิสัมพุทธคาถา ที่ ๒ ว่า :-

งูที่เป็นเพื่อนนั้น เมื่อจะทัดทานเพื่อนของตนไว้ จึงแผ่พังพานใหญ่ไปพลาง พ่นพิษไปพลาง ได้มาถึงตัวปู ปูก็ได้หนีบงูไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กกฺกฏกชฺฌปตฺโต ความว่า ถึงที่ใกล้ปู. บทว่า สขา สขารํ ความว่า ผู้เป็นเพื่อนจะป้องกันเพื่อนของตน. ปาฐะว่า สกขารํ ดังนี้บ้าง. ความหมายก็ว่า สหายของตน. บทว่า ปริตายมาโน ความว่า เมื่อจะรักษา. บทว่า อคฺคเหสิ ความว่า ปูเอาก้ามที่ ๒ หนีบคอไว้แน่น ภายหลังให้มันล้า แล้วจึงได้ทำให้หย่อน ลงหน่อยหนึ่ง คือลาก้ามลง.

ลำดับนั้น งูคิดว่า ธรรมดาปู จะไม่กินเนื้อกาเลย และไม่กินเนื้องูด้วย เพราะเหตุอะไรหนอ ปูตัวนี้ จึงหนีบพวกเราไว้ เมื่อจะถามปูนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ไว้ว่า :-

ปูไม่ต้องการกินกา ไม่ต้องการกินพระยางู แต่หนีบไว้ เจ้าปูตาโปนเอ๋ย ข้าขอถามเจ้า เหตุไร แกจึงหนีบข้าทั้ง ๒ ไว้?

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 157

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆาสตฺถิโก ความว่า เป็นผู้ต้องการอาหาร. บทว่า อาเทยฺย ความว่า หนีบไว้ อธิบายว่า หนีบไว้ ประกอบด้วยโภชนะก็หาไม่.

ปูได้ฟังคำนั้นแล้ว เมื่อจะบอกถึงเหตุที่หนีบไว้ จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ชายคนนี้ ที่จับข้านำไปที่น้ำ เป็นผู้หวังความเจริญแก่ข้า. เมื่อเขาตาย ข้าจะมีความทุกข์หาน้อยไม่ เราทั้ง ๒ คือ ข้าแลคนๆ นั้น จะไม่มี. อนึ่ง คนทุกคนเห็นข้า ผู้มีร่างกายเติบโตแล้ว ต้องการเบียดเบียน คือ กินเนื้อ ที่ทั้งอร่อย ทั้งอวบ ทั้งนุ่ม ฝ่ายกาเห็นฉันแล้ว คงจะเบียดเบียน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยํ บ่งถึงพระโพธิสัตว์. บทว่า อตฺถกาโม หมายความว่า มุ่งประโยชน์เกื้อกูล. ด้วยบทว่า อุทกาย เนติ ปูแสดงว่า ผู้ใดรักฉัน เอาผ้าห่มห่อฉันไปที่น้ำ คือ ให้ฉันถึงที่อยู่ของตน. บทว่า ตสฺมึ มเต ความว่า ถ้าหากเขาจะตายในที่นี้ไซร้ เมื่อคนๆ นี้ตายแล้ว ฉันจักมีทุกข์กาย และทุกข์ใจมากมาย. บทว่า อุโภ น โหม ความว่า เราทั้ง ๒ คน ก็จักไม่มี. คาถาว่า มมจ ทิสฺวาน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 158

มีเนื้อความดังต่อไปนี้ว่า ข้อนี้ก็เป็นเหตุ แม้ข้ออื่นก็เป็นเหตุ คือ เมื่อคนๆ นี้ตายแล้ว คนทุกคนเห็นฉันเข้า ผู้หมดที่พึ่ง ไม่มีปัจจัย แต่มีร่างกายเติบโตแล้ว คงจะต้องการฆ่าเรา โดยเห็นว่า เนื้อของปูตัวนี้ ทั้งอร่อย ทั้งหนา ทั้งนิ่ม ไม่ใช่แต่คนอย่างเดียวเท่านั้น จักต้องการ แม้กาทั้งหลาย ที่เป็นสัตว์เดียรัจฉาน เห็นฉันเข้า ก็คงจะเบียดเบียน คือ คงจะฆ่าให้ตาย.

งูได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงคิดว่า เราจักลวงปูตัวนี้ ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง แล้วให้ปล่อยทั้งกา ทั้งตนเองไป. ลำดับนั้น งูเมื่อจะลวงปูนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า :-

ถ้าหากข้าทั้ง ๒ ถูกหนีบ เพราะเหตุแห่งชายคนนั้น ไซร้ ข้าจะดูดพิษกลับ ชายคนนี้ ลุกขึ้นได้ แกจงปล่อยทั้งข้า ทั้งกาโดยเร็ว ก่อนที่พิษร้ายแรง จะเข้าไปสู่ชายคนนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ ตสฺส เหตุ ความว่า ถ้าหากว่า เพราะเหตุแห่งชายคนนี้ไซร้. บทว่า อุฏฺาตุ ความว่า จงเป็นผู้ปราศจากพิษ. บทว่า วิสมาวมามิ ความว่า ข้าจะถอนพิษของชายคนนั้นออก จะทำให้เขาเป็นผู้ไม่มีพิษอีก. บทว่า ปุเร วิสํ คาฬฺหมุเปติ มจฺจํ ความว่า เพราะว่าพิษที่ข้ายังไม่ดูดกลับ จะเป็นพิษที่มีกำลังร้ายแรง พึงเข้าไปสู่ชายคนนี้ ตราบใดพิษนั้น ยังไม่เข้าไป ตราบ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 159

นั้นนั่นแหละ แกจงปล่อยข้าทั้ง ๒ คนไป.

ปูได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงคิดว่า งูตัวนี้ ต้องการจะใช้อุบายอย่างหนึ่ง ให้เราปล่อยทั้ง ๒ ตัว แล้วหนีไป มันไม่รู้ความฉลาดในอุบายของเรา. บัดนี้เราจะทำก้ามของเราให้หย่อน คือลาก้ามลง พอให้งูจะสามารถเลื้อยไปได้ แต่เราจักไม่ปล่อยกาเลย ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถา ที่ ๗ ว่า :-

ข้าจะปล่อยงู แต่ยังไม่ปล่อยกาก่อน เพราะกาจะเป็นตัวประกันไว้ก่อน ต่อเมื่อเห็นชายคนนี้ มีความสุขสบายปลอดภัยแล้ว ข้าจึงจะปล่อยกาไป เหมือนปล่อยงู ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิพทฺธโก ได้แก่ เป็นตัวประกัน. บทว่า ยเถว สปฺปํ ความว่า ข้าจะปล่อยงูตัวเจริญฉันใด แม้กา ข้าก็จะปล่อยฉันนั้น แกจงดูดพิษ ออกจากร่างกายของพราหมณ์คนนี้ อย่างนี้โดยเร็ว.

ก็แหละ ปูครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ได้ลาก้ามลง เพื่อให้งูนั้นเลื้อยไปสะดวก. งูดูดพิษออกแล้ว ได้ทำร่างกายของพระมหาสัตว์ ให้หมดพิษ พระมหาสัตว์นั้น มีทุกข์ จึงลุกขึ้นยืนด้วยรูปพรรณปกติ นั่นเอง. ปูคิดว่า ถ้าหากสัตว์ทั้ง ๒ ตัวนี้ จักปลอดภัยไซร้ ขึ้นชื่อว่า ความ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 160

เจริญ ก็จักไม่มีแก่สหายของเรา เราจักให้มันพินาศไป ดังนี้แล้ว ได้เอา ก้ามหนีบศีรษะของสัตว์ทั้ง ๒ ตัว เหมือนเอาไม้เท้ากดกลีบบัว แล้วให้ถึงความสิ้นชีวิต. ฝ่ายกาตัวเมีย ก็ได้หนีไปจากที่นั้น. พระโพธิสัตว์ เอาร่างงูพันที่ท่อนไม้ แล้วโยนไปหลังพุ่มไม้ ปล่อยปูสีทองที่หนองน้ำ แล้วไปบ้านหลินทิยะ นั่นเอง. จำเดิมแต่นั้นมา ความคุ้นเคยระหว่างพระโพธิสัตว์นั้น กับปู ได้มียิ่งกว่าแต่ก่อน.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะแล้ว ทรงประชุมชาดก. จึงได้ตรัสคาถาสุดท้ายไว้ว่า :-

กาในครั้งนั้น ได้แก่ พระเทวทัตในบัดนี้ ส่วนงูเห่าหม้อ ได้แก่ ช้างนาฬาคิรี ปู ได้แก่ พระอานนท์ผู้เจริญ เราตถาคตผู้เป็นศาสดา ได้แก่ พราหมณ์ในครั้งนั้น.

ในเวลาจบสัจธรรม คนได้เป็นพระโสดาบันมากมาย. ส่วนกาตัวเมีย ไม่ได้ตรัสไว้ในพระคาถา. มันก็ได้แก่ นางจิญจมานวิกา.

จบอรรถกถา สุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๔