พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ปัพพชิตวิเหฐกชาดก ว่าด้วยกราบไหว้ผู้ควรกราบไหว้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35849
อ่าน  487

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 170

๖. ปัพพชิตวิเหฐกชาดก

ว่าด้วยกราบไหว้ผู้ควรกราบไหว้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 170

๖. ปัพพชิตวิเหฐกชาดก

ว่าด้วยกราบไหว้ผู้ควรกราบไหว้

[๙๓๗] เธอมีรูปร่างงาม แต่ให้สมณะรูปร่างขี้เหร่ อยู่ข้างหน้า ประคองอัญชลี นมัสการ สมณะรูปนั้น ดีกว่าเธอหรือเสมอกับเธอ ขอจงบอก ทั้งชื่อของตน ทั้งชื่อผู้อื่น คือสมณะ.

[๙๓๘] ข้าแต่มหาราช ทวยเทพอุปัตติเทพ จะไม่เอ่ยชื่อ และโคตรของเทพทั้งหลาย ผู้พร้อมเพรียงกัน ผู้ปฏิบัติตรง คือ วิสุทธิเทพ แต่ข้าพเจ้า จะบอกชื่อของข้าพเจ้าแก่ท่าน ข้าพเจ้า คือ ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมทวยเทพชาวไตรทศ.

[๙๓๙] ผู้ใดเห็นภิกษุ ผู้เข้าถึงจรณะ ให้ท่านอยู่ข้างหน้า ประคองอัญชลีนมัสการ ข้าแต่เทวราช ข้าพระองค์ขอถาม ข้อความนี้กะพระองค์ ผู้นั้นละโลกนี้ไปแล้ว จะได้ความสุขอะไร?

[๙๔๐] ผู้ใดเห็นภิกษุ ผู้เข้าถึงจรณะ ให้ท่านอยู่ข้างหน้า แม้ประคองอัญชลี นมัสการอยู่ ผู้นั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 171

จะได้รับการสรรเสริญ ในปัจจุบัน และจะไปสวรรค์ เพราะร่างกายแตกดับไป.

[๙๔๑] วันนี้ บุญได้เกิดขึ้น แต่ข้าพเจ้าแล้วหนอ ที่ข้าพระองค์ได้พบเห็น พระผู้เป็นเจ้าวาสวะ, ข้าแต่ท้าวสักกะ ข้าพระองค์เห็นพระภิกษุ และพระองค์แล้ว จะทำบุญหาน้อยไม่.

[๙๔๒] ควรคบหาผู้มีปัญญา เป็นพหูสูต คิดถึงเหตุการณ์มากมาย โดยแน่แท้แล ดูก่อนพระราชา พระองค์เห็นภิกษุ และหม่อมฉันแล้ว จงทำบุญหาน้อยไม่.

[๙๔๓] ผู้ไม่มักโกรธ มีจิตเลื่อมใสเนืองนิตย์ เป็นผู้ควรแก่การขอ ของแขกทุกคน ข้าแต่ท่าน จอมเทพ ข้าพระองค์สดับสุภาษิตแล้ว จักทำลายมานะ กราบไหว้ท่านผู้นั้น.

จบ ปัพพชิตวิเหฐกชาดกที่ ๖

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 172

อรรถกถาปัพพชิตวิเหฐกชาดกที่ ๖

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อชาวโลก จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทุพฺพณฺณรูปํ ดังนี้. เรื่องนี้จักมีแจ้ง ในกัณหชาดก.

ก็ในคราวครั้งนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในชาติก่อนตถาคต ก็บำเพ็ญประโยชน์แก่โลกเหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอาเรื่อง ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นท้าวสักกะ. ครั้งนั้น. วิชาธรคนหนึ่ง ร่ายเวทย์มนต์แล้ว เข้าไปในห้องมิ่งขวัญ ในเวลาเที่ยงคืน ประพฤติล่วงเกินกับพระอัครมเหสี ของพระเจ้าพาราณสี. ฝ่ายข้าหลวงของพระนาง ได้กราบทูลแด่พระราชา. พระนางจึงเสด็จเฝ้าพระราชาเสียเอง ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชายคนหนึ่ง เข้ามาในห้องมิ่งขวัญ ในเวลาเที่ยงคืน ข่มขืนหม่อมฉัน.

พระราชา ก็เธอจะสามารถทำเครื่องหมาย คือ สัญญาณอะไรไว้ ที่มันได้ไหม?

พระอัครมเหสี สามารถพระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 173

พระนางทรงให้นำถาดใส่ชาด คือ ชาติหิงคุมาได้ เมื่อเวลาชายคนนั้น มาในเวลากลางคืน ร่วมอภิรมย์แล้วจะไป ทรงประทับนิ้วทั้ง ๕ ไว้ที่หลัง แล้วได้กราบทูลพระราชา แต่เช้าทีเดียว. พระราชาตรัสสั่งบังคับ คนทั้งหลายว่า สูเจ้าทั้งหลายจงไป จงพากันตรวจดู ทั่วทุกทิศแล้ว จับชายคนที่มีรอยชาดอยู่บนหลัง. ฝ่ายวิชาธร เมื่อทำอนาจาร ในเวลากลางคืนแล้ว กลางวันก็ยืนขาเดียว นมัสการพระอาทิตย์ อยู่ที่สุสาน. ราชบุรุษทั้งหลาย เห็นเขาแล้ว จึงพากันล้อมไว้. เขารู้ว่า กรรมของเราปรากฏแล้ว จึงร่ายเวทย์เหาะไปทางอากาศ. พระราชาทรงเห็นชายคนนั้นแล้ว จึงตรัสถาม ราชบุรุษทั้งหลาย ที่มาแล้วว่า เธอทั้งหลายได้เห็นไหม?

ราชบุรุษ ได้เห็นพระพุทธเจ้าข้า.

พระราชา มันชื่ออะไรล่ะ คือใคร.

ราชบุรุษ เป็นบรรพชิต พระพุทธเจ้าข้า.

เพราะว่าเวลากลางคืน เขาทำอนาจาร แต่เวลากลางวัน เขาอยู่โดยเพศบรรพชิต. พระราชาทรงกริ้วบรรพชิตทั้งหลายว่า บรรพชิตเหล่านี้ กลางวันประพฤติโดยเพศสมณะ แต่กลางคืนทำอนาจาร แล้วทรงยึดถือผิดๆ จึงทรงให้ตีกลองประกาศว่า สูเจ้าทั้งหลาย จักต้องปฏิบัติตามพระราชโองการ ในที่ๆ ตนได้เห็นแล้ว เห็นแล้วว่า บรรพชิตทั้งหมด จงหนีไป จากอาณาจักรของเรา. บรรพชิตทั้งหมด จึงหนีไปจากแคว้น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 174

กาสี ที่มีที่ ๓๐ โยชน์ ได้พากันไปยังราชธานีอื่นๆ. สมณะพราหมณ์ผู้ทรงธรรม แม้คนเดียว ที่จะให้โอวาทแก่คนทั้งหลาย ทั่วแคว้นกาสี ก็ไม่มี. คนทั้งหลายที่ไม่ได้รับโอวาท ได้เป็นคนหยาบคาย. คนทั้งหลายที่ปล่อยปละละเลย ทาน และศีล เป็นต้น ตายไปแล้วโดยมาก. ก็เกิดในนรก. ขึ้นชื่อว่า จะเกิดในสวรรค์ไม่มีแล้ว. ท้าวสักกะเมื่อไม่ทรงเห็นเทพบุตรใหม่ จึงทรงรำลึกว่า มีเหตุอะไรหนอแล? แล้วก็ทรงทราบว่า พระเจ้าพาราณสี ทรงพิโรธ เพราะอาศัยวิชาธร ทรงไล่บรรพชิตออกจากแว่นแคว้น เพราะทรงเชื่อถือผิด จึงทรงดำริว่า คนอื่นนอกจากเรา ที่จะสามารถทำลาย ความเชื่อถือผิดของพระราชา พระองค์นี้ไม่มี และเราจักเป็นที่พึ่ง ของพระราชา และราษฎรทั้งหลาย แล้วได้เสด็จไปสำนัก พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่เงื้อมแห่งภูเขาชื่อว่า นันทมูลกะ ทรงไหว้ แล้วทูลว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ชื่อ พระคุณเจ้าทั้งหลาย จงให้พระ ปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เฒ่าองค์หนึ่งแก่กระผม กระผมจักให้ราษฎร ชาวกาสีเลื่อมใส. ท้าวเธอได้พระสังฆเถระทีเดียว. จึงท้าวเธอทรงรับเอาบาตร และจีวร ของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ให้ท่านอยู่ข้างหน้า พระองค์เองอยู่ข้างหลัง ทรงแปลงเพศ เป็นมาณพรูปหล่อ วางอัญชลีไว้เหนือเศียร นมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า เสด็จเที่ยวไปทางเบื้องบนพระนคร ทั้งหมด ๓ เที่ยว มาถึงประตูพระราชวัง ได้ประทับยืนอยู่บนอากาศ. อำมาตย์ทั้งหลาย ได้กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ มาณพรูปงามคนหนึ่ง นำเอาสมณะรูปหนึ่ง มายืนอยู่บนอากาศ ตรงประตูพระราชวัง. พระราชา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 175

จึงเสด็จลุกจากราชอาสน์ ประทับยืนที่ช่องพระแกล เมื่อทรงเจรจากับ ด้วยท้าวสักกะนั้นว่า ดูก่อนมาณพ เธอเป็นผู้มีรูปร่างงาม แต่เหตุไฉน จึงยืนถือบาตร และจีวรของสมณะ ผู้มีรูปร่างขี้เหร่ พลางนมัสการอยู่ ดังนี้ ได้ตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-

เธอผู้มีรูปร่างงาม แต่ให้สมณะรูปร่างขี้เหร่ อยู่ข้างหน้า ประคองอัญชลีนมัสการ สมณะรูปนั้น คือว่า เธอหรือเสมอกันกับเธอ ขอจงบอก ทั้งชื่อของตน ทั้งชื่อของผู้อื่น คือสมณะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริยวณฺณี ได้แก่ รูปร่างสวยงาม. บทว่า เสยฺโย นุ เต โส ความว่า บรรพชิตรูปร่างขี้เหร่ รูปนั้น ดียิ่งกว่าเธอ หรือเสมอกับเธอ. บทว่า ปรสฺสตฺตโน จ ความว่า พระราชา ตรัสถามว่า เธอจงบอกชื่อของผู้อื่นนั้น และของตนเถิด.

ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช จึงตรัสกะพระราชานั้นว่า ข้าแต่มหาราช ขึ้นชื่อว่า สมณะทั้งหลายย่อมเป็นผู้ควรเคารพ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ได้ เพื่อเรียกชื่อของท่าน แต่ข้าพเจ้า จักบอกชื่อข้าพเจ้าแก่ท่าน แล้วตรัสคาถาที่ ๒ ว่า.

ข้าแต่มหาราช ทวยเทพอุปัตติเทพ จะไม่เอ่ยชื่อ และโคตรของเทพทั้งหลาย ผู้พร้อม

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 176

เพรียงกัน ผู้ปฏิบัติตรง คือ วิสุทธิเทพ แต่ข้าพเจ้าจะบอกชื่อ ของข้าพเจ้าแก่ท่าน ข้าพเจ้า คือท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมทวยเทพ ชาวไตรทศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมคฺคตานุชฺชุคตาน เทวา ความว่า อุปปัตติเทพทั้งหลาย จะไม่แตะต้องชื่อ และโคตรของพระมหาขีณาสพทั้งหลาย ผู้ชื่อว่า พร้อมเพรียงกันแล้ว เพราะพิจารณาสังขารทั้งมวล ด้วยอำนาจแห่งกิจ ตามความเป็นจริงแล้ว บรรลุอรหัตตผล ที่เป็นผลเลิศ และผู้ชื่อว่า ดำเนินไปตรงแล้ว เพราะดำเนินไปสู่พระนิพพาน ด้วยมรรค มีองค์ ๘ ที่ตรง ผู้เป็นวิสุทธิเทพ ยอดเยี่ยมกว่า อุปปัตติเทพทั้งหลาย. มีบทว่า อหญฺ จ เต นามเธยฺยํ ความว่า ก็แต่ว่าข้าพเจ้าจักบอกชื่อของตน แก่ท่าน.

พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว ได้ทูลถามถึงอานิสงส์ การนมัสการภิกษุ ด้วยคาถาที่ ๓ ว่า :-

ผู้ใดเห็นภิกษุ ผู้เข้าถึงจรณะ ให้ท่านผู้อยู่ข้างหน้า ประคองอัญชลีนมัสการ ข้าแต่เทวราช ข้าพระองค์ ขอถามข้อความนี้ กะพระองค์ ผู้นั้น จุติจากโลกนี้ไปแล้ว จะได้รับความสุขอะไร?

ท้าวสักกะ ตรัสตอบ ด้วยคาถาที่ ๔ ว่า :-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 177

ผู้ใดเห็นภิกษุผู้เข้าถึงจรณะ ให้ท่านอยู่ข้างหน้า แม้ประคองอัญชลีนมัสการอยู่ ผู้นั้น จะได้รับการสรรเสริญ ในปัจจุบัน และจะไปสวรรค์ เพราะร่างกายแตกดับไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขุํ ได้แก่ บุคคลผู้บริสุทธิ์ เพราะทำลายกิเลสได้แล้ว. บทว่า จรณูปปนฺนํ ความว่า ผู้เข้าถึงด้วยศีล และจรณะ. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ความว่า ไม่ใช่ว่า จุติจากโลกนี้อย่างเดียวเท่านั้น จึงจะไปสวรรค์ ถึงในอัตตภาพนี้ เขาก็ได้รับการสรรเสริญ คือ ประสบความสุขจากการสรรเสริญ.

พระราชา ทรงสดับเทวคาถา เรื่องของท้าวสักกะแล้ว ทำลายการเชื่อถือผิดได้ พอพระราชหฤทัย ได้ตรัสคาถาที่ ๕ ว่า :-

วันนี้ บุญได้เกิดขึ้น แก่ข้าพระองค์แล้วหนอ ที่ข้าพระองค์ ได้พบเห็นพระผู้เป็นเจ้า วาสวะ ข้าแต่ท้าวสักกะ ข้าพระองค์เห็นพระภิกษุ และพระองค์แล้ว จะทำบุญหาน้อยไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลกฺขี คือ บุญ ได้แก่ มิ่งขวัญ มีคำอธิบายไว้ว่า วันนี้ปัญญาที่รู้วิบากของกุศล และอกุศลเกิดขึ้นแล้ว แก่ข้าพระองค์ ผู้ฟังพระดำรัส ของพระองค์อยู่ นั่นแหละ. บทว่า ยํ เป็น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 178

เพียงนิบาต. บทว่า ภูตปติมทฺทสํ ความว่า ข้าพระองค์ ได้เห็นพระผู้เป็นเจ้า.

ท้าวสักกะ ทรงสดับคำนั้นแล้ว เมื่อจะทรงสดุดีบัณฑิต จึงตรัสคาถาที่ ๖ ว่า:-

ควรคบหาผู้มีปัญญา เป็นพหูสูต คิดถึงเหตุการณ์มากมาย โดยแน่แท้ แล ดูก่อนพระราชา พระองค์ เห็นภิกษุ และหม่อมฉันแล้ว จงทรงทำบุญหาน้อยไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า านจินฺติตา ความว่า ผู้สามารถ คิดถึงเหตุการณ์ ได้มากมาย.

พระราชาทรงสดับ เทวดำรัสนั้นแล้ว จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า :-

ผู้ไม่มักโกรธ มีจิตเลื่อมใสเนืองนิตย์ เป็นผู้ควรแก่การขอ ของแขกทุกคน ข้าแต่จอมเทพ ข้าพระองค์สดับสุภาษิตแล้ว จักทำลายมานะ กราบไหว้ท่านผู้นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพาติถียาจโยโค ความว่า บรรดาแขกทั้งหลาย คือ อาคันตุกะทั้งหลาย ที่มาแล้วทั้งหมด คนเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 179

ขอสิ่งใดๆ เขาก็เป็นผู้เหมาะ คือ สมควรแก่สิ่งนั้นๆ อธิบายว่า ให้อยู่ทุกสิ่งที่ชนเหล่านั้น ขอแล้ว ขอแล้ว. บทว่า สุตฺวาน เทวินฺท สุภาสิตานิ ความว่า พระราชาทูลว่า ข้าพระองค์ฟังสุภาษิตของพระองค์แล้ว จักเป็นคนแบบนี้.

ก็แหละ พระราชาครั้นตรัสอย่างนี้ ก็เสด็จลงจากปราสาท ทรงไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วได้ประทับยืน ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงนั่งคู้บัลลังก์ที่อากาศ แล้วทรงโอวาทพระราชาว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร วิชาธรนั้น ไม่ใช่สมณะ ต่อแต่นี้ไป ขอพระองค์จงทรงทราบไว้ว่า โลกไม่ว่างเปล่า ยังมีสมณะพราหมณ์ ผู้ทรงศีลอยู่แล้ว ทรงอวยทาน ทรงศีล ทรงอุโบสถกรรมเถิด ฝ่ายท้าวสุกกะ ประทับยืนอยู่ที่อากาศ ด้วยอานุภาพของท้าวสักกะ ประทานโอวาทแก่ทวยนครว่า ต่อแต่นี้ไป สูเจ้าทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด แล้วทรงให้ตีกลองป่าวประกาศว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้หนีไปแล้ว จงกลับมา. จึงท่านทั้ง ๒ คือ ท้าวสักกะ และพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้เสด็จไปยังที่ของตน. พระราชาทรงตั้งอยู่ ในเทวโอวาทของท้าวสักกะนั้น แล้ว ได้ทรงทำบุญทั้งหลาย มีทาน เป็นต้น.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแล้ว ทรงประชุมชาดกไว้ว่า. พระปัจเจกพุทธเจ้า ครั้งนั้นได้ปรินิพพานแล้ว พระราชา ได้แก่ พระอานนท์ ส่วนท้าวสักกะ ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา ปัพพชิตวิเหฐกชาดกที่ ๖