พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. อุปนิสงฆบุปผชาดก ว่าด้วยคนดีไม่ควรทําชั่ว แม้นิดหน่อย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35850
อ่าน  418

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 180

๗. อุปสิงฆบุปผชาดก

ว่าด้วยคนดีไม่ควรทําชั่ว แม้นิดหน่อย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 180

๗. อุปสิงฆบุปผชาดก

ว่าด้วยคนดีไม่ควรทำชั่ว แม้นิดหน่อย

[๙๔๔] ดูก่อนท่านผู้เช่นกับด้วยเรา ท่านดมดอกไม้ที่เกิดในน้ำ คือ ดอกบัว ที่เขาไม่ได้ให้นี้ใด การดมนี้นั้นเป็นองค์ๆ หนึ่งของการขโมย ท่านเป็นผู้ขโมยกลิ่น.

[๙๔๕] เราไม่ลัก เราไม่เด็ดดอกบัว แต่เรายืนดมอยู่ไกลๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไฉนหนอ จึงกล่าวหาว่า เป็นผู้ขโมยกลิ่น?

[๙๔๖] ชายคนนี้ใด ขุดเหง้าบัว เด็ดดอกบุณฑริก ชายคนนี้นั้น ผู้มีการงานเลอะเทอะ อย่างนี้ เหตุไรจึงไม่มีใครว่า?

[๙๔๗] ชายผู้มีกรรมบาป ดาษดื่นแล้ว เปรอะเปื้อนบาป เหมือนผ้าอ้อม ข้าพเจ้าจึงไม่มีคำ พูดอะไร ในเรื่องนั้น และข้าพเจ้าควร เพื่อจะว่ากล่าวเขาได้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 181

[๙๔๘] สำหรับคนผู้ไม่มีกิเลส ดุจเนิน มีปกติ แสวงหาความสะอาด เป็นนิจ บาปประมาณเท่าปลายขนทราย จะปรากฏแก่เขา ประมาณเท่ากลีบเมฆทีเดียว.

[๙๔๙] ข้าแต่ท่านผู้ควรบูชายักษ์ ท่านรู้จักข้าพเจ้าแน่นอน และท่านอนุเคราะห์ข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้ควรบูชายักษ์ ท่านจงตำหนิอีก เมื่อท่านเห็นโทษชนิดนี้ของเรา.

[๙๕๐] ข้าพเจ้าไม่ได้อาศัยสิ่งนั้น เลี้ยงชีพเลย ทั้งเราไม่ได้เป็นลูกจ้างท่าน ข้าแต่ภิกษุ ตัวท่านเอง ควรรู้กรรม ที่เป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ.

จบ อุปสิงฆบุปผชาดกที่ ๗

อรรถกถาอุปสิงฆบุปผชาดกที่ ๗

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยเมตํ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้น เมื่อออกจากพระวิหารเชตวัน ไปอาศัยอยู่ป่าแห่งใดแห่งหนึ่ง ในโกศลรัฐ วันหนึ่ง ลงไปสู่สระบัว เห็นดอกบัว

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 182

บานงาม จึงไปยืนดมดอกไม้ อยู่ใต้ลม. ลำดับนั้น เทวดาผู้สิง อยู่ที่ไพรสณฑ์นั้น จึงให้ท่านสลดใจว่า ข้าแต่ท่านผู้เช่นกับด้วยเรา ท่านชื่อว่า เป็นผู้ขโมยกลิ่น ความคิดว่า ดังนี้เป็นสิ่งประเสริฐ เป็นองค์ ๑ ของการขโมย. เธอเป็นผู้ที่เทวดานั้น ให้สลดใจแล้ว จึงมาที่พระเชตวันอีก ถวายบังคม พระศาสดา แล้วนั่งอยู่ ถูกพระศาสดา ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุเธออยู่ที่ไหน. ทูลว่า อยู่ที่ไพรสณฑ์ชื่อโน้น เทวดาที่ไพรสณฑ์นั้น นั่นเอง ให้ข้าพระองค์สลดใจอย่างนี้. ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่ใช่แต่เธอเท่านั้น ที่ดมดอกไม้อยู่ ถูกเทวดาให้สลดใจ แม้บัณฑิตในกาลก่อนทั้งหลาย เทวดาก็เคยให้สลดใจมาแล้ว เหมือนกัน เป็นผู้ที่ภิกษุนั้น ทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่อง ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ ที่หมู่บ้านในแคว้นกาสี ตำบลหนึ่ง เติบโตแล้ว ได้เรียนศิลปะ ในเมืองตักกศิลา ต่อมาได้บวชเป็นฤาษี เข้าไปอาศัยสระบัวแห่งหนึ่งอยู่ วันหนึ่งลงไปสระนั้น ได้ยืนดมดอกบัวที่บานงดงาม. ครั้งนั้น เทพธิดาตนหนึ่ง สถิตอยู่ที่ลำต้นต้นไม้ เมื่อจะให้ท่านสลดใจ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ดูก่อนท่านผู้เช่นกับด้วยเรา ท่านดมดอกไม้ที่เกิดในน้ำ ดอกบัวที่เขาไม่ได้ให้นี้ใด

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 183

การดมนี้นั้นเป็นองค์ๆ หนึ่ง ของการขโมย ท่านเป็นผู้ขโมยกลิ่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกงฺคเมตํ ความว่า นั้นเป็นส่วน ส่วนหนึ่ง.

ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า:-

เราไม่ลัก เราไม่เด็ดดอกบัว แต่เรายืนดมอยู่ไกลๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรหนอ? จึงกล่าวหาว่า เราเป็นผู้ขโมยกลิ่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารา สิงฺฆามิ ความว่า เรายืนดมอยู่ไกลๆ. บทว่า วณฺเณน ได้แก่ เหตุ. ขณะนั้นชายคนหนึ่ง ขุดเหง้าบัว และเด็ดดอกบุณฑริก ในสระนั้น. พระโพธิสัตว์เห็นเขาแล้ว เมื่อจะเจรจากับเทพธิดานั้นว่า ท่านกล่าวหา เราผู้ยืนดมอยู่แต่ไกลว่า เป็นโจร แต่เหตุไร จึงไม่ว่าชายคนนั้น? จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า:-

ชายคนนี้ใด ขุดเหง้าบัว เด็ดดอกบุณฑริก ชายคนนี้นั้น ผู้มีการงานเลอะเทอะอย่างนี้ แต่เหตุไร จึงไม่มีใครว่า?

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 184

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อากิณฺณกมฺมนฺโต ได้แก่ มีการงานหยาบ คือ มีการงานทารุณ.

ลำดับนั้นเทวดา เมื่อจะบอกเหตุแห่งการพูด แก่พระโพธิสัตว์นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ที่ ว่า :-

ชายผู้มีกรรมหยาบดาษดื่นแล้ว เปรอะเปื้อนบาป เหมือนผ้าอ้อม ข้าพเจ้าจึงไม่มีคำพูดอะไร ในเรื่องนั้น แล้วข้าพเจ้าควรเพื่อจะว่ากล่าวเขาได้ สำหรับคนผู้ไม่มีกิเลสดุจเนิน มีปกติแสวงหาความสะอาดเป็นนิจ บาปประมาณเท่าปลายขนทราย จะปรากฏแก่เขา ประมาณเท่ากลีบเมฆทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธาติโจลํว ความว่า คนนี้จะเป็นผู้เปื้อนไป ด้วยบาปทีเดียว เหมือนกะผ้านุ่งของพี่เลี้ยง ที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก มูตร และคูถ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่มีการว่าอะไรในเรื่องนั้น. บทว่า ตญฺจารหามิ ความว่า แต่สมณะทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้ใคร่ต่อโอวาท ข้าแต่สมณะ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงควร เพื่อจะว่ากล่าว เขาผู้ทำสิ่งที่ไม่สมควร แม้มีประมาณน้อย. บทว่า อนงฺคณสฺส ได้แก่ ผู้เช่นกับท่าน ผู้หาโทษมิได้. บทว่า อพฺภามตฺตํว ขายติ ความว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 185

บาปจะปรากฏ เป็นสิ่งมีประมาณเท่าเมฆก้อนใหญ่. บัดนี้ เหตุไฉนท่าน จึงจะทำโทษ และนี้ให้เป็นอัพโภหาริก เป็นเหมือนไม่มีโทษไป.

ส่วนพระโพธิสัตว์ ผู้ถูกเทวดาให้สลดใจ ได้ถึงความสังเวชแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้ควรบูชายักษ์ ท่านรู้จักข้าพเจ้าแน่นอน และท่านอนุเคราะห์ข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้ควรบูชายักษ์ ท่านจงตำหนิอีก เมื่อท่านเห็นโทษชนิดนี้ของเรา.

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถานั้นต่อไป พระโพธิสัตว์ร้องเรียกเทวดาว่า ยักษ์. บทว่า วชฺชาสิ ความว่า ท่านพึงว่ากล่าว. บทว่า ยทา ปสฺสสิ เอทิสํ ความว่า พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เมื่อใดท่านเห็นโทษ แบบนี้ของข้าพเจ้า เมื่อนั้น ท่านพึงว่ากล่าวอย่างนี้ทีเดียว.

ลำดับนั้นเทพธิดา จึงกล่าวคาถาที่ ๗ แก่พระโพธิสัตว์ว่า:-

ข้าพเจ้าไม่ได้อาศัย สิ่งนั้นเลี้ยงชีพเลย ทั้งเราไม่ได้เป็นลูกจ้างท่าน ข้าแต่ภิกษุ ตัวท่านเองควรรู้กรรม ที่เป็นเหตุให้ไปสุคติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภตฺติกมฺหเส ความว่า เทพธิดา แสดงว่า ข้าพเจ้าไม่เป็นลูกจ้างของท่าน คือ ไม่เป็นแม้ผู้ทำงาน เพื่อสินจ้าง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 186

ของท่าน ข้าพเจ้าจักเทียวพิทักษ์รักษาท่าน ทุกเวลาด้วยเหตุอะไร. บทว่า เยน คจฺเฉยฺย ความว่า ข้าแก่ภิกษุ ท่านจะพึงไปสู่สุคติ ด้วยกรรมอันใด ท่านนั่นแหละพึงรู้.

เทวดาครั้นให้โอวาทแก่ พระโพธิสัตว์อย่างนี้แล้ว ก็กลับเข้าสู่วิมานของตน. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ยังฌานให้เกิด แล้วได้เป็นผู้มีพรหมโลก เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกไว้. ในที่ชุดแห่งสัจธรรม ภิกษุนั้นดำรงอยู่แล้ว ในโสดาปัตติผล. เทพธิดาในครั้งนั้น ได้แก่ พระอุบลวรรณาเถรี ในบัดนี้ ส่วนดาบส ได้แก่ เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบอรรถกถา อุปสิงฆบุปผชาดกที่ ๗