พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. กุกกุชาดก ว่าด้วยปฏิปทาของพระราชาผู้เป็นบัณฑิต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35854
อ่าน  454

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 206

สัตตกนิบาตชาดก

๑. กุกกุวรรค

๑. กุกกุชาดก

ว่าด้วยปฏิปทาของพระราชาผู้เป็นบัณฑิต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 206

สัตตกนิบาตชาดก

๑. กุกกุวรรค

๑. กุกกุชาดก

ว่าด้วยปฏิปทาของพระราชาผู้เป็นบัณฑิต

[๙๖๙] ยอดโดมสูงศอกครึ่ง จันทันประมาณ ๘ คืบ ยันยอดโดมนั้นไว้ ยอดโดมนั้นทำด้วย ไม้แก่น ไม่มีกระพี้ ทรงตัวอยู่ได้อย่างไร จึงไม่ตกลงจากข้างบน.

[๙๗๐] จันทัน ๓๐ ตัว ทำด้วยไม้แก่น ไม่มีกระพี้เหล่าใด วางเรียงยันกันไว้ ยอดโดมที่จันทันเหล่านั้น ยึดไว้ดีแล้ว และถูกกำลังจันทัน บีบบังคับวางขนาบไว้ จึงไม่ตกไป จากข้างบน ฉันใด.

[๙๗๑] แม้พระราชาผู้ทรงเป็นบัณฑิต ก็ฉันนั้น ที่เหล่าองคมนตรี ผู้เป็นมิตรมั่นคง มีรูปแบบ ไม่แตกแยกกัน มีความสะอาด ยึดเหนี่ยว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 207

กันไว้ดีแล้ว ก็ไม่ทรงพลาดไป จากสิริเหมือนกับยอดโดม ที่แบกภาระของจันทันไว้ ฉะนั้น.

[๙๗๒] ผู้มีมีด แม้ไม่ปอกเปลือก ผลมะงั่ว ที่มีเปลือกแข็งออก จะทำให้มีรสขม. ข้าแต่พระราชา บุคคลเมื่อปอกเปลือกเป็น จะทำให้มีรสอร่อย เมื่อปอกแต่เปลือกบางๆ ออก ก็คงทำให้รสไม่อร่อย ฉันใด.

[๙๗๓] ฝ่ายพระราชา ผู้ทรงพระปรีชา ก็ฉันนั้น ไม่ทรงเร่งรัด เก็บทรัพย์ที่ควรตำหนิ คือ ไม่ขูดรีดภาษี ทรงคล้อยตามธรรมะปฏิบัติอยู่ ควรทรงทำความสุขสำราญแก่ราษฎร ไม่ทรง เบียดเบียนผู้อื่น.

[๙๗๔] ดอกบัวหลวง มีรากขาว ผุดขึ้นจากน้ำ ที่ไม่สะอาด เกิดในสระโบกขรณี บานเพราะพระอาทิตย์ มีแสงเหมือนแสงไฟ โคลนตม ไม่เปื้อน ผงธุลีก็ไม่เลอะ น้ำก็ไม่เปียกมัน ฉันใด.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 208

[๙๗๕] พระราชาผู้เช่นนั้น ก็ฉันนั้น กรรมกิเลส จะไม่เปรอะเปื้อนพระองค์ ผู้มีพระราชวินิจฉัยสะอาด ไม่ทรงผลุนผลัน มีพระราชกิจบริสุทธิ์ ทรงปราศจากกรรม ที่เป็นบาป เหมือนดอกบัว ที่เกิดในสระโบกขรณีทั้งหลาย ฉะนั้น.

จบ กุกกุชาดกที่ ๑

อรรถกถาสัตตกนิบาตชาดก

อรรถกถากุกกุวรรคที่ ๑

อรรถกถากุกกุชาดกที่ ๑

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพระราโชวาท ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทิยฑฺฒกุกฺกุ ดังนี้. เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้ง ในเตสกุณชาดก.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ ได้เป็นอำมาตย์ ผู้ถวายอรรถธรรมแด่พระองค์ พระราชาทรงดำรงอยู่ ในการลุอำนาจอคติ ทรงครองราชย์โดยไม่เป็นธรรม รีดนาทาเร้นชนบท เก็บทรัพย์อย่างเดียว. พระโพธิสัตว์ประสงค์ จะถวายพระโอวาทพระราชา เดินพิจารณาหาอุบาย ข้อหนึ่งไป. อนึ่ง ในพระราชอุทยาน มีพระตำหนักประทับผิดปกติ มุงหลังคายังไม่เสร็จ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 209

เพียงแต่ยกยอดโดมไม้ขึ้น แล้วเอาจันทันสอดพาดไว้. พระราชาเสด็จ ไปพระราชอุทยาน เพื่อต้องการทรงกรีฑา เสด็จดำเนินไปทั่วทุกแห่ง ในพระราชอุทยานนั้นแล้ว เสด็จเข้าพระตำหนักนั้น เมื่อทอดพระเนตร เห็นยอดโดม จึงเสด็จออกมาประทับยืนข้างนอก เพราะทรงกลัว จะตกลงเบื้องบนพระองค์ ทรงตรวจดูอีก ทรงดำริว่า ยอดโดม วางอยู่ได้ เพราะอาศัยอะไรหนอ จันทันวางอยู่ได้ เพราะอาศัยอะไร เมื่อจะตรัสถามพระโพธิสัตว์ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ยอดโดมสูงศอกครึ่ง จันทันประมาณ ๘ คืบ ยันยอดโดมนั้นไว้ ยอดโดมนั้น ทำด้วยไม้แก่น ไม่มีกระพี้ ทรงตัวอยู่ได้อย่างไร จึงไม่ตกลงจากข้างบน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิยฑฺฒกุกกุ ความว่า ศอกครึ่ง. บทว่า อุทเยน ความว่า โดยส่วนสูงกว่า. บทว่า ปริกฺขิปนฺติ ความว่า จันทัน คือ ๘ คืบ ยันยอดโดมนี้นั้นไว้ อธิบายว่า ประมาณ ๘ คืบ โดยใช้ยันไว้. บทว่า กุหึ ิตา ความว่า เป็นสิ่งที่ถูกวางไว้ที่ไหน บทว่า น ธํสติ ความว่า ไม่ตกไป.

พระโพธิสัตว์ ได้ฟังพระราชาดำรัสนั้นแล้ว คิดว่า บัดนี้เราได้อุบาย เพื่อจะถวายพระโอวาทพระราชาแล้ว จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ถวายว่า :-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 210

จันทัน ๓๐ ตัว ทำด้วยไม้แก่น ไม่มีกระพี้เหล่าใด วางเรียงยันกันไว้ ยอดโดม ที่จันทันเหล่านั้น ยึดไว้ดีแล้ว และถูกกำลังบีบบังคับวางขนาบไว้ จึงไม่ตกไปจากข้างบน ฉันใด. แม้พระราชา ผู้ทรงเป็นบัณฑิต ก็ฉันนั้น ที่เหล่าองคมนตรี ผู้เป็นมิตรมั่นคง มีรูปแบบไม่แตกกัน มีความสะอาด ยึดเหนี่ยวกันไว้ดีแล้ว ก็ไม่ทรงพลาดไปจากสิริ เหมือนกับยอดโดม ที่แบกภาระของจันทันไว้ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยา ตึสติ สารมยา ความว่า จันทัน ๓๐ ตัวเหล่าใด ทำด้วยไม้แก่น. บทว่า ปฏิกิริย ความว่า พยุงไว้. บทว่า สมฏฺิตา ความว่า วางเรียงไว้เสมอกัน. บทว่า พลสา จ ปีฬิตา ความว่า ที่จันทันเหล่านั้นๆ และกำลังของมันบีบบังคับ ยึดกันไว้อย่างดี คือติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน. บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ พระราชาผู้ทรงปรีชา. บทว่า สุจีหิ ความว่า อันกัลยาณมิตร ทั้งหลาย ผู้มีความประพฤติสะอาดเสมอ. บทว่า มนฺติภิ ความว่า ผู้ฉลาดเพราะความรู้. บทว่า โคปาณสีภารวหาว กณฺณิกา ความว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 211

ยอดโดมแบกภาระจันทันทั้งหลายไว้ ไม่ตกฉันใด แม้พระราชาก็ฉันนั้น เป็นผู้ที่องคมนตรีทั้งหลาย มีประการดังนี้ กล่าวแล้ว มีจิตใจไม่แตกแยกกัน จะไม่ทรงพลาด คือ ไม่ตกไป ได้แก่ ไม่ขาดหายไป จากสิริ.

พระราชา เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดดู พระราชกิริยาของพระองค์แล้ว จึงทรงทราบว่า เมื่อยอดโดม ไม่มีจันทันทั้งหลาย ก็วางอยู่ไม่ได้. ยอดโดมที่จันทัน ไม่ยึดรั้งไว้ ก็ตั้งอยู่ไม่ได้. เมื่อจันทันแยกกัน ยอดโดมก็หล่น ฉันใด พระราชาผู้ไม่ทรงธรรม ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เมื่อไม่ทรงยึดเหนี่ยวใจ มิตรอำมาตย์ กำลังพลของตน และพราหมณ์คหบดีทั้งหลายไว้ เมื่อคนเหล่านั้น แตกแยกกัน ไม่พากันยึดเหนี่ยวพระทัย พระองค์ไว้ ก็จะเสื่อมจากอิสริยยศ ธรรมดาพระราชา ควรจะเป็นผู้ทรงธรรม ดังนี้. จึงในขณะนั้น คนทั้งหลายได้นำผลมะงั่วมา เพื่อต้องการเป็นบรรณาการ ทูลเกล้าถวายพระองค์. พระราชา จึงตรัสกะพระโพธิสัตว์ว่า สหายเอ๋ย เชิญรับประทานผลมะงั่ว นี้เถิด. พระโพธิสัตว์ รับเอาผลมะงั่ว นั้นแล้ว เมื่อทูลแสดงอุบาย รวบรวมทรัพย์ คือ การเก็บภาษี ถวายพระราชา ด้วยอุปมานี้ว่า ข้าแต่มหาราช คนทั้งหลาย ไม่รู้การกินผลมะงั่วนี้ จะทำให้มีแต่รสขม ส่วนผู้ฉลาด รู้รสเปรี้ยว นำแต่รสขมออกไป ไม่นำรสเปรี้ยวออก ไม่ให้รสมะงั่วเสีย ภายหลังจึงรับประทาน ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า :-

ผู้มีมีด แม้เมื่อไม่ปอกเปลือก ผลมะงั่วที่

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 212

มีเปลือกแข็งออก จะทำให้มีรสขม ข้าแต่พระราชา บุคคลเมื่อปอกเปลือกเป็น จะทำให้มีรสอร่อย เมื่อปอกแต่เปลือกบางๆ ออก คงทำให้รสไม่อร่อย ฉันใด. ฝ่ายพระราชา ผู้ทรงพระปรีชา ก็ฉันนั้น ไม่ทรงเร่งรัด เก็บทรัพย์ที่ควรตำหนิ คือ ขูดรีดภาษี ควรทรงปฏิบัติคล้อยตามธรรมะ ทำความสุขสำราญแก่ราษฎร ไม่ทรงเบียดเบียนผู้อื่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขรตฺตจํ ได้แก่ มีเปลือกแข็ง. บทว่า เพลฺลํ ได้แก่ ผลมะงั่ว. ปาฐะว่า พาลํ ก็มี. ความหมายก็เป็นอย่างนี้ เหมือนกัน. บทว่า สตฺถวา ความว่า ผู้มีศัสตราเล็ก คือ มีดในมือ. บทว่า อโนมสนฺโต ความว่า เมื่อปอกเปลือกเป็น คือ เมื่อเฉือนเปลือกนอกออก และไม่นำรสเปรี้ยวออกไป ทำให้รสอร่อย. พระโพธิสัตว์ เรียกพระราชาว่า ปตฺถวา. บทว่า ตนุพนฺธมุทฺธรํ ความว่า แต่ว่าปอกแต่เปลือกบางๆ ออกไป คงทำให้ผลมะงั่วนั้น อร่อยไม่ได้เลย เพราะไม่ได้นำรสขมออกไป ให้หมดสิ้น. บทว่า เอวํ ความว่า ฝ่ายพระราชา ผู้ทรงพระปรีชาพระองค์นั้น ก็ฉันนั้น ไม่ทรงเร่งรัด คือ ไม่ลุอำนาจตัณหา ที่ผลุนผลัน ทรงละการลุอำนาจอคติ ไม่ทรงเบียดเบียนราษฎร ทรง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 213

เก็บเงินภาษี โดยทำนองปลวกทั้งหลาย พัฒนา คือ ก่อจอมปลวก และโดยทำนองผึ้งทั้งหลาย ที่เคล้าเอาเกษร มาทำน้ำผึ้ง เป็นผู้ทรงคล้อย ตามธรรมะปฏิบัติอยู่ โดยการคล้อยตามราชธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ คือ :-

ทาน ๑ ศีล ๑ การบริจาค ๑ ความซื่อตรง ๑ ความอ่อนโยน ๑ ความเคร่งครัด ๑ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่เบียดเบียน ๑ ความอดทน ๑ ความไม่ผิด ๑.

ควรทรงทำความสำราญ คือ ความเจริญให้ตนเอง และผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่นเลย.

พระราชาทรงปรึกษา กับพระโพธิสัตว์ ไปพลาง เสด็จดำเนินไปพลาง ถึงฝั่งสระโบกขรณี ทอดพระเนตรเห็นดอกบัว ที่บานงามอยู่ในสระนั้น แต่ไม่เปียกน้ำ มีสีเหมือนแสงพระอาทิตย์อ่อนๆ จึงตรัสว่า สหาย ดอกบัวนี้เกิดในน้ำ นั่นแหละ แต่อยู่ได้ไม่เปียกน้ำ. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ เมื่อทูลโอวาทพระราชานั้นว่า ถึงพระราชา ก็ควรเป็นแบบนี้ เหมือนกัน จึงได้ทูลคาถาว่า :-

ดอกบัวหลวง มีเง่าขาว ผุดขึ้นจากน้ำที่สะอาด เกิดในสระโบกขรณี บานเพราะพระอาทิตย์ มีแสงเหมือนแสงไฟ โคลนตม

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 214

ก็ไม่เปื้อน ผงธุลีก็ไม่เลอะ น้ำก็ไม่เปียกมัน ฉันใด. พระราชาผู้เช่นนั้น ก็ฉันนั้น กรรมกิเลสจะไม่เปรอะเปื้อนพระองค์ ผู้มีพระราชวินิจฉัยสะอาด ไม่ทรงผลุนผลัน มีพระราชกิจบริสุทธิ์ ทรงปราศจากกรรม ที่เป็นบาป เหมือนดอกบัว ที่เกิดในสระโบกขรณีทั้งหลาย ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอทาตมูลํ ได้แก่ มีเง่าขาว. คำว่า อัมพุช เป็นไวพจน์ของดอกบัว นั่นเอง. บทว่า อคฺคินิภาสิผาลิมํ ความว่า บานแล้ว อธิบายว่า แย้มบานแล้ว เพราะพระอาทิตย์มีแสง เหมือนแสงไฟ. บทว่า น กทโม น รโช น วาริ ลิปฺปติ ความว่า โคลนตม ก็ไม่เปื้อน ผงธุลีก็ไม่เลอะ น้ำก็ไม่เปียก อธิบายว่า ไม่เปรอะเปื้อน. ปาฐะ บาลีว่า ลิมปติ ก็มี. อึกอย่างหนึ่ง บทเหล่านั้น เป็นปฐมาวิภัติ ใช้ในความหมาย สัตมีวิภัติ. ความหมายก็ว่า ไม่แปดเปื้อน คือ ไม่ติดอยู่ในโคลนตม เป็นต้น เหล่านั้น. บทว่า โวหารสุจึ ความว่า ทรงเป็นผู้สะอาด ในเพราะการทรงตัดสินคดี ตามกฏหมาย ที่พระราชาทั้งหลาย ผู้ทรงธรรมเก่าก่อน ทรงตราไว้ อธิบายว่า ผู้ทรงละการลุอำนาจอคติ ทำการวินิจฉัยโดยธรรม. บทว่า อสาหสํ ความว่า ชื่อว่า ทรงเว้นจากพระราชกิริยา ที่หุนหันพลันแล่น เพราะเหตุที่ทรงดำรงอยู่ ในพระราชวินิจฉัย ที่ชอบธรรม นั่นเอง. บทว่า วิสุทฺธกมฺมํ ความว่า

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 215

ชื่อว่า ทรงมีพระราชกิจบริสุทธิ์ คือ มีปกติตรัสคำจริง ได้แก่ ไม่ทรงพิโรธ หมายความว่า ทรงเป็นกลาง เท่ากับว่า ทรงเป็นเหมือนตราชู เพราะเหตุที่พระองค์ ไม่ทรงผลุนผลันนั้น นั่นเอง บทว่า อเปตปาปกํ ได้แก่ ทรงปราศจากบาปกรรม. บทว่า น ลิมฺปติ กมฺมกิเลส ความว่า กรรมกิเลสนี้ คือ ปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑ มุสาวาท ๑ ไม่ติดเปื้อนพระราชานั้น. เพราะเหตุไร? เพราะพระราชา ผู้เช่นนั้น ก็เหมือนดอกบัว ที่เกิดแล้วในสระโบกขรณี. อธิบายว่า ข้าแต่มหาราช พระราชาผู้เช่นนั้น ทรงเป็นผู้ชื่อว่า อันอะไรไม่เปื้อนเปรอะแล้ว เหมือนดอกปทุม ที่เกิดแล้ว ในสระโบกขรณี อันอะไร ไม่เปื้อนเปรอะแล้ว.

พระราชาทรงดำรง อยู่ในโอวาท ของพระโพธิสัตว์แล้ว จำเดิมแต่นั้นมา ก็ทรงครองราชย์โดยธรรม ทรงบำเพ็ญบุญทั้งหลาย มีทาน เป็นต้น แล้วได้ทรงเป็นผู้มีสวรรค์ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแล้ว ได้ทรงประชุมชาดกไว้ว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้แก่ พระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิต คือ เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา กุกกุชาดกที่ ๑