พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. มโนชชาดก ว่าด้วยคบคนชั่วไม่ได้ความสุขยั่งยืน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35858
อ่าน  398

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 216

๒. มโนชชาดก

ว่าด้วยคบคนชั่วไม่ได้ความสุขยั่งยืน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 216

๒. มโนชชาดก

ว่าด้วยคบคนชั่วไม่ได้ความสุขยั่งยืน

[๙๗๖] เพราะเหตุที่ธนูโก่ง และสายธนูสะบัด ฉะนั้น มโนชะมฤคราช สหายของเรา ถูกฆ่า แน่นอน.

[๙๗๗] ช่างเถอะ เราจะหลีกเข้าป่า ที่เร้นลับไปตามสบาย เพื่อนเช่นนี้ จะไม่มี เรายังมีชีวิตอยู่ คงได้เพื่อนอีก.

[๙๗๘] ผู้คบหาคนเลวตามปกติ จะไม่ประสบความสุขโดยส่วนเดียว จงดูมโนชะ ผู้นอนอยู่ เถิด ผู้เชื่อฟัง อนุสาสนีของสุนัขจิ้งจอก ชื่อ คิริยะ.

[๙๗๙] แม่จะไม่บันเทิงใจ เพราะลูกมีเพื่อน ที่เลวทราม จงดูมโนชะ ผู้นอนจมกองเลือด ของตนอยู่เถิด.

[๙๘๐] คนผู้ที่ไม่ทำตามถ้อยคำ ของผู้เกื้อกูล ผู้ชี้ประโยชน์ให้ จะประสบอย่างนี้ และจะพบ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 217

เพื่อนที่เลวทรามกว่า.

[๙๘๑] เมื่อเป็นเช่นนั้น คนผู้ที่สูงส่ง แต่คบหาคนที่ต่ำทราม จะเป็นคนเลว ว่าคนนั้น ทีเดียว จงดูพระยาเนื้อ คือ มโนชะผู้สูงส่ง แต่คบหาสัตว์ต่ำช้า คือ สุนัขจิ้งจอก ถูกกำจัด ด้วยกำลังลูกศร.

[๙๘๒] คนผู้คบหาคนเลวทราม เป็นปกติ จะเสื่อมเสีย แค่ผู้คบหาคนเสมอกัน เป็นปกติ จะไม่เสื่อมเสีย ในกาลไหนๆ ส่วนผู้คบหาคนที่ประเสริฐ ที่สุดอยู่ จะเข้าถึงเขาโดยเร็ว ด้วยคุณความดี เพราะฉะนั้น คนควรคบ แต่คนที่สูงกว่าตน.

จบ มโนชชาดกที่ ๒

อรรถกถามโนชชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุ ผู้คบหาสมาคมฝ่ายที่ผิดแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยถา จาโป นินฺนมติ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 218

ความพิสดารว่า ในมหิฬามุขชาดก ในหนหลัง. แต่ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสว่า ไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในปางบรรพ์ภิกษุนั้น ก็เป็นผู้ซ่องเสพ ฝ่ายที่ผิดเหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอาเรื่อง ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ เป็นสิงห์โตตัวผู้ อยู่กับสิงห์โตตัวเมีย ได้ลูก ๒ ตัว คือ ลูกตัวผู้ ๑ ตัว ตัวเมีย ๑ ตัว. ลูกตัวผู้ได้มีชื่อว่า มโนชะ. มันเติบโตแล้ว รับเอาลูกสิงห์โตตัวหนึ่ง มาเป็นเมีย. ดังนั้นสิงห์โตเหล่านั้น จึงมีรวมกัน ๕ ตัว. สิงห์โตมโนชะ ได้ฆ่ากระบือ เป็นต้น ในป่า นำเนื้อมาเลี้ยงพ่อแม่ น้องสาว และเมีย. อยู่มาวันหนึ่งมันเห็นสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ชื่อ คิริยะ ที่ถิ่นหากินเหยื่อหนีไม่ทัน ได้นอนหมอบลง จึงถามว่า สหายเอ๋ยอะไรกัน เมื่อสุนัขจิ้งจอกบอกว่า ข้าแต่นาย ฉันประสงค์จะปรนนิบัตินาย จึงรับมันไว้แล้วนำมายังถ้ำ ซึ่งเป็นที่อยู่ของตน. พระโพธิสัตว์ เห็นพฤติการณ์นั้นแล้ว แม้ห้ามอยู่ว่า ลูกมโนชะเอ๋ย ธรรมดาสุนัขจิ้งจอกทั้งหลาย ทุศีล มีบาปธรรม ประกอบสิ่งที่ไม่ใช่กิจ เจ้าอย่าเอาสุนัขจิ้งจอกนั้น ไว้ในสำนักของตน ดังนี้ ก็ไม่อาจจะห้ามได้. อยู่มาวันหนึ่งสุนัขจิ้งจอก อยากจะกินเนื้อม้า จึงพูดกะมโนชะว่า ข้าแต่นาย ขึ้นชื่อว่า เนื้ออย่างอื่น เว้นไว้แต่เนื้อม้า ที่พวกเราไม่เคยกินไม่มี พวกเราจักตระครุบม้ากันเถอะ. มโนชะถามว่า ม้ามีที่ไหน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 219

นะ? สุนัขจิ้งจอกตอบว่า ที่ฝั่งแม่น้ำเมืองพาราณสี. มโนชะรับคำสุนัขจิ้งจอกแล้ว ไปกับมัน ในเวลาที่ม้าทั้งหลาย พากันอาบน้ำในแม่น้ำ ตะครุบม้าได้ตัวหนึ่ง ยกขึ้นหลังมาถึง ประตูถ้ำของตนทีเดียว ด้วยกำลังสิงห์โต. ลำดับนั้น พ่อของเขากัดกินเนื้อม้าแล้ว จึงพูดว่า ธรรมดา ม้าเป็นสัตว์สำหรับใช้สอยของหลวง. และพระราชาทั้งหลาย ก็ทรงมีมายามากมาย ตรัสสั่งให้พวกนายขมังธนูผู้ฉลาด คือ แม่นธนูยิง. ขึ้นชื่อว่า สิงห์โตที่กินเนื้อม้า ที่จะอายุยืนไม่มี ต่อแต่นี้ไปเจ้าอย่าตะครุบม้ามากิน. มโนชะไม่ทำตามคำพ่อ ยังตะครุบอยู่ นั่นแหละ. พระราชาทรงสดับว่า สิงห์โตตะครุบม้ากิน จึงทรงให้สร้างสระโบกขรณี สำหรับม้าไว้ภายในพระนคร นั่นเอง. แม้จากสระโบกขรณีนั้น สิงห์โต ก็ยังมาตะครุบเอาเหมือนกัน. พระราชาจึงทรงให้สร้างโรงม้า แล้วให้หญ้าและน้ำแก่ม้า ในภายในโรงนั้นเอง. สิงห์โตก็ไปทางด้านบนกำแพง ตะครุบเอาจากภายในโรง นั่นแหละ. พระราชาตรัสสั่ง นายขมังธนูยิงเร็ว คือ ยิงไม่ขาดระยะคนหนึ่งมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าจักอาจยิงสิงห์โต ได้ไหม? เขาทูลว่า ได้พระพุทธเจ้าข้า แล้วได้ให้คนสร้างป้อมไว้ ชิดกำแพงใกล้ทางสิงห์โตมา แล้วได้ยืนบนนั้น. สิงห์โตมาแล้ว ให้สุนัขจิ้งจอก ยืนอยู่นอกป่าช้า แล้ววิ่งเข้าพระนคร เพื่อจะตะครุบม้า. ฝ่ายนายขมังธนู เวลาสิงห์โตมา คิดว่า สิงห์โตมีความรวดเร็วมาก จึงยังไม่ยิง แต่เวลามันตะครุบม้า แล้วเดินไป จึงยิงสิงห์โต ที่ลดความเร็วลงแล้ว

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 220

เพราะแบกหนัก ด้วยลูกศรที่แหลมคมที่ด้านหลัง. ลูกศรทะลุออกทางด้านหน้า แล้ววิ่งไปในอากาศ. สิงห์โตร้องว่า ข้าถูกยิงแล้ว. นายขมังธนูยิงสิงห์โตนั้น สะบัดสายดังเหมือนสายฟ้า สุนัขจิ้งจอกได้ยิน เสียงสิงห์โต และเสียงสายธนูแล้ว คิดว่า สหายของเรา จักถูกนายขมังธนู ยิงให้ตายแล้ว ธรรมดาว่า ความคุ้นเคยกับสัตว์ทั้งหลาย ที่ตายแล้ว ย่อมไม่มี บัดนี้ เราจักไปที่อยู่ของเรา ตามปกติ นั่นแหละ. เมื่อจะเจรจากับตัวเอง จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

เพราะเหตุที่ธนูโก่ง และสายธนูสะบัด ฉะนั้น มโนชะมฤคราช สหายของเรา ถูกฆ่าแน่นอน. ช่างเถอะ วันนี้เราจะหลีกเข้าป่า ที่เร้นลับไป ตามสบาย เพื่อนเช่นนี้ จะไม่มี เรายังมีชีวิตอยู่ คงได้เพื่อนอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา ความว่า ธนูโก่ง เพราะ เหตุใด. บทว่า หญฺเต นูน ความว่า ถูกฆ่าแน่. บทว่า เนตาทิสา ความว่า ธรรมดาสหายแบบนี้ คือ สู้ตายแล้ว จะไม่มี. บทว่า ลพฺภา ความว่า ธรรมดาว่าสหาย เรามีชีวิตอยู่ อาจหาได้อีก.

ฝ่ายสิงห์โตวิ่งไปด้วยความเร็ว อย่างเอกทีเดียว สลัดให้ม้าตกลง ที่ประตูถ้ำ แล้วตนเองก็ล้มลงตาย. ภายหลังญาติของมัน พากันออกไปดู

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 221

ได้เห็นมันเปื้อนเลือด มีเลือดไหลออกจากปากแผล ที่ถูกยิง ถึงความสิ้นชีวิต เพราะคบสัตว์เลว. พ่อ แม่ น้องสาว และเมียของมัน ได้พากัน กล่าวคาถา ๔ คาถา ตามลำดับว่า :-

ผู้คบสัตว์เลวตามปกติ จะไม่ประสบความสุข โดยส่วนเดียว จงดูมโนชะ ผู้นอนอยู่เถิด ผู้เชื่อฟังอนุสาสนี ของสุนัขจิ้งจอก ชื่อ คิริยะ. แม่จะไม่บันเทิงใจ เพราะลูกมีเพื่อนที่เลวทราม จงดูมโนชะ ผู้นอนจมกองเลือด ของตนอยู่เถิด. คนผู้ที่ไม่ทำตามถ้อยคำ คนที่เกื้อกูล ผู้ชี้ประโยชน์ให้ จะประสบอย่างนี้ และจะพบเพื่อนที่เลวทรามกว่า. เมื่อเป็นเช่นนั้น คนผู้ที่สูงส่ง แต่คบหาคนที่ต่ำทราม จะเป็นคนเลวกว่า คนนั้นทีเดียว. จงดูพระยาเนื้อ คือ มโนชะผู้สูงส่ง แต่คบหาสัตว์ต่ำช้า คือ สุนัขจิ้งจอก ถูกกำจัด ด้วยกำลังลูกศร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺจนฺตํ สุขเมธติ ความว่า ไม่ได้ความสุขตลอดกาลนาน. บทว่า คิริยสฺสานุสาสนี ความว่า พระโพธิสัตว์ผู้เป็นพ่อ กล่าวตำหนิว่า นี้เป็นอนุสาสนี ของสุนัขจิ้งจอก ชื่อ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 222

คิริยะ มีรูปอย่างนี้. บทว่า ปาปสมฺปวงฺเกน ความว่า มีเพื่อนที่เลวทราม. บทว่า อจฺฉนฺตํ ได้แก่ จมลง. บทว่า ปาปิโย จ นิคจฺฉติ ความว่า จะพบเพื่อนที่เลวทราม. บทว่า หิตานํ ความว่า ผู้มุ่งประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า อตฺถทสฺสินํ ความว่า ผู้ชี้แนะประโยชน์อนาคต บทว่า ปาปิโย ได้แก่ เลวกว่า. บทว่า อธมชนูปเสวี ความว่า คบหาคนชั่วช้า. บทว่า อุตฺตมํ ความว่า ผู้เจริญที่สุด ด้วยกำลังร่างกาย

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสอภิสัมพุทธคาถาหลังสุดว่า :-

คนผู้คบหาคนเลวทราม เป็นปกติ จะเสื่อมเสีย แต่ผู้คบหาคนเสมอกัน เป็นปกติ จะไม่เสื่อมเสีย ในกาลไหนๆ ส่วนผู้คบหาคนที่ประเสริฐที่สุดอยู่ จะเข้าถึงเขาโดยเร็ว. เพราะฉะนั้น คนควรคบ แต่คนที่สูงกว่าตน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิหียติ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่า ผู้คบคนเลว ย่อมเสื่อมไป คือ เสียหาย ได้แก่ ถึงความพินาศ. บทว่า ตุลฺยเสวี ความว่า ผู้คบหาคนผู้เช่นกับด้วยตน ด้วยคุณความดีทั้งหลาย มีศีล เป็นต้นอยู่ จะไม่เสื่อมเสีย. แต่เขาจะมีความเจริญอย่างเดียว. บทวา เสฏฺมุปคมํ ความว่า เมื่อเข้าไปหาคนที่สูงๆ กว่าตน ด้วยคุณความดี มีศีล เป็นต้น นั่นแหละ. บทว่า อุเทติ ขิปฺปํ ความว่า จะเข้าถึงเขาด้วยคุณความดี มีศีล เป็นต้น โดยเร็วทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 223

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจจะ ภิกษุผู้คบหาฝ่ายผิด ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. หมาจิ้งจอกในครั้งนั้น ได้แก่ พระเทวทัต ในบัดนี้ มโนชะ ได้แก่ ภิกษุผู้คบฝ่ายผิด น้องสาว ได้แก่ พระอุบลวรรณาเถรี เมีย ได้แก่ พระเขมาภิกษุณี แม่ ได้แก่ มารดาพระราหุล ส่วนพ่อ ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา มโนชชาดกที่ ๒