พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ทัพพปุปผชาดก ว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35861
อ่าน  408

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 241

๕. ทัพพปุปผชาดก

ว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 241

๕. ทัพพปุปผชาดก

ว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน

[๙๙๗] สหายนาก ผู้เที่ยวหากินตามฝั่ง ขอท่านจงมีความเจริญ จงตามฉันมาเถิด ฉันจับ ปลาตัวใหญ่ได้แล้ว มันลากฉันไป ด้วยกำลังเร็ว.

[๙๙๘] นากผู้เที่ยวหากินในน้ำลึก ขอท่านจงมีความเจริญ ท่านจงคาบไว้ให้มั่น ด้วยกำลัง เราจักยกปลานั้นขึ้น เหมือนครุฑยกนาคขึ้น ฉะนั้น.

[๙๙๙] สหายทรรพบุบผา พวกเราเกิดทะเลาะกันขึ้น ขอท่านจงฟังเรา ดูก่อนสหาย ขอจง ระงับความบาดหมางกัน ขอให้ข้อพิพาท จงสงบลง.

[๑๐๐๐] เราเป็นผู้พิพากษามาก่อน ได้พิจารณาคดีมาแล้ว มากมาย สหาย เราจะระงับความบาดหมางกัน ข้อพิพาทจะสงบลง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 242

[๑๐๐๑] สหายผู้เที่ยวหากินตามฝั่ง ท่อนหาง จักเป็นของเจ้า แต่ท่อนหัว จักเป็นของผู้เที่ยวหากิน ในน้ำลึก ส่วนอีกท่อนกลางนี้ จักเป็นของผู้ตัดสิน.

[๑๐๐๒] ถ้าเราไม่วิวาทกันไซร้ ท่อนกลาง ก็จักเป็นอาหาร ไปได้นานวัน แต่เพราะวิวาทกัน สุนัขจิ้งจอก จึงนำเอาปลาตะเพียนแดง ที่ไม่ใช่หัว ไม่ใช่หางไป คือ ท่อนกลาง.

[๑๐๐๓] วันนี้ฉันเห็นผัว มีอาหารเต็มปาก จึงชื่นใจ เหมือนกษัตริย์ได้ราชสมบัติ เป็นพระราชา แล้วพึงทรงชื่นชมก็ปานกัน.

[๑๐๐๔] พี่เป็นสัตว์เกิดบนบก ไฉนหนอ จึงจับปลาในน้ำได้ ดูก่อนพี่ร่วมชีวิต พี่ถูกฉันถามแล้ว ขอจงบอกฉันว่า พี่ได้มาอย่างไร?

[๑๐๐๕] คนทั้งหลาย ผ่ายผอม เพราะวิวาทกัน มีความสิ้นทรัพย์ ก็เพราะวิวาทกัน นาก ๒ ตัว พลาดปลาชิ้นนี้ เพราะทะเลาะกัน แม่งามงอน เจ้าจงกินปลาตะเพียนแดงเถิด.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 243

[๑๐๐๖] ในหมู่มนุษย์ ข้อพิพาทกันเกิดขึ้น ณ ที่ใด พวกเขาจะวิ่งหาผู้พิพากษา เพราะผู้พิพากษา เป็นผู้แนะนำพวกเขา ฝ่ายพวกเขา ก็จะเสียทรัพย์ ณ ที่นั้น เหมือนนาก ๒ ตัว นั่นเอง แต่คลังหลวงเจริญขึ้น.

จบ ทัพพปุปผชาดกที่ ๕

อรรถกถาทัพพปุปผชาดกที่ ๕

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ พระอุปนันทศากยบุตร แล้วจึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อนุตีรจารี ภทฺทนฺเต ดังนี้.

ดังจะกล่าวโดยย่อ ท่านบวชในพระศาสนาแล้ว ละคุณธรรม มีความปรารถนาน้อย เป็นต้น ได้เป็นผู้มีความทะยานอยากมาก. ในวันเข้าพรรษา ท่านยึดครองวัดไว้ ๒, ๓ วัด คือ วางร่ม หรือรองเท้าไว้วัดหนึ่ง ไม้เท้าคนแก่ หรือหม้อน้ำไว้ อีกวัดหนึ่ง ตนเองก็อยู่วัดหนึ่ง. ท่านจำพรรษาที่วัด ในชนบทวัดหนึ่ง สอนปฏิปทา อันเป็นวงศ์ของพระอริยเจ้า ที่แสดงถึงความสันโดษ ในปัจจัยแก่ภิกษุทั้งหลาย แจ่มชัดเหมือนยกพระจันทร์ ขึ้นในอากาศ ก็ปานกันว่า ธรรมดาภิกษุ ควรเป็นผู้มักน้อย. ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังคำนั้นแล้ว พากันทิ้งบาตร และจีวร ที่น่าชอบใจ รับเอาบาตรดิน-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 244

เหนียว และผ้าบังสุกุล. ท่านให้ภิกษุทั้งหลาย วางของเหล่านั้นไว้ ณ ที่อยู่ ท่านออกพรรษาปวารณาแล้ว บรรทุกเต็มเกวียนไป พระเชตวันมหาวิหาร ถูกเถาวัลย์เกี่ยวเท้า ที่ด้านหลังวัดป่าแห่งหนึ่ง ในระหว่างทาง เข้าใจว่า จักต้องมีของอะไร ที่เราควรได้ในวัดนี้ แน่นอน แล้วจึงแวะวัด นั้น. ในวัดนั้นภิกษุแก่ คือ หลวงตา จำพรรษาอยู่ ๒ รูป. ท่านได้ผ้าสาฎก เนื้อหยาบ ๒ ผืน และผ้ากัมพล เนื้อละเอียดผืนหนึ่ง ไม่อาจจะแบ่งกันได้ เห็นท่านมาดีใจว่า พระเถระ จักแบ่งให้พวกเราได้แน่ จึงพากันเรียนท่านว่า ใต้เท้าขอรับ พวกกระผมไม่สามารถ แบ่งผ้าจำนำพรรษานี้ได้ พวกกระผมจะมีการวิวาทกัน เพราะผ้าจำนำพรรษานี้ ขอใต้เท้า จงแบ่งผ้านี้ ให้แก่พวกกระผม. ท่านรับปากว่า ดีแล้ว ผมจักแบ่งให้ แล้วได้แบ่งผ้าสาฎกเนื้อหยาบ ให้ภิกษุ ๒ รูป บอกว่า ผืนนี้ คือ ผ้ากัมพล ตกแก่ผม ผู้เป็นพระวินัยธร แล้วก็หยิบเอาผ้ากัมพล หลีกไป. พระเถระ แม้เหล่านั้น ยังมีความอาลัย ในผ้ากัมพล จึงพากันไปเชตวันมหาวิหาร พร้อมกับท่านอุปนันทะนั้น นั่นแหละ ได้บอกเนื้อความนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นพระวินัยธร แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญมีหรือไม่หนอ การที่พระวินัยธรทั้งหลาย กินของที่ริบมาได้อย่างนี้. ภิกษุทั้งหลาย เห็นกองบาตร และจีวร. ที่พระอุปนันทะนำมาแล้ว พูดว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านมีบุญมากหรือ? ท่านจึงได้บาตร และจีวรมาก. ท่านบอกทุกอย่างว่า ท่านผู้มีอายุ ผมจักมีบุญแต่ที่ไหน? บาตร และจีวรนี้ ผมได้มาด้วยอุบายนี้. ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 245

ทั้งหลาย พากันตั้งเรื่องขึ้น ในธรรมสภาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท่านอุปนันทะ ศากยบุตร มีตัณหามาก มีความโลภมาก. พระศาสดาเสด็จมาถึง แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลาย นั่งสนทนากัน ด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พระอุปนันทะ ไม่ทำสิ่งที่เหมาะสมแก่ปฏิปทา ธรรมดาว่า ภิกษุเมื่อจะบอกปฏิปทา แก่ผู้อื่น ควรจะทำให้เหมาะสม แก่ตนก่อน แล้วจึงให้โอวาทผู้อื่น ในภายหลัง ครั้นทรงแสดงธรรม ด้วยคาถาในธรรมบทนี้ว่า :-

คนควรตั้งตนเองไว้ ในที่เหมาะสมก่อน ภายหลัง จึงพร่ำสอนผู้อื่น ผู้ฉลาด ไม่ควรจะมัวหมอง.

แล้วตรัสว่า พระอุปนันทะ ไม่ใช่มีความโลภมาก แต่ในบัดนี้ เท่านั้น แม้เมื่อแต่ก่อน เธอก็มีความโลภมากเหมือนกัน และก็ไม่ใช่ แต่ในบัดนี้ เท่านั้น แม้เมื่อก่อน เธอก็ริบสิ่งของ ของภิกษุเหล่านี้ เหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอาเรื่อง ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ ได้เป็นรุกขเทวดา ที่ฝั่งแม่น้ำ. ครั้งนั้นสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ชื่อ มายาวี คือ เจ้าเล่ห์ พาเมียไปอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง ใกล้ฝั่งแม่น้ำ. อยู่มาวันหนึ่ง สุนัขจิ้งจอกตัวเมีย พูดกับตัวผู้ว่า พี่ฉัน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 246

เกิดแพ้ท้อง แล้วฉันอยากกินเนื้อ ที่ยังมีเลือดสดๆ อยู่. สุนัขจิ้งจอกตัวผู้ บอกว่า น้องอย่าท้อใจ พี่จักนำมาให้น้องให้ได้ จึงเดินไปริมฝั่งน้ำ ถูกเถาวัลย์คล้องขา จึงได้เดินไปตามฝั่ง นั่นเอง. ขณะนั้น นาก ๒ ตัว คือ ตัวหนึ่ง เที่ยวหากินน้ำลึกเป็นปกติ ส่วนตัวหนึ่ง เที่ยวหากินตามฝั่งเป็นปกติ กำลังเสาะแสวงหาปลา ได้หยุดยืนอยู่ที่ตลิ่ง. บรรดานาก ๒ ตัวนั้น ตัวเที่ยวหากินน้ำลึก เห็นปลาตะเพียนแดงตัวใหญ่ จึงดำน้ำไปโดยเร็ว คาบทางปลาไว้ได้. แต่ปลาแรงมากฉุดนากไป. นากตัวที่เที่ยวหากินน้ำลึก จึงเจรจาตกลง กับนากอีกตัวหนึ่งว่า ปลาตัวใหญ่จักพอกิน สำหรับเราทั้ง ๒ มาเถอะ จงเป็นสหายผู้ร่วมงานของเรา แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ดูก่อนสหายนาก ผู้เที่ยวหากินตามฝั่ง ขอท่านจงมีความเจริญ จงตามฉันมาเถิด ฉันคาบ ปลาตัวใหญ่ไว้ แล้วมันลากฉันไป ด้วยกำลังเร็ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหายมนุธาว มํ ความว่า สหาย จงตามฉันมา. อักษรท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจสนธิ. มีคำอธิบายว่า ขอสหายจงตามฉันมา คาบท่อนหางไว้ เหมือนฉัน ไม่ท้อถอย เพราะการจับปลาตัวนี้ ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 247

นากอีกตัวหนึ่ง ได้ยินคำนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนนากผู้เที่ยวหากินในน้ำลึก ขอท่านจงมีความเจริญ ท่านจงคาบไว้ให้มั่น ด้วยกำลัง เราจักยกปลานั้นขึ้น เหมือนครุฑยกนาค ขึ้นฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ถามสา ความว่า ด้วยกำลัง. บทว่า อุทฺธริสฺสามิ ความว่า จักนำออกไป. บทว่า สุปณฺโณ อุรคมฺมิว ความว่า เหมือนครุฑยกงูขึ้น ฉะนั้น.

ลำดับนั้น นากทั้ง ๒ ตัวนั้น ร่วมกันนำปลาตะเพียนแดง ออกมาได้ วางให้ตายอยู่บนบก เกิดการทะเลาะกันว่า แบ่งสิแก แบ่งสิ แล้วไม่อาจแบ่งกันได้ จึงหยุดนั่งกันอยู่. ขณะนั้น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเข้า มาถึงที่นั้น. นากเหล่านั้นเห็นแล้ว ทั้ง ๒ ตัว จึงพากันต้อนรับแล้ว พูดว่า สหายทรรพบุบผา ปลาตัวนี้ พวกเราจับได้ร่วมกัน เมื่อพวกเราไม่สามารถ จะแบ่งกันได้ จึงเกิดขัดแย้งกันขึ้น ขอเชิญท่านแบ่งปลา ให้พวกเราเท่าๆ กันเถิด แล้วได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

สหายทรรพบุบผา พวกเราเกิดทะเลาะกันขึ้น ขอท่านจงฟังเรา ดูก่อนสหาย ขอจง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 248

ระงับ ความบาดหมางกัน ขอให้ข้อพิพาท จงสงบลง.

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถานั้น นากเรียกสุนัขจิ้งจอกว่า ทรรพบุบผา เพราะมันมีสีเหมือนดอกหญ้าคา. บทว่า เมธคํ ได้แก่ การทะเลาะกัน.

สุนัขจิ้งจอก ได้ยินถ้อยคำของนาก เหล่านี้แเล้ว เมื่อจะแสดงถึงปรีชาสามารถของตน จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

เราเป็นผู้พิพากษามาก่อน ได้พิจารณาคดีมาแล้ว มากมาย สหาย เราจะระงับความ บาดหมางกัน ข้อพิพาทจงสงบลง.

สุนัขจิ้งจอกครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว เมื่อจะแบ่งปลา จึงกล่าวคาถา นี้ว่า :-

สหาย ผู้เที่ยวหากินตามฝั่ง ท่อนหาง จักเป็นของเจ้า แต่ท่อนหัว จักเป็นของผู้เที่ยวหากินในน้ำลึก ส่วนอีกท่อนกลางนี้ จักเป็นของผู้ตัดสิน.

บรรดาคาถาทั้ง ๒ นั้น คาถาที่ ๑ มีเนื้อความดังนี้. เราเคยเป็นผู้พิพากษา ของพระราชาทั้งหลาย มาก่อน เรานั้นนั่งในศาล พิจารณา

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 249

คดีมามากทีเดียว คือ คดีมากมายของพราหมณ์ และคหบดีทั้งหลาย เหล่านั้นๆ เราพิจารณา คือวินิจฉัยมาแล้ว เรานั้น จักไม่อาจพิจารณาคดี ของสัตว์ ๔ เท้าทั้งหลาย ผู้มีชาติเสมอกัน เช่น ท่านทั้งหลาย ได้อย่างไร เราจะระงับ ความร้าวรานของท่านทั้งหลาย สหาย ความวิวาทบาดหมางกัน จงสงบ คือ ระงับไป เพราะอาศัยเรา. ก็แหละ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว มันก็แบ่งปลาเป็น ๓ ส่วนแล้วบอกว่า. ดูก่อนนากตัวเที่ยวหากินตามฝั่ง เจ้าจงคาบเอาท่อนหาง ท่อนหัวจงเป็นของตัวเที่ยวหากินในน้ำลึก. บทว่า อจฺจายํ มชฺฌิโม ขณฺโฑ ความว่า อีกส่วนท่อนกลางนี้. อีกอย่างหนึ่งบทว่า อจฺจ ความว่า เลยไป คือ ท่อนที่อยู่เลย ส่วนทั้ง ๒ นี้ไป ได้แก่ ท่อนกลางนี้ จักเป็นของผู้พิพากษา คือ นายผู้วินิจฉัยคดี.

สุนัขจิ้งจอก ครั้นแบ่งปลาอย่างนี้แล้ว ก็บอกว่า เจ้าทั้งหลาย อย่าทะเลาะกัน แล้วพากันกินท่อนหาง และท่อนหัวเถิด แล้วก็เอาปากคาบ เอาท่อนกลาง หนีไปทั้งๆ ที่นาก ๒ ตัวนั้น เห็นอยู่นั่นแหละ. นาก ๒ ตัวนั้น นั่งหน้าเสีย เหมือนแพ้ ตั้งพันครั้ง แล้วได้กล่าวคาถาที่ ๖ ว่า :-

ถ้าเราไม่วิวาทกันไซร้ ท่อนกลาง ก็จักเป็นอาหารไป ได้นานวัน แต่เพราะวิวาทกัน สุนัขจิ้งจอก จึงนำเอาปลาตะเพียนแดง ที่ไม่ใช่หัว ไม่ใช่หางไป คือ ท่อนกลาง.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 250

ฝ่ายสุนัขจิ้งจอก ดีใจว่า วันนี้เราจักให้เมีย กินปลาตะเพียนแดง แล้วได้มา ที่สำนักของเมียนั้น. นางเมียเห็นผัวกำลังมา ดีใจเป็นอย่างยิ่ง จึงได้กล่าว คาถานี้ว่า :-

วันนี้ ฉันเห็นผัวมีอาหารเต็มปาก จึงชื่นใจเหมือนกษัตริย์ ได้ราชสมบัติ เป็นพระราชาแล้ว พึงทรงชื่นพระทัย ก็ปานกัน.

ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว เมื่อถามถึงอุบาย ที่ได้อาหารมา จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

พี่เป็นสัตว์เกิดบนบก ไฉนหนอ จึงจับปลาในน้ำได้ ดูก่อนพี่ร่วมชีวิต พี่ถูกฉันถามแล้ว ขอจงบอกฉันว่า พี่ได้มาอย่างไร?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กถนฺนุ ความว่า เมื่อสุนัขจิ้งจอก ผัวบอกว่า จงกินเถิดน้อง แล้ววางชิ้นปลา ไว้ข้างหน้า สุนัขจิ้งจอกตัวเป็นเมีย จึงถามว่า พี่เป็นสัตว์เกิดบนบก แต่จับปลาในน้ำมาได้อย่างไร?

สุนัขจิ้งจอกตัวเป็นผัว เมื่อจะบอกอุบาย ที่ได้ปลานั้นมา จึงกล่าว คาถาติดต่อกันไปว่า :-

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 251

คนทั้งหลายผ่ายผอม เพราะวิวาทกัน มีความสิ้นทรัพย์ ก็เพราะวิวาทกัน นาก ๒ ตัว พลาดปลาชิ้นนี้ เพราะทะเลาะกัน แม่งามงอน เจ้าจงกินปลาตะเพียนแดงเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวาเทน กิสา โหนฺติ ความว่า น้องนางผู้เจริญเอ๋ย สัตว์เหล่านี้ เมื่อทำการวิวาทกัน อาศัยการวิวาท จะผ่ายผอม คือ มีเนื้อ และโลหิตน้อย. บทว่า วิวาเทน ธนกฺขยา ความว่า ถึงความสิ้นทรัพย์ทั้งหลาย มีเงิน และทอง เป็นต้น ก็มีเพราะการวิวาทกัน นั่นเอง. เมื่อคนทั้ง ๒ วิวาทกัน คนหนึ่งแพ้ เพราะแพ้ จึงถึงความสิ้นทรัพย์ เพราะให้ส่วนแห่งความชนะ แก่ผู้พิพากษา. บทว่า ชินา อุทฺทา ความว่า นาก ๒ ตัว พลาดปลาชิ้นนี้ไป เพราะวิวาทกัน นั่นเอง เพราะฉะนั้น เธออย่าถาม ถึงเหตุ แห่งปลาชิ้นนี้ ที่เรานำมาแล้ว ดูก่อนน้อง เธอจงกินปลาตะเพียนแดงชิ้นนี้ อย่างเดียว.

คาถานอกนี้ เป็นคาถาของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้ยิ่งแล้วว่า ดังนี้ :-

ในหมู่มนุษย์ ข้อพิพาทกันเกิดขึ้น ณ ที่ใด พวกเขาจะวิ่งหาผู้พิพากษา เพราะผู้พิพากษา เป็นผู้แนะนำพวกเขา ฝ่ายพวกเขาก็จะเสีย

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 252

ทรัพย์ ณ ที่นั้น เหมือนนาก ๒ ตัว นั้นเอง แต่คลังหลวงเจริญขึ้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวเมว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นาก ๒ ตัวนั้น พลาดไปแล้วฉันใด ถึงในหมู่มนุษย์ก็เช่นนั้น เหมือนกัน ณ ที่ใด เกิดการวิวาทกันขึ้น ณ ที่นั้น คนทั้งหลาย จะวิ่งหาผู้พิพากษา คือ เข้าไปหาเจ้านายผู้ตัดสิน. เพราะเหตุไร? เพราะว่าท่านเป็นผู้แนะนำ พวกเขา อธิบายว่า เป็นผู้จะให้ข้อพิพาทของพวกเขา ที่ทะเลาะกันสงบลงได้. บทว่า ธนาปิ ตตฺถ ความว่า พวกเขาผู้วิวาทกันจะเสื่อม แม้จากทรัพย์ ณ ที่นั้น อธิบายว่า จะเสื่อมจากของที่มีอยู่ ของตน. แต่คลังหลวงจะเจริญขึ้น เพราะสินไหม และเพราะรับส่วนแบ่ง จากชัยชนะ.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแล้ว ทรงประชุมชาดกไว้ว่า สุนัขจิ้งจอก ในครั้งนั้น ได้แก่ พระอุปนันทะ ในบัดนี้ นาก ๒ ตัว ได้แก่ ภิกษุแก่ ๒ รูป ส่วนรุกขเทวา ผู้ทำเหตุนั้น ให้เห็นประจักษ์ ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา ทัพพปุปผชาดกที่ ๕