พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. พกพรหมชาดก ว่าด้วยศีล และพรต ของพกพรหม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35867
อ่าน  583

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 305

๑๐. พกพรหมชาดก

ว่าด้วยศีล และพรต ของพกพรหม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 305

๑๐. พกพรหมชาดก

ว่าด้วยศีล และพรต ของพกพรหม

[๑๐๓๕] ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์มี ๗๒ คน ล้วนได้ทำบุญมาแล้ว มีอำนาจแผ่ไป ล่วงความเกิด และความแก่ไปได้ การเกิดเป็นพรหมนี้. เป็นอันติมชาติ ชาติสุดท้าย จบไตรเพทแล้ว คนจำนวนมากเอ่ยถึง พวกข้าพระองค์.

[๑๐๓๖] ดูก่อนพรหม ความจริงอายุของท่านนี้น้อย ไม่มากเลย แต่ท่านสำคัญว่า อายุของท่านมาก จำนวนแสนนิรัพพุทะ ดูก่อนพรหม เราตถาคตรู้อายุท่าน.

[๑๐๓๗] ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ตรัสว่า เราตถาคตเป็นผู้เห็น ไม่มีที่สิ้นสุด สัพพัญญู ก้าวล่วงชาติชรา และความโศกแล้ว ขอพระองค์จงตรัสบอก การสมาทานพรต ศีล และ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 306

วัตร จรณะ ของข้าพระองค์ แต่ก่อนว่าเป็นอย่างไร ซึ่งข้าพระองค์ควรจะทราบ.

[๑๐๓๘] ท่านได้ช่วยมนุษย์จำนวนมาก ผู้เดือดร้อนปางตาย กระหายน้ำจัด ให้ได้ดื่มน้ำอันใดไว้ เราตถาคตระลึกถึงพรต ศีล และจรณะเก่าของท่าน อันนั้นได้ เหมือนนอนหลับฝันไป แล้วตื่นขึ้น ระลึกถึงฝันได้ ฉะนั้น.

[๑๐๓๙] ท่านได้ช่วยฝูงชนใด ที่ถูกโจรจับเป็นเชลย นำมาให้รอดพ้นได้ ที่ริมฝั่งแม่น้ำเอณิ เราตถาคตระลึกถึงพรต ศีล และจรณะเก่าของท่านนั้นได้ เหมือนนอนหลับฝันไป แล้วตื่นขึ้น ระลึกถึงความฝันได้ ฉะนั้น.

[๑๐๔๐] ท่านได้ทุ่มกำลัง ช่วยคนทั้งหลาย ผู้ไปเรือในกระแสแม่น้ำคงคา ให้พ้นจากพระยานาค ตัวร้ายกาจ อันใด เราตถาคตระลึกพรต ศีล และอาจาระเก่าของท่านนั้นได้ เหมือนนอน หลับฝันไปแล้ว ตื่นขึ้น ระลึกถึงฝันได้ ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 307

[๑๐๔๑] อนึ่ง เราตถาคตได้มีชื่อว่า กัปปะ เป็นอันเตวาสิกของท่าน ได้รู้แล้วว่า ท่านเป็นดาบส ผู้มีปัญญาดี มีพรตอันใด เราตถาคตระลึกพรต ศีล และจรณะเก่าของท่านได้ เหมือนนอนหลับฝันไป ตื่นขึ้นแล้ว ระลึกถึงฝันได้ ฉะนั้น.

[๑๐๔๒] พระองค์ทรงทราบ อายุของข้าพระองค์นั้นได้ แน่นอน แม้สิ่งอื่น พระองค์ก็ทรงทราบ เพราะพระองค์ ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแท้จริง. จริงอย่างนั้น พระรัศมีอันรุ่งโรจน์ของพระองค์นี้ จึงส่องพรหมโลก ให้สว่างไสวอยู่.

จบ พกพรหมชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาพกพรหมชาดกที่ ๑๐

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพกพรหมแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทฺวาสตฺตติ ดังนี้.

ความพิสดารว่า ท่านพกพรหมเกิดความเห็นขึ้น อย่างนี้ว่า สิ่งนี้เที่ยง ยั่งยืน สืบเนื่องๆ กันไป ไม่มีการเคลื่อนธรรดา สิ่งอื่นนอกจากนี้ ที่ชื่อว่า พระนิพพาน เป็นที่ออกไปของสัตวโลกไม่มี ได้ยินว่า พระพรหมองค์นี้ เกิดภายหลัง เมื่อก่อนบำเพ็ญฌานมาแล้ว จึงมาเกิด

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 308

ในชั้นเวหัปผลา. ท่านให้อายุประมาณ ๕๐๐ กัปป์สิ้นไป ในชั้นเวหัปผลานั้นแล้ว จึงเกิดในชั้นสุภกิณหาสิ้นไป ๖๔ กัปป์แล้ว จุติจากชั้นนั้น จึงไปเกิดในชั้นอาภัสรา มีอายุ ๘ กัปป์ ในชั้นอาภัสรานั้น ท่านได้เกิดความเห็นขึ้นอย่างนี้ เพราะท่านระลึกถึง การจุติจากพรหมโลกชั้นสูง ไม่ได้เลย ระลึกถึงการเกิดขึ้น ในพรหมโลกชั้นนั้น ก็ไม่ได้. เมื่อไม่เห็นทั้ง ๒ อย่าง ท่านจึงยึดถือ ความเห็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ทราบความปริวิตกแห่งจิต ของพกพรหมนั้น ด้วยเจโตปริยญาณแล้ว จึงทรงหายพระองค์ไป จากพระเชตวันมหาวิหาร ปรากฏพระองค์บนพรหมโลก อุปมาเหมือนหนึ่ง คนมีกำลังแข็งแรง เหยียดแขนออกไป แล้วคู้แขนที่เหยียดออกไป แล้วเข้ามาก็ปานกัน ครั้งนั้น พระพรหมเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงทูลว่า มาเถิดท่านสหาย ท่านมาดีแล้ว ท่านสหาย นานนักท่านสหาย ท่านจึงจะได้ทำปริยายนี้ คือการมาที่นี้ เพราะสถานที่นี้ เป็นสถานที่เที่ยง เป็นสถานที่ยั่งยืน เป็นสถานที่สืบเนื่องกันไป เป็นสถานที่ไม่มีการเคลื่อน เป็นธรรมดา เป็นสถานที่มั่นคง ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แต่ว่าสถานที่อื่น ที่ชื่อว่า เป็นที่ออกไปจากทุกข์ ยิ่งกว่านี้ไม่มี. เมื่อพกพรหมทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสคำนี้กะพกพรหมว่า พกพรหมผู้เจริญ ตกอยู่ในอำนาจของอวิชชา แล้วหนอ พกพรหมผู้เจริญ ตกอยู่ในอำนาจของอวิชชา แล้วหนอ เพราะได้พูดถึงสิ่งที่ไม่เที่ยง นั่นแหละว่า เป็นของเที่ยง และได้พูดถึงธรรม ที่สงบอย่างอื่นว่า เป็นธรรม เป็นที่ออกไปจากทุกข์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 309

อันยิ่งยวดไม่มีธรรมอื่น ที่เป็นธรรม เป็นที่ออกไปจากทุกข์ยิ่งกว่า พระพรหมได้ฟังคำนั้นแล้ว คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า นี่ จะอนุวัตรคล้อยตามเรา ด้วยประการอย่างนี้ว่า ท่านกล่าวอย่างนี้ถูกแล้ว แต่เกรงกลัว การอนุโยคย้อนของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำนองเดียวกับโจรผู้ด้อยกำลัง ได้รับการตีเล็กน้อย ก็บอกเพื่อนฝูงทุกคนว่า ฉันคนเดียวหรือเป็นโจร? คนโน้นก็เป็นโจร คนโน้นก็เป็นโจร เมื่อจะบอกเพื่อนฝูงของตน แม้คนอื่นๆ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์มี ๗๒ คน ล้วนได้ทำบุญมาแล้ว มีอำนาจแผ่ไป ล่วงความเกิด และความแก่ไปได้ การเกิดเป็นพรหมนี้ เป็นอันติมชาติ ชาติสุดท้าย จบไตรเพทแล้ว คนจำนวนมากเอ่ยถึง พวกข้าพระองค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฺวาสตฺตติ ความว่า ข้าแต่พระโคดม ไม่ใช่เพียงแต่ข้าพระองค์คนเดียวเท่านั้น โดยที่แท้แล้ว พวกข้าพระองค์ ๗๒ คน ในพรหมโลกนี้ เป็นผู้ล้วนได้ทำบุญมาแล้ว เป็นผู้แผ่อำนาจไป โดยการแผ่อำนาจของตนไป เหนือคนเหล่าอื่น และได้ล่วงเลยความเกิด และความแก่ไปแล้ว การเกิดเป็นพรหมนี้ชื่อว่า ถึงพระเวทแล้ว เพราะพวกข้าพระองค์ถึงแล้ว ด้วยพระเวททั้งหลาย ข้าแต่ พระโคดม

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 310

การเกิดเป็นพรหมนี้ เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย คือ การถึงส่วนหลังที่สุด ได้แก่ การเข้าถึงความเป็นผู้ประเสริฐที่สุด. บทว่า อสฺมาภิชปฺปนฺติ ชนา อเนกา ความว่า คนอื่นมากมายพากันทำอัญชลี พวกข้าพระองค์ กล่าวคำมีอาทิว่า นี้แลคือพระพรหม พระมหาพรหมผู้เจริญ นมัสการคือ ปรารภ ได้แก่ กระหยิ่มอยู่ อธิบายว่า ปรารถนาอยู่ว่าอัศจรรย์หนอ! เราทั้งหลายควรจะเป็นแบบนี้.

พระศาสดา ครั้นทรงสดับถ้อยคำของพกพรหมนั้นแล้ว จึงตรัส คาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนพรหม ความจริงอายุของท่านนี้ น้อยไม่มากเลย แต่ท่านสำคัญว่าอายุของท่าน มาก จำนวนแสนนิรัพพุทะ ดูก่อนพรหม เราตถาคตรู้อายุของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตํ สหสฺสาน นิรพฺพุทานํ ความว่า การนับกล่าวคือ นิรัพพุทะ มีหลายแสน. อธิบายว่า สิบสิบปีเป็นร้อย สิบร้อยเป็นพัน. ร้อยพันเป็นแสน. ร้อยแสนชื่อว่าโกฏิ. ร้อยแสนโกฏิชื่อว่าปโกฏิ. ร้อยแสนปโกฏิชื่อว่าโกฏิปโกฏิ. ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ ชื่อว่า ๑ นหุต. ร้อยแสนนหุตชื่อว่า ๑ นินนหุต. นักคำนวณที่ฉลาด สามารถนับได้เพียงเท่านี้ ขึ้นชื่อว่า การนับต่อจากนี้ไป เป็นวิสัยของพระ-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 311

พุทธเจ้าทั้งหลาย. บรรดาการนับเหล่านั้น ร้อยแสนนินนหุต เป็น ๑ อัพพุทะ. ๒๐ อัพพุทะเป็น ๑ นิรัพพุทะ. ร้อยแสนนิรัพพุทะเหล่านั้น ชื่อว่า ๑ อหหะ. จำนวนเท่านี้ปี เป็นอายุของพกพรหม ที่เหลืออยู่ในภพนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาอายุนั้น จึงได้ตรัสอย่างนี้.

พกพรหมได้สดับพระพุทธพจน์นั้นแล้ว จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า:-

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ตรัสว่า เราตถาคตเป็นผู้เห็นไม่มีที่สิ้นสุด สัพพัญญู ก้าวล่วงชาติ ชรา และความโศกแล้ว ขอพระองค์จงตรัสบอก การสมาทานพรต ศีล และวัตรจรณะของข้าพระองค์ แต่ก่อนว่าเป็นอย่าง ไร ซึ่งข้าพระองค์ควรจะทราบ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภควา ความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เมื่อตรัสว่า เราตถาคต รู้อายุของท่าน ชื่อ ตรัสว่า เราตถาคต เห็นไม่มีที่สิ้นสุด เป็นสัพพัญญู ก้าวล่วงชาติชรา และความโศกได้แล้ว. บทว่า วตสีลวตฺตํ ได้แก่ การสมาทานพรต ทั้งศีล และวัตร. มีคำอธิบายไว้ว่า ถ้าหากพระองค์ ทรงเป็นสัพพัญญูพุทธะไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น อะไรคือพรต ศีล และจรณะเก่าของข้าพระองค์ ขอพระองค์จงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ ควรรู้ตามความเป็นจริง ที่พระองค์ตรัสบอก.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 312

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงนำเรื่องอดีตทั้งหลาย มาตรัสบอกแก่พกพรหม จึงได้ตรัสคาถา ๔ คาถาว่า :-

ท่านได้ช่วยมนุษย์จำนวนมากผู้เดือดร้อน ปางตาย กระหายน้ำจัด ให้ได้ดื่มน้ำอันใดไว้ เราตถาคตระลึกถึงพรต ศีล และจรณะเก่า ของท่านอันนั้นได้ เหมือนนอนหลับฝันไปแล้ว ตื่นขึ้น ระลึกถึงความสิ้นได้ ฉะนั้น. ท่านได้ช่วยฝูงชนใด ที่ถูกโจรจับเป็นเชลย นำมาให้รอดพ้นได้ ที่ริมมฝั่งแม่น้ำเอณิ เราตถาคตระลึกถึงพรต ศีล และจรณะเก่า ของท่านนั้นได้ เหมือนนอนหลับฝันไปแล้วตื่นขึ้น นึกถึงฝันได้ ฉะนั้น. ท่านได้ทุ่มกำลังช่วยคนทั้งหลาย ผู้ไปเรือในกระแสแม่น้ำคงคา ให้พ้นจากพญานาคตัวร้ายกาจ อันใด เราตถาคตระลึกถึงพรต ศีล และจรณะเก่า ของท่านนั้นได้ เหมือนนอนหลับแล้วตื่นขึ้น นึกถึงฝันได้ ฉะนั้น. อนึ่ง เราตถาคตได้มีชื่อว่า กัปปะ เป็นอันเตวาสิกของท่าน ได้รู้แล้วว่า ท่านเป็นดาบสผู้มีปัญญา

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 313

ดี มีพรต อันใด เราตถาคตระลึกถึงพรต ศีล และจรณะเก่า ของท่านนั้นได้ เหมือนนอนหลับแล้วตื่นขึ้น ระลึกถึงฝันได้ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปาเยสิ ความว่า ให้ดื่มแล้ว. บทว่า ฆมฺมนิ สปฺปเรเต ความว่า ผู้ปางตายเพราะความร้อน คือ ลำบากเพราะความร้อน แผดเผาเหลือเกิน. บทว่า สุตฺตปฺปพุทฺโธว ความว่าระลึกถึงพรต เป็นต้น ได้เหมือนนอนหลับไป ในเวลาย่ำรุ่ง ฝันเห็นแล้วตื่นขึ้น ระลึกถึงความฝันนั้น ฉะนั้น. ได้ยินว่า พกพรหมนั้นในกัปๆ หนึ่ง เป็นดาบส อยู่ที่ทะเลทรายกันดารน้ำ ได้นำน้ำดื่มมาให้คนจำนวนมาก ที่เดินทางกันดาร. อยู่มาวันหนึ่ง พ่อค้าพวกหนึ่ง เดินทางไปถึงทะเลทรายที่กันดารน้ำ ด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม คนทั้งหลาย ไม่สามารกำหนดทิศทางได้ เดินทางไป ๗ วัน สิ้นฟืน สิ้นน้ำ หมดอาหาร ถูกความอยากครอบงำ คิดว่า บัดนี้ พวกเราไม่มีชีวิตแล้ว พากันพักเกวียนเป็นวงรอบแล้ว ต่างก็ปล่อยโคไปแล้ว ก็พากันนอนอยู่ใต้เกวียนของตน. ครั้งนั้น ดาบสรำลึกไป เห็นพ่อค้าเหล่านั้นแล้ว คิดว่า เมื่อเราเห็นอยู่ ขอคนทั้งหลาย จงอย่าพินาศเถิด จึงได้บันดาล ให้กระแสน้ำคงคาเกิดขึ้น เฉพาะหน้าของพวกพ่อค้า ด้วยอานุภาพฤทธิ์ของตน. และได้เนรมิตไพรสณฑ์แห่งหนึ่งไว้ ในที่ไม่ไกล. พวกมนุษย์ได้ดื่มน้ำ และอาบน้ำให้โคทั้งหลาย อิ่มหนำสำราญ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 314

แล้ว จึงพากันไปเกี่ยวหญ้า เก็บฟืนจากไพรสณฑ์ กำหนดทิศได้แล้ว ข้ามทางกันดารไปได้ โดยปลอดภัย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคำว่า ยํ ตฺวํ ฯเปฯ อนุสุสรามิ นั่นทรงหมายเอาดาบสนั้น.

บทว่า เอณิกูลสฺมึ ความว่า ใกล้ฝั่งแม่น้ำชื่อว่า เอณิ. บทว่า คยฺหก นียมานํ ความว่า ที่กำลังถูกจับเป็นเชลยแล้วนำมา.

เล่ากันมาว่าดาบสนั้น ในกาลต่อมา ได้อาศัยบ้านชายแดนตำบลหนึ่ง พักอยู่ที่ไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง ใกล้ฝั่งแม่น้ำ. ครั้นวันหนึ่ง พวกโจรชาวเขา ลงมาปล้นบ้านนั้น จับเอาคนจำนวนมาก ให้ขึ้นไปบนเขา วางคนสอดแนมไว้ที่ระหว่างทาง เข้าไปสู่ซอกเขา แล้วให้นั่งหุงต้มอาหาร ดาบสได้ยินเสียงร้องครวญครางของสัตว์ มีโค และกระบือ เป็นต้น และของคนทั้งหลาย มีเด็กชาย และเด็กหญิง เป็นต้น คิดว่า เมื่อเราเห็นอยู่ ขอเขาทั้งหลาย จงอย่าพินาศเถิด แล้วจึงละอัตตภาพ เป็นพระราชาแวดล้อม ด้วยเสนามีองค์ ๔ ได้ให้ตีกลองศึกไป ณ ที่นั้น. พวกคนสอดแนม เห็นดาบสนั้นแล้ว ได้บอกแก่พวกโจร. พวกโจรคิดว่า ขึ้นชื่อว่า การทะเลาะกับพระราชาไม่สมควรแล้ว จึงพากันทิ้งเชลยไว้ ไม่กินอาหาร หนีไปแล้ว ดาบสนำคนเหล่านั้น ให้กลับไปอยู่บ้านของตน หมดทุกคน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคำว่า ยํ เอณิกูลสฺมึ ฯเปฯ อนุสฺสรามิ นั่นไว้ ทรงหมายเอาดาบสนั้น.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 315

บทว่า คหิตนาวํ ได้แก่ เรือที่พ่วงขนานกัน. บทว่า ลุทฺเธน ความว่า ผู้หยาบคาย. บทว่า มนุสฺสกปฺปา ความว่า เพราะต้องการให้พวกมนุษย์พินาศ. บทว่า พลสา ความว่า ด้วยกำลัง บทว่า ปสยฺห ความว่า ข่มขู่.

ในกาลต่อมา ดาบสพักอยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา ครั้งนั้น คนทั้งหลาย พากันผูกเรือขนาน ๒ - ๓ ลำติดกัน แล้วสร้างมณฑปดอกไม้ไว้ ที่ยอดเรือขนาน นั่งกิน นั่งดื่ม อยู่ในเรือขนาน แล่นไปที่ฝั่งสมุทร พวกเขาพากันเทสุราที่เหลือจากดื่ม ข้าวปลา เนื้อ และหมากพลู เป็นต้น ที่เหลือจากที่กินและเหลือจากที่ขบเคี้ยวแล้ว ลงแม่น้ำคงคา นั่นเอง. พญานาคชื่อว่า คังเคยยะ โกรธว่า คนพวกนี้ โยนของที่เหลือกินลงเบื้องบนเรา หมายใจว่า เราจักรวบคนเหล่านั้น ให้จมลงในแม่น้ำคงคาหมดทุกคน แล้วเนรมิตอัตตภาพใหญ่ ประมาณเท่าเรือโกลนลำหนึ่ง แหวกน้ำขึ้นมา แผ่พังพานลอยน้ำ ไปตรงหน้าคนเหล่านั้น. พวกเขาพอเห็นพญานาคเท่านั้น ก็ถูกมรณภัยคุกคาม ส่งเสียงร้องลั่นขึ้น พร้อมกันทีเดียว. ดาบส ได้ยินเสียงคร่ำครวญของพวกเขา ก็รู้ว่าพญานาคโกรธ คิดว่า เมื่อเราเห็นอยู่ ขอคนทั้งหลาย จงอย่าพินาศเถิด แล้วได้รีบเนรมิตอัตตภาพ เป็นเพศครุฑบินไป ด้วยอานุภาพของตน โดยติดต่อกันโดยพลัน. พญานาคเห็นครุฑนั้นแล้ว หวาดกลัวความตายจึงดำลงไปในน้ำ. พวกมนุษย์ถึงความสวัสดีแล้ว จึงได้ไปกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคำว่า คงฺคาย โสตสฺมึฯ เปฯ อนุสฺสรามิ นั่นทรงหมายเอาดาบสนั้น.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 316

บทว่า ปตฺถจโร ได้แก่ อันเตวาสิก. บทว่า สมฺพุทฺธิวนฺตํ วติ โส อมญฺํ ความว่า เรารู้จักท่านว่า เป็นดาบส ผู้เพียบพร้อมด้วยปัญญา ทั้งถึงพร้อมด้วยวัตร. ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้อย่าง ไร ทรงแสดงไว้ว่า ดูก่อน ท้าวมหาพรหมในอดีตกาล ในเวลาท่านเป็น เกสว ดาบส เราตถาคต เป็นคนรับใช้ใกล้ชื่อว่า กัปปะ เมื่อท่านถูกอำมาตย์ชื่อ นารทะ นำมาป่าหิมพานต์ จากเมืองพาราณสี ได้ให้โรคสงบไป. ลำดับนั้น นารทะอำมาตย์ มาเยี่ยมท่านครั้งที่ ๒ เห็นหายจากโรค จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า :-

ท่านเกสีผู้มีโชค ใยเล่า จึงละทิ้งจอมคน ผู้ให้ความต้องการทุกอย่างสำเร็จได้ มายินดีใน อาศรมของท่านกัปปะ.

ท่านได้กล่าวคำนี้กะอำมาตย์นารทะ นั่นนั้นว่า:-

ดูก่อนท่านนารทะ สิ่งที่ดีน่ารื่นรมย์ใจมีอยู่ ต้นไม้ทั้งหลาย ที่รื่นเริงใจก็ยังมี ถ้อยคำที่เป็นสุภาษิตของกัสสป ให้อาตมารื่นเริงใจได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงความที่โรค ของท่านเกสีดาบส นี้ เป็นสิ่งที่พระองค์ผู้ทรงเป็นอันเตวาสิก ให้สงบได้ ด้วยประการ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 317

อย่างนี้แล้ว จึงได้ตรัสอย่างนี้. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อจะให้มหาพรหมทั้งหมด กำหนดรู้กรรมที่พรหมนั้น พกพรหม ทำไว้ในมนุษยโลกนั่นเอง จึงตรัสคำนี้ไว้.

พกพรหมนั้น ระลึกถึงกรรมที่ตนได้ทำไว้ ตามพระดำรัสของพระศาสดาได้แล้ว เมื่อจะทำการสดุดีพระตถาคต จึงได้กล่าวคาถาสุดท้ายไว้ว่า :-

พระองค์ทรงทราบอายุของข้าพระองค์นั่น ได้แน่นอน แม้สิ่งอื่น พระองค์ก็ทรงทราบ เพราะพระองค์ ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแท้จริง จริงอย่างนั้น พระรัศมีอันรุ่งโรจน์ของพระองค์นี้ จึงส่องพรหมโลกให้สว่างไสวอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถา หิ พุทโธ ความว่า เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแท้จริง อันธรรมดาว่า พระะพุทธเจ้าทั้งหลาย จะไม่มีสิ่งที่ไม่ทรงรู้ด้วยว่าท่านเท่านั้นชื่อว่าพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทุกอย่าง นั่นเอง. บทว่า ตถา หิ ตายํ ความว่า ก็อีกอย่างหนึ่ง เพราะทรงเป็นพระพุทธเจ้า นั่นเอง พระรัศมีจากพระสรีระของพระองค์ ที่รุ่งโรจน์. บทว่า โอภาสยํ ติฏฺติ ความว่า พระรัศมีจากพระสรีระนี้ จึงส่องพรหมโลกแม้ทั้งหมดนี้ ให้สว่างไสวอยู่.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 318

พระศาสดา เมื่อทรงให้พกพรหม รู้พระพุทธคุณของพระองค์ไปพลาง ทรงแสดงธรรมไปพลาง จึงทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย ในที่สุดแห่งสัจธรรม จิตของพระพรหมประมาณหมื่นองค์ พ้นจากอาสวะทั้งหลายแล้ว เพราะไม่ยึดมั่น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นที่พึ่งของพระพรหมทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ ได้เสด็จจากพรหมโลก มาพระเชตวันวิหาร แล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนา แก่ภิกษุทั้งหลาย โดยทำนองที่ได้ทรงแสดงแล้ว ในพรหมโลกนั้น แล้วทรงประชุมชาดกไว้ว่า เกสวดาบสในครั้งนั้น ได้แก่ พระพรหมในบัดนี้ ส่วนกัปปมาณพ ได้แก่ เราตถาคตนั่นเอง ฉะนั้นแล.

จบอรรถกถา พกพรหมชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุกกุชาดก ๒. มโนชชาดก ๓. สุตนชาดก ๔. มาตุโปสกคิชฌชาดก ๕. ทัพพปุปผชาดก ๖. ทสัณณกชาดก ๗. เสนกชาดก ๘. อัฏฐิเสนชาดก ๙. กปิชาดก ๑๐. พกพรหมชาดก

จบกุกกุวรรคที่ ๑