๑. คันธารชาดก ว่าด้วยพูดคํามีประโยชน์ เขาโกรธไม่ควรกล่าว
[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 319
๒. คันธารวรรค
๑. คันธารชาดก
ว่าด้วยพูดคํามีประโยชน์ เขาโกรธไม่ควรกล่าว
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 319
๒. คันธารวรรค
๑. คันธารชาดก
ว่าด้วยพูดคำมีประโยชน์เขาโกรธไม่ควรกล่าว
[๑๐๔๓] ท่านทิ้งหมู่บ้านที่บริบูรณ์ ๑๖,๐๐๐ หมู่ และคลังที่เต็มด้วยทรัพย์มาแล้ว บัดนี้ยังจะทำการสะสมอยู่อีก.
[๑๐๔๔] ท่านละทิ้งที่อยู่คือ คันธารรัฐ หนีจากการปกครองในราชธานี ที่มีทรัพย์พอเพียงแล้ว บัดนี้ยังจะปกครองในที่นี้อีก.
[๑๐๔๕] ดูก่อนท่านวิเทหะ เรากล่าวธรรมความจริง เราไม่ชอบธรรมความไม่จริง เมื่อเรากล่าวคำ เป็นธรรมอยู่ บาปก็ไม่เปรอะเปื้อนเรา.
[๑๐๔๖] คนอื่นได้รับความแค้นเคือง เพราะคำพูดอย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงแม้ว่าคำพูดนั้น จะมีประโยชน์มาก บัณฑิตก็ไม่ควรพูด.
[๑๐๔๗] ผู้ถูกตักเตือน จะแค้นเคือง หรือไม่แค้นเคืองก็ตามเถิด จะเขี่ยทิ้ง เหมือนโปรยแกลบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 320
ทิ้งก็ตาม เมื่อเขากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ ขึ้นชื่อ ว่าบาปย่อมไม่เปรอะเปื้อน.
[๑๐๔๘] ถ้าสัตว์เหล่านั้น ไม่มีปัญญาของตนเอง หรือวินัยที่ศึกษาดีแล้วไซร้ คนจำนวนมากก็จะเที่ยวไป เหมือนกระบือตาบอด เที่ยวไปในป่า
[๑๐๔๙] แต่เพราะเหตุที่ ธีรชนบางเหล่า ศึกษาดีแล้ว ในสำนักอาจารย์ ฉะนั้น ธีรชนผู้มีวินัย ที่ได้แนะนำแล้ว จึงมีจิตตั้งมั่นเที่ยวไปอยู่.
จบคันธารชาดกที่ ๑
อรรถกถาคันธารวรรคที่ ๒
อรรถกถาคันธารชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภเภสัชชสันนิธิ การสิกขาบท สิกขาบทว่าด้วย การทำการสะสมเภสัชแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า หิตฺวา คามสหสฺสานิ ดังนี้
ก็เรื่องเกิดขึ้นแล้ว ที่กรุงราชคฤห์. ความพิสดารว่า เมื่อท่านปิลินทวัจฉะ ไปพระราชวังเพื่อปล่อยคนตระกูล ผู้รักษาอาราม แล้วสร้างปราสาททอง ถวายพระราชา ด้วยกำลังฤทธิ์ คนทั้งหลายเลื่อมใส พากัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 321
ส่งเภสัชทั้ง ๕ ไปถวายพระเถระ. ท่านแจกจ่ายเภสัชเหล่านั้น แด่บริษัท แต่บริษัทของท่านมีมาก พวกเขาเก็บของที่ได้ๆ มา ไว้เต็มกระถางบ้าง หม้อบ้าง ถลกบาตรบ้าง. คนทั้งหลายเห็นเข้า พากันยกโทษว่า สมณะเหล่านี้ มักมาก เป็นผู้รักษาคลังภายใน. พระศาสดาทรงสดับความเป็นไปนั้นแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ก็แลเภสัชที่เป็นของควรลิ้ม ของภิกษุผู้เป็นไข้ เหล่านั้นใด ดังนี้ เป็นต้น ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตสมัยก่อน เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ บวชเป็นนักบวช ในลัทธิภายนอก แม้รักษาเพียงศีล ๕ ก็ไม่เก็บก้อนเกลือไว้ เพื่อประโยชน์ในวันรุ่งขึ้น ส่วนเธอทั้งหลาย บวชในศาสนา ที่นำออกจากทุกข์ เห็นปานนี้ เมื่อพากันทำการสะสมอาหารไว้ เพื่อประโยชน์แก่วันที่ ๒ วันที่ ๓ ชื่อว่า ทำสิ่งที่ไม่สมควร แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าคันธาระ ในคันธารรัฐ เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ โดยพระราชบิดาทิวงคตแล้ว ทรงครองราชย์โดยธรรม. แม้ในมัชฌิมประเทศ พระเจ้าวิเทหะก็ทรง ครองราชย์ในวิเทหรัฐ. พระราชาทั้ง ๒ พระองค์นั้น ทรงเป็นพระสหายที่ไม่เคยเห็นกัน แต่ก็ทรงมีความคุ้นเคยกันอย่างมั่นคง. คนสมัยนั้น มีอายุยืนดำรงชีวิตอยู่ได้ถึง ๓ แสนปี. ดังนั้น ในวันอุโบสถกลางเดือน พระจ้าคันธาระ ก็ทรงสมาทานศีลเป็นครั้งคราว แล้วเสด็จไปประทับบน พระบวรบัลลังก์ ภายในชั้นที่โอ่โถง ทรงตรวจดูโลกธาตุ ด้านทิศตะวันออก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 322
ทางสีหปัญชรที่เปิดไว้ ตรัสถ้อยคำ ที่ประกอบด้วยธรรมแก่เหล่าอำมาตย์ ขณะนั้น พระราหูได้บดบังดวงจันทร์เต็มดวง เหมือนกระโดดโลดเต้นไป ในท้องฟ้า. แสงจันทร์อันตรธานหายไป. อำมาตย์ทั้งหลายไม่เห็น แสงพระจันทร์ จึงทูลพระราชา ถึงภาวะที่ดวงจันทร์ถูกราหูยึดไว้ พระราชาทรงทอดพระเนตร พระจันทร์ ทรงพระดำริว่า พระจันทร์นี้ เศร้าหมองอับแสงไป เพราะสิ่งเศร้าหมองที่จรมา. แม้ข้าราชบริพารนี้ ก็เป็นเครื่องเศร้าหมอง สำหรับเราเหมือนกัน แต่การที่เราจะเป็นผู้หมดสง่าราศรี เหมือนดวงจันทร์ที่ถูกราหูยึดไว้นั้น ไม่สมควรแก่เราเลย. เราจักละราชสมบัติออกบวช เหมือนดวงพระจันทร์สัญจรไป ในท้องฟ้าที่บริสุทธิ์ ฉะนั้น. จะมีประโยชน์อะไรด้วยผู้อื่น ที่เราตักเตือนแล้ว เราจักเป็นเสมือน ผู้ไม่ข้องอยู่ด้วยตระกูล และหมู่คณะ ตักเตือนตัวเองเท่านั้น เที่ยวไป นี้เป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับเรา แล้วทรงมอบราชสมบัติ ให้แก่เหล่าอำมาตย์ ด้วยพระดำรัสว่า ท่านทั้งหลายจงพากันแต่งตั้งผู้ที่ท่านทั้งหลายต้อง ประสงค์ให้เป็นพระราชาเถิด. พระราชาในคันธารรัฐนั้น ทรงสละราชสมบัติ เสด็จออกทรงผนวชเป็นฤๅษี ยังฌาน และอภิญญาให้เกิดขึ้นแล้ว ทรงเอิบอิ่ม ด้วยความยินดีในฌาน สำเร็จการอยู่ในท้องถิ่นดินแดนหิมพานต์. ฝ่ายพระเจ้าวิเทหะ ตรัสถามพวกพ่อค้าทั้งหลายว่า พระราชา พระสหายของเราสบายดีหรือ? ทรงทราบว่า พระองค์เสด็จออก ทรงผนวชแล้ว ทรงดำริว่า เมื่อสหายของเราทรงผนวชแล้ว เราจักทำอย่างไรกับราชสมบัติ แล้วจึงทรงสละราชสมบัติ ในมิถิลนครกว้างยาว ๗ โยชน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 323
คลังที่เต็มเพียบอยู่ในหมู่บ้าน ๑๖,๐๐๐ หมู่บ้าน ในวิเทหรัฐประมาณ ๓๐๐ โยชน์และหญิงฟ้อน ๑๖,๐๐๐ นาง ไม่ทรงคำนึงถึงพระราชโอรส และพระราชธิดา เสด็จสู่ท้องถิ่นดินแดนหิมพานต์ทรงผนวชแล้ว เสวยผลไม้ตามที่มี ประทับอยู่ไม่เป็นประจำ เที่ยวสัญจรไป. ทั้ง ๒ ท่านนั้น ประพฤติพรต และอาจาระสม่ำเสมอ ภายหลังได้มาพบกัน แต่ก็ไม่รู้จักกัน ชื่นชมกันประพฤติพรต และอาจาระสม่ำเสมอกัน. ครั้งนั้นวิเทหะดาบส ทำการอุปัฏฐากท่านคันธารดาบส ในวันเพ็ญวันหนึ่ง เมื่อท่านทั้ง ๒ นั้น นั่งกล่าวกถาที่ประกอบด้วยธรรมกัน ณ ควงไม้ต้นใดต้นหนึ่ง พระราหูบดบังดวงจันทร์ ที่ลอยเด่นอยู่ท้องฟ้า. ท่านวิเทหดาบสคิดว่า แสงพระจันทร์หายไปเพราะอะไรหนอ จึงมองดู เห็นพระจันทร์ถูกราหูยึดไว้ จึงเรียนถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์อะไรหนอนั้น ได้บดบังพระจันทร์ ทำให้หมดรัศมี. ท่านคันธารดาบสตอบว่า ดูก่อนอันเตวาสิก นี้ชื่อว่า ราหูเป็นเครื่องเศร้าหมองอย่างหนึ่ง ของพระจันทร์ ไม่ให้พระจันทร์ส่องแสงสว่าง แม้เราเห็นดวงจันทร์ถูกราหูบังแล้ว คิดว่า ดวงจันทร์ที่บริสุทธิ์นี้ ก็กลายเป็นหมดแสงไป เพราะเครื่องเศร้าหมองที่จรมา ราชสมบัตินี้ ก็เป็นเครื่องเศร้าหมอง แม้สำหรับเรา เราจักบวชอยู่ จนกระทั่งราชสมบัติ จะไม่ทำให้เราอับแสง เหมือนราหูบังดวงจันทร์แล้ว ทำดวงจันทร์ที่ถูกราหูบัง นั่นเอง ให้เป็นอารมณ์ ทอดทิ้งราชสมบัติใหญ่หลวง บวชแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 324
วิเทหดาบส ถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านเป็นพระเจ้าคันธาระหรือ? คันธารดาบส ถูกแล้วผมเป็นพระเจ้าคันธาระ.
วิ. ข้าแต่ท่านอาจารย์ กระผมเองก็ชื่อว่า พระเจ้าวิเทหะ ในมิถิลนครในวิเทหรัฐ พวกเราเป็นสหายที่ยังไม่เคยเห็นกัน มิใช่หรือ?
คัน. ก็ท่านมีอะไรเป็นอารมณ์ จึงออกบวช?
วิ. กระผมได้ทราบว่า ท่านบวชแล้ว คิดว่า ท่านคงได้เห็นคุณมหันต์ ของการบวชแน่นอน จึงทำท่านนั่นแหละ ให้เป็นอารมณ์แล้ว สละราชสมบัติออกบวช.
ตั้งแต่นั้นมาดาบสทั้ง ๒ นั้น สมัครสมานกันชื่นชมกันเหลือเกิน เป็นผู้มีผลไม้เท่าที่หาได้เป็นโภชนาหาร ท่องเที่ยวไป. ก็แหละ ทั้ง ๒ ท่านอยู่ด้วยกัน ณ ที่นั้น มาเป็นเวลานาน จึงพากันลงมาจากป่าหิมพานต์ เพื่อต้องการลิ้มรสเค็ม รสเปรี้ยว ลุถึงชายแดนตำบลหนึ่ง คนทั้งหลายเลื่อมใสในอิริยาบถของท่าน ถวายภิกษา รับปฏิญญาแล้ว พากันสร้างที่พักกลางคืนเป็นต้น ให้ท่านอยู่ในป่า แม้ในระหว่างทาง ก็พากันสร้างบรรณศาลาไว้ในที่ๆ มีน้ำสะดวก เพื่อต้องการให้ท่านทำภัตกิจ ท่านพากันเที่ยวภิกขาจาร ที่บ้านชายแดนนั้นแล้ว นั่งฉันที่บรรณศาลาหลังนั้นแล้ว จึงไปที่อยู่ของตน. คนแม้เหล่านั้น เมื่อถวายอาหารท่าน บางครั้งก็ถวายเกลือ ใส่ลงในบาตร บางคราวก็ห่อใบตองถวาย บางคราวก็ถวายอาหาร ที่มีรสไม่เค็มเลย. วันหนึ่งพวกเขาได้ถวายเกลือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 325
จำนวนมาก ในห่อใบตองแก่ท่านเหล่านั้น. วิเทหดาบสถือเอาเกลือไปด้วย เวลาภัตกิจของพระโพธิสัตว์ ก็ถวายจนพอ ฝ่ายตนเอง ก็หยิบเอาประมาณพอควร ที่เกินต้องการ ก็ห่อใบตองแล้วเก็บไว้ที่ต้นหญ้า ด้วยคิดว่า จักใช้ในวันที่ไม่มีเกลือ อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อได้อาหารจืด ท่านวิเทหดาบส ถวายภาชนะภิกษา แก่ท่านคันธาระแล้ว นำเกลือออกมาจากระหว่างต้นหญ้า แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ นิมนต์ท่านรับเกลือ. คันธารดาบสถามว่า วันนี้คนทั้งหลาย ไม่ได้ถวายเกลือ ท่านได้มาจากไหน?
วิ. ข้าแต่ท่านอาจารย์ ในวันก่อน คนทั้งหลายได้ถวายเกลือมาก กระผมจึงเก็บเกลือที่เกินความต้องการไว้ ด้วยตั้งใจว่า จักใช้ในวันที่ อาหารมีรสจืด.
พระโพธิสัตว์จึงต่อว่า วิเทหดาบสว่า โมฆบุรุษเอ๋ย ท่านละทิ้งวิเทหรัฐ ประมาณ ๓ ร้อยโยชน์มาแล้ว ถึงความไม่มีกังวลอะไร บัดนี้ ยังเกิดความทะยานอยาก ในก้อนเกลืออีกหรือ เมื่อจะตักเตือนท่าน จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ท่านละทิ้งหมู่บ้านที่บริบูรณ์ ๑๖,๐๐๐ หมู่ และคลัง ที่เต็มด้วยทรัพย์มาแล้ว บัดนี้ยังจะทำ การสะสมอยู่อีก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 326
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกฏฺาคารานิ ได้แก่ คลังทอง คลังเงิน คลังแก้ว มีแก้วมณี และแก้วมุกดา เป็นต้น ทั้งคลังผ้า และคลังข้าวเปลือก. บทว่า ผีตานิ ความว่า เต็มแล้ว. บทว่า สนฺนิธินฺทานิ กุพฺพสิ ความว่า บัดนี้ ท่านยังจะทำการสะสมเพียงเกลือ ด้วยคิดว่า จักใช้พรุ่งนี้ จักใช้วันที่ ๓.
วิเทหดาบส ถูกตำหนิอยู่อย่างนี้ ทนคำตำหนิไม่ได้ กลายเป็นปฏิปักษ์ไป เมื่อจะแย้งว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านไม่เห็นโทษของตัวเอง เห็นแต่โทษของผมอย่างเดียว ท่านดำริว่า เราจะประโยชน์อะไร ด้วยคนอื่นที่ตักเตือนเรา เราจักเตือนตัวเราเอง ทอดทิ้งราชสมบัติ ออกบวชแล้ว แต่วันนี้เหตุไฉน ท่านจึงตักเตือนผม จึงได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า:-
ท่านละทิ้งอยู่ คือ คันธารรัฐ หนีจากการปกครองในราชธานี ที่มีทรัพย์พอเพียงแล้ว บัดนี้ ยังจะปกครองในที่นี้อีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสาสนิโต ความว่า จากการตักเตือน และการพร่ำสอน. บทว่า อิธ ทานิ ความว่า เหตุไฉน บัดนี้ ท่านจึงตักเตือนในที่นี้ คือ ในป่าอีก.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ดูก่อนท่านวิเทหะ เรากล่าวธรรมความจริง เราไม่ชอบอธรรมความไม่จริง เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 327
เรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ บาปก็ไม่เปรอะเปื้อนเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ สภาวะความเป็นเอง คือเหตุ ที่บัณฑิตทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ทรงพรรณนาสรรเสริญแล้ว. บทว่า อธมฺโม เม น รุจฺจติ ความว่า ธรรมดาอธรรมไม่ใช่ สภาวะความเป็นเอง เราก็ไม่ชอบใจแต่ไหนแต่ไรมา. บทว่า น ปาปมุปลิมฺปติ ความว่าเมื่อเรากล่าวสภาวะนั่นเอง หรือเหตุ นั่นแหละอยู่ ขึ้นชื่อว่า บาปจะไม่ติดอยู่ในใจ. ธรรมดาการให้โอวาทนี้ เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก และโพธิสัตว์ทั้ง หลาย. ถึงคนพาลจะไม่รับเอาโอวาท ที่ท่านเหล่านั้น ให้แล้ว แต่ผู้ให้โอวาท ก็ไม่มีบาปเลย. เมื่อจะแสดงอีก จึงกล่าวคาถาว่า :-
ผู้มีปัญญา คนใดมักชี้โทษมักพูดกำหราบ คนควรมองให้เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ ควรคบ บัณฑิตเช่นนั้น เพราะว่า เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น จะมีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว คนควรตักเตือน ควรพร่ำสอน และควรห้ามเขาจากอสัตบุรุษ เพราะเขา จะเป็นที่รักของเหล่าสัตบุรุษ ไม่เป็นที่รักของเหล่าอสัตบุรุษ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 328
วิเทหดาบส ฟังถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ บุคคลแม้เมื่อกล่าวถ้อยคำที่อิงประโยชน์ ก็ไม่ควรกล่าว กระทบเสียดแทงผู้อื่น ท่านกล่าวคำหยาบคายมาก เหมือนโกนผม ด้วยมีดโกนไม่คม แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
คนอื่นได้รับความแค้นเคือง เพราะคำพูด อย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงแม้ว่าคำนั้นจะมีประโยชน์ มาก บัณฑิตก็ไม่ควรพูด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยนเกนจิ ความว่า ด้วยเหตุ แม้ประกอบด้วยธรรม. บทว่า ลภติ รุปฺปนํ ความว่า ได้รับความกระทบ กระทั่ง ความแค้นเคือง คือ ความเดือดดาล. บทว่า นตํ ภาเสยฺย มีเนื้อความว่า เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรกล่าววาจาที่เป็นเหตุ ให้ประทุษร้ายบุคคลอื่นนั้น ที่มีประโยชน์มาก คือ แม้ที่อิงอาศัยประโยชน์ ตั้งมากมาย.
ลำดันนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถาที่ ๕ แก่วิเทหดาบสนั้น ว่า :-
ผู้ถูกตักเตือน จะแค้นเคือง หรือไม่แค้นเคืองก็ตามเถิด หรือจะเขี่ยทิ้ง เหมือนโปรยแกลบทิ้งก็ตาม เมื่อเรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ ขึ้นชื่อว่า บาปย่อมไม่เปรอะเปื้อนเรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 329
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามํ ความว่า. โดยส่วนเดียว. มีคำอธิบายว่า บุคคลผู้ทำกรรมไม่สมควร เมื่อถูกตักเตือนว่า ท่านทำกรรม ไม่ควรแล้ว จะโกรธโดยส่วนเดียวก็ตาม หรือไม่โกรธก็ตาม. อีกอย่างหนึ่ง เขาจะเขี่ยทิ้ง เหมือนกำแกลบหว่านทิ้งก็ตาม แต่ว่าเมื่อเรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ ขึ้นชื่อว่า บาปย่อมไม่มี.
ก็แหละพระโพธิสัตว์ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้ดำรงอยู่ในข้อปฏิบัติที่สมควร แก่โอวาทของพระสุคตนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เราตถาคต จักไม่ทะนุถนอมเลย เหมือนช่างหม้อทะนุถนอมภาชนะดินเหนียว ที่ยังดิบๆ ฉะนั้น เราตถาคตจักกำหราบเอากำหราบเอา ผู้ใดหนักแน่นเป็นสาระ ผู้นั้นก็จักดำรงอยู่ได้ เมื่อจะตักเตือนวิเทหดาบสอีก เพื่อแสดงให้เห็นว่า ท่านตักเตือนกำหราบแล้ว ตักเตือนกำหราบอีก จึงรับบุคคลทั้งหลาย ผู้เช่นกับภาชนะดิน ที่เผาสุกแล้วไว้ เหมือนช่างหม้อเคาะดูแล้ว เคาะดูอีก ไม่รับเอาภาชนะดินที่ยังดิบไว้ รับเอาเฉพาะภาชนะดิน ที่เผาสุกแล้วเท่านั้นไว้ฉะนั้น ดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาไว้ว่า :-
ถ้าสัตว์เหล่านี้ ไม่มีปัญญาของตนเอง หรือวินัยที่ศึกษาดีแล้วไซร้ คนจำนวนมาก ก็จะเที่ยวไป เหมือนกระบือตาบอด เที่ยวไปในป่า ฉะนั้น แต่เพราะเหตุที่ ธีรชนบางเหล่า ศึกษาดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 330
แล้ว ในสำนักอาจารย์ ฉะนั้น ธีรชนผู้มีวินัย ที่ได้แนะนำแล้ว จึงมีจิตตั้งมั่นเที่ยวไปอยู่.
คาถานี้มีเนื้อความว่า ดูก่อนสหายวิเทหะ เพราะว่า ถ้าหากสัตว์เหล่านี้ ไม่มีปัญญาหรือไม่มีวินัย คือ อาจารบัญญัติ ที่ศึกษาดีแล้ว เพราะอาศัยเหล่าบัณฑิต ผู้ให้โอวาทไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้คนเป็นอันมาก ก็จะเป็นเช่นท่านเที่ยวไป เหมือนกระบือตาบอด ไม่รู้ที่ๆ เป็นที่โคจร หรืออโคจร มีสิ่งที่น่ารังเกียจ หรือไม่มีสิ่งที่น่ารังเกียจ เที่ยวไปในพงหญ้า และเถาวัลย์ เป็นต้น แต่เพราะเหตุที่สัตว์ บางพวกในโลกนี้ ที่ปราศจากปัญญาของตน ศึกษาดีแล้ว ด้วยอาจารบัญญัติ ในสำนักอาจารย์ เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า มีวินัยที่แนะนำแล้ว เพราะตนเป็นผู้ที่อาจารย์แนะนำแล้ว ด้วยวินัยที่เหมาะสม คือเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ได้แก่ เป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิเที่ยวไป ดังนี้. ด้วยคาถานี้ ท่านคันธารดาบส แสดงคำนี้ไว้ว่า จริงอยู่ คนนี้เป็นคฤหัสถ์ ก็ศึกษาสิกขา ที่สมควรแก่ ตระกูลของตน เป็นบรรพชิตก็ศึกษาสิกขา ที่สมควรแก่บรรพชิต อธิบายว่า ฝ่ายคฤหัสถ์ เป็นผู้ศึกษาดีในกสิกรรม และโครักขกรรม เป็นต้น ที่เหมาะสมแก่ตระกูลของตนแล้วเที่ยว ก็จะเป็นผู้มีความเป็นอยู่สมบูรณ์ มีใจมั่นคงเที่ยวไป. ส่วนบรรพชิต เป็นผู้ศึกษาดีในอาจาระ มีการก้าวไป ข้างหน้า และการถอยกลับ เป็นต้น และในอธิสีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาทั้งหลายที่เหมาะสมแก่บรรพชิต ที่น่าเลื่อมใสแล้ว ก็เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 331
ผู้ปราศจากความฟุ้งซ่าน มีจิตตั้งมั่นเที่ยวไป. เพราะว่าในโลกนี้ :-
ความเป็นพหูสูต ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาที่เป็นสุภาษิต ๑ สามอย่างนี้เป็นมงคลอัน สูงสุดดังนี้.
วิเทหดาบสได้ฟังคำนั้นแล้ว ไหว้ขอขมาพระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอท่านจงตักเตือน จงพร่ำสอนเราเถิด เรากล่าวกะท่าน เพราะความเป็นผู้ไม่มีความยับยั้งใจโดยกำเนิด ขอท่านจงให้อภัยแก่เราเถิด. ท่านทั้ง ๒ นั้น อยู่สมัครสมานกัน แล้วได้พากันไปป่า หิมพานต์อีกนั่นแหละ ณ ที่นั้น พระโพธิสัตว์ได้บอก กสิณบริกรรมแก่วิเทหดาบส. ท่านสดับแล้วยังอภิญญา และสมาบัติให้เกิดขึ้น. ทั้ง ๒ ท่านนั้น เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมแล้ว ได้เป็นผู้มีพรหมโลก เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกไว้ว่า วิเทหราชาในครั้งนั้น ได้แก่ พระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนคันธารราชา ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถา คันธารชาดกที่ ๑