พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทัฬหธัมมชาดก ว่าด้วยความกตัญญู

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35871
อ่าน  480

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 362

๔. ทัฬหธัมมชาดก

ว่าด้วยความกตัญู


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 362

๔. ทัฬหธัมมชาดก

ว่าด้วยความกตัญญู

[๑๐๖๕] ก็ฉันเมื่อนำพาราชกิจ ของพระเจ้าทัฬหธรรม ได้คาดลูกศรไว้ที่หน้าอก มีปกติประพฤติความกล้าหาญ ในการรบ ก็ไม่ยังพระองค์ ให้โปรดปรานได้.

[๑๐๖๖] พระราชาไม่ทรงทราบความเพียร ของลูกผู้ชายของฉัน และการสื่อสาร ที่ฉันทำได้อย่างดี ในสงคราม เป็นแน่.

[๑๐๖๗] ฉันนั้น ไม่มีพวกพ้อง ไม่มีที่พึ่ง จักตายแน่ๆ มีหนำซ้ำ พระราชายังได้พระราชทานฉัน แก่ช่างหม้อ ให้เป็นผู้ขนมูลสัตว์โคมัย.

[๑๐๖๘] คนยังมีหวังอยู่ตราบใด ตราบนั้น ก็ยังคบหากันอยู่ เมื่อเขาเสื่อมจากประโยชน์ คนโง่ทั้งหลาย ก็จะทอดทิ้งเขา เหมือนขัตติยราช ทรงทอดทิ้งช้างพังต้น ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 363

[๑๐๖๙] ผู้ใดที่ผู้อันทำความดี ให้ก่อน สำเร็จประโยชน์ที่ต้องการแล้ว ย่อมไม่รู้คุณ ประโยชน์ทั้งหลาย ที่เขาปรารถนาแล้วของผู้นั้น จะเสื่อมสลายไป.

[๑๐๗๐] ส่วนผู้ใด ที่คนอื่น ทำความดีให้แล้ว สำเร็จประโยชน์ที่ต้องการแล้ว ยังรู้คุณประโยชน์ทั้งหลาย ที่เขาปรารถนาของผู้นั้น จะเพิ่มพูนขึ้น.

[๑๐๗๑] เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านทั้งหลาย ขอความเจริญ จงมีแก่ท่านทั้งหลาย มีจำนวนที่มาประชุมกัน ณ ที่นี้ ขอท่านทุกคน จงเป็นผู้รู้คุณ ที่ผู้อื่นทำแล้วแก่ตน ท่านทั้งหลาย จะสถิตอยู่ในสวรรค์ ตลอดกาลนาน.

จบทัฬหธัมมชาดกที่ ๔

อรรถกถาทัฬหธัมมชาดกที่ ๔

พระศาสดา เมื่อเสด็จเข้าไปอาศัย เมืองโกสัมพี ประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ทรงปรารภช้างพังต้น ชื่อ ภัททวดี ของพระเจ้าอุเทน แล้วจึง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 364

ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อหญฺจ ทฬฺหธมฺมสฺส ดังนี้. ส่วนวิธีที่พระเจ้าอุเทน ทรงได้ช้างพังต้นตัวนั้นก็ดี ราชวงศ์ของพระเจ้าอุเทนก็ดี จักมีแจ้ง ในมาตังคชาดก.

ก็วันหนึ่ง ช้างพังต้น เดินออกจากพระนครไป ได้เห็น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีหมู่พระอริยห้อมล้อม เสด็จเข้าไปในพระนคร ด้วยพุทธสิริ หาที่เปรียบมิได้ เพื่อบิณฑบาตแต่เช้า จึงหมอบลงแทบบาทมูลของ พระพุทธเจ้า ทูลขอ พระผู้มีพระภาคเจ้า โอดครวญไปพลางว่า ข้าแต่พระสรรเพชญ ผู้ทรงภาคยธรรม ผู้ทรงช่วยเหลือสัตวโลกทั้งมวล. พระเจ้าอุเทนทรงโปรดปรานหม่อมฉัน ในเวลาที่หม่อมฉัน ยังสามารถช่วยราชการได้ ในเวลายังรุ่น โดยทรงเห็นว่า ตนเองได้ชีวิต ได้ราชสมบัติ และพระราชเทวีมา โดยอาศัยหม่อมฉัน จึงได้พระราชทานการเลี้ยงดูมากมาย ทรงตกแต่งที่อยู่ ประดับประดา ด้วยเครื่องอลังการทั้งหลาย รับสั่งให้ทำการประพรมด้วยของหอม ทรงให้ติดเพดาน ประดับดาวทองไว้เบื้องบน ให้กั้นม่านที่วิจิตรไว้โดยรอบ ให้ตามประทีปด้วยน้ำมัน เจือด้วยของหอม ให้ตั้งกระถางอบควันไว้ ให้วางกระถางทองไว้ ในที่สำหรับเทคูถ แล้วให้หม่อมฉันยืนอยู่บนแท่น ที่มีเครื่องลาดอันวิจิตร และได้พระราชทานเครื่องกิน ที่มีรสเลิศนานาชนิด แก่หม่อมฉัน. แต่บัดนี้ เวลาหม่อมฉันไม่สามารถ ช่วยราชการได้ ในเวลาแก่ พระองค์ทรงงด การบำรุงนั้นทุกอย่าง. หม่อมฉันไม่มีที่พึ่ง เป็นผู้ไม่มีปัจจัยเครื่อง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 365

อาศัย หากินต้นลำเจียกในป่า เลี้ยงชีพ หม่อมฉันไม่มีที่พึ่งอย่างอื่น ข้าแต่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ จงทรงให้พระเจ้าอุเทน ทรงรำลึกถึงคุณความดี ของหม่อมฉัน แล้วทรงกระทำการบำรุงอย่างเดิม กลับเป็นปกติแก่หม่อมฉัน. พระศาสดาตรัสว่า เจ้าจงไปเถิด เราตถาคต จักทูลพระราชา แล้วแต่งตั้งยศ ให้กลับเป็นปกติ แล้วได้เสด็จไปประตูพระราชนิเวศน์. พระราชาได้ให้พระตถาคตเจ้า เสด็จเข้าไปในพระราชนิเวศน์ ของพระองค์แล้ว ทรงถวายมหาทานแด่พระสงฆ์มี พระพุทธเจ้า เป็นประมุข. พระศาสดา เมื่อทรงทำอนุโมทนา ในเวลาเสร็จภัตกิจ แล้วได้ตรัสถามว่า ดูก่อนบพิตรมหาราช พังต้นภัททวดีอยู่ที่ไหน? พระราชาทูลว่า ไม่ทราบพระพุทธเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถึงคุณความดี ของพังภัททวดีว่า ดูก่อนบพิตรมหาราช ขึ้นชื่อว่า การพระราชทานยศ แก่ผู้มีอุปการคุณแล้ว ทรงทอดทิ้งในเวลาแก่ ย่อมไม่ควร ควรจะเป็นผู้มี กตัญญูกตเวที. พังต้นภัททวดี บัดนี้แก่ทรุดโทรมมาก เป็นสัตว์อนาถา หากินต้นลำเจียกในป่า ประทังชีวิตอยู่ การทำให้เขาไร้ที่พึ่ง ในเวลาแก่ ไม่เหมาะสมแก่พระองค์ แล้วตรัสว่า ขอพระองค์ จงทรงทำการบำรุง อย่างเดิมทุกอย่าง ให้เป็นปกติ ดังนี้แล้ว จึงเสด็จหลีกไป. พระราชาได้ทรง กระทำอย่างนั้น. เสียงเล่าลือ ได้กระจายไปทั่วพระนครว่า ได้ทราบว่า พระตถาคตเจ้าตรัส ถึงคุณความดี ของพังต้นภัททวดี แล้วทรงให้พระราชา แต่งตั้งยศเก่า ให้กลับคืนตามปกติ. แม้ในหมู่พระสงฆ์ ประวัตินั้นก็ปรากฏขึ้น. จึงภิกษุทั้งหลาย พากันตั้งเรื่องสนทนากัน ในธรรมสภาว่า ท่านผู้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 366

มีอายุ ได้ทราบว่า พระศาสดาตรัสถึงคุณความดี ของพังต้นภัททวดีแล้ว ทรงให้พระเจ้าอุเทนทรงแต่งตั้งยศเก่า ให้กลับคืนตามปกติ. พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลาย นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ด้วยเรื่อง ชื่อนี้ แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่ในเวลานี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนตถาคต ก็กล่าวถึงคุณความดี ของพังต้นภัททวดีนี้ แล้วให้พระราชา ทรงแต่งตั้งยศตามปกติเหมือนกัน ดังนี้. แล้วได้ทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า ทัฬหธรรม เสวยราชสมบัติ ในนครพาราณสี. ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ ถือกำเนิดในตระกูลอำมาตย์ เติบโตแล้ว ได้รับใช้เป็นมหาดเล็ก พระราชาพระองค์นั้น. ท่านได้ยศสูง ได้ดำรงอยู่ในตำแหน่ง รัตนอำมาตย์ จากราชสำนักนั้น. กาลครั้งนั้น พระราชาพระองค์นั้น ทรงมีช้างพังต้นเชือกหนึ่ง ชื่อ โอฏฐิพยาธิ มีกำลังวังชามาก. วันหนึ่งเดินทางได้ร้อยโยชน์. ทำหน้าที่นำสิ่งของ ที่ต้องส่งไปถวายพระราชา คือ สื่อสาร. ในสงครามทำยุทธหัตถี ทำการย่ำยีศัตรู. พระราชาทรงดำริว่า ช้างพังเชือกนี้ มีอุปการะแก่เรามาก จึงพระราชทานเครื่องอลังการ คือ คชาภรณ์ทุกอย่าง แก่พังต้นเชือกนั้น แล้วได้พระราชทาน การบำรุงทุกอย่าง เช่นกับที่พระเจ้าอุเทน พระราชทานแก่ พังต้นภัททวดี. ภายหลังเวลาพังต้น โอฏฐิพยาธินั้นแก่แล้ว หมด

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 367

กำลัง ทรงยึดยศทุกอย่างคืน. ต่อแต่นั้นมา มันก็กลายเป็นช้างอนาถา หากินหญ้า และใบไม้ในป่า ประทังชีวิตอยู่. อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อภาชนะไม่พอใช้ ในราชตระกูล จึงรับสั่งให้หาช่างหม้อ เข้าเฝ้าแล้วตรัสว่า ได้ทราบว่า ภาชนะไม่พอใช้ ช่างจึงทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ หาโคเทียมเกวียน เข็นโคมัยไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาทรงสดับ คำของช่างแล้ว จึงตรัสถามว่า พังต้นโอฏฐิพยาธิ ของเราอยู่ที่ไหน? อำมาตย์จึงทูลว่า เที่ยวไปตามธรรมดาของตน พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาได้พระราชทาน พังต้นเชือกนั้น แก่ช่างหม้อ ด้วยพระดำรัสว่า ต่อแต่นี้ไป จงเทียมพังต้นเชือกนั้น เข็นโคมัย. ช่างหม้อรับพระดำรัสว่า ดีแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แล้วได้ทำอย่างนั้น. อยู่มาวันหนึ่ง มันออกจากพระนครไป เห็นพระโพธิสัตว์ กำลังเข้าพระนคร จบแล้วหมอบแทบเท้าของท่าน โอดครวญพลางกล่าวว่า ข้าแต่นาย พระราชาทรงกำหนดรู้ ฉันว่ามีอุปการะมาก. ในเวลายังรุ่น ได้พระราชทานยศสูง แต่บัดนี้ เวลาฉันแก่ งดหมดทุกอย่าง ไม่ทรงทำ แม้แต่การคิดถึงฉัน ฉันไม่มีที่พึ่ง จึงเที่ยวหากินหญ้า และใบไม้ ประทังชีวิตอยู่ บัดนี้ได้พระราชทานฉัน ผู้ตกยากอย่างนี้ ให้ช่างหม้อ เพื่อเทียมยานน้อย. เว้นท่านแล้ว ผู้อื่นที่จะเป็นที่พึ่งของฉัน ไม่มี ท่านรู้อุปการะ ที่ฉันทำแก่พระราชาแล้ว ได้โปรดเถิด ขอท่านจงทำยศของฉัน ที่เสื่อมไปแล้ว ให้กลับคืนมา ตามปกติเถิด แล้วได้กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 368

ก็ฉันเมื่อนำพาราชกิจ ของพระเจ้าทัฬหธรรม ได้คาดลูกศรไว้ที่หน้าอก มีปกติประพฤติความกล้าหาญ ในการรบ ก็ไม่ยังพระองค์ ให้โปรดปรานได้. พระราชา ไม่ทรงทราบความเพียร ของลูกผู้ชายของฉัน และการสื่อสาร ที่ฉันทำได้อย่างดี ในสงความเป็นแน่. ฉันนั้น ไม่มีพวกพ้อง ไม่มีที่พึง จักตายแน่ๆ มิหนำซ้ำ พระราชา ยังได้พระราชทานฉัน แก่ช่างหม้อ ให้ เป็นผู้ขน มูลสัตว์โคมัย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วหนฺตี ความว่า เมื่อทำลายการนำสาร คือ คลังแห่งกำลังในสงคราม ชื่อว่า นำพา คือ ช่วยเหลือราชกิจนั้นๆ. บทว่า นุทนฺตี อุรสิ สลฺลํ ความว่า นำดาบหรือหอกที่ผูกไว้ ที่หน้าอกไป เฉพาะเบื้องบนศัตรูทั้งหลาย ในเวลารบ. บทว่า วิกฺกนฺตจารินี ความว่า ถึงความเป็นผู้กล้าหาญ ในการรบเป็นปกติ ด้วยการทำความกล้าหาญ แล้วพิชิตกำลังของฝ่ายปรปักษ์. มีคำอธิบายว่า ข้าแต่นาย ถ้าหากฉันทำราชกิจเหล่านี้อยู่ ก็ไม่ยังพระราชหฤทัย ของพระเจ้าทัฬหธรรม ให้ยินดีได้ คือ ไม่ให้พระองค์ พอพระราชหฤทัยแล้วไซร้ บัดนี้ ใครคนอื่นจักยังพระราชหฤทัย ของพระองค์ให้ทรงยินดี. บทว่า มม วิกฺกมโปริสํ ได้แก่ ความบากบั่นของบุรุษที่ฉันได้ทำแล้ว บทว่า สุก-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 369

ตนฺตานิ ความว่า ทำเรียบร้อยแล้ว. ราชกิจทั้งหลาย ที่ทำเรียบร้อยแล้ว นั่นแหละ ที่เรียก สุกตนฺตานิ คือ ทำดีแล้ว ในที่นี้เหมือนงานทั้งหลาย นั่นแหละ เขาเรียกว่า กมฺมนฺตานิ คือ การงาน และเหมือนป่า นั่นแหละ เขาเรียกว่า วนนฺตานิ. บทว่า ทูตวิปฺปหิตานิ จ ความว่า การส่งสารที่ฉัน ผู้ที่เขา ผูกหนังสือไว้ที่คอ แล้วส่งไปโดยบอกว่า จงถวายแก่พระราชาชื่อโน้น แล้วก็เดินไปวันเดียวเท่านั้น ตั้งร้อยโยชน์. บทว่า น นูน ราชา ชานาติ ความว่า พระราชานั้น ไม่ทรงทราบราชกิจทั้งหลายเหล่านั้น ที่ฉันทำถวายพระองค์แน่นอน. บทว่า อปรายินี ความว่า ไม่มีที่พึ่ง ที่ระลึก. บทว่า ตทา หิ ได้แก่ ตถา หิ คือ จริงอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า ตถา หิ นี้เหมือนกัน. บทว่า ทินฺนา ความว่า เพราะฉันเป็นผู้ที่พระราชา พระราชทานแก่ช่างหม้อ ทำให้เป็นผู้ขนมูลสัตว์แล้ว.

พระโพธิสัตว์สดับถ้อยคำ ของเขาแล้ว จึงปลอบใจว่า เจ้าอย่าโศกเศร้าไปเลย ฉันจักทูลพระราชา แล้วให้พระราชทานยศ ตามปกติ แล้วเข้าไปพระนคร รับประทานอาหารเช้า แล้วไปราชสำนัก ยกเรื่องขึ้นทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ทรงมีช้างพังต้นชื่อ โอฏฐิพยาธิ มิใช่หรือ? เขาผูกหลาวไว้ที่หน้าอก แล้วช่วยสงครามในที่โน้น และในที่โน้น วันโน้น ถูกผูกหนังสือ คือ สารที่คอแล้ว ส่งไปสื่อสาร ได้เดินทางไปร้อยโยชน์. ฝ่ายพระองค์ ก็ได้พระราชทานยศแก่เขามาก บัดนี้ เขาอยู่ที่ไหน? พระ-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 370

ราชาตรัสตอบว่า เราได้ให้เขาแก่ช่างหม้อ เพื่อเข็นโคมัยแล้ว. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงทูลพระองค์ว่า ข้าแต่มหาราช การพระราชทานแก่ช่างหม้อ เพื่อให้เทียมล้อ ที่พระองค์ทรงทำแล้วไม่สมควรเลย. แล้วได้ภาษิตคาถา ๔ คาถา โดยการถวายโอวาทพระราชาว่า :-

คนยังมีหวังอยู่ตราบใด ตราบนั้น ก็ยังคบหากันอยู่ เมื่อเขาเสื่อมจากประโยชน์ คนโง่ทั้งหลาย ก็จะทอดทิ้งเขา เหมือนขัตติยราช ทรงทอดทิ้งช้างพังต้น ฉะนั้น. ผู้ใดที่ผู้อื่นทำความดีให้ก่อน สำเร็จประโยชน์ที่ต้องการแล้ว ย่อมไม่รู้คุณ ประโยชน์ทั้งหลายที่เขาปรารถนาแล้ว ของผู้นั้นจะเสื่อมสลายไป. ส่วนผู้ใด ที่คนอื่นทำความดีให้แล้ว สำเร็จประโยชน์ที่ต้องการแล้ว ก็ยังรู้คุณประโยชน์ทั้งหลาย ที่เขาปรารถนาแล้ว ของผู้นั้นจะเพิ่มพูนขึ้น. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านทั้งหลาย ขอความเจริญ จงมีแก่ท่านทั้งหลาย มีจำนวนที่มาประชุมกัน ณ ที่นี้. ขอท่านทุกคน จงเป็นผู้รู้คุณ ที่ผู้อื่นทำแล้วแก่ตน ท่านทั้งหลายจักสถิต อยู่ในสวรรค์ ตลอดกาลนาน.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 371

บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาที่ ๑ มีเนื้อความว่า คนบางคนในโลกนี้ เป็นชาติแห่งผู้ไม่รู้ คือ โง่ก่อน. บทว่า ยาวตาสึสตี ความว่า ตราบใดเขายังหวังอยู่ว่า คนนี้ จักอาจกระทำสิ่งนี้แก่เรา ตราบนั้น เขาก็ยังคบหาสมาคมคนคนนั้นอยู่ แต่ในเวลาเขาเสื่อมประโยชน์แล้ว คือ ในเวลาไม่ถึงความเจริญแล้ว ได้แก่ เวลาเสื่อมเสียแล้ว คนโง่บางจำพวก ก็จะละทิ้งคนๆ นั้น ผู้ดำรงอยู่แล้วในกิจนานาชนิด เหมือนขัตติยราชพระองค์นี้ ทรงละทิ้งช้างพัง โอฏฐิพยาธิตัวนี้ ฉะนั้น. บทว่า กตกลฺยาโณ ความว่า ผู้มีกัลยาณธรรม ที่ผู้อื่นทำแล้วแก่ตน. บทว่า กตตฺโถ ความว่า ผู้สำเร็จกิจแล้ว. บทว่า นาวพุชฺฌติ ความว่า ไม่ระลึกถึงอุปการะนั้น ที่คนอื่นทำแล้ว ในเวลาเขาแก่แล้ว คือยึดเอายศ แม้ที่ตนให้แล้ว คืนอีก. บทว่า ปลุชฺชนฺติ ความว่า หักสะบั้นไป คือ พินาศไป. ด้วยบทว่า เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา พระโพธิสัตว์แสดงว่า ขึ้นชื่อว่า คนโง่บางพวก ที่ปรารถนาแล้ว จะพินาศทั้งหมด. เพราะว่า ความปรารถนานั้น ของบุคคลผู้ประทุษร้ายต่อมิตร จะพินาศไป เหมือนพืชที่วางไว้ใกล้ไฟ ฉะนั้น. บทว่า กตตฺโถ มนุพุชฺฌติ ท่านรับเอาแล้ว ด้วยสามารถแห่งพยัญชนะสนธิ. บทว่า ตํ โว วทามิ ความว่า เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอกล่าวกะท่านทั้งหลาย. บทว่า สฺสถ ความว่า ท่านทั้งหลาย เป็นคนกตัญญู จักเสวยทิพยสมบัติ สถิตอยู่ในสวรรค์ ตลอดกาลนาน.

พระมหาสัตว์ ได้ให้โอวาทแก่คนทั้งหมด ตั้งต้นแต่พระราชา ที่มาประชุมกันแล้ว. พระราชาทรงสดับโอวาทนั้นแล้ว ได้ทรงแต่งตั้งยศ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 372

ให้ช้างพังต้น โอฏฐิพยาธิ ตามปกติ. พระองค์ทรงดำรงอยู่ในโอวาท ของพระโพธิสัตว์แล้ว ทรงบำเพ็ญบุญ มีทาน เป็นต้น ตลอดกาลนานแล้ว ได้มีสวรรค์ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแล้ว ทรงประชุมชาดกไว้ว่า ช้างพังต้น ชื่อโอฏฐิพยาธิ ในครั้งนั้น ได้แก่ พังภัททวดีในบัดนี้ พระราชา ได้แก่ พระอานนท์ ส่วนอำมาตย์ ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา ทัฬหธัมมชาดกที่ ๔