พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. โสมทัตตชาดก ว่าด้วยความเศร้าโศกถึงผู้เป็นที่รัก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35872
อ่าน  417

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 373

๕. โสมทัตตชาดก

ว่าด้วยความเศร้าโศกถึงผู้เป็นที่รัก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 373

๕. โสมทัตตชาดก

ว่าด้วยความเศร้าโศกถึงผู้เป็นที่รัก

[๑๐๗๒] โสมทัตตมาตังคะ ซึ่งในวันก่อนมา ต้อนรับเรา ไกลถึงป่า เป็นเวลานาน เราไม่เห็น ไปที่ไหนเสียแล้ว.

[๑๐๗๓] นี้เอง คือ ช้างโสมทัตตเชือกนั้น นอนตายแล้ว มันนอนตายอยู่เหนือพื้นดิน เหมือนยอดเถาย่านทราย ที่ถูกเด็ดทิ้งแล้ว. โสมทัตตกุญชร ได้ตายไปแล้วหนอ.

[๑๐๗๔] เมื่อท่านเป็นอนาคาริก หลุดพ้นไปแล้ว การที่ท่านโศกเศร้า ถึงสัตว์ที่ตายไปแล้ว ไม่เป็นการดี สำหรับท่านผู้เป็นสมณะ.

[๑๐๗๕] ข้าแต่ท้าวสักกะ ความรักใคร่ ย่อมเกิดขึ้นแก่ดวงใจของมนุษย์ หรือมฤค เพราะการอยู่ด้วยกันโดยแท้ อาตมภาพจึงไม่อาจ ไม่เศร้าโศกถึงสัตว์ ที่เป็นที่รักได้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 374

[๑๐๗๖] เหล่าสัตว์ผู้ร้องไห้คร่ำครวญ ก็ร้องไห้ถึงสัตว์ผู้ตายไปแล้ว และจักตาย เพราะฉะนั้น ท่านฤๅษี ท่านอย่าได้ร้องไห้เลย เพราะสัตบุรุษทั้งหลาย เรียกการร้องไห้ว่า เป็นโมฆะ.

[๑๐๗๗] ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ ถ้าคนที่ตายแล้ว ล่วงลับไปแล้ว จึงกลับฟื้นขึ้นมาไซร้ พวกเราทุกคน ก็จงมาชุมนุมกัน ร้องไห้ถึงญาติ ของกันและกันเถิด.

[๑๐๗๘] อาตมภาพถูกไฟ คือ ความโศกแผดเผา แล้วหนอ มหาบพิตรทรงช่วยดับ ความร้อนรนทุกอย่าง ให้หายไป เหมือนเอาน้ำดับไฟ ที่ไหม้เปรียง ก็ปานกัน มหาบพิตรได้ทรงถอนลูกศร คือ ความโศก อันปักอยู่ที่หัวอกของอาตมาภาพ ออกไปแล้ว เมื่ออาตมภาพ ถูกความโศกครอบงำ มหาบพิตรได้ทรงบรรเทาความโศก ถึงบุตรนั้นเสียได้ ข้าแต่ท้าวสักกะ อาตมภาพนั้น เป็นผู้มีลูกศร คือ ความโศก อันมหาบพิตร ทรงถอนออกแล้ว หายโศกแล้ว ใจก็ไม่ขุ่น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 375

มัว ทั้งจะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ต่อไป เพราะได้ฟังเทพดำรัส ของมหาบพิตรแล้ว.

จบ โสมทัตตชาดกที่ ๕

อรรถกถาโสมทัตตชาดกที่ ๕

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภหลวงตารูปหนึ่ง แล้วจึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย มํ ปุเร ปจฺจุเทติ ดังนี้.

ได้ยินว่า หลวงตานั้น บวชสามเณรรูปหนึ่ง. สามเณรนั้น เป็นผู้อุปัฏฐากท่าน ได้มรณภาพ ด้วยโรคชนิดนั้น. เมื่อสามเณรนั้นมรณภาพ หลวงตาเดินร้องไห้ คร่ำครวญไปพลาง. ภิกษุทั้งหลายเห็นท่าน แล้วตั้งเรื่องขึ้นสนทนากัน ในธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโส หลวงตารูปโน้น เดินร้องไห้คร่ำครวญไปพลาง เพราะการมรณภาพ ของสามเณร ท่านเห็นจะเว้นจากกัมมัฏฐาน ข้อมรณานุสสติ. พระศาสดาเสด็จมาถึง ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากัน ด้วยเรื่องอะไรหรือ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เฉพาะแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เมื่อสามเณรมรณภาพแล้ว หลวงตานั้นก็ร้องไห้เหมือนกัน. เป็นผู้ที่ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 376

ทั้งหลาย ทูลอ้อนวอนแล้ว จึงได้ทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ เสวยชาติเป็นท้าวสักกะ. ครั้งนั้น พราหมณ์มหาศาล ชาวกาสีนิคมคนหนึ่ง ละทิ้งกามทั้งหลาย ออกไปป่าหิมพานต์ บวชเป็นฤๅษี มีหัวมัน และผลไม้ในป่า เป็นอาหาร อยู่โดยการประพฤติ ด้วยการแสวงหา. วันหนึ่ง ท่านไปเพื่อต้องการผลไม้น้อยใหญ่ เห็นลูกช้างเชือกหนึ่ง จึงนำมาอาศรมของตน ให้ดำรงอยู่ในฐานะเป็นบุตร ตั้งชื่อมันว่า โสมทัตตะ เลี้ยงดูไว้ให้กินหญ้า และใบไม้. มันเติบโตขึ้น มีร่างกายใหญ่ วันหนึ่ง กินเหยื่อมากไป ได้อ่อนกำลังลง เพราะไม่ย่อย ดาบสให้มันอยู่ใกล้อาศรม แล้วไป เพื่อต้องการผลไม้น้อยใหญ่. เมื่อท่านยังไม่มานั่นเอง ลูกช้างได้ล้ม. ดาบสถือเอาผลไม้น้อยใหญ่มา สงสัยว่า ในวันอื่นๆ ลูกของเราทำการต้อนรับ วันนี้ไม่เห็น ไปไหนหนอ? เมื่อคร่ำครวญ ได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

โสมทัตตมาตังคะ ซึ่งในวันก่อนมาต้อนรับเรา ไกลถึงในป่า เป็นเวลานาน เราไม่เห็น ไปที่ไหนเสียแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุเร ความว่า ก่อนแต่วันนี้. บทว่า ปจฺจุเทติ ความว่า ออกมาต้อนรับ. บทว่า อรญฺเ ทูรํ ความว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 377

ต้อนรับเราไกลถึงในป่า ที่ไม่มีคนนี้. บทว่า อายติ ความว่า ถึงพร้อมด้วยกาลที่ยาวนาน.

ดาบสเดินมาพลาง คร่ำครวญไปพลาง อย่างนี้ เห็นลูกช้างนั้นล้ม อยู่ที่จงกรมแล้ว เมื่อจับคอคร่ำครวญอยู่ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

นี้เอง คือ ช้างโสมทัตตเชือกนั้น นอนตายแล้ว มันนอนตายอยู่ที่พื้นดิน เหมือนยอดเถาย่านทราย ที่ถูกเด็ดทิ้งแล้ว โสมทัตตกุญชร ได้ตายไปแล้วหนอ.

วา ศัพท์ ในคำว่า อยํ วา ในคาถานั้น มีความหมายว่า ทำให้แจ่มชัด. ดาบสเมื่อจะให้เรื่องนั้นชัดแจ้งว่า ช้างเชือกนี้เอง คือ ช้างโสมทัตตนั้น ไม่ใช่เชือกอื่น. บทว่า อลฺลปิตํ ได้แก่ ปลายหน่อของเถาย่านทราย. บทว่า วิจฺฉิโต ความว่า เด็ดขาดแล้ว มีอธิบายว่า เหมือนหน่อเถาย่านทราย ที่เขาเอาเล็บเด็ดทิ้งลง ที่เนินทรายร้อนๆ ในกลางฤดูร้อน. บทว่า. ภุมฺยา ได้แก่ ภูมิยํ คือ บนพื้นดิน. บทว่า อมรา วต ความว่า ตายแล้วหนอ. ปาฐะว่า อมรี ก็มี.

ในขณะนั้น ท้าวสักกะ กำลังตรวจดูสัตว์โลก ทรงเห็นเหตุการณ์นั้น ทรงดำริว่า ดาบสนี้ละทิ้งลูกเมีย ไปบวชแล้ว บัดนี้ ยังมาสร้างความสำคัญ ในลูกช้างว่า เป็นลูก คร่ำครวญอยู่ เราจักให้ท่านสลดใจ แล้วได้สติ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 378

ดังนี้แล้ว จึงมายังอาศรมบทของท่าน สถิตอยู่ที่อากาศนั่นเอง กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

เมื่อท่านเป็นอนาคาริก หลุดพ้นไปแล้ว การที่ท่านโศกเศร้าถึงสัตว์ ที่ตายไปแล้ว ไม่เป็นการดี สำหรับท่านผู้เป็นสมณะ.

ดาบสครั้นได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงได้กล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

ข้าแต่ท้าวสักกะ ความรักใคร่ ย่อมเกิดขึ้น ในดวงใจของมนุษย์ หรือมฤค เพราะการอยู่ร่วมกันโดยแท้ อาตมภาพ จึงไม่อาจจะไม่เศร้าโศก ถึงสัตว์ ที่เป็นที่รักได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคสฺสวา ความว่า ในที่นี้ ท่านเรียกสัตว์เดียรฉานทั้งหมดว่า มฤค. บทว่า ตํ โยค ปิยายิตํ สตฺติ คือ สัตว์ที่เป็นที่รัก.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะ เมื่อจะโอวาท ท่านได้ภาษิตคาถา ๒ คาถา ว่า:-

เหล่าสัตว์ผู้ร้องไห้คร่ำครวญ ก็ร้องไห้ถึงสัตว์ผู้ตายไปแล้ว และจักตาย เพราะฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 379

ท่านฤๅษี ท่านอย่าได้ร้องไห้เลย เพราะสัตบุรุษทั้งหลาย เรียกการร้องไห้ว่า เป็นโมฆะ. ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ ถ้าคนที่ตายแล้ว ล่วงลับไปแล้ว พึงกลับฟื้นขึ้นมาไซร้ พวกเราทุกคน ก็จงมาชุมนุมกัน ร้องไห้ถึงญาติ ของกันและกันเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย รุทนฺติ ลปนฺติ จ ความว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ เหล่าชนผู้ร้องไห้คร่ำครวญ ทุกคนย่อมร้องไห้ ถึงคนที่ตายไปแล้ว นั่นแหละ และจักตาย. เมื่อพวกเขาพากันร้องไห้อยู่อย่างนี้ ก็ไม่มีเวลาน้ำตาจะเหือดหน้า เพราะฉะนั้น ท่านฤๅษี ท่านอย่าร้องไห้ไปเลย. เพราะเหตุไร? บทว่า โรทิตํ โมฆมาหุ สนฺโต ความว่า เพราะบัณฑิตทั้งหลาย กล่าวว่า การร้องไห้เป็นสิ่งไร้ผล. บทว่า มโต เปโต ความว่า ถ้าหากคนที่ตายแล้วนั้น ถึงการนับว่า เป็นผู้ล่วงลับไปแล้ว จะพึงฟื้นขึ้นมา เพราะการร้องไห้ไซร้. เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราแม้ทุกคน ก็จงไปชุมนุมกันร้องไห้ถึงญาติ ของกันและกันเถิด. พวกเราจงออกไปเถิด เฝ้ากันอยู่ทำไม.

ดาบสได้ฟังคำนั้นแล้ว กลับได้สติ ปราศจากความเศร้าโศก เช็ดน้ำตาแล้ว ได้กล่าวคาถาที่เหลือ ด้วยการสดุดีท้าวสักกะว่า :-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 380

อาตมภาพถูกไฟ คือ ความโศกแผดเผา แล้วหนอ. มหาบพิตร ทรงช่วยดับความร้อนรนทุกอย่าง ให้หายไป เหมือนเอาน้ำดับไฟ ที่ไหม้เปรียงก็ปานกัน มหาบพิตร ได้ทรงถอนลูกศร คือ ความโศก อันปักอยู่ที่หัวอกของอาตมภาพ ออกไปแล้ว เมื่ออาตมภาพ ถูกความโศกครอบงำ มหาบพิตรได้ทรงบรรเทาความโศก ถึงบุตรนั้นเสียได้ ข้าแต่ท้าวสักกะ อาตมภาพนั้น เป็นผู้มีลูกศร คือ ความโศก อันมหาบพิตร ทรงถอนออกแล้ว หายโศกแล้ว. ใจก็ไม่ขุ่นมัว ทั้งจะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ต่อไป เพราะได้ฟังเทพดำรัส ของมหาบพิตรแล้ว.

ท้าวสักกะ ครั้นทรงโอวาทดาบส อย่างนี้แล้ว ได้เสด็จไปสู่ ที่ประทับของพระองค์ นั่นเอง.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาประกาศสัจธรรมทั้ง ๔ แล้ว ทรงประชุมชาดกไว้ว่า ลูกช้างในครั้งนั้น ได้แก่ สามเณรในบัดนี้ ดาบส ได้แก่ หลวงตา ส่วนท้าวสักกะ ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา โสมทัตตชาดกที่ ๕