พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. โกฏสิมพลิชาดก ว่าด้วยการระวังภัย ที่ยังไม่มาถึง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35874
อ่าน  424

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 395

๗. โกฏสิมพลิชาดก

ว่าด้วยการระวังภัย ที่ยังไม่มาถึง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 395

๗. โกฏสิมพลิชาดก

ว่าด้วยการระวังภัย ที่ยังไม่มาถึง

[๑๐๘๖] เราเอาพญานาค ยาวตั้งพันวามาแล้ว ท่านทรงพญานาคนั้น และเราอยู่ได้ ไม่สั่นสะท้าน.

[๑๐๘๗] ดูก่อนโกฏสิมพลีเทพบุตร ก็เพราะเหตุอะไร? ท่าน เมื่อทรงนกตัวเล็กๆ นี้ ที่มีเนื้อน้อยกว่าเรา จึงกลัวตัวสั่นสะท้านไป.

[๑๐๘๘] ดูก่อนพญาครุฑ ท่านมีเนื้อเป็นภักษาหาร นกตัวนี้ มีผลไม้เป็นภักษาหาร นกตัวนี้ จักจิกกินลูกนิโครธ ลูกกร่าง ลูกมะเดื่อ และลูกโพธิ์ แล้วมาถ่ายรด ลำต้นไม้ของเรา.

[๑๐๘๙] ต้นไม้เหล่านั้น จะเติบโตขึ้น พวกมันเกิดในที่อับลม ไม่มีอากาศ ที่ข้างเรา จักปกคลุมเรา ทำเราไม่ให้เป็นต้นไม้.

[๑๐๙๐] ต้นไม้ต้นอื่นๆ เป็นหมู่ไม้มีราก มีลำต้น ที่มีอยู่ ก็จะถูกสกุณชาติตัวนี้ ทำลายไป โดยการนำพืชผลมากิน.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 396

[๑๐๙๑] เพราะว่าต้นไม้ทั้งหลายที่งอกขึ้น จะเจริญเติบโตขึ้น เลยต้นไม้เจ้าป่า ที่มีลำต้นใหญ่ไป. ข้าแต่พญาครุฑ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้ามองเห็นภัย ที่ยังไม่มาถึง จึงสั่นสะท้านอยู่.

[๑๐๙๒] ธีรชน ควรระแวงภัยที่ควรระแวง ควรระวังภัยที่ยังไม่มาถึง ธีรชนย่อมพิจารณา เห็นโลกทั้ง ๒ เพราะภัยในอนาคต.

จบโกฏสิมพลิชาดกที่ ๗

อรรถกถาโกฏสิมพลิชาดกที่ ๗

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ การข่มกิเลสแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อหํ ทสสตพฺยามํ ดังนี้ เรื่องจักมีแจ้งชัด ในปัญญาสชาดก.

แต่ในที่นี้ พระศาสดาทรงเห็นภิกษุทั้งหลาย ประมาณ ๕๐๐ รูป ถูกกามวิตกครอบงำ ภายในโกฏิสัณฐารกะ จึงทรงประชุมสงฆ์ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า สิ่งที่ควรระแวง ก็ควรระแวง ขึ้นชื่อว่า กิเลสทั้งหลาย เมื่อเจริญขึ้นก็ย่อมทำลายเรา เหมือนต้นไทร เป็นต้น เมื่อเติบโตขึ้น ก็ทำลายต้นไม้ ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น ในปางบรรพ์เทวดา ผู้เกิดที่โกฏสิมพลีงิ้วใหญ่ เห็นนกตัวหนึ่ง กินลูกนิโครธ ถ่ายอุจจาระรด

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 397

กิ่งต้นไม้ของตน ได้ประสบความกลัวว่า ต่อแต่นี้ไป วิมานของเรา จักมีความพินาศ ดังนี้. แล้วได้ทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ ถือกำเนิดเป็นรุกขเทวดา ที่โกฏสิมพลี ภายหลังพญาครุฑตัวหนึ่ง เนรมิตอัตตภาพ ๑๕๐ โยชน์ ใช้ลม ปีก พัดน้ำในทะเล แหวกออกเป็น ๒ ส่วน แล้วเฉี่ยวเอานาคราชตัวหนึ่ง ยาวพันวา ที่หางให้ขยอกเหยื่อ ที่พญานาคนั้น ใช้ปากคาบไว้ ทิ้งบินไป ทางยอดป่า มุ่งหมายโกฏสิมพลี. นาคราช เมื่อห้อยหัวลง จึงคิดว่า เราจักสลัดตัวให้หลุด จึงสอดขนดเข้าไป ที่ต้นนิโครธต้นหนึ่ง พันต้นนิโครธยึดไว้. ต้นนิโครธก็ถอนขึ้น เพราะความแรงของพญาครุฑ และพญานาคร่างใหญ่. พญานาคก็ไม่ปล่อยต้นไม้เลย. ครุฑจึงเฉี่ยวเอาพญานาค พร้อมกับต้นนิโครธ ไปถึงโกฏสิมพลี แล้วให้พญานาคนอน บนด้านหลังของลำต้นไม้ ฉีกท้องกินมันข้นของพญานาค แล้วทิ้งซากที่เหลือ ลงทะเลไป ก็บนต้นนิโครธนั้น มีนกตัวเมียตัวหนึ่ง เมื่อพญานาคทิ้งต้นนิโครธแล้ว มันก็บินไปเกาะ อยู่ระหว่างกิ่งของต้นโกฏสิมพลี. รุกขเทวดาเห็นมันแล้ว สะดุ้งกลัวตัวสั่นไป โดยคิดว่า นกตัวเมียตัวนี้ จักถ่ายอุจจาระ รดลำต้นไม้ของเรา ต่อนั้นไป พุ่มไทรหรือพุ่มไม้ป่า ก็จะขึ้นท่วมทับถมต้นไม้ทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น วิมานของเราก็จักพินาศ. เมื่อรุกขเทวดาสั่นสะท้านอยู่ โกฏสิมพลีก็สั่นไปถึงโคน พญาครุฑเห็นรุกขเทวดา สั่นสะท้านอยู่ เมื่อจะถามถึงเหตุ จึงได้กล่าวคาถาว่า :-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 398

เราได้เอาพญานาค ยาวตั้งพันวามาแล้ว ท่านทรงพญานาคนั้น และเราอยู่ได้ ไม่สั่นสะท้าน. ดูก่อนโกฏสิมพลีเทพบุตร ก็เพราะเหตุอะไร? ท่านเมื่อทรงนกตัวเล็กๆ นี้ ที่มีเนื้อน้อยกว่าเรา จึงกลัวตัวสั่นสะท้านไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสสตพยามํ ความว่า ยาวพันวา บทว่า อุรคมาทาย อาคโต ความว่า เราเอางูตัวใหญ่มา ณ ที่นี้อย่างนี้. บทว่า ตญฺจ มญฺจ ความว่า ทั้งงูตัวใหญ่ ทั้งฉัน. บทว่า ธารยํ ได้แก่ ธารยมาโพ คือ ทรงไว้อยู่. บทว่า พฺยถสิ ความว่า สั่นเทิ้มอยู่. บทว่า กิมตฺถํ ความว่า พญาครุฑถามว่า ประโยชน์อะไร คือเพราะเหตุอะไร? พญาครุฑเรียกเทพบุตร ตามนามของต้นไม้ว่า โกฏสิมพลี. เพราะว่าต้นสิมพลี คือ ต้นงิ้วต้นนั้น ได้ชื่อว่า โกฏสิมพลี เพราะมีลำต้น และกิ่งก้านใหญ่ แม้เทพบุตร ผู้สิงอยู่บนต้นโกฏสิมพลีนั้น ก็ได้ชื่ออย่างนั้น เหมือนกัน.

ลำดับนั้น เทพบุตร เมื่อจะกล่าวถึง เหตุแห่งการสั่นสะท้านนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๔ คาถาว่า :-

ดูก่อนพญาครุฑ ท่านมีเนื้อเป็นภักษาหาร นกตัวนี้ มีผลไม้เป็นภักษาหาร นกตัวนี้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 399

จักจิกกินลูกนิโครธ ลูกกร่าง ลูกมะเดื่อ และลูกโพธิ์ แล้วมาถ่ายรดลำต้นไม้ของเรา. ต้นไม้เหล่านั้น จะเติบโตขึ้น พวกมันเกิดในที่อับลม ไม่มีอากาศที่ข้างเรา จักปกคลุมเรา ทำเราไม่ให้เป็นต้นไม้. ต้นไม้ต้นอื่นๆ เป็นหมู่ไม้ มีราก มีลำต้นที่มีอยู่ ก็จะถูกสกุณชาติตัวนี้ ทำลายไป โดยการนำพืชผลมากิน. เพราะว่า ต้นไม้ทั้งหลายที่งอกขึ้น จะเจริญเติบโตขึ้น เลยต้นไม้เจ้าป่า ที่มีลำต้นใหญ่ไป ข้าแต่พญาครุฑ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้ามองเห็นภัย ที่ยังไม่มาถึง จึงสั่นสะท้านอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอทหิสฺสติ ความว่า จักถ่ายอุจจาระรด บทว่า เต รุกฺขา ความว่า ต้นไม้ทั้งหลาย มีต้นไทร เป็นต้น เกิดขึ้นแล้ว. จากพืชผลเหล่านั้น. บทว่า สํวิรูหนฺติ ความว่า จักงอกงามขึ้น คือ จักเจริญเติบโตขึ้น. บทว่า มม ปสฺเส ความว่า ในระหว่างกิ่ง เป็นต้นของเรา. บทว่า นิวาตชา ความว่า เกิดแล้วในที่อับลม เพราะลมถูกบังไว้. บทว่า ปริโยนทฺธิสฺสนฺติ ความว่า ต้นไม้เหล่านั้น เติบโตขึ้นอย่างนี้แล้ว จักปกคลุมเราไว้. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 400

ก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า กริสฺสเร ความว่า ภายหลัง ครั้นปกคลุมอย่างนี้แล้ว ก็จักทำเรา ไม่ให้เป็นต้นไม้เลย คือ จักทำลายโดยประการทั้งปวง. บทว่า รุกฺขาเส ได้แก่ ต้นไม้. บทว่า มูลิโน ขนฺธิโน ความว่า ทั้งมีรากสมบูรณ์ ทั้งมีกิ่งสมบูรณ์. คำว่า ทุมา เป็นคำที่เป็นไวพจน์ของคำว่า รุกขา นั่นเอง. บทว่า วีชมาหริตฺวา ความว่า นำพืชผลมาแล้ว บทว่า หตา ความว่า ต้นไม้ในป่านี้ แม้ต้นอื่นๆ ที่ถูกให้พินาศไปแล้วมีอยู่. บทว่า อชฺฌารูหา หิ วฑฺฒนฺติ ความว่า รุกขเทพบุตรแสดงว่า เพราะว่าต้นไม้ทั้งหลาย มีต้นนิโครธ เป็นต้น เป็นต้นไม้ขึ้นคลุมแล้ว ก็จักเติบโตเลยต้นไม้เจ้าป่า แม้ต้นใหญ่ๆ ต้นอื่นไป ก็ในบทว่า วนปฺปตึ นี้มีปาฐะถึง ๓ อย่างทีเดียว คือ วเนปติ วนสฺส ปติ วนปฺปติ. รุกขเทพบุตร เรียกครุฑว่า ราชา.

ครุฑครั้น ได้ฟังคำ ของรุกขเทวดาแล้ว จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-

ธีรชน ควรระแวงภัยที่ควรระแวง ควรระวังภัยที่ยังไม่มาถึง ธีรชนย่อมพิจารณา เห็นโลกทั้ง ๒ เพราะภัยในอนาคต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนาคตํ ภยํ ความว่า ธีรชน เมื่อเว้นจากปาณาติบาต เป็นต้น ชื่อว่าระวังรักษาภัย ที่เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ที่เป็นในภายภาคหน้า คืออนาคตบ้างไว้. และเมื่อไม่เข้าไป คบหาบาปมิตร และคนที่เป็นคู่เวรกัน ก็ชื่อว่า ระวังภัยที่ยังไม่มาถึง. ควร

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 401

ระวังภัย ที่ยังไม่มาถึงอย่างนี้. บทว่า อนาคตภยา ความว่า เพราะเหตุแห่งภัยในอนาคต. ธีรชน เมื่อพิจารณาเห็นภัยนั้น ชื่อว่า เล็งเห็น คือ มองเห็นทั้งโลกนี้ และโลกหน้า.

ก็แล ครุฑครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงให้นกนั้น หนีไปจากต้นไม้นั้น ด้วยอานุภาพของตน.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วตรัสว่า เธอทั้งหลาย ควรระแวงสิ่งที่ควรระแวง ดังนี้. ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกไว้. ในที่สุดแห่งสัจธรรม ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ดำรงอยู่แล้วในอรหัตตผล. พญาครุฑในครั้งนั้น ได้แก่ พระสารีบุตรในบัดนี้ ส่วนรุกขเทวดา ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกา โกฏสิมพลิชาดกที่ ๗