พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ธูมการิชาดก ว่าด้วยความเศร้าโศก เพราะได้ใหม่ลืมเก่า

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35875
อ่าน  450

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 402

๘. ธูมการิชาดก

ว่าด้วยความเศร้าโศก เพราะได้ใหม่ลืมเก่า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 402

๘. ธูมการิชาดก

ว่าด้วยความเศร้าโศก เพราะได้ใหม่ลืมเก่า

[๑๐๙๓] พระเจ้ายุธิฏฐิละ ผู้ทรงใคร่ในธรรม ได้ตรัสถาม วิธูรบัณฑิตแล้วว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านรู้บ้างไหม? ใครคนหนึ่งกำลังเศร้าโศกมาก.

[๑๐๙๔] พราหมณ์วาเสฏฐะ ผู้มีฟืนมากอยู่ในป่า กับฝูงแพะ ไม่เฉื่อยชา ได้ก่อไฟให้เกิดควัน ทั้งกลางคืน ทั้งกลางวัน.

[๑๐๙๕] ชะมดทั้งหลาย ถูกยุงรบกวน ได้พากันเข้าไปอาศัย อยู่ในสำนักของพราหมณ์นั้น ตลอดฤดูฝน เพราะกลิ่นควันนั้น.

[๑๐๙๖] พราหมณ์นั้น เอาใจใส่ชะมด ไม่เอาใจใส่แพะทั้งหลายว่า จะมาเข้าคอก หรือจะไปป่า แพะเหล่านั้น ของเขาจึงหายไปแล้ว.

[๑๐๙๗] แต่ในสารทกาล ในป่าที่ยุงซาลงแล้ว ชะมดทั้งหลาย ก็ไปสู่ยอดเขา และที่ที่เป็นต้นน้ำลำธาร.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 403

[๑๐๙๘] พราหมณ์ เห็นชะมดทั้งหลายไปแล้ว และแพะทั้งหลาย ถึงความวิบัติแล้ว ก็ซูบผอม มีผิวพรรณซีด และเป็นโรคผอมเหลือง.

[๑๐๙๙] ผู้ใดละทิ้งคนของตน ทำคนที่มาใหม่ ให้เป็นที่รักอย่างนี้ ผู้นั้นคนเดียว จะเศร้าโศกมาก เหมือนพราหมณ์ธูมการี เศร้าโศกอยู่ ฉะนั้น

จบธนูการิชาดกที่ ๘

อรรถกถาธูมการิชาดกที่ ๘

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ การทรงสงเคราะห์ อาคันตุกะ ของพระเจ้าโกศลแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ราชา อปุจฺฉิ วิธูรํ ดังนี้.

ได้ยินว่า สมัยหนึ่งพระเจ้าโกศลนั้น ไม่ได้ทรงสงเคราะห์ทหารเก่า ที่มาเฝ้าตามประเพณี แต่ได้ทรงทำสักการะ สัมมานะแก่ทหารผู้เข้ามาใหม่ๆ ยังเป็นแขก ภายหลังเมื่อพระองค์เสด็จไป เพื่อทรงปราบปัจจันตชนบท ที่ก่อการร้าย ทหารเก่าก็ไม่สู้รบ โดยคิดว่า ทหารใหม่ที่เป็นแขก ผู้ได้สักการะ จักสู้รบ ส่วนทหารใหม่ ที่เป็นแขกก็ไม่สู้รบ โดยคิดว่า ทหารเก่าจักสู้รบ. โจรเลยชนะพระราชา. พระราชาทรงปราชัยแล้ว ทรงทราบความที่ตนปราชัย เพราะโทษ คือ การทรงสงเคราะห์ทหารใหม่ ที่เป็นแขก เสด็จกลับพระนครสาวัตถี ทรงดำริว่า เราคนเดียว

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 404

หรืออย่างไร ทำอย่างนี้แล้วแพ้ หรือว่าพระราชาแม้เหล่าอื่น ก็เคยแพ้ ดังนี้ เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว เสด็จไปยังพระเชตวัน ถวายนมัสการพระศาสดาแล้ว จึงทูลถามข้อความนั้น. พระศาสดาตรัสตอบว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตรมหาราช ใช่จะมีแต่มหาบพิตร พระองค์เดียวเท่านั้น ก็หาไม่ แม้พระราชาในสมัยโบราณ ทรงทำการสงเคราะห์ทหารใหม่ ผู้เป็นแขก แล้วทรงปราชัยก็มี เป็นผู้อันพระราชาทูลอ้อนวอนแล้ว ได้ทรงนำเอา เรื่องในอดีต มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระเจ้าโกรัพยะ ทรงพระนามว่า ธนญชัย ยุธิฏฐิลโคตร เสวยราชสมบัติ ในอินทปัตถนคร ในแคว้นกุรุ. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ถือกำเนิด ในตระกูลปุโรหิต ของพระเจ้าธนญชัย เติบใหญ่แล้ว ได้รับการศึกษาศิลปทุกชนิด ที่เมืองตักกศิลา กลับมาที่อินทปัตถนครแล้ว ได้รับตำแหน่งปุโรหิต เป็นผู้ถวายอรรถธรรมแด่พระราชา แทนบิดาที่ล่วงลับไปแล้ว. คนทั้งหลาย ได้ขนานนามท่านว่า วิธูรบัณฑิต. ครั้งนั้น พระเจ้าธนญชัย ไม่ทรงคำนึงถึงทหารเก่า ได้ทรงทำการสงเคราะห์ทหาร ที่เป็นแขกใหม่ เท่านั้น. เมื่อพระองค์เสด็จ ไปปราบปัจจันตชนบท ที่ก่อการร้าย ทหารเก่าไม่รบ โดยคิดว่า ทหารใหม่ที่เป็นแขก จักรู้หน้าที่. ทหารใหม่ที่เป็นแขกก็ไม่รบ โดยคิดว่า ทหารเก่าจักรู้หน้าที่ ตกลงว่า ทั้งทหารเก่า ทั้งทหารใหม่ ไม่รบเลย. พระราชาทรงปราชัยแล้ว เสด็จกลับอินทปัตถนครทันที ทรงดำริว่า เราปราชัย เพราะเราทำการสงเคราะห์ ทหารใหม่ที่เป็นแขก. อยู่มาวันหนึ่งพระองค์ ทรงดำริว่า เราจักถาม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 405

วิธูรบัณฑิตว่า มีเราคนเดียวหรืออย่างไร ทำการสงเคราะห์ทหารใหม่ ที่เป็นแขกแล้วปราชัย หรือพระราชา แม้องค์อื่นๆ ที่เคยปราชัยมาแล้วก็มี แล้วตรัสถามข้อความนั้น กะวิธูรบัณฑิต ผู้มาถึงที่เฝ้าพระราชาแล้ว นั่ง. จึงพระศาสดา เมื่อจะทรงไขอาการ ที่ตรัสถามของพระราชานั้น ให้แจ้งชัด ได้ตรัสกึ่งคาถาว่า :-

พระเจ้ายุธิฏฐิละ ผู้ทรงใคร่ในธรรม ได้ตรัสถาม วิธูรบัณฑิตแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมกาโม ได้แก่ ทรงมีสุจริตธรรม เป็นที่รัก.

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านรู้บ้างไหม? ใครคนหนึ่ง กำลังเศร้าโศกมาก.

ส่วนกึ่งคาถาที่เหลือ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมดาท่านรู้บ้างไหม ว่าใครคนหนึ่งในโลกนี้ เศร้าโศกมาก คือ เศร้าโศกโดยอาการต่างๆ.

พระโพธิสัตว์ ครั้นสดับคำนั้นแล้ว เมื่อทรงนำอุทาหรณ์นี้ มาแสดงว่า ข้าแต่มหาราช ความโศกของพระองค์ ชื่อว่า เป็นความโศก หรือในกาลก่อน พราหมณ์เลี้ยงแพะคนหนึ่ง ชื่อว่า ธูมการี ต้อนแพะฝูงใหญ่ ไปทีเดียว สร้างคอกไว้ในป่า พักแพะไว้ในคอกนั้น ก่อไฟ และควัน ปฏิบัติฝูงแพะบริโภคนม เป็นต้น พักอยู่. แล้วเขาเห็นชะมดทั้งหลาย ที่มา ณ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 406

ที่นั้น มีสีเหมือนสีทอง แล้วทำความเสน่หา ในชะมดเหล่านั้น กระทำสักการะแพะ ให้แก่ชะมดทั้งหลาย โดยไม่คำนึงแพะ เมื่อเหล่าชะมดหนีไป ป่าหิมพานต์ในสารทกาล และเมื่อแพะทั้งหลายหายไปแล้ว ไม่เห็นชะมด จึงเป็นโรคผอมเหลือง เพราะความโศก ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว. พราหมณ์ คนนี้ ทำการสงเคราะห์สัตว์ที่จรมา จึงเศร้าโศกลำบาก ถึงความพินาศมากกว่าพระองค์ ร้อยเท่าพันเท่า ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

พราหมณ์วาเสฏฐะ ผู้มีฟืนมาก อยู่ในป่ากับฝูงแพะ ไม่เฉื่อยชา ได้ก่อไฟให้เกิดควัน ทั้งกลางคืน ทั้งกลางวัน. ชะมดทั้งหลาย ถูกยุงรบกวน ได้พากันเข้าไปอาศัย อยู่ในสำนักของ พราหมณ์นั้น ตลอดฤดูฝน เพราะกลิ่นควันนั้น. พราหมณ์นั้น เอาใจใส่ชะมด ไม่เอาใจใส่แพะ ทั้งหลายว่า จะมาเข้าคอก หรือจะไปป่า แพะเหล่านั้นของเขา จึงหายไปแล้ว. แต่ในสารทกาล ในป่าที่ยุงซาลงแล้ว ชะมดทั้งหลาย ก็ไปสู่ยอดเขา และที่ที่เป็นต้นน้ำลำธาร. พราหมณ์เห็น ชะมดทั้งหลาย ไปแล้ว และแพะทั้งหลาย ถึงความวิบัติแล้ว ก็ซูบผอม มีผิวพรรณซีด และ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 407

เป็นโรคผอมเหลือง. ผู้ใดละทิ้งคนของตน ทำคนที่มารหมู่ ให้เป็นที่รักอย่างนี้ ผู้นั้นคนเดียว จะเศร้าโศกมาก เหมือนพราหมณ์ธูมการี เศร้าโศกอยู่ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุเตนฺโท ความว่า ผู้มีเชื้อเพลิงเพียงพอ. บทว่า ธูมํ อกาสิ ความว่า ได้ก่อขึ้นทั้งไฟ ทั้งควัน เพื่อประโยชน์แก่การนำไป ซึ่งอันตราย คือ แมลงวัน. คำว่า วาเสฏฺโ เป็นโคตร คือ นามสกุลของเขา. บทว่า อตนฺทิโต ได้แก่ เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน บทว่า ตํธูมคนฺเธน ความว่า เพราะกลิ่นควันนั้น. บทว่า สรภา ได้แก่ มฤค คือ ชะมด. บทว่า มกสทฺทิตา ความว่า ถูกยุงทั้งหลาย รบกวน คือ เบียดเบียนแล้ว. แม้แมลงวันที่เหลือ ก็เป็นอันถือเอาแล้วด้วย มกส ศัพท์นั่นเอง. บทว่า วสฺสาวาสํ ความว่า อยู่แล้วตลอดราตรีแห่งกาลฝน ในสำนักของพราหมณ์นั้น. บทว่า มนํ กตฺวา ความว่า ให้เกิดความเสน่หาขึ้น. บทว่า นาวพุชฺฌถ ความว่า ไม่รู้ว่าแพะทั้งหลาย ออกจากป่ากำลังมาเข้าคอก ออกจากคอกกำลังไปป่า และมาแล้ว จำนวนเท่านี้ ยังไม่มาจำนวนเท่านี้. บทว่า ตสฺส ตา วิน สุํ ความว่า เมื่อเขาไม่ได้ตรวจตรา ดูแพะเหล่านั้น อยู่อย่างนี้ แพะทั้งหลาย ที่เขาไม่ได้รักษาอยู่จากอันตราย มีสิงห์โต เป็นต้น พินาศไปแล้ว เพราะอันตรายมี สิงห์โต เป็นต้น หรือแพะทั้งหมด พินาศไปแล้ว. บทว่า นทีนํ ปภวานิ จ ความว่า เข้าไปแล้ว สู่ที่เป็นที่แรกเกิด ของแม่น้ำทั้งหลาย ที่เกิดแต่ภูเขา

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 408

ด้วย. บทว่า วิภวํ ได้แก่ ความไม่เจริญเห็น คือ รู้แพะทั้งหลาย ที่ถึงความพินาศแล้ว. บทว่า กีโสจวิวณฺโณ ความว่า พราหมณ์ละทิ้งแพะ ทั้งที่ให้น้ำนม เป็นต้น แล้วสงเคราะห์ชะมดทั้งหลาย เมื่อไม่เห็นสัตว์ ทั้ง ๒ ชนิดนั้น ก็เป็นผู้เสื่อมจากสัตว์ทั้ง ๒ พวก ถูกความโศกครอบงำ แล้วจึงได้เป็นคนซูบผอม และมีผิวพรรณซูบซีด. บทว่า เอวํ โย สนฺนิรงฺ กตฺวา ความว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ นั่นแหละ ผู้ใดนำคนภายในของตน ซึ่งเป็นคนเก่าแก่ออกไป คือ ละทิ้งแล้ว ทำความรักใคร่คนที่มาใหม่ โดยไม่คำนึงถึงใครๆ อีกเลย ผู้นั้นเป็นคนเดียว เช่นกับพระองค์ ย่อมเศร้าโศกมากเหมือน พราหมณ์ธูมการี ที่ข้าพระองค์ ทูลแสดงถวายพระองค์ แล้วฉะนั้น.

พระมหาสัตว์ ทูลพระราชา ให้ทรงรู้สึกพระองค์อย่างนี้แล้ว. ฝ่ายพระราชา ทรงทำความรู้สึกพระองค์แล้ว ทรงเลื่อมใส แล้วได้พระราชทานทรัพย์ จำนวนมากแก่พระโพธิสัตว์นั้น. จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์ก็ทรงทำการสงเคราะห์ คนภายในอยู่เท่านั้น ทรงบำเพ็ญบุญทั้งหลายมี ทานเป็นต้นแล้ว ได้ทรงเป็นผู้มีสวรรค์ เป็นที่ไปในภายภาคหน้า.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแล้วทรงประชุมชาดกไว้ว่า พระเจ้าโกรัพยะในครั้งนั้น ได้แก่ พระอานนท์ในบัดนี้ พราหมณ์ธูมการี ได้แก่ พระเจ้าปเสนทิโกศล ส่วนวิธูรบัณฑิต ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา ธูมการิชาดกที่ ๘