พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ชาครชาดก ว่าด้วยผู้หลับและผู้ตื่น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35876
อ่าน  470

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 409

๙. ชาครชาดก

ว่าด้วยผู้หลับ และผู้ตื่น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 409

๙. ชาครชาดก

ว่าด้วยผู้หลับ และผู้ตื่น

[๑๑๐๐] เมื่อคนทั้งหลาย ในโลกนี้ตื่นอยู่ ใครเป็นผู้หลับแล้ว แต่เมื่อคนทั้งหลาย ในโลกนี้หลับแล้ว ใครเป็นผู้ตื่น ใครเข้าใจปัญหาข้อนี้ของเรา ใครจะแก้ปัญหาข้อนี้ของเราได้.

[๑๑๐๑] เมื่อพระอริยเจ้าทั้งหลาย ตื่นอยู่ ข้าพเจ้าเป็นผู้หลับแล้ว แต่เมื่อคนทั้งหลายหลับแล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้ตื่น ข้าพเจ้าเข้าใจปัญหาข้อนั้น ข้าพเจ้าจะแก้ปัญหาของท่านได้.

[๑๑๐๒] เมื่อคนทั้งหลาย ตื่นอยู่ ท่านจะเป็นผู้หลับได้อย่างไร เมื่อคนทั้งหลายหลับแล้ว ท่านจะเป็นผู้ตื่นได้อย่างไร ท่านเข้าใจปัญหาข้อนี้อย่างไร ท่านจะแก้ปัญหาของข้าพเจ้าอย่างไร?

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 410

[๑๑๐๓] ดูก่อนเทวดา ชนเหล่าใดไม่รู้ธรรม คือ สัญญมะ และทมะ เมื่อชนเหล่านั้นหลับแล้ว เพราะประมาท ข้าพเจ้าตื่นอยู่.

[๑๑๐๔] พระอริยเจ้าเหล่าใด สำรอกราคะ โทสะ และอวิชชาออกแล้ว เมื่อพระอริยเจ้าเหล่านั้นตื่นอยู่ ข้าพเจ้าก็เป็นผู้หลับแล้ว ท่านเทวดา.

[๑๑๐๕] เมื่อพระอริยบุคคลทั้งหลาย ตื่นอยู่ ข้าพเจ้าชื่อว่า เป็นผู้หลับแล้วอย่างนี้ แต่เมื่อคนทั้งหลายหลับแล้ว ข้าพเจ้าชื่อว่า เป็นผู้ตื่นอย่างนี้ ข้าพเจ้าเข้าใจปัญหาข้อนี้อย่างนี้ ข้าพเจ้าแก้ปัญหาของท่านอย่างนี้.

[๑๑๐๖] ถูกแล้ว เมื่อพระอริยเจ้าทั้งหลาย ตื่นอยู่ ท่านเป็นผู้หลับแล้ว แต่เมื่อคนทั้งหลายหลับแล้ว ท่านเป็นผู้ตื่นดีแล้ว ท่านเข้าใจปัญหาของข้าพเจ้า ข้อนี้ดีแล้ว ท่านตอบปัญหาของข้าพเจ้า ถูกต้องแล้ว.

จบชาครชาดกที่ ๙

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 411

อรรถกถาชาครชาดกที่ ๙

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภอุบาสก คนใดคนหนึ่ง แล้วตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โกธ ชาครตํ สุตฺโต ดังนี้.

ความพิสดารว่า อุบาสกคนนั้น เป็นอริยสาวก ผู้เป็นโสดาบัน เดินทางกันดาร ไปกับพ่อค้าเกวียน. นายกองเกวียน คือ หัวหน้าพ่อค้า ปลดเกวียน ๕๐๐ เล่มไว้ ณ ที่แห่งหนึ่ง ในทางกันดารนั้น เป็นสถานที่หาน้ำได้สะดวก จัดแจงเคี้ยวของกินแล้ว ก็เข้าที่พักผ่อน. คนเหล่านั้น พากันนอน ณ ที่นั้นๆ แล้วก็หลับไป. ส่วนอุบาสก ตั้งใจเดินจงกรม ที่ควงต้นไม้ต้นหนึ่ง ใกล้ๆ นายกองเกวียน. ลำดับนั้น พวกโจร ๕๐๐ คน ผู้ต้องการจะปล้นพ่อค้านั้น ได้พากันถืออาวุธนานาชนิด มายืนล้อม พ่อค้านั้นไว้. พวกเขาเห็นอุบาสกนั้น กำลังจงกรมอยู่ คิดว่า พวกเราจักปล้น เวลาอุบาสกคนนี้หลับ แล้วได้พากันอยู่ ณ ที่นั้นๆ. ฝ่ายอุบาสก ก็ได้จงกรมอยู่ตลอดราตรี ๓ ยามทีเดียว. เวลาย่ำรุ่ง พวกโจรพากัน ทิ้งก้อนหิน และไม้ค้อน เป็นต้น ที่ถือมาแล้ว พูดว่า นายกองเกวียนผู้เจริญ ท่านได้ชีวิตแล้ว เกิดเป็นเจ้าของ ของสิ่งที่มีอยู่ของท่าน เพราะอาศัยบุรุษคนนี้ผู้ตื่นอยู่ เพราะความไม่ประมาท ท่านควรทำสักการะ บุรุษคนนี้ ดังนี้แล้ว จึงหลีกหนีไป. คนทั้งหลาย ลุกขึ้นตามเวลานั่นเอง เห็นก้อนหิน และไม้ค้อน เป็นต้น ที่พวกโจรเหล่านั้น ทิ้งไว้ แล้วพูดว่า พวกเราได้ชีวิต เพราะอาศัยอุบาสกคนนี้ แล้วได้พากัน ทำสักการะอุบาสก.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 412

ฝ่ายอุบาสกไปสู่ที่ ที่ตนต้องการทำกิจเสร็จแล้ว กลับมากรุงสาวัตถีอีก ได้ไปสู่พระวิหารเชตวัน บูชาพระตถาคต ถวายนมัสการแล้วนั่ง เมื่อพระองค์ ตรัสถามว่า ดูก่อนอุบาสก ท่านไม่ปรากฏตัวหรือ? แล้วจึงกราบทูล เนื้อความนั้น. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก ก็ท่านเองไม่หลับนอน ปฏิบัติอยู่ แต่ไม่ได้คุณพิเศษเลย ฝ่ายบัณฑิตในปางก่อน เมื่อปฏิบัติก็ได้คุณพิเศษ ดังนี้ แล้วถูกอุบาสก ทูลขอร้อง จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีต มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดใน ตระกูลพราหมณ์ เติบโตแล้ว เรียนศิลปะทุกอย่าง ที่เมืองตักกศิลา จบกลับมา อยู่ที่ท่ามกลางเรือน ในเวลาต่อมา ก็ออกบวชเป็นฤๅษี ไม่นานเท่าไร ก็ยังฌาน และอภิญญาให้เกิดขึ้น เป็นผู้มีอิริยาบถยืนจงกรม อยู่ในถิ่นป่าหิมพานต์ ไม่เข้าถึงการนอน. จงกรมอยู่ตลอดทั้งคืน. ลำดับนั้น เทวดา ผู้เกิดบนต้นไม้ ใกล้ที่จงกรมของท่าน ดีใจ ยืนอยู่ที่ค่าคบต้นไม้ เมื่อจะถามปัญหา จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

เมื่อคนทั้งหลาย ในโลกนี้ตื่นอยู่ ใครเป็นผู้หลับแล้ว แต่เมื่อคนทั้งหลาย ในโลกนี้หลับแล้ว ใครเป็นผู้ตื่น ใครเข้าใจปัญหา ข้อนี้ของเรา ใครจะแก้ปัญหาข้อนั้น ของเราได้?

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 413

บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า โกธ ตัดบทเป็น โก อิธ ความว่า ในโลกนี้ใคร. บทว่า โก เมตํ ความว่า เทวดาถามว่า ใครรู้ชัดปัญหา ข้อนี้ของเรา. บทว่า โก ตํ ปฏิภณ ความว่า ใครจะตอบปัญหา ที่เราถามข้อนั้นๆ ของเราได้ คือว่า ใครจักสามารถกล่าวแก้ปัญหาได้.

พระโพธิสัตว์ ได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

เมื่อพระอริยเจ้าทั้งหลายตื่นอยู่ ข้าพเจ้าเป็นผู้หลับแล้ว แต่เมื่อคนทั้งหลายหลับแล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้ตื่น ข้าพเจ้าเข้าใจปัญหาข้อนั้น ข้าพเจ้าจะแก้ปัญหาของท่านได้.

ดังนี้แล้ว ถูกเทวดานั้น ถามคาถานี้ว่า :-

เมื่อคนทั้งหลายตื่นอยู่ ท่านจะเป็นผู้หลับได้อย่างไร เมื่อคนทั้งหลายหลับแล้ว ท่านจะเป็นผู้ตื่นได้อย่างไร ท่านเข้าใจปัญหา ข้อนี้อย่างไร ท่านจะแก้ปัญหา ของข้าพเจ้าอย่างไร? ดังนี้

เมื่อจะพยากรณ์ เนื้อความนั้น จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ดูก่อนเทวดา ชนเหล่าใด ไม่รู้ธรรม คือ สัญญมะ และทมะ เมื่อชนเหล่านั้น หลับแล้ว

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 414

เพราะประมาท ข้าพเจ้าตื่นอยู่. พระอริยเจ้าเหล่าใด สำรอกราคะ โทสะ และอวิชชาออกแล้ว เมื่อพระอริยเจ้าเหล่านั้นตื่นอยู่ ข้าพเจ้าเป็นผู้หลับแล้ว ท่านเทวดา. เมื่อพระอริยเหล่านั้นตื่นอยู่ ข้าพเจ้าชื่อว่า เป็นผู้หลับแล้วอย่างนี้ แต่เมื่อคนทั้งหลายหลับแล้ว ข้าพเจ้าชื่อว่า เป็นผู้ตื่นอย่างนี้ ข้าพเจ้าเข้าใจปัญหาข้อนี้อย่างนี้ ข้าพเจ้าแก้ปัญหาของท่านอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กถํ ชาครตํ สุตฺโต ความว่า ท่านชื่อว่า เป็นผู้ตื่นแล้ว ในระหว่างสัตว์ทั้งหลาย ผู้ตื่นอยู่อย่างไร? ในทุกบทก็มีนัยนี้. บทว่า เย ธมฺมํ ความว่า สัตว์เหล่าใดไม่รู้ชัด โลกุตตรธรรมทั้ง ๙ อย่าง. บทว่า สญฺโมติ ทโมติ จ ความว่า และไม่รู้ทั้งศีล ทั้งอินทรีย์สังวร ที่มาแล้ว โดยมรรคอย่างนี้ว่า นี้สัญญมะ นี้ทมะ. จริงอยู่อินทรีย์สังวร ท่านเรียกว่า ทมะ เพราะข่มอินทรีย์ทั้งหลาย มีใจเป็นที่ ๖ ไว้. บทว่า เตสุ สุตฺตปฺปมาเทสุ ความว่า เมื่อสัตว์เหล่านั้น หลับแล้ว ด้วยอำนาจกิเลส ข้าพเจ้าก็ตื่น ด้วยอำนาจแห่งความไม่ประมาท. คาถาว่า เยสํ ราโค จ เป็นต้น มีเนื้อความว่า กิเลสเหล่านี้ คือ ราคะ กล่าวคือ ความโลภ ๑,๕๐๐ ที่ท่านแสดงไว้ ด้วยสตบท โทสะที่มีอาฆาตวัตถุ ๙ ประการ เป็นสมุฏฐาน และอวิชชา

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 415

ที่เป็นความไม่รู้ในวัตถุ ๘ ประการ มีทุกข์ เป็นต้น อันพระมหาขีณาสพเหล่าใด คลายแล้ว คือ ละได้แล้ว. ดูก่อนเทวดา เมื่อพระอริยเจ้าเหล่านั้นตื่นอยู่ โดยอาการทั้งปวง ข้าพเจ้าชื่อว่า เป็นผู้หลับแล้ว เพราะหมายเอา พระอริยเจ้าเหล่านั้น. บทว่า เอวํ ชาครตํ ความว่า ข้าพเจ้าชื่อว่า เป็นผู้หลับแล้ว ในระหว่างพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ตื่นอยู่ ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้. ในทุกๆ บท มีนัยนี้.

เมื่อพระมหาสัตว์ แก้ปัญหาอย่างนี้แล้ว เทวดาพอใจ เมื่อจะทำการสดุดีพระมหาสัตว์ จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-

ถูกแล้ว เมื่อพระอริยเจ้าทั้งหลายตื่นอยู่ ท่านเป็นผู้หลับแล้ว แต่เมื่อคนทั้งหลายหลับแล้ว ท่านได้เป็นผู้ตื่นดีแล้ว ท่านเข้าใจปัญหา ข้อนี้ของข้าพเจ้าดีแล้ว ท่านตอบปัญหาของ ข้าพเจ้าถูกต้องแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ เป็นต้น ความว่า ท่านแก้ปัญหาข้อนี้ ทำให้ดีแล้ว คือ เจริญแล้ว ถึงเราก็จะแก้ปัญหาข้อนั้น อย่างนี้เหมือนกัน.

เทวดานั้น ครั้นทำการสดุดี พระมหาสัตว์อย่างนี้แล้ว ก็เข้าไปสู่วิมานของตน ทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 416

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประชุมชาดกไว้ว่า เทวดาในครั้งนั้น ได้แก่ อุบลวรรณาเถรี ส่วนดาบส ได้แก่ เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบอรรถกถา ชาครชาดกที่ ๙