พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๑. ปรันตปชาดก ว่าด้วยลางบอกความชั่ว และภัยที่จะมาถึง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35878
อ่าน  401

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 440

๑๑. ปรันตปชาดก

ว่าด้วยลางบอกความชั่ว และภัยที่จะมาถึง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 440

๑๑. ปรันตปชาดก

ว่าด้วยลางบอกความชั่ว และภัยที่จะมาถึง

[๑๑๑๔] บาปจักมาถึงข้าพระองค์ ภัยจักมาถึงข้าพระองค์ เพราะมนุษย์ หรือมฤค ก็ไม่รู้เขย่ากิ่งไม้ในครั้งนั้น.

[๑๑๑๕] ความใคร่ของเรา ในภรรยาผู้หวาดกลัว ที่อยู่ไม่ไกล จักทำให้เราผอมเหลือง เหมือนกิ่งไม้ ทำให้นายปรันตปะ ผอมเหลือง ฉะนั้น.

[๑๑๑๖] ภริยาผู้น่ารักใคร่ ไม่มีที่ติอยู่ในบ้าน จักเศร้าโศกถึงเรา ความเศร้าโศก จักทำให้เธอผอมเหลือง เหมือนกิ่งไม้ ทำให้นายปรันตปะ ผอมเหลือง ฉะนั้น.

[๑๑๑๗] หางตาที่หล่อนชำเลือง มาหาฉันก็ดี การยิ้มของหล่อนก็ดี ถ้อยคำที่หล่อนเปล่งออกมาก็ดี จักทำให้เราผอมเหลือง เหมือนกิ่งไม้ ทำให้นายปรันตปะ ผอมเหลือง ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 441

[๑๑๑๘] เสียงกิ่งไม้ได้มาประจักษ์ แน่นอนแล้ว เสียงนั้น เห็นจะมาแจ้งเหตุ ให้ตัวเจ้าทราบแน่นอนแล้ว ผู้ที่สั่นกิ่งไม้นั้น ได้บอกเรื่องนั้น อย่างแน่นอน.

[๑๑๑๙] เรื่องนี้แล ที่ตัวเจ้าคนโง่ คิดว่า กิ่งไม้ที่มนุษย์ หรือมฤค ก็ไม่ทราบเขย่าแล้ว ในครั้งนั้น ได้มาถึงตัวเจ้าแล้ว.

[๑๑๒๐] เจ้าได้รู้อย่างนั้นแล้ว เจ้ายังลวงเสด็จพ่อของฉัน ไปฆ่าแล้ว เอากิ่งไม้ปิดไว้ บัดนี้ ภัยจักมาถึงเจ้าบ้างละ.

จบ ปรันตปชาดกที่ ๑๑

อรรถกถาปรันตปชาดกที่ ๑๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภ การตะเกียกตะกายของพระเทวทัต เพื่อจะปลงพระชนม์พระศาสดา แล้วจึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อาคมิสฺสติ เม ปาปํ ดังนี้.

ความพิสดารว่า ในครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ตั้งเรื่องสนทนากันขึ้นว่า ดูก่อนอาวุโส พระเทวทัตตะเกียกตะกาย เพื่อจะปลงพระชนม์พระ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 442

ตถาคตเจ้า คือ ประกอบนายขมังธนู กลิ้งศิลาทับ ปล่อยช้างนาฬาคีรี ทำอุบาย เพื่อให้พระตถาคตเจ้า ทรงพินาศ. พระศาสดาเสด็จมาถึง แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร หนอ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตไม่ใช่ตะเกียกตะกาย เพื่อฆ่าเราตถาคต แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตนั้น ก็ตะเกียกตะกาย เพื่อฆ่าเราตถาคตเหมือนกัน แต่ก็ไม่อาจเพื่อจะทำ แม้เพียงความสะดุ้ง ให้เราตถาคตได้ จึงเสวยทุกข์ของตนเอง แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีต มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิด ในพระอุทรของพระอัครมเหสี ของพระองค์ เจริญวัยแล้ว ทรงศึกษาศิลปทุกชนิด ที่นครตักกศิลา ทรงเรียนมนต์ รู้เสียงทุกอย่าง. ท้าวเธอทรงให้การซักถามอาจารย์แล้ว เสด็จกลับนครพาราณสี. พระชนกทรงตั้งพระองค์ไว้ ในตำแหน่งอุปราช. ถึงจะทรงตั้งไว้ในตำแหน่งอุปราชก็จริงอยู่. แต่ก็ทรงมีความประสงค์ จะปลงพระชนม์พระโพธิสัตว์อยู่ ไม่ทรงปรารถนาจะให้ท่านเข้าเฝ้า. อยู่มาวันหนึ่ง แม้สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง พาเอาลูกน้อย ๒ ตัว เข้าไปทางช่องระบายน้ำ ในยามราตรี เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย หลีกเร้นไปแล้ว. ที่ข้างห้องบรรทม บนปราสาทของพระโพธิสัตว์ มีศาลาหลังหนึ่ง. บนศาลาหลังนั้น มีคนเข็ญใจคนหนึ่ง ถอดรองเท้าวางไว้ที่พื้นดิน ใกล้เท้าแล้ว นอนอยู่บนกระดาน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 443

แผ่นเดียว แต่ยังไม่หลับก่อน. ครั้งนั้น ลูกน้อย ๒ ตัวของแม่สุนัขหิว ร้องขึ้น จึงแม่ของมันได้พูดกะลูกทั้ง ๒ ตัวนั้น ตามภาษาของตนว่า อย่าทำเสียงดัง คนคนหนึ่ง ถอดรองเท้าวางไว้ ที่พื้นบนศาลาหลังนี้ นอนบนแผ่นกระดาน แต่ยังไม่หลับ เวลาคนคนนั้นนอนหลับ แม่จักไปคาบเอารองเท้านั่น มาให้พวกเจ้ากิน. พระโพธิสัตว์ทรงรู้ภาษาของมัน ด้วยอานุภาพของมนต์ จึงเสด็จออกจากห้องบรรทม ไปทรงเปิดพระแกลแล้ว ตรัสว่า ใครอยู่ที่นี่. คนเข็ญใจทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้า คนเข็ญใจพระเจ้าข้า.

พระโพธิสัตว์ รองเท้าของเจ้าอยู่ที่ไหน?

คนเข็ญใจอยู่ที่พื้นดิน พระเจ้าข้า

พ. ยกขึ้นมาแขวนไว้เถิด.

แม่สุนัขจิ้งจอก ครั้นได้ยินคำนั้นแล้ว โกรธพระโพธิสัตว์. ในวันรุ่งขึ้น มันก็เข้าพระนครอย่างนั้น เหมือนกัน ครั้งนั้นคนคนหนึ่ง ตั้งใจว่าจะดื่มน้ำ เมื่อลงไปในสระโบกขรณี ก็ตกลงไปจมน้ำหายใจไม่ออก ตาย. แต่เขามีผ้าสาฎก สำหรับนุ่งห่ม ๒ ผืน และมีแหวนสวมนิ้ว ราคาพันกหาปณะ ที่ผ้านุ่ง. แม้ครานั้นแม่สุนัขจิ้งจอกนั้น ก็พูดกะลูก น้อยของมัน ที่กำลังร้องว่า แม่พวกฉันหิว ว่าลูกเอ๋ยอย่าส่งเสียงดัง คนตายอยู่ที่สระโบกขรณีนั่นแน่ะ เขามีของสิ่งนี้ และสิ่งนี้ แต่เขาตายแล้ว นอนอยู่ใต้บันได นั่นเอง แม่จักให้พวกเจ้ากินคนคนนั่น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 444

พระโพธิสัตว์ทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงเปิดพระแกลแล้วตรัสว่า บนศาลามีใครไหม? เมื่อชายคนหนึ่งลุกขึ้น แล้วทูลว่า ข้าพระองค์พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ไปเถิดไปเอาผ้าสาฎก และแหวนสวมนิ้วของชายที่ตาย อยู่ในสระโบกขรณีนั้น แล้วปล่อยร่างของมันให้จมอยู่ในน้ำ โดยวิธีที่มันจะไม่ลอยขึ้น. เขาได้ทำอย่างนั้นแล้ว แม่สุนัขนั้นก็โกรธอีก แล้วร้องขู่พระโพธิสัตว์ว่า ในวันก่อนเขาไม่ได้ให้ลูกข้า กินรองเท้า วันนี้ไม่ให้กินคนตาย ในวันที่ ๓ พระเจ้าสมันตราชองค์หนึ่ง จักมาล้อมพระนครไว้ ครั้งนั้น พระราชบิดาจักส่งเขาไป เพื่อต้องการให้รบ พระเจ้าสมันตราช จักตัดศีรษะของท่าน ณ ที่นั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นเราจักดื่มเลือด ในลำคอของแก แล้วพ้นเวร ดังนี้แล้ว พาลูกออกไป. ในวันที่ ๓ พระเจ้าสมันตราช เสด็จมาล้อมพระนครไว้. พระราชาตรัสกะ พระโพธิสัตว์ว่า ไปเถิดลูกเอ๋ย จงต่อสู้กับพระเจ้าสมันตราชนั้น. พระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มีเหตุอย่างหนึ่ง ที่ข้าพระองค์เห็นแล้ว ข้าพระองค์ไม่สามารถไปได้ ข้าพระองค์กลัวอันตรายแห่งชีวิต พระราชาตรัสว่า เมื่อเจ้าตายหรือไม่ตายก็ตาม จะมีประโยชน์อะไรสำหรับฉัน เจ้าจงไปเถิด. พระมหาสัตว์ รับกระแสพระบรมราชโองการแล้ว พาบริษัทไป ไม่ได้ออกทางประตู ด้านที่พระเจ้าสมันตราชทรงตั้งทัพ ทรงเปิดประตูด้านอื่น เสด็จออกไป. เมื่อพระมหาสัตว์นั้น เสด็จออกไป พระนครได้ว่างเปล่า. คนทั้งหลาย ได้ออกไปกับพระมหาสัตว์ หมดทีเดียว. พระมหาสัตว์ ทรงให้พักค่ายอยู่ ณ ที่ที่มีส่วนเหมาะสมกันแห่งหนึ่ง. พระราชาทรงดำริว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 445

อุปราช ทำพระนคร ให้ว่างเปล่า พากำลังหนีไปแล้ว ฝ่ายพระเจ้าสมันตราช ก็ล้อมพระนครตรึงไว้ บัดนี้ ชีวิตของเราจะไม่มี. พระองค์ทรงดำริว่า เราจักรักษาชีวิตไว้ แล้วทรงพาเอาพระราชเทวี ปุโรหิต และคนรับใช้คนหนึ่ง ชื่อ ปรันตปะ ปลอมพระองค์หนีเข้าป่าไป. พระโพธิสัตว์ ทรงทราบการเสด็จหนีไป ของพระราชาแล้ว จึงเสด็จเข้าพระนคร ทรงทำการรบขับไล่ พระเจ้าสมันตราชให้หนีไป แล้วทรงยึดราชสมบัติไว้ได้. ฝ่ายพระราชบิดาของพระองค์ ได้ทรงสร้างบรรณศาลาใกล้ฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง ทรงดำรงพระชนม์ชีพ อยู่ได้ด้วยผลไม้น้อยใหญ่. พระราชากับปุโรหิต ไปหาผลไม้น้อยใหญ่. ที่บรรณศาลานั่นเอง มีแต่ทาสชื่อ ปรันตปะกับพระราชเทวี. เพราะทรงอาศัยพระราชา พระราชเทวีได้ทรงพระครรภ์ แม้ในสถานที่นั้น. และพระนางได้ประพฤตินอกใจ พระราชากับทาสปรันตปะนั่น ด้วยอำนาจแห่งความคุ้นเคยกัน. วันหนึ่งพระนาง รับสั่งทาสปรันตปะว่า เมื่อพระราชาทรงทราบเรื่องแล้ว ชีวิตของเจ้าก็จะไม่มี ชีวิตของฉันก็จะหามีไม่ เพราะฉะนั้น เจ้าจงปลงพระชนม์พระราชานั้นเสีย ทาสปรันตปะทูลว่า ข้าพระองค์จะปลงอย่างไร? พระราชเทวีรับสั่งว่า พระราชานี่จะให้เจ้าถือพระขรรค์นั้น และภูษาชุบสรง แล้วไปสรงสนาน เจ้าจงคอยดูความเผลอของพระราชานั้น ในที่สรงสนานนั้น ใช้พระขรรค์ตัดพระเศียร แล้วสับพระสรีระออกเป็นท่อนๆ ฝังไว้ในพื้นดิน. เขารับพระเสาวนีว่า พระเจ้าข้า. อยู่มาวันหนึ่งปุโรหิต นั่นเอง เดินไป เพื่อต้องการผลไม้น้อยใหญ่ ขึ้นต้นไม้ต้นหนึ่ง ใกล้ท่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 446

ที่พระราชาทรงสรงสนาน เก็บผลไม้น้อยใหญ่อยู่. พระราชาทรงดำริว่า เราจักอาบน้ำ แล้วทรงให้ทาสปรันตปะ ถือพระขรรค์ และภูษาชุบสรง แล้วได้เสด็จไปสู่ฝั่งแม่น้ำ. ทาสปรันตปะทูลพระองค์ ผู้ทรงประสบความประมาท ในเวลาทรงสรงสนานแม้ ณ ที่นั้นว่า ข้าพระองค์จักฆ่าละ แล้วจับพระศอพระองค์ เงื้อพระขรรค์ขึ้น. พระราชาทรงร้อง เพราะทรงกลัวความตาย. ปุโรหิตได้ยินเสียงนั้น แล้วมองดู เห็นทาสปรันตปะ กำลังปลงพระชนม์พระราชา สะดุ้งกลัวจึงเขย่ากิ่งไม้ แล้วลงจากต้นไม้ เข้าไปนั่งที่พุ่มไม้พุ่มหนึ่ง. ทาสปรันตปะได้ยินเสียงเขย่ากิ่งไม้ ของปุโรหิตนั้น แล้วปลงพระชนม์พระราชา ฝังไว้ในพื้นดินแล้วพิจารณาดูว่า ได้มีเสียงเขย่ากิ่งไม้ในที่นี้ ใครหนออยู่ในที่นี้? ไม่เห็นใครๆ จึงอาบน้ำแล้วไป. ในเวลาทาสปรันตปะไปแล้ว ปุโรหิตก็ออกจากที่นั่งไป รู้ว่าพระราชา ถูกสับพระสรีระออกเป็นท่อนๆ แล้วฝังไว้ในหลุม จึงอาบน้ำ แล้วปลอมเพศเป็นคนตาบอด แล้วได้ไปบรรณศาลา เพราะกลัวเขาฆ่าตน. ปรันตปะเห็นเขาแล้ว พูดว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านได้ทำอะไร. เขาทำเป็นเหมือนไม่รู้ พูดว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์นัยน์ตาทั้ง ๒ เสีย จึงได้มาที่นี่ ข้าพระองค์ ได้ยืนอยู่ที่ข้างจอมปลวกแห่งหนึ่ง ในป่าที่มีอสรพิษชุกชุม อสรพิษตัวหนึ่ง จักพ่นพิษใส่. ปรันตปะคิดว่า เขาไม่รู้จักเรา เขาจึงพูดว่า ข้าแต่สมมติเทพ เราจักปลอบใจเขา แล้วได้ปลอบใจเขาว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านอย่าคิดอะไร เราจักปฏิบัติท่าน แล้วได้ ให้ผลไม้น้อยใหญ่ ให้กินอิ่มหนำสำราญ. ต่อแต่นั้นมา ทาสปรันตปะก็

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 447

นำผลไม้น้อยใหญ่มาให้. พระราชเทวีประสูติพระราชโอรสแล้ว. เมื่อพระราชโอรสทรงเจริญขึ้นพระนางบรรทมสบาย ในเช้ามืดวันหนึ่ง ได้ตรัสกะทาสปรันตปะเบาๆ ว่า เจ้าเมื่อปลงพระชนม์พระราชา ไม่มีใครหรือ? เขาเมื่อเจรจากับพระนางว่า ใครๆ มิได้เห็นข้าพระองค์ แต่ว่าได้ยินเสียงเขย่ากิ่งไม้ แต่ไม่ทราบว่ากิ่งไม้นั้น มนุษย์ หรือสัตว์เดียรฉานเขย่า ไม่คราวใดก็คราวหนึ่ง ภัยจะมาถึงข้าพระองค์ และจักมาจากผู้เขย่ากิ่งไม้ ดังนี้ แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

บาปจักมาถึงข้าพระองค์ ภัยจักมาถึงข้าพระองค์ เพราะมนุษย์ หรือมฤคก็ไม่รู้ เขย่ากิ่งไม้ในครั้งนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปํ ได้แก่ สิ่งที่ลามก คือ สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่. บทว่า ภยํ ความว่า แม้ภัย คือ ความหวาดเสียวใจ จักมาถึงข้าพระองค์ ไม่ใช่ไม่อาจมาถึง. เพราะเหตุไร? เพราะว่ากิ่งไม้ไหว ครั้งนั้น ไม่ทราบว่า เพราะมนุษย์ หรือมฤค เพราะฉะนั้น ภัยจักมาถึงข้าพระองค์จากมนุษย์ หรือมฤค นั้นทีเดียว. คนทั้ง ๒ นั้น เข้าใจว่า ปุโรหิตหลับแล้ว. แต่ปุโรหิตนั้นยังไม่หลับเลย ได้ยินถ้อยคำของพวกเขาอยู่. อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อทาสปรันตปะไปหาผลไม้น้อยใหญ่ ปุโรหิตเป็นเหมือนเพ้อ ระลึกถึงภริยาของตนอยู่ ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 448

ความใคร่ของเรา ในภรรยาผู้หวาดกลัว ที่อยู่ไม่ไกล จักทำให้เราผอมเหลือง เหมือนกิ่งไม้ ทำให้นายปรันตปะผอมเหลืองไป ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภีรุยา ความว่า ธรรมดาผู้หญิงทั้งหลายย่อมกลัว เพราะเหตุแม้เพียงเล็กน้อย เพราะฉะนั้น ผู้หญิง จึงถูกเรียกว่า ภีรุ. บทว่า อวิทูเร ความว่า ปุโรหิต แสดงว่า ความใคร่ของเรา ในนางพราหมณีผู้หวาดกลัว อยู่ในที่ไม่ไกลจากที่นี้ คือ ในที่สุดระยะ ๒ - ๓ โยชน์ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา. พราหมณีนั้น จักทำให้เราผอมเหลือง แน่นอน. บทว่า สาว สาขา มีเนื้อความว่า ก็ด้วยคำนี้ ปุโรหิต แสดงอุปมาอยู่ว่า กิ่งไม้ ทำให้ปรันตปะเองผอมเหลือง ฉันใด พราหมณีนั้นก็ฉันนั้น ทำให้เราผอมเหลือง. ดังนั้น พราหมณ์จึงกล่าวคาถานั่นแหละ แต่ไม่บอกความหมาย. เพราะฉะนั้น กิจจึงไม่ปรากฏแก่พระราชเทวี เพราะคาถานี้.

ลำดับนั้น พระราชเทวี จึงกล่าวกะปุโรหิตนั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านพูดอะไร? ฝ่ายปุโรหิตพูดว่า ข้าพระองค์กำหนดรู้แล้วแหละ ในวันรุ่งขึ้น ก็กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ภริยาผู้น่ารักใคร่ ไม่มีที่ติอยู่ในบ้าน จักเศร้าโศกถึงเรา ความเศร้าโศกจักทำให้เธอ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 449

ผอมเหลือง เหมือนกิ่งไม้ ทำนายปรันตปะให้ผอมเหลือง ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสจยิสฺสติ ความว่า จักให้ซูบซีด เพราะเกิดความเศร้าโศกขึ้น. บทว่า กนฺตา ได้แก่ ภริยาผู้น่าปรารถนา. บทว่า คาเม วสํ มีอธิอบายว่า อยู่ในเมืองพาราณสี. บทว่า อนินฺทิตา ความว่า ไม่มีที่ครหา คือ ทรงไว้ซึ่งรูปร่างที่เลอเลิศ.

ในวันรุ่งขึ้นปุโรหิตได้กล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

หางตา ที่หล่อนชำเลืองมาหาฉันก็ดี การยิ้มของหล่อนก็ดี ถ้อยคำ ที่หล่อนเปล่งออกมาก็ดี มันจักทำให้เราผอมเหลือง เหมือนกิ่งไม้ ทำให้นายปรันตปะ ผอมเหลือง ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตยา มํ หสิตาปงฺคี ความว่า หางตาที่หล่อนชำเลืองมาที่ฉัน. มีคำอธิบายว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ ดวงตาดำที่ตกแต่งดีแล้ว เพราะนำสิ่งโสมมออกจากหางตาแล้ว ด้วยไม้ป้ายยาหยอดตา ที่หล่อนชำเลืองตาแล้วก็ดี การยิ้มน้อยๆ ก็ดี คำพูดที่หล่อนพูด อย่างอ่อนหวานก็ดี จักทำให้เราผอมเหลือง เหมือนกิ่งไม้ ที่เราเขย่าแล้ว ดังอยู่ ทำให้ปรันตปะผอมแห้ง ฉะนั้น. ปาฐะว่า ปงฺคี ดังนี้ ก็มีโดยเปลี่ยน อักษรให้เป็น อักษร นั่นเอง.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 450

ในกาลต่อมา พระราชกุมาร ได้ทรงเจริญวัยขึ้น มีพระชนมายุได้ ๑๖ ชันษา. จึงพราหมณ์ได้ให้พระองค์ ทรงจับปลายไม้เท้าจูงไป ถึงท่าอาบน้ำแล้ว ได้ลืมตาขึ้นมองดู. พระราชกุมารตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเป็นคนตาบอดไม่ใช่หรือ? เขาทูลว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่คนตาบอด แต่ใช้อุบายนี้รักษาชีวิตไว้ แล้วทูลว่า ท่านรู้จักบิดาของท่านไหม? เมื่อพระราชกุมารตรัสบอกว่า เรารู้คนคนนั้น เป็นบิดาของเรา จึงทูลว่า คนคนนี้ ไม่ใช่บิดาของท่าน แต่บิดาของท่าน ได้แก่ พระเจ้าพาราณสี คนคนนี้เป็นทาสของท่าน เขาปฏิบัติผิดในมารดาของท่านแล้ว ฆ่าบิดาของท่าน แล้วฝังไว้ที่ตรงนี้ ดังนี้ แล้วนำเอากระดูกมาให้ดู พระราชกุมาร ได้ทรงเกิดความกริ้วขึ้นเป็นกำลัง. ลำดับนั้น เมื่อพระราชกุมารตรัสถาม ปุโรหิตนั้นว่า บัดนี้ เราจะทำอย่างไร? ปุโรหิตจึงทูลว่า สิ่งใดที่เขา ทำแก่ พระราชบิดาของพระองค์ ที่ท่าน้ำนี้ นั่นเอง พระองค์จงทรงกระทำ สิ่งนั่นเถิด แล้วได้ทูลบอก ความเป็นไปทั้งหมด ให้ทรงทราบ แล้วได้ให้พระราชกุมารทรงศึกษา การตีกระบี่กระบองอยู่ ๒, ๓ วัน. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชกุมารทรงถือพระขรรค์ กับพระภูษาชุบสรงแล้ว กล่าวว่า ไปอาบน้ำเถิดพ่อครับ. ปรันตปะตอบว่า ดีละ แล้วก็ไปกับพระราชกุมารนั้น. ต่อมาในเวลาเขาลงอาบน้ำ พระราชกุมารจึงใช้พระหัตถ์ขวา ทรงถือดาบ พระหัตถ์ซ้ายทรงจับมวยผม แล้วตรัสว่า ได้ทราบว่า เจ้าจับพระจุฬาของเสด็จพ่อของฉัน แล้วปลงพระชนม์ของพระองค์ ผู้ทรงร้องอยู่ที่ท่าน้ำนี้ นั่นเอง ฝ่ายฉันก็จักทำเจ้าอย่างนั้นเหมือนกัน. เขากลัวภัย คือ ความตาย โอดครวญไปพลาง กล่าวคาถา ๒ คาถาไปพลางว่า :-

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 451

เสียงกิ่งไม้ ได้มาประจักษ์แน่นอนแล้ว เสียงนั้น เห็นจะมาแจ้งเหตุ ให้ตัวเจ้าทราบแน่นอนแล้ว ผู้ที่สั่นกิ่งไม้นั้น ได้บอกเรื่องนั้น อย่างแน่นอน เรื่องนี้เจ้าแล ที่ตัวคนโง่ คิดว่า กิ่งไม้ที่มนุษย์ หรือมฤค ก็ไม่ทราบ เขย่าแล้วในครั้งนั้น ได้มาถึงเจ้าแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคมา ความว่า เสียงของกิ่งไม้นั้น ได้มาถึง คือ มาประจวบตัวเจ้าเข้าแล้ว. บทว่า อสํสิ นูน โส ตว ความว่า เสียงเห็นจะบอกเหตุแก่เจ้า. บทว่า อกฺขาตํ นูน ตํ เตน ความว่า สัตว์ใดได้สั่นกิ่งไม้นั้น ในครั้งนั้น สัตว์นั้นได้บอกเหตุนั้นแน่นอน อย่างนี้ว่า เขาฆ่าบิดาของท่าน บทว่า สมาคมฺม ได้แก่ สงฺคมฺม หมายความว่า ได้มาถึงแล้ว. มีคำอธิบายว่า ข้อที่เราผู้เป็นคนโง่ ได้มีสิ่งที่คิด คือ ถึงที่ปริวิตกว่า ภัยจักเกิดขึ้นแก่เรา จากมนุษย์ หรือมฤค ที่เขย่ากิ่งไม้ ในครั้งนั้น นี้ได้มาประจวบกับเราแล้ว.

ต่อจากนั้น พระราชกุมารก็ได้ตรัสคาถาสุดท้ายว่า

เจ้าได้รู้อย่างนั้นแล้ว เจ้ายังลวงเสด็จพ่อของฉันไปฆ่า แล้วเอากิ่งไม้ปิดไว้ บัดนี้ ภัยจักมาถึงเจ้าบ้าง.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 452

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเถว ตฺวํ อเวทสิ ความว่า เจ้าได้รู้แล้วอยู่อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า อวญฺจิ ปิตรํ มม ความว่า เจ้าปลอบใจเสด็จพ่อของฉันว่า พวกเรามาไปอาบน้ำกัน แล้วปลงพระชนม์ ท่านผู้กำลังสรงสนานอยู่ สับให้เป็นท่อนเล็ก ท่อนน้อย ฝังไว้แล้ว พลางไว้ โดยคิดว่า ถ้าใครจักรู้ไซร้ ภัยแบบนี้ จักมาถึงแม้แก่ตัวเรา แต่ภัย คือ ความตาย นี้แล บัดนี้ ได้มาถึงตัวเจ้าแล้ว.

พระกุมาร ครั้นตรัสดังที่กล่าวมาแล้วนี้ แล้วก็ให้ทาสปรันตปะนั้น ถึงความสิ้นชีวิต ฝังไว้แล้ว เอากิ่งไม้คลุมไว้ ทรงล้างพระขรรค์สรงสนานแล้ว เสด็จไปสู่บรรณศาลา ตรัสบอกปุโรหิตนั้น ถึงภาวะที่ตนได้ฆ่าแล้ว จึงทรงต่อว่าพระมารดา. ทั้ง ๓ คนหารือกันว่า พวกเราจักอยู่ทำไม ที่ตรงนี้ แล้วจึงได้พากันไปนครพาราณสี นั่นเอง พระโพธิสัตว์ ทรงประทานตำแหน่งอุปราชแก่ พระกนิษฐา แล้วทรงบำเพ็ญบุญมีทาน เป็นต้น ทรงสร้างทางสวรรค์ให้เต็มที่.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลายแล้ว ทรงประชุมชาดกไว้ว่า พระราชาผู้เป็นบิดาในครั้งนั้น ได้แก่ พระเทวทัตในครั้งนี้ ปุโรหิต ได้แก่ พระอานนท์ ส่วนพระราชบุตร ได้แก่ เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบอรรถกถา ปรันตปชาดกที่ ๑๑

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 453

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ :-

๑. คันธารชาดก ๒. มหากบี่ชาดก ๓. กุมภการชาดก ๔. ทัฬหธัมมชาดก ๕. โสมทัตตชาดก ๖. สุสีมชาดก ๗. โกฏสิมพลิ ชาดก ๘. ธูมการิชาดก ๙. ชาครชาดก ๑๐. กุมมาสปิณฑชาดก ๑๑. ปรันตปชาดก.

จบ คันธารวรรคที่ ๒

รวมวรรคที่มีในสัตตกนิบาต คือ :-

๑. กุกกุวรรค ๒. คันธารวรรค

จบ สัตตกนิบาต