พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. อัฏฐสัททชาดก ว่าด้วยพระนิพพาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35880
อ่าน  474

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 469

๒. อัฏฐสัททชาดก

ว่าด้วยพระนิพพาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 469

๒. อัฏฐสัททชาดก

ว่าด้วยพระนิพพาน

[๑๑๒๙] สระมงคลโบกขรณีนี้ แต่ก่อนเป็นที่ลุ่มลึก มีน้ำมาก มีปลามาก เป็นที่อยู่อาศัยของพญานกยาง เป็นที่อยู่แห่งบิดาของเรา บัดนี้ น้ำแห้ง วันนี้พวกเรา จะพากันเลี้ยงชีพด้วยกบ ถึงพวกเราจะถูกความหิวบีบคั้น ถึงเพียงนี้ จะไม่ละที่อยู่.

[๑๑๓๐] ใครจะทำลายนัยน์ตาข้างที่สอง ของนายพันธุระ ผู้มีอาวุธในมือ ให้แตกได้ ใครจักกระทำลูก รังของเรา และตัวเรา ให้มีความสวัสดีได้.

[๑๑๓๑] ดูก่อนมหาบพิตร คติของกระพี้ไม้นั้น มีอยู่เพียงใด กระพี้ไม้ทั้งหมด แมลงภู่เจาะกินสิ้นแล้วเพียงนั้น แมลงภู่หมดอาหารแล้ว จึงไม่ยินดีในไม้แก่น.

[๑๑๓๒] ไฉนหนอ เราจึงจะจากที่นี่ไป ให้พ้นจาก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 470

ราชนิเวศน์เสียได้ บันเทิงใจ ชมต้นไม้ กิ่งไม้ที่มีดอก ทำรังอาศัยอยู่ตามประสาของเรา.

[๑๑๓๓] ไฉนหนอ เราจึงจะไปจากที่นี่ ให้พ้นจากพระราชนิเวศน์ ไปเสียได้ เราจักนำหน้าฝูงไป ดื่มน้ำที่ดีเลิศได้.

[๑๑๓๔] นายพรานภรตะ ชาวพาหิกรัฐ นำเราผู้มัวเมา ด้วยกามทั้งหลาย ผู้กำหนัดหมกมุ่น อยู่ในกามมาแล้ว ลิงนั้นกล่าวว่า ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน ขอท่านจงปล่อยข้าพเจ้าเถิด.

[๑๑๓๕] เมื่อความมืดมิด ปรากฏเบื้องบนภูเขา อันแข็งคม นางกินรีนั้น ได้กล่าวกะเรา ด้วยถ้อยคำอันไพเราะ อ่อนหวานว่า ท่านอย่าจรดเท้า ลงบนแผ่นหิน.

[๑๑๓๖] เราเห็นพระนิพพาน อันเป็นที่สิ้นชาติ ไม่ต้องกลับมา นอนในครรภ์อีก โดยไม่ต้องสงสัย ความเกิดของเรานี้ มีในที่สุดแล้ว

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 471

การนอนในครรภ์ เป็นหนสุดท้ายแล้ว สงสาร เพื่อภพใหม่ต่อไปของเรา สิ้นสุดแล้ว.

จบ อัฏฐสัททชาดกที่ ๒

อรรถกถาอัฏฐสัททชาดกที่ ๒

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภเสียง แสดงความแร้นแค้น อันน่าสะดุ้งกลัว ที่พระเจ้าโกศลได้ทรงสดับ ในเวลาเที่ยงคืน จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อิทํ ปุเร นินฺนมาหุ ดังนี้. เนื้อเรื่องก็เช่นเดียวกับ ที่กล่าวมาแล้ว ในโลหกุมภิชาดก ในจตุกกนิบาต นั่นแหละ.

ส่วนในเรื่องนี้ เมื่อพระเจ้าโกศลทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะมีเหตุอะไรเกิดขึ้น เพราะเสียง ที่ข้าพระองค์ได้สดับนี้ พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า มหาบพิตร ขอพระองค์อย่าได้ทรงกลัวเลย จะไม่มีอันตรายใดๆ แก่พระองค์ เพราะเหตุที่ได้ทรงสดับเสียงเหล่านั้น มหาบพิตร พระองค์ได้ทรงสดับเสียง แสดงความแร้นแค้น อันน่าสะดุ้งกลัวเช่นนี้ แต่พระองค์เดียวก็หามิได้ แม้พระราชาองค์ก่อนๆ ก็ได้สดับเสียงเช่นนี้ แล้วเชื่อคำของพวกพราหมณ์ ประสงค์จะบูชายัญ ด้วยสัตว์อย่างละ ๔ ครั้นได้ฟังถ้อยคำของบัณฑิต จึงรับสั่งให้ปล่อยสัตว์ที่จับไว้ เพื่อจะฆ่าบูชายัญ แล้วให้ตีกลอง เป่าประกาศ ห้ามฆ่าสัตว์ทั่วพระนคร พระเจ้าโกศลทูลอาราธนา ให้ตรัสเรื่องราว จึงทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 472

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิด ในตระกูลพราหมณ์ ที่มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ครั้นเจริญวัย ได้ศึกษาศิลปวิทยา ในเมืองตักกศิลา เมื่อมารดาบิดาตายไปแล้ว จึงตรวจดูทรัพย์สมบัติ แล้วสละสมบัติทั้งหมด ให้เป็นทาน ละกามารมณ์ เข้าป่าหิมพานต์ บวชเป็นฤๅษี ทำฌานอภิญญาให้บังเกิดแล้ว แต่ต้องการจะเสพรสเค็ม รสเปรี้ยว จึงไปยังถิ่นมนุษย์ ถึงเมืองพาราณสีแล้ว พำนักอยู่ในพระราชอุทยาน. ในครั้งนั้น พระเจ้าพาราณสี เสด็จประทับเหนือ พระแท่นสิริไสยาสน์ ในเวลาเที่ยงคืน ได้ทรงสดับเสียง ๘ อย่างคือ :-

๑. นกยางตัวหนึ่ง ในพระราชอุทยาน ใกล้พระราชวัง ร้อง.

๒. เสียงร้องของนกยาง ยังไม่ทันขาดเสียง แม่กาซึ่งอาศัยอยู่ ที่เสาระเนียดโรงช้าง ร้อง.

๓. แมลงภู่ ซึ่งอาศัยอยู่ที่ช่อฟ้าเรือนหลวง ร้อง.

๔. นกดุเหว่า ที่เลี้ยงไว้ในเรือนหลวง ร้อง.

๕. เนื้อ ที่เลี้ยงไว้ในเรือนหลวง ร้อง.

๖. วานร ที่เลี้ยงไว้ในเรือนหลวง ร้อง.

๗. กินนร ที่เลี้ยงไว้ในเรือนหลวง ร้อง.

๘. เมื่อเสียงร้องของกินนร ยังไม่ทันขาดเสียง พระปัจเจกพุทธ-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 473

เจ้า ผู้ไปถึงพระราชอุทยาน ท้ายพระราชวัง เมื่อจะเปล่งอุทานครั้งหนึ่ง ได้ทำเสียงขึ้น.

พระเจ้าพาราณสี ได้ทรงสดับเสียง ๘ อย่างเหล่านี้แล้ว ตกพระทัย สะดุ้งกลัว ในวันรุ่งขึ้น จึงตรัสถามพวกพราหมณ์. พราหมณ์ทั้งหลาย พากันกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า อันตรายปรากฏแก่พระองค์ พวกข้าพระองค์ จักบูชายัญ ด้วยวิธีสัตว์อย่างละ ๔ เมื่อพระราชา ทรงอนุญาตว่า ท่านทั้งหลาย จงทำตามชอบใจ ต่างก็พากันร่าเริงยินดี ออกจากราชสำนักไป เริ่มยัญญกรรม.

ครั้งนั้น มาณพผู้เป็นศิษย์ ของหัวหน้าพราหมณ์ ผู้ทำยัญญกรรม เป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด กล่าวกะอาจารย์ว่า ข้าแต่อาจารย์ ยัญญกรรมอย่างนี้ เป็นกรรมหยาบช้า กล้าแข็ง. ไม่เป็นที่น่ายินดี ก่อความพินาศแก่สัตว์เป็นอันมาก ขอท่านอย่าได้ทำเลย. อาจารย์กล่าวว่า พ่อเอย เจ้าช่างไม่รู้อะไรเสียเลย ถ้าจักไม่มีอะไรอย่างอื่นขึ้น พวกเราก็จักได้กินปลา และเนื้อมากมายก่อน. มาณพกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ขอท่านอย่าได้ทำกรรม ที่จะให้เกิดในนรก เพราะอาศัยท้องเลย. พวกพราหมณ์ที่เหลือ ได้ฟังดังนั้น ก็โกรธมาณพว่า มาณพเป็นอันตรายต่อลาภ ของพวกเรา. เพราะกลัวพราหมณ์เหล่านั้น มาณพจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงทำอุบายกินปลา และเนื้อเถิด แล้วออกไปนอกพระนคร พิจารณาดูสมณะผู้มีธรรม ซึ่งสามารถจะห้ามพระราชาได้ ไปพระราชอุทยาน เห็นพระโพธิสัตว์ไหว้แล้ว กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 474

ท่านไม่มีความอนุเคราะห์ ในสัตว์ทั้งหลาย บ้างหรือ พระราชารับสั่งให้ฆ่าสัตว์ เป็นอันมากบูชายัญ การที่ท่านจะทำให้มหาชน พ้นจากเครื่องพันธนาการ จะไม่สมควรหรือ?

พระโพธิสัตว์ตอบว่า ถูกแล้ว มาณพ แต่เราอยู่ที่นี่ พระราชาก็ไม่รู้จักเรา เราก็ไม่รู้จักพระราชา.

มาณพถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ท่านรู้ความสำเร็จผลแห่งเสียง ที่พระราชาทรงสดับหรือ?

เออ เรารู้

เมื่อรู้ เหตุไร จึงไม่กราบทูลพระราชา?

ดูก่อนมาณพ เราผูกเขาสัตว์ไว้ ที่หน้าผาก จะอาจบอกว่า เรารู้ได้อย่างไร ถ้าพระราชาเสด็จมาที่นี้ แล้วตรัสถามว่า เราก็จักกราบทูลให้ ทรงทราบ.

มาณพก็รีบไปราชสำนักโดยเร็ว เมื่อพระราชาตรัสถามว่า อะไรกันเล่าพ่อคุณ? ก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า มีดาบสองค์หนึ่ง รู้ความสำเร็จผลแห่งเสียง ที่พระองค์ได้ทรงสดับ นั่งอยู่บนมงคลศิลา ในพระราชอุทยานของพระองค์ กล่าวว่า ถ้าพระราชาตรัสถามเรา เราจักกราบทูลให้ทรงทราบ พระองค์ควรเสด็จไปถาม พระดาบสนั้น พระเจ้าข้า.

พระราชาเสด็จไป ในที่นั้นโดยเร็ว ไหว้พระดาบสแล้ว อันพระดาบส ทำปฏิสันถารแล้ว ประทับนั่ง แล้วตรัสถามว่า ได้ยินว่า พระคุณเจ้า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 475

รู้ความสำเร็จผลแห่งเสียง ที่ข้าพเจ้าได้ฟัง จริงหรือ?

ถูกแล้ว มหาบพิตร.

ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณเจ้า ได้กรุณาชี้แจง ความสำเร็จผลแห่งเสียง ที่ข้าพเจ้าได้ฟังนั้น แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด.

มหาบพิตร จะไม่มีอันตรายไรๆ แก่พระองค์เลย เพราะได้ทรงสดับเสียงเหล่านั้น ก็นกยางตัวหนึ่ง มีอยู่ที่สวนเก่า นกยางนั้น เมื่อไม่ได้เหยื่อ ถูกความหิวครอบงำ ได้ร้องขึ้น เป็นเสียงแรก พระดาบสกราบ ทูลดังนี้แล้ว โดยที่กำหนดรู้ กิริยาของนกยาง ด้วยญาณของตน จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า :-

สระมงคลโบกขรณีนี้ แต่ก่อนเป็นที่ลุ่มลึก มีน้ำมาก มีปลามาก เป็นที่อยู่อาศัยของพญานกยาง เป็นที่อยู่แห่งบิดาของเรา บัดนี้น้ำแห้ง วันนี้พวกเรา จะพากันเลี้ยงชีพด้วยกบ ถึงพวกเรา จะถูกความหิวบีบคั้น ถึงเพียงนี้ ก็จะไม่ละที่อยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ พระดาบสกล่าว หมายถึง สระโบกขรณีที่เป็นมงคลนั้น เมื่อก่อนมีน้ำไหลซึมไป ตามสุมทุมพุ่มไม้ ที่อยู่ในน้ำ จึงมีน้ำมาก มีปลามาก แต่เดี๋ยวนี้ กลายเป็นสระมีน้ำน้อย เพราะน้ำแห้งขอดเสียแล้ว.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 476

บทว่า ตฺยชฺช เภเกน ความว่า วันนี้พวกเรา เมื่อไม่ได้ปลาเหล่านั้น เป็นอาหาร ก็จะพากันเลี้ยงชีพด้วยกบ.

บทว่า โอกํ ความว่า ถึงพวกเรา จะถูกความหิวบีบคั้น ถึงเพียงนี้ ก็จะไม่ยอมละทิ้งที่อยู่ไป.

พระดาบส กราบทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาบพิตร ด้วยเหตุ ดังทูลมานี้ นกยางนั้น ถูกความหิวบีบคั้นจึงร้อง แม้ถ้าพระองค์ประสงค์ จะเปลื้องนกยางนั้น ให้พ้นจากความหิว จงชำระสวนให้สะอาด แล้วไขน้ำเข้าให้เต็มสระโบกขรณี. พระราชารับสั่งให้อำมาตย์คนหนึ่ง กระทำตามนั้น.

พระดาบสกราบทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า แม่กาตัวหนึ่ง อยู่ที่เสาระเนียดโรงช้าง ของพระองค์ โศกเศร้าถึงลูกของตัว จึงได้ร้องเป็นเสียงที่ ๒ แม้เพราะเหตุนั้น ภัยก็มิได้มีแก่พระองค์ ดังนี้ แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ความว่า :-

ใครจะทำลายนัยน์ตาข้างที่สอง ของนายพันธุระ ผู้มีอาวุธในมือ ให้แตกได้ ใครจักกระทำลูกรักของเรา และตัวเรา ให้มีความสวัสดีได้.

ครั้นกล่าวดังนี้ ได้ทูลถามว่า ดูก่อนมหาบพิตร นายควาญช้าง ที่โรงช้างของพระองค์ ชื่อไร?

ชื่อ พันธุระขอรับ ท่านผู้เจริญ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 477

มหาบพิตร เขาตาบอดข้างหนึ่งหรือ?

พระราชา ถูกแล้ว ท่านผู้เจริญ

ดูก่อนมหาบพิตร แม่กาตัวหนึ่ง ทำรังอยู่ที่เสาระเนียด ประตูโรงช้าง ออกไข่ ฟักไข่แล้ว ลูกก็ออกจากฟองไข่ นายควาญช้างขี่ช้าง เข้าออกจากโรงช้าง เอาขอตีแม่กาบ้าง ลูกกาบ้าง รื้อรังเสียบ้าง แม่กาได้รับความลำบาก เช่นนั้น จึงร้องขอให้นัยน์ตา นายควาญช้างนั้น บอดเสียทั้งสองข้าง. ถ้าพระองค์ จะทรงมีพระทัยเมตตาแก่แม่กา โปรดเรียก นายพันธุระนั้นมา จงห้ามอย่าให้รื้อรังอีก. พระราชาให้หาตัวนายพันธุระมา ทรงบริภาษแล้วไล่ออก แล้วทรงตั้งคนอื่น เป็นนายควาญช้างแทน.

พระดาบสกราบทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาพิตร มีแมลงภู่ตัวหนึ่ง อยู่ที่ช่อฟ้ามหาปราสาท กัดกระพี้กินหมดแล้ว ไม่อาจกัดแก่นกินได้ เมื่อไม่ได้อาหาร ก็ไม่อาจออกไป จึงคร่ำครวญเป็นเสียงที่ ๓ แม้เพราะเหตุนั้น ภัยก็มิได้มีแก่พระองค์ ดังนี้แล้ว โดยที่กำหนดรู้กิริยา ของแมลงภู่นั้น ด้วยญาณของตน จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ความว่า :-

ดูก่อนมหาบพิตร คติของกระพี้ไม้นั้น มีอยู่เพียงใด กระพี้ไม้ทั้งหมด แมลงภู่เจาะกินสิ้นแล้วเพียงนั้น แมลงภู่หมดอาหารแล้ว จึงไม่ยินดีในไม้แก่น.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 478

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว ตสฺสา คตี อหุ ความว่า กระพี้ไม้นั้น ได้ให้ความสำเร็จประโยชน์ มาแล้วเพียงใด กระพี้ไม้นั้น แมลงภู่ก็กัดกิน เสียหมดสิ้น เพียงนั้น.

บทว่า น รมตี ความว่า พระดาบสทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร แมลงภู่นั้น ออกจากที่นั้นแล้ว เมื่อไม่เห็นทางที่จะบินไปได้ จึงได้ร้องคร่ำครวญอยู่ ขอพระองค์ จงให้คนนำแมลงภู่นั้น ออกจากช่อฟ้าเถิด.

พระราชารับสั่งให้บุรุษคนหนึ่ง นำแมลงภู่ออกได้ ด้วยอุบาย.

พระดาบสกราบทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาบพิตร ในพระราชวังของพระองค์ มีนกดุเหว่า ที่เลี้ยงไว้ตัวหนึ่ง มิใช่หรือ?

พระราชาตรัสว่า มีอยู่ขอรับ.

พระดาบสกราบทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร นกดุเหว่านั้น คิดถึงไพรสณฑ์ ที่ตนเคยอยู่ ดิ้นรนคิดว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจะพ้นกรงนี้ ไปสู่ไพรสณฑ์ที่น่ารื่นรมย์ จึงได้ร้องขึ้น เป็นเสียงที่ ๔ แม้เพราะเหตุนี้ ภัยก็มิได้มีแก่พระองค์ ดังนี้ แล้วกล่าวคาถาที่ ๔ ความว่า :-

ไฉนหนอ เราจึงจะจากที่นี่ไปให้พ้น จากราชนิเวศน์เสียได้ บันเทิงใจ ชมต้นไม้ กิ่งไม้ที่ มีดอก ทำรังอาศัยอยู่ ตามประสาของเรา.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 479

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุมสาขานิเกตินี ความว่า ทำรัง อาศัยอยู่อย่างสบาย ที่ต้นไม้ กิ่งไม้ ที่มีดอกบานสะพรั่ง.

ก็แหละ ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ได้กราบทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาบพิตร นกดุเหว่านั้น ดิ้นรน ขอพระองค์จงปล่อยนกดุเหว่านั้นเถิด. พระราชา รับสั่งให้กระทำตามนั้น. พระดาบสกราบทูลต่อไปว่า ในพระราชวังของพระองค์ มีเนื้อที่เลี้ยงไว้ตัวหนึ่ง มิใช่หรือ?

พระราชาตรัสว่า มีขอรับ.

พระดาบสกราบทูลว่า เนื้อนั้น เป็นนายฝูง คิดถึงนางเนื้อของตน ดิ้นรน ด้วยอำนาจกิเลส จึงได้ร้องขึ้น เป็นเสียงที่ ๕ แม้เพราะเหตุนั้น ภัยก็มิได้มีแก่พระองค์ ดังนี้ แล้วกล่าวคาถาที่ ๕ ความว่า :-

ไฉนหนอ เราจึงจะไปจากที่นี่ ให้พ้นพระราชนิเวศน์ ไปเสียได้ เราจักนำหน้าฝูง ไปดื่มน้ำที่ดีเลิศได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺโคทกานิ ความว่า เมื่อไรหนอแล เราจักนำหน้าฝูง ไปดื่มน้ำที่ดีเลิศ ซึ่งเนื้ออื่นๆ ยังไม่เคยดื่มมาก่อน.

พระมหาสัตว์ผู้ดาบส ได้กราบทูล ขอให้พระราชาทรงปล่อยเนื้อนั้นไป แล้วกราบทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาบพิตร ในพระราชวังของพระองค์ มีลิงที่เลี้ยงไว้ตัวหนึ่ง มิใช่หรือ? เมื่อพระราชารับสั่งว่า มีขอรับ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 480

พระดาบสได้กราบทูลว่า ลิงนั้นกำหนัดอยู่ด้วยกาม กับฝูงนางลิงในป่า หิมวันตประเทศ เที่ยวไป ถูกนายพรานชื่อ ภารตะ นำมาที่นี่ บัดนี้ ดิ้นรนอยากจะไปที่นั้น จึงได้ร้องขึ้น เป็นเสียงที่ ๖ แม้เพราะเหตุนั้น ภัยก็มิได้มีแก่พระองค์ ดังนี้ แล้วกล่าวคาถาที่ ๖ ความว่า :-

นายพรานภารตะ ชาวพาหิกรัฐนำเรา ผู้มัวเมา ด้วยกามทั้งหลาย ผู้กำหนัดหมกมุ่นอยู่ ในกามมาแล้ว ลิงนั้นกล่าวว่า ขอความเจริญ จงมีแต่ท่าน ขอท่านจงปล่อยข้าพเจ้าเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาหิโก ได้แก่ นายพรานภารตะ ชาวพาหิกรัฐ.

บทว่า ภทฺทมตฺถุ เต วานรนั้น กล่าวความข้อนี้ว่า ขอความเจริญ จงมีแก่ท่าน ขอท่านจงปล่อยข้าพเจ้าเถิด.

พระมหาสัตว์ ขอให้พระราชาทรงปล่อยลิงนั้น แล้วทูลถามต่อไปว่า ในพระราชวังของพระองค์ มีกินนรที่เลี้ยงไว้ มิใช่หรือ? เมื่อพระราชาตรัสว่า มี จึงกราบทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร กินนรนั้น คิดถึงคุณที่นางกินรี ทำไว้แก่ตน เร่าร้อนเพราะกิเลส จึงได้ร้องขึ้น เป็นเสียงที่ ๗ ด้วยว่าวันหนึ่ง กินนรนั้น ขึ้นไปสู่ยอดเขาตุงคบรรพต กับนางกินรี พากันเลือกเก็บดอกไม้ ที่มีสีงาม กลิ่นหอม และมีรสอร่อยนานาชนิด ประดับกายตน ไม่ได้กำหนดพระอาทิตย์ ที่กำลังจะอัสดงคต เมื่อพระ-

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 481

อาทิตย์อัสดงคตแล้ว ความมืด ได้มีแก่กินนร และกินรี ผู้กำลังลงจากยอดเขา นางกินรี ได้กล่าวกะกินนรว่า ที่รักมืดเหลือเกิน ท่านจงระวัง ก้าวลงอย่าให้พลาด แล้วจับมือก้าวลงไป กินนรคิดถึง คำของนางกินรีนั้น จึงได้ร้องขึ้น แม้เพราะเหตุนั้น ภัยก็มิได้มีแก่พระองค์ ดังนี้ เมื่อจะกระทำเรื่องราวนั้นให้ปรากฏ โดยที่กำหนดรู้ได้ ด้วยญาณของตน จึงกล่าวคาถาที่ ๗ ความว่า :-

เมื่อความมืดมิด ปรากฏเบื้องบนภูเขา อันแข็งคม นางกินรีนั้น ได้กล่าวกะเรา ด้วยถ้อยคำ อันไพเราะอ่อนหวาน ท่านอย่าจรดเท้า ลงบนแผ่นหิน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺธการติมิสฺสาย ความว่า เมื่อความมืด อันกระทำความบอด ปรากฏ.

บทว่า ตุงฺเค แปลว่า แหลมคม.

บทว่า สณฺเหน มุทุนา ความว่า ด้วยถ้อยคำอันไพเราะ อ่อนหวาน.

อักษร ในบทว่า มา ปาทํ ขณิยฺสมินิ นี้ ท่านถือเอา ด้วยอำนาจแห่งพยัญชนะสนธิ. มีคำอธิบายดังนี้ นางกินรีนั้น ได้พูดกะเรา ด้วยวาจาอันอ่อนหวาน นุ่มนวลว่า ที่รักท่านอย่าประมาท ท่านอย่ากด

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 482

เท้าลงบนแผ่นหิน คือ ค่อยๆ ก้าวลง อย่าให้ลื่นพลาดไป ที่แผ่นหินได้. ดังนี้แล้ว จับมือก้าวลงไป.

พระมหาสัตว์ ได้กราบทูลถึงเหตุ ที่กินนรร้อง ดังนี้ แล้วได้ทูลขอ ให้ทรงปล่อยกินนรนั้น แล้วกราบทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาบพิตร เสียงที่ ๘ เป็นเสียงเปล่งอุทาน คือ ที่เงื้อมภูเขา นันทมูลกะ พระปัจเจกพุทธเจ้า องค์หนึ่งว่า อายุสังขารของตนจะสิ้นแล้ว จึงคิดว่า จักไปแดนมนุษย์ ปรินิพพานในพระราชอุทยาน ของพระเจ้าพาราณสี พวกมนุษย์จักเผาศพเรา จักเล่นสาธุกีฬา บูชาธาตุ บำเพ็ญทางสวรรค์ ดังนี้ แล้วเหาะมา ด้วยฤทธานุภาพ เวลามาถึงยอดปราสาทของพระองค์ ได้ปลงขันธภาระ เปล่งอุทาน แสดงเมืองแก้ว คือ นิพพาน ดังนี้แล้ว กล่าวคาถา ที่พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวไว้ ความว่า :-

เราเห็นพระนิพพาน อันเป็นที่สิ้นชาติ ไม่ต้องกลับมานอนในครรภ์อีก โดยไม่ต้องสงสัย ความเกิดของเรานี้ มีในที่สุดแล้ว การนอนในครรภ์ เป็นหนสุดท้ายแล้ว สงสาร เพื่อภพใหม่ต่อไปของเรา สิ้นสุดแล้ว.

คาถานั้น มีอรรถาธิบาย ดังนี้. เราชื่อว่า เห็นชัดที่สุด แห่งความสิ้นชาติ เพราะได้เห็นพระนิพพาน กล่าวคือ ความสิ้นไปแห่งชาติ แล้วไม่ต้องเวียนมาสู่ การนอนในครรภ์อีก โดยไม่ต้องสงสัย ความเกิดของเรา

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 483

นี้ มีในที่สุดแล้ว การนอนในครรภ์ เป็นหนสุดท้ายแล้ว สงสาร กล่าวคือ ลำดับแห่งเบญจขันธ์ เพื่อภพใหม่ของเรา ก็สิ้นสุดแล้ว.

ก็และพระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวคาถานี้ ด้วยสามารถแห่งอุทาน แล้วมาสู่พระราชอุทยานนี้ ปรินิพพานที่โคนตันรัง อันมีดอกบานสะพรั่งต้นหนึ่ง ดูก่อนมหาบพิตร ขอเชิญพระองค์ เสด็จไปปลงศพพระปัจเจกพุทธเจ้า นั้นเถิด.

พระมหาสัตว์ พาพระราชาไป ที่พระปัจเจกพุทธเจ้าปรินิพพาน ชี้ให้ทอดพระเนตรสรีระนั้น. พระราชาทอดพระเนตร เห็นสรีระของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้ว พร้อมด้วยพลนิกาย บูชาด้วยของหอม เป็นต้น ทรงอาศัยคำของพระโพธิสัตว์ รับสั่งให้งดยัญญกรรม พระราชทานชีวิตแก่สัตว์ทั้งหมด ให้ตีกลองประกาศ ห้ามฆ่าสัตว์ในพระนคร ให้เล่นสาธุกีฬา ๗ วัน แล้วให้เผาศพพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยสักการะใหญ่ บนจิตกาธาน ที่ทำด้วยของหอมทุกอย่าง แล้วให้สร้างสถูปไว้ที่ทาง ๔ แพร่ง.

แม้พระโพธิสัตว์ แสดงธรรมแก่พระราชาแล้ว กล่าวสอนว่า ขอพระราชาจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ดังนี้ แล้วเข้าป่าหิมพานต์ เจริญพรหมวิหาร ไม่เสื่อมจากฌาน มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแสดงแล้ว ตรัสว่า มหาบพิตร อันตรายไรๆ จะมีแก่พระองค์ เพราะทรงสดับเสียงนั้น หามิได้ พระองค์จงงดการบูชายัญนั้นเสีย จงประทานชีวิตแก่มหาชน

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 484

ดังนี้แล้ว ให้พระราชาทรงบำเพ็ญชีวิตทาน ให้ตีกลองประกาศ ให้มาฟังธรรมทั่วพระนคร แล้วทรงแสดงธรรม ประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ มาณพ ได้เป็นพระสารีบุตร พระดาบส ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา อัฏฐสัททชาดกที่ ๒